หัดแต่งเพลงพื้นบ้าน


มาหัดแต่งเพลงพื้นบ้านกันเถอะ

 

 

 

หัดแต่งเพลงพื้นบ้าน

ลักษณะของเพลงพื้นบ้าน ส่วนมากเป็นคำสัมผัสคล้องจองง่ายๆ แต่งตาม

วิถีในการดำเนินชีวิตประจำวัน กล่าวถึง ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมประเพณี

ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ของชาวบ้าน ในแต่ละท้องถิ่น วัตถุประสงค์

ในการแต่งเพื่อใช้ประกอบในการสื่อความรู้สึกระหว่างกันเป็นภาษาพื้นบ้าน

 เช่น เพลงกล่อมเด็กเป็นเพลงท่วงทำนองอ่อนโยน เนิบช้า 

เพลงปลอบขวัญ  เป็นท่วงทำนองตลกโปกฮา ขบขัน

เพลงประกอบการเล่น ท่วงทำนองคึกคักสนุกสนาน ฯลฯ

เพื่อสืบสานอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านให้มีสืบต่อไป สมควรฟื้นฟู

เผยแพร่ และประยุกต์แต่งใหม่ตามยุคสมัย ให้เยาวชนหันมาสนใจ

และเกิดจิตสำนึกภาคภูมิใจในมรดกของบรรพชน สืบต่อไป

 

มรดกบรรพชนมากล้นค่า               ลูกหลานสืบรักษาชั่วอายุขัย

อย่าลุ่มหลงโง่เขลาว่าเก่าไป          หลงสิ่งใหม่หยามสิ่งเก่ารากเหง้าตน

ดนตรีไทยไพเราะเสนาะหู             เหมือนครูคีตการให้สานผล

เอกลักษณ์ประเพณีมีให้ยล            มิได้ปล้นชิงพรากมาจากใคร

ภาษาศาสตร์ชาติไทยได้อ่านเขียน  เป็นแสงเทียนส่องทางสว่างไสว

คือคุณค่าฉายเด่นความเป็นไทย     เป็นเนื้อในเนื้อแท้แม่เดียวกัน

 

 

หมายเลขบันทึก: 420089เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2011 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

หัดแต่งเพลงพื้นบ้าน

ลักษณะเพลงพื้นบ้าน

(1)   เป็นคำสัมผัสคล้องจองง่ายๆ

(2)   เป็นเรื่องราวในชีวิตจริงประจำวัน

(3)   มีข้อคิดเตือนใจ

(4)   มีความไพเราะลึกซึ้งประทับใจ                                                                                   

      วิธีแต่งเพลงพื้นบ้าน

(1)   ศึกษาลักษณะเพลงพื้นบ้านก่อน

(2)   หาข้อมูลในการดำเนินชีวิตประจำวัน

        เช่น...  การทำมาหากิน  วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น

(3)   เริ่มหัดแต่ง

 

เพลงพื้นบ้านของฉัน         

        

         เพลงพื้นบ้าน   หมายถึง    เพลงที่กลุ่มชนใน

ท้องถิ่นต่างๆ  คิดเนื้อหา  ท่วงทำนอง  ขึ้นเอง

        จากวิถีชีวิตประจำวัน   หรือประเพณีวัฒนธรรม

         ความเป็นอยู่การทำมาหากิน  การละเล่นต่างๆ

        ในเทศกาลสำคัญๆ เช่น  สงกรานต์  เข้าพรรษา

        เพลงพื้นบ้านมีความสำคัญและความหมาย ที่ดี

         ช่วยให้เรามีความรู้สึกถึงความรัก  ความอบอุ่น

  ของครอบครัวสังคมที่สามัคคีรักใคร่กัน

       ผมอยากศึกษาเรียนรู้เพลงพื้นบ้านที่ผู้เฒ่า ผู้แก่

       ร้องให้ลูกหลานฟังจึงไปหาผู้เฒ่าผู้แก่                                                                     

และขอให้ท่านร้องให้ฟัง ผมรู้สึกภาคภูมิใจ

ที่ได้สัมผัสกับเพลงพื้นบ้าน อยากจะให้มีการ

เผยแพร่ สืบทอดกันต่อไป                                                                  

 

ด.ช.ศภาณัฐ สุภากาศ

                        หัดแต่งเพลงพื้นบ้าน

                                 ลักษณะเพลงพื้นบ้าน

         (1)      เป็นคำสัมผัสคล้องจองง่ายๆ

        (2)      เป็นเรื่องราวในชีวิตจริงประจำวัน

        (3)      มีข้อคิดเตือนใจ

       (4)      มีความไพเราะลึกซึ้งประทับใจ 

                                     

 

 

                                          วิธีแต่งเพลงพื้นบ้าน

(1)     ศึกษาลักษณะเพลงพื้นบ้านก่อน

(2)     หาข้อมูลในการดำเนินชีวิตประจำวันเช่น... การทำมาหากิน  วัฒนธรรมประเพณี

(3)     เริ่มหัดแต่ง

 

 

 

เพลง  โยกเยกเอย

โยกเยกเอย

นั่งกินข้าว

น้ำท่วมบ้าน

หมาหางขาด     ไล่เห่าโยกเยก

                          เพลงพื้นบ้านประยุต์

 

 แม่จ๋าช่วยหนูด้วย      หนูกินกล้วยอยู่บนหลังคา

         ตกลงมาทายาหม่อง       ยี่สิบกล่องก็ยังไม่หาย

 ไปหมอหมอไม่อยู่         ไปหาปู่ปู่กินเหล้า

          ไปหาย่าย่าตำหมาก        กระเด็นใส่ปากอร่อยจังเลย

                            เพลงพื้นบ้านปะยุต์

 

           ยี..ยี่..ยี้..  ยา..ย่า..ย้า    คุณแม่ตากผ้า         คุณยายทำผม                                                              คุณพ่อเล่นกลอฟ์      คุณลูกเล่นเกมส์      123 ปักกระเปายิ่ง ชุบ

อื่อ จาจา        หลับเถิดหนา   แก้วตาแม่

           อย่างอแง        อื่อ จาจา     อื่อจาจา

กรรชัย เชื้อเมืองพาน

เพลงพื้นบ้านประยุกต์         

 

ยี..ยี่..ยี้        คุณ แม่กวาดบ้าน   คุณยายเสริมสวย    คุณพ่ออยากรวย

 

คุณลูกเล่นคอม    นั่งจ่อมเล่นเกม  555  ยันยินเยา   ปักกะเป้ายิงซุบ   

 

ด.ช.ธีรภัทร์ ศรีสวัสดิ์เพ็ญ

1                    เพลง    กาฮ้องก้า  ก้า

กาฮ้องก้า  ก้า                              กุลาต๋ำข้าว

ได้กี่บ่อง                                     ได้บ่องเดียว

อี่นางตาเขียว                               ให้กินนม

อมขี้หมา                                      ก๋าขี้แห้ง

แก๋งขี้ฮ้อ                                        อะล่อต๊อกแต๊ก

ด.ญ.นงค์ณพัตร สารกาศ

                                              เพลงพื้นบ้านประยุกต์

            กาฮ้องกาๆ                   คุณยายหุงข้าว               ได้กี่จาน

            ได้จานเดียว                 แกงผักใบเขียว               ตักให้หลานกิน

            หลานก็อยากกิน           ยายยิ้มชื่นใจ               อร่อยจริงๆ

ด.ช.ศภาณัฐ สุภากาศ

เจ้าเนื้ออุ่น ( เอย…)                       เนื้อเจ้าละมุนดั่งสำลี

แม่ไม่ให้ใครต้อง                           เนื้อเจ้าจะหมองศรี

เจ้าคนดี                           ของแม่คนเดียวเอย

( เผื่อน สุพรรณยศ , สัมภาษณ์ )

 

ด.ญ.นงค์ณพัตร สารกาศ

เพลงพื้นบ้านของฉัน

เป็นเพลงที่ผู้เฒ่าผู้แก่แต่งขึ้นโดยสมัยก่อนผู้เฒ่าสมัยก่อนมีเพลงสมัยก่อนเยอะแยะมากมายเพื่อเป็นสื่อในการสืบทอดซึ่งแพร่หลายแบบทุกชาติทุกภาษาทั่วโลกเป็นบทร้อยกรองสั้นๆมีคำคล้องจองต่อเนื่องกันไปใช่คำง่ายๆ สั้นหรือยาวก็ได้มีจังหวะการร้องและทำนองที่เรียบง่ายสนุกสนานจดจำได้ง่ายเป็นการแสดงความรักห่วงใยเช่นเพลงกล่อมเด็ก

อือจาจา หลับสองต๋า

ป๋อแม่มาก้อยตื่น อืออืออือ

ฉันชอบเพลงพื้นบ้านเพราะเราจะได้สืบต่อวัฒนธรรมสมัยก่อนจากผู้เฒ่าผู้เก่าจากสมัยก่อนคงอยู่ตลอดไป

กรรชัย เชื้อเมืองพาน

                                เพลงพื้นบ้านของผม

 

“กำปุ๋ยกำปุย         หัวยุยหัวข่า

น้ำหน่าน้ำนม        ผักขมเติมบ้าน

ดอกก้านเนาะแนะ      อี แหะตกขุม

กุลาได่อุ่ม                   ตุ่มหมิง”

 

เพลงพื้นบ้านสนุกสนานมาก     และมีความสำคัญต่อเราผมชอบเพลงพื้นบ้าน

เพราะบางเพลงก็ตลกมากครับจนผมอดหัวเราะไม่ได้เลยครับ

บางเพลงก็ซึ้งอยู่นะครับ...................

อย่างให้มันคงอยู่ ตลอดไปครับ    

เพลง   อื่อ จาจา  หลับสองตา   น้อย จีบจีบ  เเมงข่าวลีบ  ก็มาตอมตา 

อื่อ  จาจา  ป่อยน้องมา  ค่อยตื่น    หลับบ่จื่น  หลับเเหม

เป็นเพลงสำหรับกล่อมเด็ก

                                         หัดแต่งเพลงพื้นบ้าน

                                                                                                                             

ลักษณะเพลงพื้นบ้าน  

  1. เป็นคำสัมผัสคล้องจองง่ายๆ
  2. เป็นเรื่องราวในชีวิตจริงประจำวัน
  3. มีข้อคิดเตือนใจ
  4. มีความไพเราะลึกซึ้งประทับใจ

 

วิธีแต่งเพลงพื้นบ้าน

  1. ศึกษาลักษณะเพลงพื้นบ้าน
  2.   หาข้อมูลในการดำเนินชีวิตประจำวัน

     เช่น  การทำมาหากิน  วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น

3. เริ่มหัดแต่ง

 

 

                                           

 

 

ด.ช.ธีรภัทร์ ศรีสวัสดิ์เพ็ญ

                        เพลงพื้นบ้านของผม

              เพลงกลุ่มชนในท้องถิ่นต่างๆ    การร้อง    ลีลาต่างกันแต่ละภาคแต่ละชุมชน  เพลงพื้นบ้านใช้หลาย-

เทศกาล   เช่น    การเกี่ยวข้าว    การสร้างบ้าน      ใช้ใน การละเล่นหลายอย่าง      เช่น     จ้ำจี้ผลไม้  กำปุ๊กกำปุ๊ย   เป็นต้น

          ก๋ำปุ๊ก กำปุ๊ย                     หัวยุ๊ยหัวข่า

          น้ำหน่าน้านม               ผักขมเต็มบ้าน

           ดอกก้านเนาะแนะ            อี่แหะตกขุม

            กุลาได้อุ่ม                         ตุ่มมิ้ง

          ผมเคยเล่นกับเพื่อน ๆ บ่อย ๆ และผมก็ชอบการละเล่น

พื้นบ้านภาคเหนือและป้าเคยร้องเพลงกล่อมเด็กให้ผมฟังใน

ตอนเด็กๆ เช่นเพลง อื่อ จา จา   เป็นต้น   ผมจะอนุรักษ์เพลง

พื้นบ้านให้ลูกหลานของผมสืบต่อไปในอนาคต                   

                             

         

ยามละอ่อน ป้อแม่ เปิ้นหื้ออาบ้านเหนือมาเป๋นปี้เลี้ยง ดูแลหมู่เฮา อาเปิ้น เปิ๋นแม่ยิง คนเมิงน่าน เปิ่นอู้ค้ำก๋อน ฮื้อเฮาฟัง จะอี้นา.....

"กำปุ๊ก กำปุ๋ย ตุ๋ยแข้งตุ๋ยขา

ผักย่า ผักยม ผักขมเต๋มบ้าน

มะสาน เตาะแตะ มะแหะ ต๊กขุม

อุ่มลี่ ต๊าติ๊ด"

ไผมีคำก๋อน เมิงเหนือ เก่าๆ ก็เอามาเล่าสู่กั๋นฟังเน้อ

ยินดี จ้าดนัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท