วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

พัฒนาที่ดินจังหวัดร้อยเอ็ดติวเข้มหมอดินอาสาแปลงนาลุงจำนงค์


กรมพัฒนาที่ดิน/เกษตรตำบล/กรมส่งเสริมการเกษตร

พัฒนาที่ดินจังหวัดร้อยเอ็ดติวเข้มหมอดินอาสาแปลงนาลุงจำนงค์

 

หมอดินอาสา สำนักงานพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด กรมพัฒนาที่ดิน เป็นครูติดแผ่นสาขาหนึ่งที่มีการยอมรับในสังคมชนบท ทั้งหมอดินประจำจังหวัด หมอดินประจำอำเภอ หมอดินประจำตำบล หมอดินประจำหมู่บ้าน  ในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนกว่า 2,468 คน สร้างความมั่นคงให้กับองค์กรหมอดินอาสาอำเภอทุ่งเขาหลวง มีเงินกองทุนหมอดินอาสา เมื่อถึงแก่กรรม

นายชาติชาย ประสาระวัน ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด  กล่าวว่า  ปัจจัยอันดับหนึ่งของภาคการเกษตรคือ ที่ดิน ตามมาด้วยแรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ ดินดีมีชัยไปกว่าครึ่ง คุณนันทพันธ์  แสงทอง เจ้าพนักงานการเกษตรอาวุโส รับผิดชอบงานด้านถ่านทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน สร้างศูนย์เรียนรู้ที่แปลงไร่นาสวนผสมตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง บ้านเหล่าหาด ม.5 ต.เหล่า อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด โดยความร่วมมือกับ นายวัชรินทร์  เขจรวงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งเขาหลวง นำเกษตรกรที่เป็นหมอดินอาสาจาก 51 หมู่บ้าน สัมมนาเชิงปฏิบัติการ พร้อมด้วยคุณนวลรัตน์  ยิ่งเจริญ นักวิชาการเกษตร คุณอัครฤกษ์ พิมพ์วงศา  พนักงานราชการ “กรมพัฒนาที่ดินสร้างหมอดินอาสา”  เพื่อการพัฒนาที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด  สร้างจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลละ 1 จุด นำเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักโดยการใช้สารเร่งซูปเปอร์ พด.1 เพียงเศษพืชแห้ง 1,000 ก.ก.มูลสัตว์ 200 ก.ก. ปุ๋ยไนโตรเจน 2 ก.ก.สารเร่งซูปเปอร์ พด.1จำนวน 1 ซอง ดำเนินการหมักโดยการทำเป็นกองขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ทำทีละชั้นๆละสูง 30-40 เซนติเมตร ประมาณ 3-4 ชั้น แต่ละชั้นย่ำให้แน่ราดด้วยสารเร่ง พด.1 ที่ผสมน้ำ 20 ลิตร ชั้นสูงสุดของการกองปุ๋ยปิดทับด้วยเศษพืชที่เหลืออยู่ป้องกันการสูญเสียความชื้น “เศษพืชทั้งมวล ล้วนมีคุณค่า จงรวบรวมมา ใช้ทำปุ๋ยหมัก”

นายชาติชาย ประสาระวัน กล่าวอีกว่า จุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน เป็นศูนย์กลางด้านวิทยาการด้านดิน ปุ๋ย การผลิตปุ๋ยน้ำอินทรีย์โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เป็นเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารพิษ ปลอดภัยต่อชีวิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  การผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืชโดยสารเร่ง พด.7 เกษตรอินทรีย์ ปลอดภัยในการผลิต ชีวิตยั่งยืน  การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรกรมพัฒนาที่ดิน โดยสารเร่ง พด.ลดการใช้ปุ๋ยเคมีใช้แต่พอดีช่วยลดรายจ่าย เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ ฟื้นฟูดินดี ช่วยเพิ่มรายได้ หมอดินอาสาเป็นกุญแจสำคัญดอกแรกจากเกษตรกร สู่ เกษตรกร สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินการใน 20 อำเภอ 192 ตำบล ด้วยทีมหมอดินอาสาที่เข้มแข็ง มีประสบการและได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านนักวิชาการเกษตร ตลอด 12 เดือน โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลประสบการณ์จริง

คุณนันทพันธ์  แสงทอง เจ้าพนักงานการเกษตรอาวุโส สถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด กล่าวว่า หมอดินอาสาร้อยเอ็ด ได้สร้างกองทุนหมอดินอาสาเมื่อถึงแก่กรรม โดยนายชาติชาย ประสาระวัน ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด  กับสมาชิกหมอดินอาสาเป็นการทำสัญญาในวันนี้ สร้างความมั่นคงให้กับองค์กรหมอดินอาสาอำเภอทุ่งเขาหลวง มีเงินกองทุนหมอดินอาสา เมื่อถึงแก่กรรมสามารถได้รับผลประโยชน์มีรายชื่อผู้รับ 1-3 คน เป็นกองทุนเพื่อความมั่นคงขององค์กรหมอดินอาสาร้อยเอ็ดใน 192 ตำบล 2,468 หมู่บ้าน

 

 

ทางด้านนายจำนงค์ วงศ์สมศรี อายุ 61 ปี บ้านเลข 8/3 ม.5 บ้านเหล่าหาด ต.เหล่า อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด โทร.087-8134035 กล่าวว่า โรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ด้านการเกษตร “จุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน” พร้อมดำเนินการตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ คือการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

ภายในกลุ่มเกษตรกรที่มีความต้องการเรื่องเดียวกัน  อาทิ เรื่องโรคแมลงศัตรูพืช ดิน-ปุ๋ย การเกษตรอินทรีย์ การปลูกพืชที่เหมาะสมตามความต้องการ ที่นา สวนตนเอง 13 ไร่ ปลูก พริก มะเขือ หอม กล้วย มะละกอ การปลูกไผ่เลี้ยงหน่อทนแล้ง ถั่วลิสง ข้าวโพด นาข้าว เลี้ยงกบ เลี้ยงปลาดุก สามารถเป็นศูนย์ศึกษาทั้งเรื่อง ไร่นาสวนผสมตามแนวพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วิทยากรกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ ร่วมเรียนรู้ สร้างโรงเรือน อาคารเรียน “เถียงนา” เป็นศูนย์การศึกษาอย่างแท้จริง แวะมาพักครับหรือจะให้เป็น “โฮมสเตรย์” ท่ามกลางท้องทุ่งเวิ้งว้าง บรรยากาศแสนสบาย แบบชาวทุ่งอีสาน

 

 

วัชรินทร์  เขจรวงศ์/รายงาน

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรสิงขร
หมายเลขบันทึก: 420465เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2011 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชอบเกษตรพอเพียงแบบนี้ครับ คิดว่าน่าจะพากันไปรอดนะครับ

  • เขาอยู่อย่างมีความสุขมาก
  • ใจดี
  • เป็นตลาดชุมชน
  • เงินไหลเข้าทุกวัน มะละกอ,หน่อไม้,พริก มะเขือ ปลา กบ เป็ด ไก่ 
  • พืชผักต่างๆ

หมอดินอาสา มากมายหลายคนที่เป็นคนคุณภาพ  เพราะ ผู้อยู่เบี้องหลังทำงานด้วยใจ  ไม่ใช่เพราะเพียงหน้าที่  ขอให้กำลังใจทั้งหมอดิน และผุ้สนับสนุนเอาใจใส่อย่างจริงจังกับหมอดินอาสาทุกคน

ตามมาชมหมอดินอาสา ด้วยครับ บำรุงดิน ก่อนบำรุงต้น ก่อนออกผล บำรุงคน ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท