กศน.ทำอย่างไรให้ "คนไทย มีปัญญา คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีความสามารถในการสื่อสาร คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา"


กศน. จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพียงลำพังไม่ได้....เพราะ คน กศน. ไม่ได้เก่งในทุกเรื่อง.... แต่ถ้าคน กศน. เก่งในการประสานงาน และมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายเยอะๆ ที่จะมาช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ การศึกษาตลอดชีวิตก็จะเกิดขึ้นกับทุกที่ทุกชุมชน...แล้วการที่จะทำให้ "คนไทย มีปัญญา คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีความสามารถในการสื่อสาร คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา" ก็จะเป็นเรื่องจริงไม่ใช่ความฝัน....

        ต่อเนื่องจากบันทึกที่แล้วครับ.... กับเรื่องของการศึกษาในความคาดหวังของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะให้สถานศึกษาดำเนินการให้จงได้ ซึ่งมี ๘  ประเด็น ในบันทึกนี้ขอเขียนในประเด็น "คนไทย มีปัญญา คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีความสามารถในการสื่อสาร คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา" มันก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ คน กศน. ต้องนำมาขบคิดเหมือนกัน....

         ที่ผมคิดอย่างนี้ก็เพราะคำว่า "คิดเป็น" ซึ่งเป็นเรื่องที่ คน กศน. คุ้นเคย และยังเป็นปรัชญาที่ คน กศน. ยึดถือ ในความเชื่อที่ว่า คนทุกคนต้องการความสุข และความสุขของแต่ละคนก็ต่างกัน เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าการที่จะทำให้ "คนไทย มีปัญญา คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีความสามารถในการสื่อสาร คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา" ก็ยังคงเป็นบทบาทหน้าที่ในความรับผิดชอบของ คน กศน. ในการที่จะต้องดำเนินการในเรื่องนี้ ที่จะต้องจัดการศึกษา จัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับคนที่ ด้อยโอกาส ขาดโอกาส และพลาดโอกาส ทางการศึกษา.... จริงๆแล้วในความคิดของผมนั้นเราสามารถที่จะให้การเรียนรู้ได้กับคนทุกคน....ทั้งที่อยู่ในระบบ และการศึกษานอกระบบ

         ทำไม? ต้องในระบบด้วย  เมื่อเราจะให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต คน กศน. ก็จะต้องมองเรื่องของการศึกษานอกระบบที่ ในระบบไม่สามารถดำเนินการได้เท่ากับ การศึกษาในระบบ ก็เรามี "การศึกษาต่อเนื่อง" ที่สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ....ซึ่งไม่ได้หมายถึงว่าคนที่อยู่ในระบบแล้วไม่สามารถเรียนได้ เพราะกลุ่มเป้าหมาย "ประชาชนทั่วไป" หมายถึง คนทุกคน ที่ต้องการเรียนรู้ การศึกษานอกระบบ (ศึกษาต่อเนื่อง) ตามภารกิจที่ คน กศน. ต้องดำเนินการได้แก่ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมชุมชน รวมไปถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการส่งเสริมการรู้หนังสือ ซึ่งทุกคนสามารถที่จะมาร่วมกระบวนการเรียนรู้ได้ ตั้งแต่เด็ก ไปจนถึงผู้สูงอายุ

         เมื่อเป็นเช่นนี้ผมคิดว่า การที่จะทำให้ "คนไทย มีปัญญา คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีความสามารถในการสื่อสาร คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา" ต้องทำกับคนทุกคนที่เป็นคนไทย และการที่จะให้คนไทย คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ก็จะต้องทำตามนโยบาย กศน. "การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน" ซึ่งจะทำให้ผู้รับบริการผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม จะได้ฝึกคิด  วิเคราะห์ปัญหา ให้เกิดปัญญา นำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อความเข้มแข็งในครอบครัว สังคม ชุมชน....แล้วจะทำอย่างไร?

         สำหรับผมแล้วคิดว่า การใช้ชุมชนเป็นฐาน กิจกรรมต้องมาจากความต้องการของชุมชน กระบวนการเรียนรู้ต้องเป็นไปตามบริบท และวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนนั้นๆ เพราะถ้าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใกล้ตัวคนจะสนใจ.... จุดเริ่มก็คือ....การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้รู้และเข้าใจในเรื่อง "แผนชุมชนพึ่งตนเอง" ฝึกให้ชุมชนรู้จักใช้ข้อมูล มาประกอบการคิด และตัดสินใจในการกำหนดกิจกรรม โครงการของชุมชน  การกำหนดแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของแต่ละกิจกรรม เพื่อให้แผนชุมชนพึ่งตนเองไปสู่การปฏิบัติ.... โดยมองถึง การแก้ปัญหาของชุมชน เพราะฉะนั้น กิจกรรมที่จะทำคนในชุมชนต้องเป็นคนกำหนด และ คน กศน. เป็นคนสร้างกระบวนการเรียนรู้ และการที่จะให้การเรียนรู้ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ก็ต้องประสานงานกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ มาช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้  คำพูดที่ว่า "คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย" ยังใช้ได้อยู่ กศน. จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพียงลำพังไม่ได้....เพราะ คน กศน. ไม่ได้เก่งในทุกเรื่อง.... แต่ถ้าคน กศน. เก่งในการประสานงาน และมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายเยอะๆ ที่จะมาช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ การศึกษาตลอดชีวิตก็จะเกิดขึ้นกับทุกที่ทุกชุมชน...แล้วการที่จะทำให้ "คนไทย มีปัญญา คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีความสามารถในการสื่อสาร คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา" ก็จะเป็นเรื่องจริงไม่ใช่ความฝัน....

หมายเลขบันทึก: 418937เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2011 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

...ครับ คิดดี ทำให้ได้ ผลดีก็จะเกิดขึ้นครับ..(คิดเป็นแลต้องทำให้เป็นด้วย ผลดีแน่นอน)

...โดนใจหลายเรื่อง เรื่องแรก เป้าหมายคุณภาพผู้เรียนหรือผู้รับบริการ ควรจะออกมาแบบให้คิดวิเคราะห์เป็นและเป็นพลเมืองที่ดี บทบาทของครู กศน.การจัดกระบวนการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ รวมทั้งโครงการกิจกรรมต่างๆ การสนับสนุนต่างๆก็ควรมุ่งเน้นไปในทิศทางนี้ด้วย และควรประเมินผลจริงจังหน่อยว่าสำเร็จแค่ไหน(ควรเป็น กระบวนการ ครับ)

...เรื่องที่สอง ก็คือ การทำงานของครู กศน. โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับเครือข่ายและการทำงานกับชุมชน งานการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนเป็นบทบาทหน้าที่ของครู กศน.เรา งานชุมชนคืองาน กศน. เราต้องร่วมมือกับชุมชนและทุกเครือข่าย อยากเพิ่มอีกคือ การทำงานเป็นทีมของคน กศน. สำหรับผมเอาแค่ระดับอำเภอพอ ครู กศน.ทุกตำบลต้องร่วมทีมเดียวกัน ช่วยเหลือกันทำงาน นอกจากนี้ก็ทำงานร่วมกับอำเภอใกล้เคียงเช่น อำเภอพระยืนกับอำเภอมัญจาคีรี หรืออำเภอกับจังหวัด

...สุดท้ายก็อยากจะบอกว่ามีหลักการหลายเรื่อง ที่พอทำตรงๆแล้วมันก้ไม่เกิดผลมากนัก เวลาทำงานจึงต้องปรับใช้แบบเชิงกลยุทธจะได้ผลกว่า...ความคิดแบบนักวิชาการ แต่เวลาทำงานให้ใช้เชิงกลยุทธ จึงจะได้ผลตามนั้น...ครู กศน.หลายคนรู้ดีกว่าผมอีก หลายเรื่องผมเรียนรู้จากครู กศน.ครับ...และก็ถือว่าตัวเองเป็นครู กศน.คนหนึ่ง ดังนั้นเวลาคุยกันมันถึงเป็นเรื่องเดียวกัน 555

...ความจริงใจที่ให้แก่กันเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ งานต้องได้ คนต้องได้...สำหรับที่ผมอยู่นี้นะครับ ..ขอบคุณครับ

...ผมนับถือท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์มากครับ หลายอย่างเรียนรู้จากความคิดของท่าน

ฝากให้ครู กศน.ทุกท่านได้อ่านด้วย

 

สวัสดีครับ...ท่าน ผอ.สุรินทร์

  • ขอบคุณมากสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นประโยชน์มากเลยครับ....
  • ทำให้มีกำลังใจทำงานขึ้นอีกเยอะเลยครับ...
  • ขอบคุณสำหรับข้อความคิดของ ดร. โกวิท วรพิพัฒน์  ชอบมากเลยครับ แล้วผมจะแจกจ่ายเพื่อนครู กศน. ที่นครศรีธรรมราชครับ....
  • โอกาสหน้าเชิญใหม่นะครับ....
  • สวัสดีครับ...คุณครู

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท