87. คนไทยจะอยู่ตรงไหนในอาเซียน


สายไปหรือยังสำหรับการเป็นพลเมืองอาเซียนของคนไทย?

       จากการเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของประชาคมโลก โดยเฉพาะ

ประชาคมอาเซียน จีน และอินเดียมีคำถามว่าคนไทยพร้อมหรือยังสำหรับการ

เป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015 ซึ่งเหลือเวลาเพียง 4 ปีเท่านั้น

      ภาษาอังกฤษ จะเป็นภาษากลางของประชาคมอาเซียน ถามว่าคนไทยได้รับ

การเตรียมความพร้อมมากน้อยเพียงใดในการเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะ และใช้ภาษา

อังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพ นอกจากภาษาอังกฤษแล้วดิฉันยัง

เห็นว่าภาษาของประเทศในภูมิภาคไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม คนไทยต้องรู้เพิ่ม

อีกอย่างน้อยหนึ่งภาษายิ่งท่านมีเป้าหมายที่จะไปติดต่อกับประเทศใดก็ควรให้

ความสำคัญกับภาษาของประเทศนั้นเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะนักธุรกิจ รวมถึง

นักวิชาการด้วย

     ลำพังการจะทำความเข้าใจความหลากหลายทาง สังคม ภาษา และวัฒนธรรม

ของประเทศในประชาคมอาเซียนก็ยังเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับคนไทยแล้ว ยังมี

ประเทศยักษ์ใหญ่ได้แก่จีนและอินเดียบวกเข้ามาอีกซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธการไม่

รู้จักและเข้าถึงประเทศเหล่านี้ได้เลย จีนมาแรงในทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นการเมือง

ธุรกิจการค้า การแข่งขันใดๆ ก็ตาม ในระดับโลกจะมีผู้ชนะเป็นชาวจีนมากขึ้น

เรื่อยๆ นอกจากเขาพัฒนาบ้านเมืองแล้วเขายังพัฒนาคนด้วย แต่จีนเป็นพวกที่

เดินแต้มคูและแสดงออกอย่างร้อนแรงซึ่งหลายๆ ครั้งอาจดูไม่เป็นมิตรต่อ

ประเทศอื่นๆ นัก

     หันมาดูอินเดีย แม้จังหวะการก้าวของอินเดียเป็นไปอย่างเชื่องช้า เหมือนช้าง

ตื่นเพิ่งลุกขึ้นมาสะบัดหัวค่อยๆ ก้าวเดินออกไป แต่กลับแสดงให้เห็นถึงความ

มั่นคงของจังหวะย่างก้าวที่เราต้องจับตามองทีเดียว เพราะในป่านี้เต็มไปด้วย

ทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อการสร้างความสมดุลย์ของชีวิตให้กับเอเชียและโลกได้

นั่นคือความเข้มแข็งที่หยั่งรากฝังลึกทางด้านจิตวิญญาณและวัฒนธรรมที่เป็น

แกนสำคัญของชีวิตซึ่งอินเดียได้เคยทำหน้าที่ตรงนี้และยังคงสามารถทำได้

อย่างดีและเหนียวแน่นมาก ในขณะเดียวกันอินเดียมีทรัพยากรมนุษย์ที่มี

คุณภาพที่สามารถพัฒนาประเทศตนและออกไปเป็นกำลังให้กับประเทศต่างๆ

ทั่วโลก แทบจะเรียกว่าไม่มีที่ไหนที่ไม่มีชาวอินเดีย แม้จะได้ชื่อว่าเป็นพี่

เบิ้มในเอเชียใต้ และเป็นมือรองจากจีน แต่วิถีของอินเดียต่างจากจีนมาก น่า

ศึกษาเรียนรู้และทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง

    คำถามคือ ประเทศไทยที่อยู่กลางระหว่างสองพี่เบิ้มนี้ เราได้เรียนรู้ รู้จักเพื่อ

ให้คนไทยสามารถเข้าถึงทั้งสองประเทศแล้วหรือยัง เมื่อเทียบระหว่างจีนและ

อินเดีย ต้องถามว่าคนไทยสนใจอินเดียแค่ไหน  อดีตเอกอัครราชทูตไทยเคย

กล่าวไว้ว่าคนไทยต่างหากมิใชหรือที่ไม่อยากคบอินเดีย ถามว่าเพราะอะไร

หลายคนให้เหตุผลไม่ได้ มีแต่เรื่องของความรู้สึกไม่ชอบเท่านั้น

    เมื่อประชาคมอาเซียนจะเป็นตลาดเดียวแล้ว ดังนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้คนที่

มีศักยภาพที่เป็นที่ต้องการของตลาดงานจะต้องไหลบ่าไปมาอย่างเสรี คนไทยจะ

อยู่ตรงไหนของตลาดเสรีนี้??? ประเทศไทยได้วางแผนที่จะเตรียมคนมากน้อย

เพียงใด เรารู้แจ้งชัดเมื่อเราเป็นประธานอาเซียนปีครึ่ง ว่าเราจะต้องเข้าไป

เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนในไม่ช้า ดิฉันอยู่ในวงวิชาการที่ทำงานด้านนี้

วิ่งไปฟังกระทรวงการต่างประเทศพูดเรื่องนี้บ่อยครั้งทีเดียวจนเกิดความกังวล

พร้อมกับคำถามใน  blog นี้

     เพื่อนบ้านในอาเซียนพูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่าเราหลายประเทศ อินเดียไม่

ต้องพูดถึงเพราะเขามีความคิดว่า "NO ENGLISH NO JOB" คนจีน เวียดนาม

เขมร อินโดนีเซียที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเหมือนกับเรานั้น เขากำลังพัฒนาตน

เองอย่างจริงจัง เราต้องยอมรับในเรื่องความเอาจริงของคนในชาติเหล่านี้ คน

ไทยจะทำอย่างไรต่อไปสำหรับการเข้าเป็นประชาคมอาเซียนเพื่อจะสามารถอยู่

กับเพื่อนๆ ที่มีความสามารถมากมายมีการแข่งขันรอบทิศที่เราไม่อาจปฏิเสธได้

    สายไปหรือยัง? สำหรับคนไทยที่ต้องรู้จักเพื่อนบ้านให้มากขึ้น ไม่ว่าเราจะวิ่ง

ตามตะวันตกอย่างไรก็ตาม เราไม่อาจจะอยู่ในสายตาของตะวันตกได้อย่างเท่า

เทียม ทำไมเราไม่ตั้งสติ หยุดกลับมาดูสิ่งที่ดีๆ ที่มีอยู่ในความเป็นไทย ในความ

เป็นอาเซียน และในความเป็นเอเชีย เราต้องเร่งพัฒนาตนเองให้พร้อมที่จะก้าว

เดินไปพร้อมกับเพื่อนบ้านในประชาคมอาเซียน จีน อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่นอย่าง

มีเกียรติ และศักดิ์ศรี ภาคภูมิใจ มั่นใจในความเป็น "เอเชีย" ที่จะสามารถใช้

"วิถีตะวันออก" ที่เป็นจุดเด่นของภูมิภาคผสานกับบางเรื่องที่เลือกสรรจาก

ตะวันตกมาปรับใช้อย่างมีสติ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างสร้างสรรค์ อย่างมีคุณค่า

และความหมายต่อการสร้างความรัก ความสงบสันติสุข และความยั่งยืนให้กับ

ภูมิภาคและโลกใบนี้   ให้สมกับที่เกิดมาเป็น "คนเอเชีย" มิใช่หรือ??????

--------------------------------------------------

                                            บอกกล่าว  ข่าวแจ้ง

ขอเชิญชวนท่านที่สนใจจะเรียนรู้เรื่องราวของอินเดียในทุกมิติ และร่วมสร้างองค์

ความรู้ให้กับประเทศไทยเพื่อประโยชน์ในการสร้างความร่วมมือในมิติต่างๆ กับ

อินเดียสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมและการพัฒนา

 แขนงอินเดียศึกษา สนใจกรุณาติดต่อที่

- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

 http://www.grad.mahidol.ac.th  โทร 02-441-4125

- สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

 www.lc.mahidol.ac.th   โทร. 02-800-2308-14 ต่อ 3302, 3101

ด่วน           รอบที่ 2  สมัครด้วยตนเอง 1-26 ก.พ. 54

 

                             สมัครทางไปรษณีย์  1-16 ก.พ. 54

 

                             สมัครทาง internet 1-20 ก.พ. 54

  ท่านอย่าลังเลใจ ท่านจะได้มีโอกาสออกภาคสนามในประเทศอินเดียซึ่งเป็น

ประสบการณ์ที่หาได้ไม่ง่ายนัก และสามารถสมัครรับทุนจากรัฐบาลอินเดียด้วย

ท่านจะได้ทำในสิ่งที่แตกต่างและท้าทาย

 

หมายเลขบันทึก: 419736เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2011 01:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท