rujee2


หลักการใช้คำไทย

หลักการเขียนคำในภาษาไทย 

การเขียนคำหรือการสะกดคำในภาษาไทยมีหลักเกณฑ์ที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจหลายหลักเกณฑ์ ดังนี้

 

1. การเขียนคำที่ออกเสียง อะ

2. การเขียนคำที่ออกเสียง อำ

3. การใช้ ณ น

4. การใช้ ศ ษ ส

5. การใช้ ณ

6. การเขียนคำโดยใช้ ศ ษ ส

7. การเขียนคำที่ออกเสียง  อัน

8. การใช้รูปวรรณยุกต์

 

 

 


 

  1. การเขียนคำที่ออกเสียง อะ 

คำที่ออกเสียง อะ ในภาษาไทยมีวิธีการเขียน 2 วิธี

 1. การเขียนโดยประวิสรรชนีย์

 การเขียนโดยประวิสรรชนีย์ หมายถึง การเขียนคำโดยปรากฏรูปสระ   อะ ซึ่งมีหลักเกณฑ์กำหนดดังนี้

1.1. คำไทยที่ออกเสียง อะ เต็มมาตรา ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น

               คะแนน                    ชะอม                      ชะอ้อน

               ตะกร้า                     ตะขิดตะขวง             ตะลึง

               ทะนาน                     ทะลัก                       ทะลุ

               บอระเพ็ด                 ปะติดปะต่อ              พะรุงพะรัง

               พะนอ                      มะระ                        ระฆัง

               ระวัง                        ระทวย                     ระบาย

               ละเมอ                      ละเมิด                      สะอึก

1.2. คำไทยที่แต่เดิมเป็นคำประสม  และพยางค์หน้ากร่อนเหลือเพียง “ อะ” ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น

               คำนึง                       กร่อนเป็น                 คะนึง

               ฉันนั้น                      กร่อนเป็น                 ฉะนั้น

               ฉันนี้                        กร่อนเป็น                 ฉะนี้

               ฉาดฉาน                  กร่อนเป็น                 ฉะฉาน

               เฌอเอม                   กร่อนเป็น                 ชะเอม

               ต้นขบ                      กร่อนเป็น                 ตะขบ

               ต้นเคียน                  กร่อนเป็น                 ตะเตียน

               ตาปู                        กร่อนเป็น                 ตะปู

               ตาวัน                       กร่อนเป็น                 ตะวัน

               สายดึง                     กร่อนเป็น                 สะดึง

               สายดือ                    กร่อนเป็น                 สะดือ

               หมากนาว                กร่อนเป็น                 มะนาว

               หมากพร้าว              กร่อนเป็น                 มะพร้าว

               หมากม่วง                                กร่อนเป็น                 มะม่วง

 

1.3. คำแผลงที่พยางค์หน้าของคำเดิมเป็น สะ- เพมื่อแผลง ส เป็น ต หรือ กร ให้คงวิสรรชนีย์ไว้ตามเดิม เช่น



               สะเทือน                    แผลงเป็น                 กระเทือน

               สะท้อน                     แผลงเป็น                 กระท้อน

               สะใภ้                       แผลงเป็น                 ตะใภ้

               สะเภา                      แผลงเป็น                 ตะเภา

               สะพัง                       แผลงเป็น                 ตะพัง

               สะพาน                     แผลงเป็น                 ตะพาน

               สะพาย                     แผลงเป็น                 ตะพาย

               สะโพก                     แผลงเป็น                 ตะโพก

1.4. คำซึ่งมีวิสรรชนีย์อยู่แล้ว เมื่อแผลงคำโดยแทรก ร ให้คงวิสรรชนีย์ไว้ตามเดิม เช่น

               จะเข้                        แผลงเป็น                 จระเข้

               ชะง่อน                     แผลงเป็น                 ชระง่อน

               ชะมด                      แผลงเป็น                 ชระมด

               สะท้อน                     แผลงเป็น                 สระท้อน

               สะพรั่ง                     แผลงเป็น                 สระพรั่ง

1.5. คำซ้ำเสียงในภาษาไทยซึ่งเป็นคำที่มีมาแต่โบราณ เมื่อพยางค์หน้ากร่อนเป็นเสียง อะ ให้ประวิสรรชนีย์

        เช่น

               ครื้นครื้น                  แผลงเป็น                 คะรื้น

               คึกคึก                      แผลงเป็น                 คะคึก

               แจ้วแจ้ว                   แผลงเป็น                 จะแจ้ว

               รวยรวย                   แผลงเป็น                 ระรวย

               ริกริก                       แผลงเป็น                 ระริก

               รินริน                       แผลงเป็น                 ระริน

               รื่นรื่น                       แผลงเป็น                 ระรื่น

               เรื่อยเรื่อย                                แผลงเป็น                 ระเรื่อย

1.6. คำที่แผลงมาจากคำเดิมที่เป็นคำพยางค์เดียวมีพยัญชนะต้นเป็นอักษรควบกล้ำ แผลงเป็นคำ 2 พยางค์

        โดยแทรก  ร  ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น

               กลบ                        แผลงเป็น                 กระลบ

               กลอก                      แผลงเป็น                 กระลอก

               กลับ                        แผลงเป็น                 กระลับ

               กลาย                      แผลงเป็น                 กระลาย

               กลั้ว                         แผลงเป็น                 กระลั้ว

               เกลือก                     แผลงเป็น                 กระเลือก

1.7. คำในภาษาบาลีสันสกฤตที่พยางค์ท้ายออกเสียง อะ ให้ประวิสรรชนีย์ที่พยางค์ท้ายด้วย เช่น

               ชาตะ                       ชีวะ                         ธุระ

               เถระ                        พละ                         ภาระ

               มรณะ                      ลักษณะ                   ศิลปะ

               สรณะ                      สาธารณะ                                อมตะ

               อาชีวะ                     อิสระ

1.8. คำที่มาจากภาษาเขมรบางคำที่ใช้โดยมีวิสรรชนีย์มาแต่เดิมก็ให้คงวิสรรชนีย์ไว้ เช่น

               ระเบียบ                    ระเมียร                    ละออง

               ระมาด                     ระหัด                       ระบำ

               ละมั่ง                       กระจาย                   กระดาน


        และคำที่แผลงมาจาก  ผ เป็น ประ ก็ประวิสรรชนีย์ เช่นเดียวกัน

               ผกาย                      ประกาย

               ผทม                        ประทม

               ผจญ                       ประจญ

1.9. คำที่มาจากภาษาชวามลายูที่ออกเสียง “อะ” ต้องประวิสรรชนีย์เช่น

               กะหมังกุหนิง            กะหลาป๋า                 ตำมะหงง

               ปะตาระกาหลา          ปะหนัน                    มะเดหวี

               ระเด่น                      ระตู                         สะตาหมัน

1.10. คำไทยที่มาจากภาษาอื่นๆให้ประวิสรรชนีย์ เช่น

               ตะเลง (มอญ)           ปะดุง (กษัตริย์พม่า)

               เมาะตะมะ                                อังวะ

1.11. คำที่ไม่รุ้ที่มาของคำที่ออกเสียง อะ เต็มมาตราให้ประวิสรรชนีย์ เช่น

               กะละมัง                   กะละแม                   จะละเม็ด

               ปะวะหล่ำ                  มะละกอ                   ระฆัง

               ระบอบ                     ระบัด                       ระบิล

               ละไม                       สะระแหน่                 สะอื้น

1.12. คำที่เขียนโดยประวิสรรชนีย์ที่มักเขียนผิด เช่น

               ขะมักเขม้น               ขะมุกขะมอม            ขะเย้อเขย่ง

               คะนอง                     คะน้า                       คะนึง                       คะเน

               คะมำ                       คะยั้นคะยอ              จะกละ                     จะกลาม

               ฉะแง้                       ชะตา                       ชะลอ                       ชะเง้อ

               ชะลูด                      ชะอม                      ชะอ้อน                    ชะแลง

               ตะกาย                     ตะกุกตะกัก              ตะขบ                      ตะเพิด

               ตะม่อ                       ตะลอน                     ตะลึง                       ตะบึง

               ทะนาน                     ทะมัดทะแมง             ทะยาน                     ทะเยอทะยาน

               ทะลวง                     ทะลัก                       ทะลาย                     ทะลึ่ง

               ทะเล้น                      ทวาย                       ทะนง                       ทะเล่อละล่า

               พะนอ                      พะเน้าพะนอ             พะแนง                     พะยอม

               พะเยิบ                     พะวง                       พะอืดพะอม              พะทำมะรง

               ละบัด                       ละมั่ง                       ละมุน                       ละมุนละไม

               ละล้าละลัง                ละลาบละล้วง           ละห้อย                     ละเอียด                    สะโอดสะออง

               อะร้าอร่าม                อะลุ่มอล่วย               อะไหล่


 

ในการเขียนคำที่ประวิสรรชนีย์นี้มีคำที่มักจะเป็นปัญหาในการเขียนอยู่เสมอคือ คำที่เริ่มต้นพยางค์ด้วย

กระ กับ กะ เนื่องมาจากคำใช้ได้ทั้ง กระ และ กะ ซึ่งจะต้องจดจำเป็นคำๆไปดังนี้

1. คำที่ใช้เฉพาะ กระ- เช่น

               กระเกรียว                กระงกกระเงิ่น           กระง่อนกระแง่น

               กระจอนหู                 กระชัง                     กระเช้า

               กระโชก                   กระซู่                       กระเทือน

               กระแทะ                   กระบวน                   กระบอง

               กระบือ                     กระป๋อหลอ               กระผม

               กระมอมกระแมม       กระยาเสวย              กระเย้อกระแหย่ง

               กะลา                       กระวนกระวาย          กระโวยกระวาย

               กระแส                     กระหม่อม                กระหย่อม

2. คำที่ใช้เฉพาะ กะ- เช่น

               กะเกณฑ์                  กะแช่                      กะดำกะด่าง

               กะต๊วก                     กะทัดรัด                  กะทันหัน

               กะทิ                         กะทือ                       กะเทย

               กะเทาะ                    กะแท้                      กะบังลม

               กะปริบกะปรอย         กะปลกกะเปลี้ย         กะปวกกะเปียก

               กะป้ำกะเป๋อ              กะเปิ้บกะป๊าบ           กะโปโล

               กะเผลก                   กะพง                       กะพรวดกะพราด

               กะพร่องกะแพร่ง       กะพริบ                   กะพรุน

               กะพ้อ                      กะเพราะ                  กะร่องกะแร่ง

               กะรุ่งกะริ่ง                                กะเร่กะร่อน             กะล่อน

               กะลา                       กะลิงปลิง                                กะหนุงกะหนิง

               กะหลีหะหลอ             กะหลุกกะหลิก          กะเอว

3. คำที่ใช้ได้ทั้ง กะ- และ กระ – เช่น

               กะเง้ากะงอด             กะจก                        กะจ้อยร่อย              กะจง

               กะจิริด                     กะจุ๋มกะจิ๋ม               กะเจิดกะเจิง             กะแจะ

               กะฉ่อน                    กะฉับกะเฉง              กะเฉด                     กะชอน

               กะชาย                    กะชุ่มกะชวย            กะแชง                     กะซิบ

               กะเซ็น                     กะแซะ                     กะด้ง                       กะด้าง

               กะดี่                         กะตุ้งกะติ้ง               กะดุบกะดิบ              กะเดียด

               กระตือรือร้น             กะตัก                      กะตุ้งกะติ้ง               กะตุ้น

               กะเตื้อง                    กะโตกกะตาก           กะถิน                      กะเถิบ

               กะทง                       กระทะ                     กะทำ                       กะทิง

               กะทืบ                      กะทุ้                        กะเทียม                   กะแทก

               กะนั้น                      กะบวย                     กะบุง                       กะเป๋า                      กะพัน

               กระเพาะ                  กะมิดกะเมี้ยน           กะย่องกะแย่ง           กะวาน

               กะวีกะวาด                กะสวย                     กะสาบ                     กะสาย

               กะเสือกกะสน            กะเส็นกะสาย            กะหนาบ                  กะหืดกะหอบ

               กะโห้                       กะออม                     กะอ้อมกะแอ้ม           กะไอ




 

  2. การเขียนโดยไม่ประวิสรรชนีย์ 

การเขียนโดยไม่ประวิสรรชนีย์ หรือลดรูป- อะ หมายถึง การเขียนคำที่ออกเสียง อะ แต่ไม่มีรุฦปสระ อะ ปรากฏ

อยู่ เรียกโดยทั่วไปว่าการไม่ประวิสรรชนีย์มีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ดังนี้

2.1 คำไทยที่ย่อมาจากคำอื่น เช่น

               ธ             ย่อมาจาก                                ท่าน         เธอ         ไท้

               ทนาย       ย่อมาจาก                                ท่านนาย   แทนนาย

               พนักงาน   ย่อมาจาก                ผู้นักงาน                  พ่อนักงาน

               พนาย       ย่อมาจาก                พ่อนาย

               ฯพณฯ      ย่อมาจาก                                พณหัวเจ้าท่าน

2.2 คำมีพยัญชนะต้น 2 ตัวและออกเสียงพยัญชนะต้นตัวแรกไม่เต็มมาตรา เช่น

               ขโมย       คทา         ฉมัง

               ชนวน       ชนะ         ชอุ่ม

               ทบวง       ทแยง       ทโมน

               ทวาย       พยศ        สบาย

 2.3 ถ้าคำเดิมไม่ประวิสรรชนีย์ เมื่อแผลงคำโดยการแทรก ร ก็ยัง คงไม่ประวิสรรชนีย์ เช่น

               จวัก         แผลงเป็น จรวัก

               ตลบ         แผลงเป็น  ตรลบ

               ตลอด       แผลงเป็น  ตรลอด

               สนุก         แผลงเป็น  สรนุก

               เสนาะ       แผลงเป็น  สรนุก

               สลอน       แผลงเป็น  สรลอน

2.4 คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตที่ออกเสียง อะ ที่พยางค์หน้า ไม่ประวิสรรชนีย์ เช่น

               กรณี        คมนาคม                  ครุ

               นครินทร์  สมรรถนะ                 อวสาน

2.5 คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตที่พยางค์ท้ายออกเสียง อะ

เมื่อสมาสกับคำอื่นและพยางค์นั้นไม่ได้เป็นพยางค์ท้าย ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ เช่น

               ธุระ         +       กิจ                                 =             ธุรกิจ

               ภาระ       +       กิจ                                 =             ภารกิจ

               พละ         +      การ                                =             พลการ

2.6 คำที่มาจากภาษาเขมรที่ออกเสียง อะ ไม่

หมายเลขบันทึก: 419193เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2011 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท