ทำโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล ในแนวทางของคนนอกระบบ


การบูรณาการกิจกรรมตามภารกิจหลักที่กล่าวมากับ ภารกิจของ กศน.ตำบล ในฐานะแหล่งเรียนรู้ราคาถูก ที่จะทำหน้าที่ เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ศูนย์กลางส่งเสริมการอ่าน ศูนย์ซ่อมสร้าง สถานีปลายทางของ student cannel ซึ่งผมคิดว่าหาก กศน. ตำบลใหนทำได้ จะเป็นโรงเรียนดีประจำตำบลที่สุดยอดมากๆเลย....

         "โครงการโรงเรียนดีประจำตำบล" เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่กระทรวงศึกษาธิการต้องการให้เกิดขึ้น... เป็นการมองถึงการศึกษาในระบบโรงเรียนที่จะจัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน...ซึ่งมุ่งที่จะให้...คนเป็นคนดีมีความรู้ ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข....

         กศน. ตำบล จะทำหน้าที่โรงเรียนดีในตำบลได้หรือไม่?... ผมมีมุมมองของผมว่า....กศน. ตำบล ก็น่าที่จะเป็นโรงเรียนดีในตำบลได้เพราะเราทำได้ครอบคลุมในทุกเรื่อง....จากภารกิจหลักของ กศน. ตั้งแต่การจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ๑๕ ปี (การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ตั้งแต่ระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย ยังมีการศึกษานอกระบบ(การศึกษาต่อเนื่อง) คือ การส่งเสริมการรู้หนังสือ การศึกษาเพื่อทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมชุมชน การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยังมีการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน รวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัย ที่กล่าวมานี้ผมว่า....มีกิจกรรมมากมายพอที่จะทำให้ กศน. ตำบลเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนดีในตำบลได้....ที่สำคัญก็คือ....การบูรณาการกิจกรรมตามภารกิจหลักที่กล่าวมากับ ภารกิจของ กศน.ตำบล ในฐานะแหล่งเรียนรู้ราคาถูก ที่จะทำหน้าที่ เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ศูนย์กลางส่งเสริมการอ่าน ศูนย์ซ่อมสร้าง สถานีปลายทางของ student cannel ซึ่งผมคิดว่าหาก กศน. ตำบลใหนทำได้ จะเป็นโรงเรียนดีประจำตำบลที่สุดยอดมากๆเลย....เพราะมีทุกกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครอบคลุมกับการจัดการศึกษาเรียนรู้ให้กับประชาชน

         ในความคิดของผม สิ่งที่จะเกิดขึ้น หากว่า กศน.ตำบลทำได้คือ ครอบครัวเป็นสุข มีความอบอุ่น สังคมดี ชุมชนมีการพัฒนา  ด้วยเหตุที่ว่า ถ้าหากคนได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในกิจกรรมของ กศน. ก็จะทำให้คนมีทักษะในการดำรงชีวิต มีทักษะความรู้ในการประกอบอาชีพ มีความรู้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม การเรียนรู้กระบวนการพัฒนาสังคมชุมชนของตนเอง การสร้างอาชีพในชุมชน ซึ่งการเรียนรู้ที่จัดต้องเป็นไปตามความต้องการของคนในท้องถิ่น และเป็นไปตามบริบทตามวิถีของชุมชน

         เมื่อคนมีความรู้ มีอาชีพในชุมชนที่ทำให้เกิดรายได้ การออกไปทำงานนอกชุมชนก็ลดน้อยลง...คนในครอบครัวก็มีเวลาที่จะอยู่ด้วยกันมากขึ้น การได้ร่วมกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาสังคมชุมชนก็ทำให้คนสามารถรวมตัวกันคิดหาแนวทางในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ก็จะเกิดความรัก สามัคคีของคนในชุมชน เมื่อมีการศึกษามีอาชีพ การทิ้งถิ่นเพื่อหางานทำก็จะลดน้อยลง....

         ผมมองอีกทางหนึ่งที่จะทำให้เกิดโรงเรียนดีในตำบล คือการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับโรงเรียนในระบบที่อยู่ในชุมชน....เป็นการส่งเสริมและเกื้อหนุนกัน....และที่สำคัญก็คือ การสร้างครูในชุมชนให้มากๆ (ผู้รู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน) นำมายกย่องให้เป็น "ครูภูมิปัญญา" เพื่อที่จะได้สืบทอดความรู้ อีกอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างศูนย์เรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ ในชุมชนให้เยอะๆ (ผมมองถึงที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน)ในสมัยก่อน....ให้เป็นอีกหนึ่งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน... โดยให้ กศน. ตำบลเป็นศูนย์แม่ข่ายในการเคลื่อนกิจกรรม....ถ้าเป็นไปได้ผมว่า กศน. ของเราจะจัดการศึกษาในเชิงรุกได้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และทั่วถึง เป็นแหล่งเรียนรู้ราคาถูกและเป็นโรงเรียนดีประจำตำบลได้อย่างแน่นอน....

หมายเลขบันทึก: 419285เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2011 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอชื่นชมกับความคิดดีๆของครูราญ

ขอเป็นกำลังใจในการทำงานนะคะ

สวัสดีครับ...คุณนฤมล

  • ขอบคุณครับ...สำหรับขวัญกำลังใจ
  • คิดดี ทำดี เพื่อศักดิ์ศรีของ กศน. ครับ...
  • ขอบคุณที่เข้ามาร่วมชื่นชม ลปรร.
  • โอกาสหน้าเชิญใหม่นะครับ....
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท