"เครือข่ายมดแดง"....


โครงการเครือข่ายมดแดง

เป็นโครงการภายการดำเนินงานของมูลนิธิสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม  (GSEI) โดยการสนับสนุนของสสส. ในวารสานของเครือข่ายมดแดงระบุว่า โครงการฯ จะมีบทบาทเป็นผู้ให้ความสะดวก (น่าจะเป็นคุณเอื้อ) ให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในระหว่าง "กลุ่มตัวแทนที่เกิดจากกระบวนการทดลองเชิงสังคม ได้แก่ประชาชนในพื้นที่นำร่องของโครงการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน" กับ "กลุ่มเครือข่ายที่ปรึกษา ในระดับประเทศ รวมทั้งบุคคลที่อยู่ในรัศมีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของชุมชน/ หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ,ทฤษฎี แต่ไม่คุ้นเคยกับชาวบ้าน โครงการก็จะเป็นผู้เชื่อมโยงให้เกิด "การแลกเปลี่ยนเรียนรู้" และการปรับทฤทษฎีลงสู่การปฏิบัติ

 นอกจากนี้โครงการยังเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ของกลุ่มที่เรียกว่า "Peer Network ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้กันระหว่างพื้นที่ บุคคล ชุมชน หรือองค์กรที่มีความคล้ายคลึงกัน โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันจากการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกพื้นที่

โครงการนี้ได้นำ "กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน"ที่เรียกว่า "PLAR : Paticipatory Learning Action Ressarch) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องของการทบทวนและสะท้อนความเข้าใจเดิม การวางแผนจากความเข้าใจใหม่ และการสังเกตผลของการปฏิบัติการนั้น ตลอดจนการนำผลที่ได้มาทบทวนและสะท้อนใหม่เพื่อวางแผนในการปฏิบัติใหม่อย่างไม่สิ้นสุด (อ่านแล้วนึกภาพเห็น KM ลางๆ)

กระบวนการ PLAR จะเกิดขึ้นโดยโครงการจะเป็นผู้สร้างเวทีที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของทุกคนในชุมชน โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมของกลุ่มคนที่เข้าร่วม/ท้องถิ่น ปัจจัยที่เอต่อการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และหลักการปฏิบัติ/วิถีชีวิต รวมทั้งช่วงเวลาที่เหมาะสม  ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะทำในรูปกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งเขาจะเน้นกลุ่มที่มีความเท่าเทียมกัน และมีผลได้ผลเสียเหมือนกัน เพื่อสร้างความมั่นใจ ความรู้สึกปลอดภัย และช่วยในการเจาะประเด็นเรื้อรังต่างๆ ของสมาชิกที่มีประสบการณ์ตรงกันและได้มีโอกาสมานั่งแลกเปลี่ยนกัน ผ่านการเล่าเรื่องอย่างมีแนวทาง มีการบันทึกเรื่องราวในชีวิตประจำวัน และการใช้แผนที่หลายรูปแบบเช่นแผนที่ชุมชน แผนที่ความคิด เป็นต้น

โครงการนี้เขาใช้ระยะเวลา 3 เดือน(เริ่มตั้งแต่กุมภาพันธ์ 48)ในการแสวงหาพื้นที่นำร่อง 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน นนทบุรี ภูเก็ต และนครศรีธรรมราช

ตอนอ่านรายงานสภาพพื้นที่แต่ละแห่งมีความแตกต่างกันในประเด็นที่อาจจะส่งกระทบต่อชุมชนใน 3 ประเด็นด้วยกันคือ ด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม เราสะดุจอยู่ตรงพื้นที่ จ.นนทบุรีนี่แหละเพราะแต่ละแห่งที่โครงการเอ่ยถึงล้วนเป็นชุมชนเมืองใหญ่ที่ไม่หลงเหลือสภาพความเป็นชุมชนดั้งเดิม เช่น หมู่บ้านประชาชื่น หมู่ที่ 10 ต.บางตลาด อ.ปากเกล็ด จ.นนทบุรี, ซอยเรวดี ตำบลตลาดขวัญอ.เมือง จ.นนทบุรี, ท่าน้ำนนทบุรี ฝั่งตำบลสวนใหญ่ (หอนาฬิกา) ต.สวนใหญ่ อ.เมือง พื้นที่ที่เอ่ยถึงเป็นเมืองคนอพยพเข้ามาอาศัย เต็มไปด้วยหอพัก อพาร์ทเม้นต์ บ้านจัดสรรผู้คนออกไปทำงานในเมือง(กรุงเทพฯ) เสียส่วนใหญ่

นึกแล้วน่าเป็นห่วงพื้นที่นำร่องแบบนี้ในการรวบรวมสมาชิกเข้าร่วมโครงการจริงๆ ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับคนทำงานแล้ว นับว่าพื้นที่แบบนี้เป็นงานที่ท้าทายสำหรับโครงการฯ ในการบรรลุเป้าหมาย

ซึ่งทีมประชาสัมพันธ์ จะเกาะติดโครงการฯนี้อย่างแน่นอน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4195เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2005 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ขอแก้คำผิด วารสาน เป็น "วารสาร"
เลือกพื้นที่ที่คิดว่ามีกิจกรรมที่ดี   แล้วลงไปดูของจริงเลย   ผมอยากรู้ว่าแนวความคิดที่เล่านั้น มีการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างไร

เรียน คุณน้ำ

     "กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน" ที่เรียกว่า "PLAR : Paticipatory Learning Action Ressarch) ที่เด่นชัด และพอที่จะแนะนำผมเพื่อให้เรียนลัดได้มีที่ไหนบ้าง และที่ GSEI ผมพอจะเชื่อมถึงได้ทางไหนบ้างครับ

     ขอบคุณครับ

     ขอโทษด้วยครับคุณน้ำ ผมลืมลงชื่อในความคิดเห็นก่อนหน้าไป

     อนุชา หนูนุ่น (ชายขอบ) ครับ

เคยได้รับวารสารโครงการเครือข่ายมดแดงมา2ฉบับ ตอนนี้ไม่ส่งมาให้อีก จะขอยืมวิธีการไปทำบ้างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท