พระพุทธพจน์คำโคลง


 

   ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ปกติจิตนั้นปภัสสร มีรัศมีเหมือนจันทร์เจ้า แต่ที่เศร้าหมองไปเพราะกิเลสที่จรมา คนเราก็มีกิเลสกันทุกคน โดยเฉพาะกิเลสที่เห็นได้ชัด คือโลภะ โทสะ โมหะ เมื่อรู้ว่ามีแล้วจะมีสติรู้เท่าทันมันมากแค่ไหน...

 

       กิเลส   กัดกร่อนเนื้อ           หมองศรี
โลภะ  ขาดปรานี                      แบ่งให้
โทสะ  ตัดไมตรี                       เพียงชั่ว  ขณะแฮ
โมหะ  คือเขลาไซร้                   โซ่คล้องจากฌาณ

 

อาปูรติ ธีโร ปุญฺญสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ (1คาถา และอีก 2 บาท รูปแบบคำประพันธ์ในบาลี เรียกว่าคาถาครับ 8 พยางค์ เป็นหนึ่งบาท 4 บาท เป็นหนึ่งคาถา)คำแปล แปลว่า

คนไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญ ว่าบุญมีประมาณน้อย จักไม่ให้ผล แม้หม้อน้ำ ย่อมเต็มไปด้วยหยาดน้ำที่ตก ผู้มีปัญญาสั่งสมบุญอยู่ แม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ

 

           ทำบุญเพียงแต่น้อย       สะสม
      บุญย่อมพาทับถม              ท่วมท้น
      เฉกฝนเปาะแปะพรม          ลงบาตร   พระนา
     เลยล่วงพาเต็มล้น              หลากให้เห็นนอง

 

นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ

นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช

ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย

แปลว่า บุคคลพึงเห็นบัณฑิตใด ที่มีปญฺญากล่าวว่าข่มขี่ชี้โทษให้เห็น เหมือนคนที่บอกขุมทรัพย์ให้ฉะนั้น ควรคบบัณฑิตเช่นนั้นไว้ เพราะเมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้นอยู่ ย่อมมีแต่คุณหาโทษมิได้

 

       ชนใดกดขี่ชี้              โทษทัณฑ์   นะพ่อ
เขาย่อมจริงใจครัน             ต่อเจ้า
คือบัณฑิตเลิศปัญ-            ญายิ่ง     ยอดนา
ควรคบคลุกคลีเข้า            คู่ไว้สนิทสนม

 

 

                  ถี     รมติ     ปุ                   ขุ     รมติ       ธํ

                  หึ     รมติ     ปํ                   หํ     รรมติ     โป

 

 แปลว่า       สตรีมีจิตหมายในบุรุษ        

    ภิกษุขูดกิเลสหมดจิตสดใส

    กระบือชอบโคลนตมหล่มปลักควาย

    หงส์มุ่งไปสระบัวกลั้วชลธาร  

 

       สตรีหวังชื่นชู้              ชมชาย
ภิกษุพรหมจรรย์หมาย          หลุดพ้น
โคลนตมปลักเหมาะควาย     คลุกแช่   ตัวนา
หงส์ย่อมเหินเหาะด้น           แห่งห้วงชลาศัย

 

      การประกาศสิ่งใด จะประเสริฐเท่ากับการประกาศธรรม การปฏิบัติสิ่งใดจะประเสริฐเท่ากับการปฏิบัติธรรม การให้สิ่งใดจะประเสริฐเท่ากับการให้ธรรม สมดังพระบาลีว่า "สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ"การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง

       มีแรงกายช่วยเกื้อ          ยินดี
มีทรัพย์สินมาพลี                  ชอบแท้
น้ำใจมอบเปรมปรีดิ์              กมลยิ่ง   แม่เอย
ธรรมประกาศเลิศแล้             ใหญ่โพ้นมหาทาน

 

 

                       อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ        โก ชญฺญา  มรณํ  สุเว

                        น  หิ  โน สงฺครนฺเตน       มหาเสเนน   มจฺจุนา

    คำแปล ควรรีบทำความเพียรเสียในวันนี้ทีเดียว ใครเล่าจะจะรู้ว่าความตายจะมีมาในวันพรุ่งนี้

                     ความเพียรควรเร่งสร้าง       เร็วพลัน
           ทุกกิจควรรีบสรรค์                        สิ่งสร้าง
           หยุดหวังพรุ่งคงทัน                       ทำผัด  นะแม่
           มัจจุราชอาจง้าง                          ง่าเงื้อหมดกาล
 
                                                                

                            ชราชชฺชริตา โหนฺติ          หตฺถปาทา  อนสฺสวา

                            ยสฺส,  โส  วิหตตฺถาโม      กถํ  ธมฺมํ  จริสฺสติ

            มือและเท้าของผู้ใดคร่ำคร่าไปแล้วเพราะชรา ว่าไม่ฟัง  มีเรี่ยวแรงอันชราขจัดแล้ว จักประพฤติธรรมได้อย่างไร

              เรียนธรรมทำแต่เช้า            สบายใจ
      ยามเที่ยงอบอวลไอ                     รุ่มร้อน
      เพลาบ่ายสายไป                        คงเปลี่ยว 
      เย็นย่ำคืนคนข้อน                       ข่มด้วยติฉิน
 
           เรียนธรรมทำแต่ครั้ง              เยาวชน
       จำจดมิสับสน                           สักข้อ
       เดินลุกนั่งเหินหน                      มิง่อย
       รอแก่กายเจ็บท้อ                      ท่วมท้นทุกข์เข็ญ
 
                                                             บ้านวิถีพุทธ กับพุทธมามะกะรุ่นเยาว์

     สีเลน นิพฺพุติง ยนฺติ บุคคลจะไปสู่นิพพานได้ก็เพราะศีล นิพพานในความหมายเบื้องต่ำก็คือเย็น เย็นใจ คือถ้ามีศีลสมบูรณ์ก็ไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจอะไร เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ในความหมายเบื้องสูง หมายถึง ภาวะที่ปราศจากสิ่งร้อยรัด มาจากศัพท์ว่า นิร- วานะ นิร-ไม่มี ปราศจาก,วานะ-เครื่องร้อยรัด

 

         ชนใดปราศห่วงร้อย          รัดกาย
    ชนย่อมสุขสบาย                   บ่ร้อน
     ชนใดห่มศีลหมาย                ธรรมย่อม   คุ้มนา
     ศีลสะกดมารต้อน                 โผล่เพี้ยงนิพพาน

 

 

                              ชีวิตํ พยาธิกาโล จ               เทหนิกเขปนํ   คติ  

                              ปญฺเจเต  ชีวโลกสฺมึ              อนิมิตฺตา น   นายเร

             แปลว่า เรื่องที่ไม่สามารถจะรู้ได้ ในขณะยังมีชีวิตอยู่ ๕ ประการ คือเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ เรื่องพยาธิความเจ็บไข้ได้ป่วย เรื่องกาลเวลาที่จะตาย เรื่องสถานที่จะตาย และเรื่องคติทางที่จะไปเกิด

 

            มนุษย์อาจหยั่งรู้            รอบทิศ
   เป็นอยู่พยาธิสถิต                    เปล่าแจ้ง
  กาลแลสถานชีวิต                    วายบ่   เห็นเฮย
 เกิดใหม่หนไหนแสร้ง                 สืบรู้ฤๅเห็น

 09 มกราคม 2554 19:30

 

 

                      สพฺพํ ปหาย คนฺตพฺพํ
                      ทุกคนจำเป็นจะต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป
                   ปรโลกํ คจฺฉนฺตํ ปุตฺโต วา ธีตโร วา โภคา วา นานุคจฺฉนฺติ
     บุตรธิดาและทรัพย์สมบัติก็ดี ไม่สามารถจะติดตามบุคคลผู้ไปสู่โลกอื่น
 

                 ทรัพย์สมบัติมากล้น            หลากมี
            บุตรธิดาดวงฤดี                      ดั่งแก้ว
            คนรักร่วมชีวี                          สนิทยิ่ง
            ทุกสิ่งสรรพ์พลันแคล้ว             คลาดเจ้ายามมรณ์

           09 มกราคม 2554 19:43

 
 
                                อุโภ  ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ   ยํ  มจฺโจ  กุรุเต  อิธ

                              ตํ  หิ ตสฺส  สกํ โหติ        ตญฺจ  อาทาย   คจฺฉติ

          อันผู้จะต้องตาย ทำบุญและบาปทั้งสองอย่าง อย่างใดในโลกนี้ ก็บุญและบาปนั้น คงเป็นของผู้นั้นโดยแท้ และผู้นั้นก็ต้องรับเอาบุญและบาปนั้นไป.

                     บาปบุญทุนก่อไว้             ยามยัง
                หนุนส่งตัดเติมพลัง               เพื่อเจ้า
                มากบาปบาปตามขัง            ขดติด   นะพ่อ
                บุญมากฝากบุญเฝ้า             ห่อหุ้มภพโพ้น 


               09 มกราคม 2554 20:06
 

 

                         น อนฺตลิกเข    น สมุทฺทมชฺเฌ
                         น ปพฺพตานํ     วิวรํ    ปวิสฺส
                         น วิชฺชเต       โส    ชคฺคติปฺปเทโส
                         ยตฺรฏฺฐิตํ       นปฺปสเหยฺย  มจฺจุ
          แปลว่า จะซ่อนตัวในกลีบเมฆกลางเวหา ซ่อนกายากลางสมุทรสุดวิสัย จะซ่อนตัวกลางป่าเขาลำเนาไพร ณ ถิ่นใดพ้นตายนั้นไม่มี.
 

 

    เมฆมหาสมุทรอาจป้อง          ปิดกาย
แอบไศลไพรหมาย                   มิดเร้น                   
หลบหลีกมัจจุราชกราย             กอดชีพ 
หลบเท่าหลบฤๅเว้น                  รอดพ้นมรณา   

                                      
 11 มกราคม 2554 19:25

 

 

                    รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ                     

          ร่างกายย่อยยับไป แต่ชื่อเสียงและคุณงามความดีหาย่อยยับไปไม่

 

                กายงามยามหยุดยั้ง     หายใจ
         กายเน่าผุพังไป                  เมื่อนั้น
         ความดีที่ทำใน                   ขณะอยู่ นะแม่
         กระฉ่อนเฉกเดิมดั้น            แด่ผู้ประกอบกรรม

                                  12 มกราคม 2554 21:57

 

 

                โน เจ อสฺส สกา พุทฺธิ         วินโย วา  สุสิกฺขโต

                วเน อนฺธมหีโสว                 จเรยฺย พหุโก ชโน

            คำแปล หากความรู้ของตนไม่พึงมี หรือวินัยไม่ได้ศึกษาดีแล้ว ชนเป็นอันมากจะพึงเที่ยวไป เหมือนกระบือบอดที่เที่ยวไปในป่า ฉะนั้น

            ความหมายก็คือ ถ้าหากว่าเป็นคนไม่มีความรู้ ไม่ได้ศึกษากฎระเบียบ การดำเนินชีวิตมาเป็นอย่างดี ชีวิตของคนนั้นก็เปรียบเหมือนกระบือที่ตาบอด เที่ยวหากินไปในป่า ไม่รู้ว่าจะไปชนกับอะไรที่ไหนอย่างไรบ้าง หรืออาจจะตกเหวตกเขาตายไปก็ไม่อาจจะทราบได้ เช่นเดียวกันกับคนที่ไม่มีความรู้ ทั้งความรู้วิชาการ ทั้งวิชาชีพ การดำเนินชีวิตก็ไม่ราบรื่นเท่าไร เพราะฉะนั้น ความรู้หรือปัญญานี้ท่านจึงเปรียบเหมือนแสงสว่าง ดังบาลีว่า นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา แสงสว่างใด เสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี.

 
 
                ชนใดขาดรอบรู้         สรรพวิทย์ 
            ภิกษุวินัยปิด                 เปล่ารู้
            คือมหิงส์มัวมิด              มืดบอด  ตานา
            จะเสาะอาศัยสู้              อยู่ได้ฉันใด
              15 มกราคม 2554 13:43
 

 
                     อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
                    อปฺปมตฺตา น มียนฺติ เย ปมตฺตา ยถา มตา
        ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย คนทั้งหลายผู้ไม่ประมาทแล้วชื่อว่าย่อมไม่ตาย คนเหล่าใดประมาทแล้ว คนเหล่านั้นชื่อเหมือนคนตายแล้ว..

 
         ชนใดขาดสติตั้ง          เตือนตน
    ตายย่อมชิดทุกหน            แห่งห้วง
    มิประมาทคือชน               หายห่าง  ตายนา
    เผลอมัจจุราชอาจจ้วง       จู่จ้องจับตาย
                      17 มกราคม 2554 23:26

 
                             อจฺจยนฺติ อโหรตฺตา    ชีวิตํ อุปฺปรุชฺฌติ
                            อายุ ขียติ มจฺจานํ       กุนฺนทีมโวทกํ
                วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป อายุของสัตว์ย่อมสิ้นไป  ดุจน้ำแห่งลำธารย่อมหมดไปฉะนั้นฯ.....

 
                            วันคืนลุลดสั้น                 ตามกาล
                       ชีวิตพาสังขาร                    ขดด้วย
                       อายุยิ่งพบพาน                   พรากหมด  เร็วแฮ
                       ดุจดั่งธารหายห้วย              เหตุแล้งขาดฝน

                        20 มกราคม 2554 21:49                                                      


 
                สุโข ปุญญัสสะ อุจจะโย
               การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้


     สะสมเงินมากไซร้               เศรษฐี
    กอบเก็บมิตรไมตรี               มากพ้อง
    สะสมแต่ราวี                       วิวาท  เวียนแล
    บุญสั่งสมพาข้อง                 ครอบล้วนสุขแสน
         22 มกราคม 2554 15:40

 


 
                   สุวณฺณตา สุรูปตา        สุสรตา  สุสณฺฐานํ
                  อธิปจฺจํ  ปริวาโร           สพฺพเมเตน ลพฺภติ   

             ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ความเป็นผู้มีรูปสวย ความเป็นผู้มีเสียงไพเราะ ความเป็นผู้มีทรวดทรงดี(รูปร่างสมส่วน)  ความเป็นใหญ่  ความเป็นผู้มีบริวาร สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เกิดมีขึ้นได้เพราะบุญ(บุญนิธิ)

 
         ผิวพรรณผุดผ่องแผ้ว      เพียงจันทร์

 สมส่วนชวนชิดฝัน                  ไขว่คว้า                     
เสียงเสนาะการเวกขัน              ขานขับ
เป็นใหญ่มีทาสข้า                     เกิดขึ้นจากบุญ

         22 มกราคม 2554 17:19

 

 

                          อตฺตานเมว    ปฐมํ    ปฏิรูเป      นิเวสเย

                         ยถญฺญมนุสาเสยฺย    น กิลิฏเสยฺย ปณฺฑิโต

                บัณฑิตควรตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน จึงสอนคนอื่นในภายหลัง จะไม่พึงลำบาก.

 

                          อตฺตานญฺเจ    ตถา  กยิรา  ยถญฺญมนุสาสติ

                          สุทนฺโต วต ทเมถ   อตฺตาหิ  กิร  ทุทฺทโม

                ถ้าสั่งสอนคนอื่นอยู่ฉันใด ควรทำตนฉันนั้น ฝึกตนดีแล้วหนอ ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนเองฝึกยาก.

 

    ปราชญ์ปฏิบัติเลิศแล้ว        ในตน
แบบอย่างสาธุชน                   ยกให้
ศรัทธาทั่วผองพล                  พบผ่าน   ปราชญ์นอ
จึงสั่งสอนศิษย์ได้                   ง่ายแท้ปฏิบัติตาม

 

    สอนเขาเราย่อมต้อง           ดีงาม
ศิษย์จึ่งปฏิบัติตาม                 ต่อถ้อย
ลูกปูแม่ปูยาม                        เดินย่ำ    เป๋แล
สอนสั่งเขาตามต้อย               ยากแท้คืออาตมา
        23 มกราคม 2554 20:02

 

                    ชยํ เวรํ  ปสวติ          ทุกฺขํ เสติ  ปราชิโต

                    อุปสนฺโต  สุขํ เสติ     หิตฺวา  ชยปราชยํ

     "...บุคคลผู้ชนะย่อมประสบเวร  ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้เข้าไปละความชนะ และความแพ้แล้ว สงบอยู่ ย่อมอยู่เป็นสุข..."

                       ยินดีในชนะนั้น             ฤๅนาน
                  คนอื่นหมายทะยาน            หยิบบ้าง
                  ปราชัยยิ่งทรมาน               หมองหม่น
                  ปัดชนะปราชัยขว้าง           ย่อมคว้าสุขเยือน
                    25 มกราคม 2554 20:52


 

 

                น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ         ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ

                ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ       วิปากํ ปฏิเสวติ

กรรมใดที่ทำไปแล้ว ส่งผลเป็นความเดือดร้อนแก่ตนและคนอื่น แล้วต้องเศร้าโศกเสียใจในภายหลัง เพราะได้รับผลแห่งกรรมที่ตนเองได้ทำ แสดงว่ากรรมนั้น เป็นกรรมไม่ดี

 

     กรรมใดไปก่อร้อน            รนเขา
หรือก่อทุกข์ทับเรา                รุ่มร้อน
คือกรรมชั่วขลาดเขลา           ควรห่าง
กรรมส่งผลคืนย้อน               เยี่ยงนี้หยุดทำ
 28 มกราคม 2554 22:23

 

Ico48

            ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ       ยํ กตฺวา  นานุตปฺปติ

            ยสฺส  ปตีโต   สุมโน     วิปากํ  ปฏิเสวติ

        "...บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่ตามเดือดร้อน ถึงความอิ่มใจ มีใจดี เสวยผลของกรรมใดอยู่ กรรมที่บุคคลทำแล้วนั่นแล เป็นการดี (กรรมดี)

        คิดทำดีอย่าท้วง            ถามผล

  กรรมย่อมมาเยือนยล             เยี่ยงนั้น

  ทุกข์สุขย่อมกรรมดล            บอกส่อ   ชี้นา

 อดอิ่มโศกสุขกั้น                   กอดไว้ด้วยกรรม

 

  

                       น  หิ  เวเรน  เวรานิ   สมฺมนฺตีธ  กุทาจนํ

                       อเวเรน  จ  สมฺมนฺติ    เอส ธมฺโม สนนฺตโน

              "...ในกาลไหนๆ มา เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวรเลย ก็แต่ว่า ย่อมระงับด้วยความไม่มีเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า..."(หมายความว่าเรื่องแบบนี้มีมาเช่นนี้นานแล้ว

                        พยาบาทอาฆาตแค้น             คืนเขา

                  ยากยิ่งจะบรรเทา                        ทุกข์ได้

                  หากอภัยนั่นแหละเกลา                 เกลียดโกรธ นะพ่อ

                  สืบแต่ปางบรรพไซร้                     สั่งให้คิดครวญ  

 

                    จรญฺเจ   นาธิคจฺเฉยฺย   เสยฺยํ  สทิสมตฺตโน

                   เอกจรํ  ทฬฺหํ  กยิรา นตฺถิ  พาเล  สหายตา

            "...ถ้าบุคคลเมื่อเที่ยวไปไม่พึงประสบ(พบ)ซึ่งสหายผู้ประเสริฐกว่าก็ดี ผู้เสมอ
แก่ตนก็ดี  (ก็)พึงทำความเป็นคนเดียวเที่ยวไปให้มั่น เพราะคุณสมบัติเครื่องเป็น
สหายไม่มีในคนพาล..."
 
              หากหามิตรเที่ยวด้น            แดนไกล
        ยากยิ่งคนดีใด                          ร่วมแล้
        จงเดินเดี่ยวคลาไคล                  คลาดมิตร    พาลพ่อ
         ควรคบเพียงมิตรแท้                 เท่านั้นปลอดภัย         
 
 

                         เตสํ มจฺจุปเรตานํ        คจฺฉตํ  ปรโลกโต

                         น ปิตา ตายเต  ปุตฺตํ   ญาตี วา ปน ญาตเก

   เมื่อสัตว์เหล่านั้นถูกความตายครอบงำแล้ว ต้องไปปรโลก บิดาจะป้องกันบุตรไว้

ไม่ได้ หรือพวกญาติจะป้องกันพวกญาติไว้ก็ไม่ได้

         ความตายคราครอบเข้า          ควบคุม      ชีพนา
ฤๅปล่อยจากเกาะกุม                      มัจจุราชเจ้า
สองมือพ่อญาติรุม                          รีบปก  ปลอดฤา  
เกินกว่าขวางขัดเข้า                       คลาดพ้นความตาย   

        

หมายเลขบันทึก: 418698เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2011 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2012 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (210)

.......ตามมาเรียนธรรม.............

สม    วาดหวังวางไว้        เรียนธรรม 

หญิง  นิ่งรอรับคำ          ครูเอื้อน

อุ้ม    ไว้ดั่งใจจำ           จดจ่อ  

บุญ   ต่อตามเตือนตน    ดีดั่ง  ดลใจ

       ..........................................

.......ตามมาเรียนธรรม.............

สม    วาดหวังว่าไว้        เรียนธรรม    ว่า คำเอก

หญิง  นิ่งรอรับคำ         ท่านเอื้อน     ท่าน คำเอก

อุ้ม    ไว้ดั่งใจจำ           จดจ่อ    จริงนา (เพิ่มคำสร้อย ให้อ่อนหวาน)

บุญ   ต่อตามมาเปื้อน    แปะไว้หมายเรียน

 

 

 

สม    วาดหวังว่าไว้        เรียนธรรม 

หญิง  นิ่งรอรับคำ         ท่านเอื้อน

อุ้ม    ไว้ดั่งใจจำ            จดจ่อ  จริงนา

บุญ   ต่อตามเตือนได้    ไม่ท้อ  เพียรธรรม

                        "O"

 

สม    วาดหวังว่าไว้        เรียนธรรม 

หญิง  นิ่งรอรับคำ         ท่านเอื้อน (ก็ต้องแก้เป็น ท่านให้    ให้ กับได้)

อุ้ม    ไว้ดั่งใจจำ            จดจ่อ  จริงนา

บุญ   ต่อตามเตือนได้    ไม่ท้อ  เพียรธรรม

 

     ภา    ษาธรรมที่ได้         ขีดเขียน

   ทิพ    พิเศษพอเพียร       เพื่อรู้

   ขอ    จรจากไปเวียน       แวะงีบ  ก่อนนา

   นอน  หลับเอาแรงสู้         พรุ่งนี้งานถม

 

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

        ขออนุโมทนาขอบคุณ คุณครูที่เอาเอาคำแปลพระบาลีมาประกอบภาพ จะพยามสอดแทรกความรู้ทางบาลีมาให้คุณครูอ่านเรื่อยๆ เพื่อคุณครูจะได้แต่งเป็นโคลง จะได้เป็นการเผยแพร่หลักธรรมเป็นวิทยทานต่อไป ก็การประกาศสิ่งใด จะประเสริฐเท่ากับการประกาศธรรม การปฏิบัติสิ่งใดจะประเสริฐเท่ากับการปฏิบัติธรรม การให้สิ่งใดจะประเสริฐเท่ากับการให้ธรรม สมดังพระบาลีว่า "สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ"การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง และเชื่อว่า การให้สิ่งที่ประเสริฐ ผู้ให้ก็คงเป็นผู้ไม่ไร้ผล(ทายโก อนิปฺผโล) ย่อมได้รับสิ่งที่ประเสริฐเช่นกัน (ชอบใช้คำว่าพระบาลี เหตุผลเพราะใช้ได้สะดวกดีไม่ต้องกลัวผิด เพราะบาลีแต่ละบท มีที่มาต่างกัน บางทีก็เป็นพระพุทธพจน์ บางทีก็เป็น เถรภาษิต เถรีภาษิต  แต่ทั้งนี้ก็เกี่ยวเนื่องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า) ขอขอบคุณคุณครูที่ทำบันทึกไว้เป็นที่เป็นทางดี.

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณสันติสุข  ขอบคุณมากค่ะ  ที่แวะมา

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

                         

                  เยาวชนควรรอบรู้              จดจำ

                 คิดรอบคอบอย่าถลำ           พลาดพลั้ง

                 มีจิตคิดกระทำ                  ประโยชน์   ชาตินา

                 มีสติคอยเหนี่ยวรั้ง             เลิศด้วยคุณธรรม

      เนื่องมาจากวันเด็กครับ รรอบคอบ (ถูกมั้ยครับ) มีอะไรรหลายอย่างที่อยากถามเรื่องความหมายของคำบางคำที่ปรากฏมีในโคลงบางบท    โคลงข้างบนนี้ถ้าคุณครูแต่ง จะแต่งว่าอย่างไรครับ..    

       การประกาศสิ่งใด จะประเสริฐเท่ากับการประกาศธรรม การปฏิบัติสิ่งใดจะประเสริฐเท่ากับการปฏิบัติธรรม การให้สิ่งใดจะประเสริฐเท่ากับการให้ธรรม สมดังพระบาลีว่า "สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ"การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง

       มีแรงกายช่วยเกื้อ         ยินดี

มีทรัพย์สินมาพลี                 ชอบแท้

น้ำใจมอบเปรมปรีดิ์              กมลยิ่ง   แม่เอย

ธรรมประกาศเลิศแล้             ใหญ่โพ้นมหาทาน

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

         

       แค่ข้างฤๅเห็น ? เข็ดคู้?  เข็ดขู้สารพัน. เรียม นี่ หมายถึงผู้หญิง หรืออะไร? ฤไกลไป่เร้น?    หม่นไยฤๅแล้ง?  แค่เงาเรียมบ้า?     จำอ่านเขียนเพียรซ้อง   คำว่า ซ้อง? หม้อกรองน้ำ มีศัพท์ใช้อยู่นะครับ เรียกว่า  ธมกรก-กระบอกกรองน้ำของพระสงฆ์,เครื่องกรองน้ำด้วยลมเป่า,กระบอก้นผูกผ้าครับ อันนี้ก็ฝากให้คุณครูพิจารณาครับ ไม่ได้เป็นการตำหนิ อะไร

                               สบงจีวรพรั่งพร้อม          เข็มบาตร

                             รัดประคตอนุญาต            กล่าวไว้

                             หม้อกรองน้ำมิพลาด         สังฆาฎิ    อีกนา

                             อัฎฐบริขารของใช้            ชั่วครั้งพรรษา

    

 

 

 

รัดประคดอนุญาต

 

หม้อกรองน้ำมิพลาด

 

อัฏฐบริขารของใช้

 

     ๏ สบงจีวรพรั่งพร้อม

เข็มบาตร

รัดประคดอนุญาต

กล่าวไว้

 

สังฆาฎิ อีกนา

 

 

 

     ๏ สบงจีวรพรั่งพร้อม

 

 

 

พลาด

 

อัฏฐบริขารของใช้

 

 

 

 

              "รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ"...  แต่งได้ดีค่ะ

                  เยาวชนควรรอบรู้              จดจำ

                 คิดรอบคอบอย่าถลำ           พลาดพลั้ง

                 มีจิตคิดกระทำ                  ประโยชน์   ชาตินา

                 มีสติคอยเหนี่ยวรั้ง             เลิศด้วยคุณธรรม

 

          รอบคอบครวญคิดครั้ง          คราทำ

    ครองสติพานำ                          ห่างเศร้า

     ตระหนักนึกผลกรรม                 เกิดก่อ  ย้อนเฮย

      รักษ์ถนอมทรัพย์โลกเฝ้า          แผ่เกื้อเจือจาน               

 

การแต่งโคลงจะถูกจำกัดด้วยจำนวนคำ  และคำเอกคำโท

หากเป็นคำสงฆ์คำยาว ๆ ก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้ค่ะ จึงต้องเลี่ยง

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

ความหมายของคำบางคำที่ปรากฏในโคลงครับคุณครู ไม่ค่อยเข้าใจจริงๆ แต่ก่อน ไปอ่านลิลิตพงศาวดารเหนือไม่ค่อยรู้เรื่องเลย แต่ตอนนี้ ก็พอรู้เรื่องบ้างนิดนึง โดยอาศัยบริบทแวดล้อม แล้วก็จินตนาการตามนั้น ลิลิตพงศาวดารเหนือ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ครับ คุณครูก็ช่วยอธิบายคำที่ถามข้างบนนี้ด้วยนะครับ ขออนุโมทนาขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง

การอ่านตีความ ต้องอาศัย บริบท ค่ะ  ถึงแม้ว่าจะแต่งเอง

หากนำมาเพียงวรรคใด วรรคหนึ่ง  ไม่สามารถอธิบายความหมายได้ค่ะ

และบางครั้ง ความจริงก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป  ก็มีบ้างที่กลอนพาไป

หรือคำพาไป

 

เรียม หญิง หรือชายก็ได้ แทนคำว่า ฉัน ภาษาโบราณ 

 

โคลงสี่สุภาพที่ไพเราะที่สุด ต้องอ่าน  นิราศนรินทร์  ของนายนรินทร์ธิเบศร์

หาอ่านได้จากห้องสมุดทั่ว ๆ ไป  ในเว็บไซต์ มีผิดค่อนข้างมากค่ะ

http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/nirad/nirad.htm

     ในนิราศ  ในกลอนของบรมครูก็เช่นกัน  หลายสิ่งที่พรรณนา  บางครั้งไม่ได้เกิดขึ้นจริง  แต่กวีต้องการสื่อความหมายต้องการเล่นคำ  จึงนำสิ่งที่ไม่ได้อยู่ด้วยกันให้มาอยู่ในที่ ๆ เดียวกัน 

 

เข็ดคู้  ต้องการบอกว่าแก่  คู้ คืออาการตัวคู้ของคนแก่  เข็ดคู้ ต้องการเล่นเสียงสัมผัสอักษร 

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

  แต่ก่อนนี้อาตมาเรียนรัฐศาสตร์จบ ปี ๔๙ ก็รู้สึกไม่ค่อยชอบเท่าไร รู้สึกว่ากำลังศึกษาอะไรที่วุ่นวาย ก็เลยคิดว่าศึกษาศาสตร์ ภาษาไทย น่าจะถูกกับจริตตนเอง พอมาเรียนแล้วก็รู้สึกชื่นชอบ    พอมาอ่านโคลงต่างๆก็รู้สึกชอบ คิดว่าไพเราะดี ก็ลองผิดลองถูกแต่งดูบ้าง  ตอนเรียนบาลี ก็เคยได้ยินเรื่องฉันท์มาบ้าง  อินทรวิเชียร วสันตดิลก ปัฐยาวัตร และกาพย์ต่าง ๆ  โดยเฉพาะกาพย์สินธุมาลี มหาสินธุมาลี มีลักษณะสัมผัสเหมือนโคลงสี่สุภาพมาก ดังคาถาข้อกำหนดดังนี้

                                 สตฺตทฺวาทสเอกูน-                   วีสตีสุ    ตโย  สรา

                                 จุทฺทสเม    ฉวีสาย                   เทว   สรา   สมกา  สิยุง

                                ยสฺมึ   ลกฺขณมิทญฺเจ                  สินธุมาลีติ   สา  มตา ฯ

    คำแปล สระ ๓  สระในคำที่ ๗. ๑๒. และ ๑๙. เหมือนกัน และสระ ๒ สระในคำที่ ๑๔ กับคำที่ ๒๖ พึงเหมือนกัน หากกาพย์ใดมีลักษณะดังนี้ กาพย์นั้นท่านเรียกว่าสินธุมาลี อาตมาก็คิดเองว่าโคลงสี่สุภาพของเราน่าจะมาจากกาพย์นี้ (ทะเว พิมพ์แบบบาลีไม่ได้ ก็เลยเห็นเป็น เทว, สิยุง ก็เขียนไม่ได้ ก็เลยเขียนตามที่เห็น)

  • หากชื่นชอบคำประพันธ์ เว็บนี้เป็นของเจ้าอาวาสวัดโพธิเกษตร
  • ท่านเชี่ยวชาญกลบทมากลองศึกษาดูนะคะ อาจจะชอบ

        http://www.oknation.net/blog/kondee007/category/29

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

     ชอบคาถาบทนี้มาก มาในธรรมบทภาคที่ ๑ เป็นคำกล่าวของพระจักขุบาลกล่าวกับน้องชาย ความหมายก็ดีมากดังนี้ 

                            ชราชชฺชริตา โหนฺติ          หตฺถปาทา  อนสฺสวา

                            ยสฺส,  โส  วิหตตฺถาโม      กถํ  ธมฺมํ  จริสฺสติ

                  มือและเท้าของผู้ใดคร่ำคร่าไปแล้วเพราะชรา ว่าไม่ฟัง  มีเรี่ยวแรงอันชราขจัดแล้ว จักประพฤติธรรมได้อย่างไร (อนสฺสวา-เป็นอวัยวะไม่ฟังตาม แปลเอาความว่า ว่าไม่ฟัง) คุณครูก็ลองแต่งโคลงดูบ้างนะครับ ที่จริงก็น่าจะเรียกว่าอาจารย์จึงจะเหมาะควรกว่า

                   

มีเรี่ยวแรงอันชราขจัดแล้ว จักประพฤติธรรมได้อย่างไร

ไม่เข้าใจความหมายค่ะ

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

       ลองเข้าไปแล้วเว็บของท่านเจ้าอาวาสวัดโพธิเกษตร แต่ยังเข้าไม่ถึงเรื่องร้อยกรองเลย เข้าไปได้เฉพาะหน้กของท่าน อีกอย่างเน็ตที่ใช้นี้ก็เป็นเน็ตซิมจากแอร์การ์ด มันคงจะช้า อีกอย่างอาตมาก็ไม่ค่อยชำนาญการเข้าเน็ตเท่าไร แต่ก็จะพยายาม อยากทราบที่อยู่ของท่านเหมือนกัน บางทีจะได้ไปนมัสการขอคำชี้แนะจากท่าน  สุราษฎร์ธานี โรงเรียนของคุณครูก็เหมือนกันถ้ามีกิจพระศาสนาทางภาคใต้ คงจะได้แวะไปเยี่ยม คุณครูก็คงจะยินดีนะ. ภาคใต้ยังไม่เคยไปสักที  

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

            หมายความว่า เป็นคนแก่เรี่ยวแรงก็ไม่มีการจะทำอะไรได้ตามใจก็ทำได้ยาก การประพฤติปฏิบัติธรรมในความหมายนี้ หมายถึงการนั่งสมาธิ การเดินจงกรม เพราะปรากฏว่าท่าน นั่งสมาธิไม่นอนจนลมเสียดแทงตาของท่านเป็นเหตุให้ตาบอด ที่สุดก็เป็นพระอริยบุคคลรูปหนึ่งในพระพุทธศาสนา..  คนเราก็คิดเช่นนี้เหมือนกัน ยังหนุ่มแน่นอยู่ไม่อยากเข้าวัดปฎิบัติธรรม รอให้แก่ก่อนก็มีแต่บางทีก็มีอันต้องจบชีวิตไปก่อน นี่แลท่านเรียกว่าเป็นคนประมาท คือพลาดจากโอกาสที่จะพึงได้พึงถึง พลาดจากคุณงามความดี (แต่การปฏิบัติธรรมนี้มีความหมายกว้างมาก ไม่ใช่จำกัดที่การนั่งสมาธิ เดินจงกรมอย่างเดียว)  คำพูดของท่านเป็นคำตอบให้กับคนที่คิดเช่นนั้น

เข้าไปได้เฉพาะหน้าหลักของท่าน

รวมบรรดาพี่น้อง   วงศา

หมายมุ่งเชิญกันมา    หมดสิ้น

เตรียมจิตเพื่อศรัทธา   สงบนิ่ง  เถิดพ่อ

ยอมสละชีพดาวดิ้น     นอบน้อมบรรพชา


ชอบประโยคที่ว่า ปกติจิตนั้น ปภัสสร มีรัสมี เหมือนจันทร์เจ้า มากเลยค่ะ

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

                                      

                                              ก่อนนอนพึงนอบน้อม         วันทา

                                         ระลึกถึงไตรสรณา                 ก่อนเกื้อ             

                                        สำรวมจิตเมตตา                     สรรพสัตว์   ทั่วเทอญ

                                        พ่อแม่ผู้เอื้อเฟื้อ                      โปรดได้กตัญญู

     ตามหลักพุทธศาสนาให้สำรวมจิตใจแผ่เมตตา แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายก่อนนอนจะได้ไม่ฝันร้าย.  กตัญญู กต-อัญญู-รู้สิ่งที่คนอื่นทำให้แล้ว  กตเวที-ตอบแทน เป็นสิ่งที่มีคุ่กัน โคลงนี้ไม่เพราะเท่าไรครับ. 

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

   ชอบประโยคที่ว่า ปกติจิตนั้น ปภัสสร มีรัสมี เหมือนจันทร์เจ้า คำนี้มีปรากฏในเรื่องพระอานนท์พุทธอนุชา เขียนโดยอาจารย์วศิน อินทสระ เป็นหนังสือทีเขียนดีมาก ส่วนบาลีที่รับรอง ปภสฺสมิทํ จิตฺตํ มีปรากฏในธรรมบท ภาคที่ ๑

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

 

    ธรรมะยามเช้าครับคุณครู... มีพระบาลีบทนี้มาในภัทเทกรัตตคาถา ซึ่งก็เป็นข้อคิดเตือนใจได้ดีมาก ดังต่อไปนี้

                             อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ        โก ชญฺญา  มรณํ  สุเว

                             น  หิ  โน สงฺครนฺเตน      มหาเสเนน   มจฺจุนา

    คำแปล ควรรีบทำความเพียรเสียในวันนี้ทีเดียว ใครเล่าจะจะรู้ว่าความตายจะมีมาในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าเราจะขอผลัดเพี้ยนต่อพญามัจจุราช ผู้มีเสนาใหญ่ นั้นไม่ได้เลย,,,, จริงแล้ว ในบางสำนักท่านก็แปลเข้าใจง่าย ๆว่า ควรรีบทำความดีตั้งแต่วันนนี้ ใครเล่าจะรู้ว่าตนเองจะตายในวันพรุ่ง เราจะขอผัดเพี้ยนต่อความตายที่มีอำนาจมากนั้นไม่ได้เลย, เคยได้ยิน ที่วัดพระอาจารย์ สมภพ โชติปัญโญ(ท่านเป็นพระนักปฎิบัติ ทั้งแตกฉานในพระไตรปิฏก และภาษาหลายภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ แต่ปัจจุบันเป็นอาพาธมาก ด้วยอำนาจปุพพกรรม) วัดนิพเพธพลาราม อ.คำตากล้า จ.สกลนคร ทได้ยินท่านแปลว่า ความพากเพียรในสิ่งดีงามเป็นสิ่งที่ควรทำ ที่จริง อชฺเชว มาจากศัพท์ว่า อชฺช+เอว   อชฺช-ในวันนี้  เอว-นั่นเทียว,นั่นแล เป็นเพียงศัพท์นิบาตตกลงในระหว่านามศัพท์บ้าง กริยาศัพท์บ้าง มีไว้เพื่อทำบทให้เต็ม  คล้าย ๆกับคำสร้อยในโคลงนั่นเอง ส่วน กิจฺจมาตปฺปํ  แยกศัพท์ได้ดังนี้ กิจฺจํ+อาตปฺปํ  กิจฺจํ-กิจ หรือสิ่งที่จะต้องทำ อาตปฺปํ มาจาก อา-ตปฺปํ อา อุปสรรรค บทหน้า  แปลว่า ทั่ว ตปฺปํ-ความเพียรเป็นเครื่องยังกิเลสให้ร้อน ด้วยอำนาจแห่งนิคหิตสนธิ เอานิคคหิต ที่ กิจฺจํ ลงเป็น ม สำเร็จรูปเป็น กิจฺจมาตปฺปํ  คุณครูก็ลองแต่งโคลงดูนะครับ คงจะรบกวนคุณครูมาก ก็แล้วแต่จะกรุณานะครับ ขออนุโมทนา.

 

 

                             

สุขสันต์วันเด็ก อยากจะชวนไปดูแบบอย่างของอดีตเด็กที่ http://gotoknow.org/blog/somdejmas/418627

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

 

ที่อีสานหนาวเย็นมาก

                         อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ        โก ชญฺญา  มรณํ  สุเว

                        น  หิ  โน สงฺครนฺเตน       มหาเสเนน   มจฺจุนา

    คำแปล ควรรีบทำความเพียรเสียในวันนี้ทีเดียว ใครเล่าจะจะรู้ว่าความตายจะมีมาในวันพรุ่งนี้

                     ความเพียรควรเร่งสร้าง       เร็วพลัน

           ทุกกิจควรรีบสรรค์                        สิ่งสร้าง

           หยุดหวังพรุ่งคงทัน                       ทำผัด  นะแม่

           มัจจุราชอาจง้าง                          ง่าเงื้อหมดกาล

                            ชราชชฺชริตา โหนฺติ          หตฺถปาทา  อนสฺสวา

                            ยสฺส,  โส  วิหตตฺถาโม      กถํ  ธมฺมํ  จริสฺสติ

            มือและเท้าของผู้ใดคร่ำคร่าไปแล้วเพราะชรา ว่าไม่ฟัง  มีเรี่ยวแรงอันชราขจัดแล้ว จักประพฤติธรรมได้อย่างไร

              เรียนธรรมทำแต่เช้า             สบายใจ

      ยามเที่ยงอบอวลไอ                     รุ่มร้อน

      เพลาบ่ายสายไป                        คงเปลี่ยว 

      เย็นย่ำคืนคนข้อน                        ข่มด้วยติฉิน

 

           เรียนธรรมทำแต่ครั้ง              เยาวชน

       จำจดมิสับสน                          สักข้อ

       เดินลุกนั่งเหินหน                     มิง่อย

       รอแก่กายเจ็บท้อ                      ท่วมท้นทุกข์เข็ญ

                        

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

    

         ขอมอบโคลงนี้มาคารวะคุณครูที่นับถือจากใจจริง ๆ เพราะนี้ก็ใกล้จะถึงวันครูแล้ว...ขอให้คุณครูสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีกำลังใจที่เข้มแข็ง ปรารถนาสิ่งใดที่ประกอบไปด้วยกุศล ขอสิ่งนั้นจงสำเร็จทุกประการ.             

 

                                     มีคุณครูท่านได้                 สั่งสอน

                            มอบสิ่งอันบวร                            เลิศล้ำ

                            ความรู้นั่นแน่นอน                        หายาก    ยิ่งแล

                           เตือนจิตคิดเน้นย้ำ                        ห่อนได้ลืมคุณ  

      ขอขอบคุณ คูณครูที่เอาคำแปลพระบาลีไปแต่งและจะพยายามขยายเนื้อความในพระบาลีนั้นด้วย และจะพูดถึงในเรื่องไวยาการณ์ตามที่เข้าใจ ให้คนที่สนใจใคร่รู้จะได้รู้  ได้อ่าน เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน           

       ขอบคุณโคลงแต่งให้        มอบมา

แลกเปลี่ยนกันศึกษา                นั่นแล้

หมูไปไก่นำพา                        กูลเกื้อ

หาใช่เพียงฉันแท้                     เท่านั้นวิทยาทาน

 

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

พระ ครูหลวงท่านให้ บูชา

โพธิ หมู่พฤกษา ร่มไม้

วุฒิ ปริญญา พุทธศาสตร์

ธรรม ดั่งโอสถไซร้ อย่าได้ลืมเลือน

สมณศักดิ์ของพระ เป็นประดุจดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้พระสงฆ์ผู้ทรงศีลาจารวัตรงงดงาม ตามราชประเพณีนิยม เป็นเครื่องสนับบสนุนในการทำความดี มีกำลังใจในการสืบทอดอายุพระศาสนา จึงแต่งบทนี้เป็นเครื่องมุทิตาสักการะท่าน คุณครูว่ายังไงกับบทนี้บ้างครับ (พระครูโพธิวุฒิธรรม)ท่านจบพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงการณราชวิทยาลัย

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

             ใครๆ ก็เข้าใจว่า เหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช เพราะได้พบเห็นเทวทูต ทั้ง ๔ เท่านั้น แต่เหตุอื่นนั่นก็มีแต่ไม่ค่อยกล่าวถึงกัน  คราวนึง เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จประพาส  พระนางกีสาโคตมี ซึ่งเป็นพระธิดาของพระประยูรญาติของพระองค์ เห็นพระสิริโฉมอันงดงามต้องด้วยมหาบุรุษพุทธลักษณะ งดงามมาก จึงมีจิตปฏิพัทธ์ ในเจ้าชาย และได้เปล่งอุทานออกมาว่า 

                        นิพฺพุตา  นูน   สา มาตา          นิพฺพุโต    นูน สา ปิตา

                        นิพฺพุตา  นูน    สา นารี           ยสฺสายํ    อีทิโส    ปติ

          แปลว่า "บรุษผู้เช่นนี้เป็นบุตรของมารดาใด มารดานั้น เย็นใจได้แน่ เป็นบุตรของบิดาใด บิดานั้น เย็นใจได้แน่ เป็นสามีของหญิงใด หญิงนั้น เย็นใจได้แน่"

        ..ความหมายก็คือถ้าคนนี้เป็นลูกใครพ่อแม่ก็มีแต่ความสุข เป็นสามีของหญิงใดหญิงนั้นก็มีแต่ความสุข. แต่พระมหาบุรุษสิทธัตถะ พอได้ฟังดังนั้นแล้ว ก็คิดมากว่านั้นว่า น้องหญิงคนนี้ทำให้เราได้สดับ บทว่า นิพพาน แปลว่าดับ จึงพระราชทานแก้วมุกดา ให้เป็นรางวัล ทำให้มีพระทัยโน้มเอียงมาในการบรรพชา (แต่ก่อน เรียกการบวชว่า บรรพชา)  คำว่า"นิพพาน" นี้ก็มีความหมายกว้าง เช่นบทนึงที่พระว่าตอนท้ายให้ศีล สีเลน นิพฺพุติง ยนฺติ บุคคลจะไปสู่นิพพานได้ก็เพราะศีล นิพพานในความหมายเบื้องต่ำก็คือเย็น เย็นใจ คือถ้ามีศีลสมบูรณ์ก็ไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจอะไร เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ในความหมายเบื้องสูง หมายถึง ภาวะที่ปราศจากสิ่งร้อยรัด มาจากศัพท์ว่า นิร- วานะ นิร-ไม่มี ปราศจาก,วานะ-เครื่องร้อยรัด ลองแต่งโคลงดูบ้างนะครับ

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

 

                          

                               หน้าหนาวอากาศนี้                  เยือกเย็น

                             หนาวมากจนมองเห็น                 ห่มผ้า

                             หนาวจิตคิดลำเค็ญ                   ทนอยู่  ได้ฤา

                            หนาวนักหากเหนื่อยล้า               ห่มผ้าแห่งธรรม       

      พระ  ครูหลวงท่านให้       บูชา

โพธิ  หมู่พฤกษา                   ร่มไม้

วุฒิ  ปริญญา                       พุทธศาสตร์

ธรรม  ดั่งโอสถไซร้               อย่าได้ลืมเลือน

      ดีถูกต้องทุกประการค่ะ

 

        สีเลน นิพฺพุติง ยนฺติ บุคคลจะไปสู่นิพพานได้ก็เพราะศีล นิพพานในความหมายเบื้องต่ำก็คือเย็น เย็นใจ คือถ้ามีศีลสมบูรณ์ก็ไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจอะไร เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ในความหมายเบื้องสูง หมายถึง ภาวะที่ปราศจากสิ่งร้อยรัด มาจากศัพท์ว่า นิร- วานะ นิร-ไม่มี ปราศจาก,วานะ-เครื่องร้อยรัด

         ชนใดปราศห่วงร้อย          รัดกาย

    ชนย่อมสุขสบาย                   บ่ร้อน

     ชนใดห่มศีลหมาย                ธรรมย่อม   คุ้มนา

     ศีลสะกดมารต้อน                 โผล่เพี้ยงนิพพาน

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

                        เพื่อนดีนี้เปรียบได้            เหมือนเรือ

                        คอยส่งคอยช่วยเหลือ        ทุกครั้ง

                        ตกยากเพื่อนจุนเจือ           หยิบยื่น  ช่วยนา

                        ยามผิดคอยเหนี่ยวรั้ง          จากห้วงอบาย

              คุณครูช่วยแนะนำและให้คะแนนหน่อย เป็นยังไงบ้างครับ

ขอคุณครับที่ช่วยดูให้

                              เพื่อนดีนี้เปรียบได้       เหมือนเรือ

                        คอยส่งคอยช่วยเหลือ        ทุกครั้ง

                        ตกยากเพื่อนจุนเจือ           หยิบยื่น  ช่วยนา

                        ยามผิดคอยเหนี่ยวรั้ง          จากห้วงอบาย

 

ก็ดีค่ะ  แต่อาจเปลี่ยนเพื่อเล่นสัมผัสอักษร..

 

                         เพื่อนดีนี้เปรียบได้            ดุจเรือ

                        เสริมส่งคอยช่วยเหลือ        ทุกครั้ง

                        ยามยากเพื่อนจุนเจือ          หยิบยื่น  เสมอนา

                        ยามผิดมิตรยังยั้ง               หยุดห้วงอบาย

                              ดูละครแล้วคิดย้อน              ดูใจ

                             เรื่องเก่าจบลงไป                  ผ่านพ้น

                             คนเรากลับหลงใหล               ลืมจบ ตามนา

                             สุขทุกข์ใจขุ่นข้น                   โศกเศร้าตามละคร

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

                            เพื่อนดีนี้เปรียบได้                ดุจเรือ

                            เสริมส่งคอยช่วยเหลือ        ทุกครั้ง

                            ยามยากเพื่อนจุนเจือ          หยิบยื่น  เสมอนา

                            ยามผิดมิตรยังยั้ง               หยุดห้วงอบาย

ขอบคุณครับ ไพเราะมาก

                              ดูละครกลับคิดย้อน              ดูใจ

                             เรื่องเก่าจบลงไป                  ผ่านพ้น

                             คนดูกลับหลงใหล                ลืมจบ ตามนา

                             สุขทุกข์ใจขมข้น                  คับแค้นตามละคร

 

อาจหลีกเลี่ยงการใช้รูปวรรณยุกต์ก็ได้

 

             สดับธรรมคราค่ำนี้        พอควร

         วารว่างฝากสำนวน           แนะไว้

         คำโคลงที่อบอวล             อายกลิ่น  ธรรมนา

         เผยแพร่หวังจักได้           เด็กรู้รักธรรม

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

          พระบาลีที่เขียนลงให้คุณครูได้อ่าน อาตมาเองก็ได้หยิบยกไปแสดงอยู่บ่อย ๆ แต่ก่อนไม่ค่อยบอกที่มา แต่มาตอนนี้ก็พยายามหาที่มา เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับผู้สนใจ อีกอย่างเพื่อเป็นการรักษาพระพุทธพจน์ และให้เกิดความสมบูรณ์พร้อมทางวิชาการ แต่บางคนก็บอกไม่ค่อยชอบเพราะไม่รู้เรื่อง แต่ก็เป็นความจำเป็นที่จะต้องรักษา  เสียดายว่าตอนนี้ไม่มีโอกาสได้ศึกษาบาลีเต็มที่ เพราะการศึกษาทางโลก จากการที่ได้อ่านก็ทราบว่า ตอนนี้คุณครูมีอายุ ๕๒ แล้ว โยมแม่อาตมาปีนี้ ๔๔...... ถ้าเห็นว่าบทใดเหมาะที่จะนำไปเขียนเป็นโคลงก็แล้วแต่คุณครูจะพิจารณา ในจำนวนหนังสือธรรมะที่อ่านมา ชอบเรื่อง พระอานนท์พุทธอนุชา เขียนโดยอาจารย์วศิน อินทสระ เรื่องธรรมธารา ของ อาจารย์แสง จันทร์งาม ท่านใช้นามปากกาว่า ธรรมโฆษ  และหลวงพ่อทองวัดโบสถ์ ของ ทวี วรคุณ นักเขียนรางวัล ยูเนสโก ปี ๒๕๑๐ คุณครูถ้ามีโอกาสอ่านก็ลองอ่านดูบ้าง จะได้รู้และเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น.

Ico48
พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ [IP: 49.228.91.167]
09 มกราคม 2554 09:57
#2323606

          คราวครั้งนึง  ณ ปุพพารามของนางวิสาขา    มีเรื่องหนึ่งซึ่งแสดงถึงพุทธจริยาอันประเสริฐ คือวันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น แล้วประทับ ณ ภายนอกซุ้มประตู ครั้งนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จมาเฝ้า เมื่อพระองค์ประทับ ณ ที่สมควร และสนทนากับพระศาสดาเป็นสาราณียะอยู่นั่นเอง มีนักบวชหลายนิกาย กล่าวคือนิครนถ์ ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน อเจลกะ ๗ คน ปริพพาชก ๗ คน และ ชฎิลอีก ๗ คน รวม ๓๕ คน ซึ่งล้วนมีเครายาว มีขนรักแร้ยาว ถือบริขารต่างๆ เดินผ่านมา  พระเจ้าปเสนทิโกศลเห็นนักบวชเหล่านั้น คุกพระชานุข้างหนึ่งลง ทำผ้าห่มเฉลียงบ่าพลางประกาศนามและโคตรของพระองค์ว่า

     “ข้าแต่ท่านักพรตผู้ประเสริฐ ข้าพเจ้าคือพระเจ้าปเสนทิโกศล” ดังนี้ ๓ ครั้งเป็นการแสดงความคารวะอย่างสูง นักบวชเหล่านั้นหยุดครู่หนึ่งแล้วเดินเลยไป พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงหันมากราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระจอมมุนี นักบวชเหล่านั้นคงเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งซึ่งมีอยู่ปรากฏอยู่ในโลกเป็นแน่แท้”

 พระสุคตเจ้ามีพระอาการสงบนิ่งอยู่ครู่หนึ่งก่อนจะตรัสว่า

    “มหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์ยังบริโภคกาม บรรทมเบียดโอรสและชายา ทรงผ้าที่มาจากแคว้นกาสี ทัดทรงของหอม ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์ จึงเป็นการยากที่จะรู้ได้ว่า นักบวชเหล่านั้นเป็นอรหันต์หรือไม่ มหาบพิตร   

           “ปกติของคนเป็นอย่างไร อาจรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และต้องอยู่ร่วมกันนานๆ ต้องใส่ใจและมีปัญญาสอดส่องกำกับไปด้วย ปัญญาของคนพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา  ความสะอาดของคนพึงรู้ได้ด้วยการงาน ความกล้าหาญและเรี่ยวแรงรู้ได้ในเวลามีอันตราย ทั้งหมดนี้ต้องใช้เหตุ ๓ อย่างประกอบคือ กาลเวลา ปัญญา และโยนิโสมนสิการ”(โยนิโสมนสิการคุณครูรู้ความหมายอยู่นะคำนี้)

          พระผู้มีพระภาคทรงตอบอย่างบัวไม่ให้ช้ำน้ำมิให้ขุ่น ถ้าพระองค์จะตรัสตรงๆ ว่านักบวชเหล่านั้นมิได้เป็นอรหันต์ดอก ที่แท้ยังเป็นผู้ชุ่มไปด้วยกิเลส ก็จะเป็นการยกตนข่มผู้อื่น ถ้าพระองค์จะทรงรับรองว่านักบวชเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็จะพึงดูแคลนพระสัพพัญญุตญาณได้

          เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงกราบทูลว่า อัศจรรย์จริงพระเจ้าข้า อัศจรรย์จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นสัพพัญญูโดยแท้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐ ความจริงนักบวชเหล่านั้นคือจารบุรุษซึ่งข้าพระองค์ส่งไปสอดแนมเหตุการณ์บ้านเมือง ณ แคว้นต่างๆ เมื่อถึงบ้านแล้วบุรุษเหล่านั้นย่อมลูบไล้ด้วยของหอม นอนเบียดบุตรและภรรยา พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ๕ .....พระดำรัสที่ตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น พระบาลีดังนี้)

 

                      สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ         สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ

                     อปทาสุ ถาโม เวทิตพฺโพ      สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา

          บาลีบทนี้มาใน อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต  พระสุตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ข้อที่ ๑๙๒ หน้าที ๒๕๔ พระไตรปิฎกบาลีอักษรไทยฉบับสยามรัฐ ชุด ๔๕ เล่ม ส่วนเนื้อเรื่อง จากเรื่องพระอานนท์พุทธอนุชา เขียนโดยอาจารย์วศิน อินทสระ   มหามกุฏราชวิทยาลัย จัดพิมพ์

 

 

Ico48
พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ [IP: 182.232.148.237]
09 มกราคม 2554 17:00
#2324093

    วันนี้ได้เข้าไปอ่าน แด่เธอ.....ด้วยรักและอาลัย(บันทึกที่ไม่อยากเขียน)ได้อ่านกลอนแล้วก็เศร้า ก็ได้แต่ปลงธรรมสังเวช พิจารณาว่าคนเราเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องมีอันต้องจากโลกนี้ไปเป็นธรรมดา แต่การจากไปนั้นต่างกันแต่ว่าจะช้าหรือเร็วเท่านั้น และเหตุที่ทำให้จากไปนั้นก็มีอยู่ ๔ อย่าง และยังมีสิ่งที่คนเราไม่สามารถจะรู้ได้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ดังพระบาลี

 

                               ชีวิตํ พยาธิกาโล จ               เทหนิกเขปนํ   คติ  

                              ปญฺเจเต  ชีวโลกสฺมึ              อนิมิตฺตา น   นายเร

                         บาทที่หนึ่งและบาทที่สองในคาถาบทนี้ มีบาทละ ๙ พยางค์ ไม่รู้ว่าเป็นฉันท์อะไร

          แปลว่า เรื่องที่ไม่สามารถจะรู้ได้ ในขณะยังมีชีวิตอยู่ ๕ ประการ คือเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ เรื่องพยาธิความเจ็บไข้ได้ป่วย เรื่องกาลเวลาที่จะตาย เรื่องสถานที่จะตาย และเรื่องคติทางที่จะไปเกิด และยังมีพระบาลีที่มีปรากฏในธรรมบทภาคที่ ๑ ซึ่งคนในสมัยนั้นเมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว มักจะได้ข้อคิดว่า..

                                   สพฺพํ ปหาย คนฺตพฺพํ

                      ทุกคนจำเป็นจะต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป

                   ปรโลกํ คจฺฉนฺตํ ปุตฺโต วา ธีตโร วา โภคา วา นานุคจฺฉนฺติ

     บุตรธิดาและทรัพย์สมบัติก็ดี ไม่สามารถจะติดตามบุคคลผู้ไปสู่โลกอื่น

 

                                อนฺตมโส สรีสรํปิ อตฺตนา

                          แม้ร่างกายก็ไม่ไปกับด้วยตน (เรา)

แต่สิ่งที่จะติดตามตัวไป มีพระบาลีรับรองดังนี้

                              อุโภ  ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ   ยํ  มจฺโจ  กุรุเต  อิธ

                              ตํ  หิ ตสฺส  สกํ โหติ        ตญฺจ  อาทาย   คจฺฉติ

          อันผู้จะต้องตาย ทำบุญและบาปทั้งสองอย่าง อย่างใดในโลกนี้ ก็บุญและบาปนั้น คงเป็นของผู้นั้นโดยแท้ และผู้นั้นก็ต้องรับเอาบุญและบาปนั้นไป.

 

                             ตญฺจสฺส   อนุคํ   โหติ          ฉายาว    อนุปายินี

                             ตสฺมา    กเรยฺย  กลฺยาณํ        นิจยํ  สมํปรายิกํ

                             ปุญญานิ   ปรโลกสฺมึ            ปติฏฺฐา  โหนฺติ  ปาณินํ

          ก็บุญหรือบาปนั้นย่อมติดตามผู้นั้นไป เหมือนเงาตามตัวเขาไปฉะนั้น เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงทำกรรมอันงามคือกุศล สั่งสมไว้เป็นกำลังในเบื้องหน้า เพราะว่าบุญทั้งหลาย ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า.จึงฝากพระบาลีเหล่านี้เพื่อแสดงความไว้อาลัยในที่นี้ด้วย.

                       สพฺพํ ปหาย คนฺตพฺพํ

                      ทุกคนจำเป็นจะต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป

                   ปรโลกํ คจฺฉนฺตํ ปุตฺโต วา ธีตโร วา โภคา วา นานุคจฺฉนฺติ

     บุตรธิดาและทรัพย์สมบัติก็ดี ไม่สามารถจะติดตามบุคคลผู้ไปสู่โลกอื่น

                 ทรัพย์สมบัติมากล้น           หลากมี

            บุตรธิดาดวงฤดี                     ดั่งแก้ว

            คนรักร่วมชีวี                         สนิทยิ่ง

            ทุกสิ่งสรรพ์พลันแคล้ว            คลาดเจ้ายามมรณ์

           

                               อุโภ  ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ   ยํ  มจฺโจ  กุรุเต  อิธ

                              ตํ  หิ ตสฺส  สกํ โหติ        ตญฺจ  อาทาย   คจฺฉติ

          อันผู้จะต้องตาย ทำบุญและบาปทั้งสองอย่าง อย่างใดในโลกนี้ ก็บุญและบาปนั้น คงเป็นของผู้นั้นโดยแท้ และผู้นั้นก็ต้องรับเอาบุญและบาปนั้นไป.

                     บาปบุญทุนก่อไว้            ยามยัง

                หนุนส่งตัดเติมพลัง              เพื่อเจ้า

                มากบาปบาปตามขัง            ขดติด   นะพ่อ

                บุญมากฝากบุญเฝ้า            ห่อหุ้มภพโพ้น      

                

                        โกรธเกลียดรักโลภนี้            ธรรมดา

                        เพราะถูกอวิชชา                 ครอบไว้

                        มนุษย์ทุกชีวา                    มีทั่ว กันนา

                        มีสติรับรู้ไซร้                     โลกนี้ร่มเย็น 

โคลงนี้ก็ไม่ค่อยเพราะเท่าไร แต่ก็พยายามแต่ง                  

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ

   ถามจริง ๆโคลงแต่ละโคลงคุณครูใช้เวลาแต่งนานมั้ย ทำไมแต่งออกมาครอบคลุมพระบาลีแต่ละบทดีมาก  เขียนพระบาลีมาก็เพื่อให้คุณครูได้อ่านและจะได้แต่งโคลงธรรมะไว้มากๆ  และขออนุญาตคุณครูบันทึกไว้ด้วย จะเอาไว้ท่องบ่น และนำมาพิจารณา เวลาว่าง ๆ บางทีก็อาจหยิบยกนำไปพูดต่อ เมื่อมีโอกาสได้บอกสอนคนอื่น

  • สิบปีที่แล้ว ตอนที่ยังไม่แก่  เล่นโต้โคลงสดกับเพื่อนๆ ทางอินเตอร์เน็ต

       จะใช้เวลาประมาณ บทละ ๒-๓ นาทีค่ะ ทำเป็นประจำก็จะคิดเร็วเล่นครั้งละ ๑๐-๒๐ บท/คน โต้ส่งแสดงฝีมือกันไปมา

  • ปัจจุบัน หากเป็นโคลงทั่วไป บทละประมาณ๓-๕ นาที
  • แต่ถ้าเป็นพุทธพจน์อาจจะ ๓-๑๐ นาที เพราะถูกบังคับด้วยศัพท์เฉพาะ
  • สำหรับวันนี้ธรรมสวัสดีค่ะ

แก้ไข

                       ชีวิตํ พยาธิกาโล จ               เทหนิกเขปนํ   คติ  

                              ปญฺเจเต  ชีวโลกสฺมึ              อนิมิตฺตา น   นายเร

             แปลว่า เรื่องที่ไม่สามารถจะรู้ได้ ในขณะยังมีชีวิตอยู่ ๕ ประการ คือเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ เรื่องพยาธิความเจ็บไข้ได้ป่วย เรื่องกาลเวลาที่จะตาย เรื่องสถานที่จะตาย และเรื่องคติทางที่จะไปเกิด

            มนุษย์อาจหยั่งรู้            รอบทิศ
   เป็นอยู่พยาธิสถิต                    เปล่าแจ้ง
  กาลแลสถานชีวิต                    วายบ่   เห็นเฮย
 เกิดใหม่หนไหนแสร้ง                 สืบรู้ฤๅเห็น
 

           สามบทสารสืบถ้อย         พุทธพจน์

      ธรรมทานจารรส                  เริ่มรู้

      หมายนำนอบปณต              พุทธศาส-  นานอ

      วันละสามบทสู้                    สืบสร้างทางธรรม

 

      สวัสดีครับ  ได้อ่านสาระของอาจารย์และพระอาจารย์ได้สาระความรู้ดีมาก ๆ ครับ  วันหลังจะติดตามมาอ่านอีกครับ   ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

สวัสดีค่ะ อ.ธนา

  • ไปอ่านที่นี่ http://gotoknow.org/blog/nunthaputho/toc
  • พบว่าอาจารย์ทำหน้าที่สืบสานพระพุทธศาสนาอยู่
  • บันทึกนี้น้อมรับคำแนะนำนะคะ
  • ขอบพระคุณที่แวะมาค่ะ

               

ธรรมะยามเช้าครับคุณครู....

               ตามหลักพระพุธศาสนา สอนให้เอาชนะคนไม่ดีด้วยความดี เรื่องนี้พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงให้ดูเป็นตัวอย่างมาแล้วในตอนที่ผจญพญามาร พระองค์ทรงอาศัยความดีที่เคยได้กระทำมาแล้วในอดีตมาเป็นที่พึ่งของพระองค์ ที่ในตำราเขาว่าทรงอาศัยบารมีนั่นแหละ  ในที่สุดพญาวสวตีมารก็พ่ายแพ้ไป ด้วยอำนาจแห่งความดีนั้น  เรื่องนี้ก็ทำให้ได้คิดว่า คนเราเมื่อทำความดีแล้วมีอุปสรรคอะไรมาขวางกั้น ไม่ว่าจะเป็นคนด้วยกันก็ดี หรือเรื่องราวอะไรต่าง ๆ ก็ดี ผู้ที่ทำความดีนั้น ต้องอดทน และมั่นคงในความดี อย่าได้ท้อแท้ ให้เอาพุทธจริยาของพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง พุทธจริยาในลักษณะนี้มีหลายเรื่องดังจะได้นำเสนอให้อ่านไปเรื่อย เรื่องนินทา สรรเสริญนี้เป็นเรื่องปกติ ทางพระท่านว่าโลกธรรม แม้พระพุทธเจ้าเองก็ยังมีมารมาผจญ ยังมีคนนินทาติเตียน แต่พระองค์ทรงมีวิธีปฏิบัติดังพระบาลีนี้

                                   อกฺโกเธน   ชิเน โกธํ        อสาธุง    สาธุนา    ชิเน

                                   ชิเน   กทริยํ  ทาเนน        สจฺเจนาลิกวาทินํ

          แปลว่า พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดีได้ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ พึงชนะคนพูดไม่จริง(เหลาะแหละ)ด้วยคำจริง              

          เรื่องความโกรธนี้ อาจารย์ทวี วรคุณ ท่านสอนให้โกรธแต่พองาม  คำว่า โกรธแต่พองาม คือไม่ได้แสดงอะไรออกไปตามอำนาจของใจที่มีความโกรธครอบงำ แสดงออกแต่พองาม พอให้เขารู้ว่าเราไม่พอใจ เรื่องนี้สามารถปฏิบัติได้  ที่สำคัญคือให้มีสติรู้เท่าทัน. (คำว่ามาร มีทั้งที่เป็นธรรมาธิษฐาน และปุคคลาธิษฐาน โดยความหมายก็คือสิ่งที่คอยล้างผลาญคุณงามความดี มารในพระพุทธศาสนา ท่านจัดไว้ ๕ อย่าง) พระมหาวินัย.....

พุทธจริยาในลักษณะนี้มีหลายเรื่องดังจะได้นำเสนอให้อ่านไปเรื่อย ๆ

                 อกฺโกเธน   ชิเน โกธํ        อสาธุง    สาธุนา    ชิเน

                 ชิเน   กทริยํ  ทาเนน        สจฺเจนาลิกวาทินํ

 

          แปลว่า พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดีได้ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ พึงชนะคนพูดไม่จริง(เหลาะแหละ)ด้วยคำจริง

 

   พบคนโกรธชนะด้วย          อโกรธา
พบชั่วความดีพา                  ชนะได้
พบตระหนี่สรรหา                 หอบฝาก  ชนะแม่
พบพูดเหลาะแหละให้           ชนะด้วยสัจจา

 วันนี้ไม่รู้จะแต่งโคลงอะไรมาให้คุณครูดูให้  คิดไม่ออก

                                สงฆ์ใดสาวกผู้                ดำรง  ศาสน์นอ

                              พาหุงสหัสฯผจง               จิตตั้ง

                              ตามปางเมื่อพระองค์          เอิบอิ่ม  ฤทัยแล

                              อัชชายัง ประจวบครั้ง        แต่เบื้องพุทธกาล

คำว่า อัชชายัง ในบทนี้ แปลว่าอะไรครับ หรือเอามาจากบทสวดมนต์บทไหน ทำไมไม่ปรากฏเลย  แยกศัพท์ได้ดังนี้ อัชชะ- อะยัง  อัชชะ-ในวันนี้ อะยัง-นี้

 

 

       คุณครูมีบันทึกตั้งมากมาย ทุกวันคุณครูจะต้องอ่านทุกบันทึกมั้ย หรือว่าทำอย่างนี้เป็นปกติแล้ว โคลงนี้ก็แต่งได้ดีครับ ครอบคลุมพระบาลี

                      พบคนโกรธชนะด้วย         อโกรธา
                  พบชั่วความดีพา                  ชนะได้
                  พบตระหนี่สรรหา                 หอบฝาก  ชนะแม่
                  พบพูดเหลาะแหละให้           ชนะด้วยสัจจา    

                      พฤษภกาสร             อีกกุญชรอันปลดปลง

                    โททนต์เสน่งคง          สำคัญหมายในกายมี

                    นรชาติวางวาย            มลายสิ้นทั้งอินทรีย์

                    สถิตทั่วแต่ชั่วดี           ประดับไว้ในโลกา

     จากกฤษณาสอนน้อง ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯไม่ทราบว่าเป็นกาพย์ยานี หรือเป็นฉันท์อะไร พฤษภ คำนี้ อ่านยังไง ออกเสียงอะหรือไม่ ถ้าไม่ออกเสียงอะจะเป็นสี่พยางค์ ที่จริงก็แปลว่า โค กาสร -ควาย กุญชร-ช้าง ปลดปลง ก็คงจะหมายถึงตายไปสินะ โท-สอง ทนต์-ฟัน เสน่ง-งา นรชาติ ก็น่าจะหมายถึงคนเรานี่แหละนะ เหมือนกับคำว่า กินนร-คนอะไร มีหางและปีกสองปีกเหมือนนก. อินทรีย์-ในความหมายนี้ก็น่าจะหมายถึงร่างกาย แต่จริงๆแปลว่าความเป็นใหญ่ รบกวนคุณครูช่วยบอกด้วย. 

 

  • ทุกค่ำที่ว่างจะเปิด เมล์เพื่อดูว่ามีจดหมายเข้ามาหรือไม่
  • ตอบคำถาม คำปรึกษาทางอีเมล์ 
  • หากมีคำถามหรือข้อคิดเห็นผ่านบันทึก จะมีเมล์ของ gotoknow  และlearner แจ้งมาก็คลิกเข้าไปตอบตามลิงก์ที่แนบมา
  • การอ้างถึงงานเก่า ๆ ต้องบอกว่ามาจากบันทึกไหน หรือcopy  http://ของเว็บนั้นมา จึงจะจำได้ค่ะ  ที่ถามมาเป็นมาฆบูชา  นำมาจากคำแปลบทสวด อัชชายัง= วันนี้  ต้องการจะบอกว่า วันมาฆบูชาของวันนี้มีมาแต่ครั้งโบราณค่ะ
  • พฤษภ [พฺรึสบ, พฺรึดสบ] น. วัว;
  • ยานี๑๑
  • พรึดสบพะกาสร  หรือ  พรึสบพะกาสร
  • นรชาติ น. คน, หมู่คน.
  • อินทรีย, อินทรีย์ [ซียะ, ซี] น. ร่างกายและจิตใจ   
     

      
     

 

          เสน่ง นี่เขาว่าเป็นภาษาเขมร แปลว่าเขา,งา, คนก็ชอบพูดดี๊ดีเวลามีงานศพแต่ก้ไม่รู้ว่าคนฟังจะเข้าใจมากน้อยแค่ไหน  ผู้ได้เรียนมาก็คงจะเข้าใจดี แต่ชาวบ้านธรรมดานี่สิคิดว่าก็คงจะเข้าใจเป็นบางส่วน ความหมายก็ เป็นคติสอนใจดีมาก    ผู้พูดก็ไม่ได้อธิบายมีแต่พูดอย่างเดียว แต่นั่นก็เป็นหน้าที่ของเขาที่จะต้องพูด เช่นกันกับพระที่สวดอภิธรรม ก็จำเป็นต้องสวดเพื่อเป็นการรักษาพระพุทธพจน์ ก็มีปัญหาถกเถียงกันว่าสวดให้ใครฟัง บางท่านก็นั่งเฉยๆ ไม่ประนมมือฟัง พระท่านก็ไม่ค่อยได้อธิบายในเรื่องนี้เท่าไร หรือจะบอกว่าเป็นเพียงพิธีการ  แต่พิธีการก็เหมือนเปลือกไม้ที่รักษาแก่นเอาไว้ แก่นก็คือตัวศาสนธรรม แต่ท่านหลวงพ่อปัญญานันทะท่านก็พูดไว้ดีมาก ว่า พิธีกรรมต้องสื่อปัญญาให้คนได้เข้าถึงศาสนธรรม อันนี้ก็ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ไว้แต่เพียงเท่านี้   ไม่ได้ตำหนิผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นเพียงความเห็น ขอผู้อ่านจงพิจารณาตามด้วยใจที่เป็นกลาง  มีสุตะและปรโตฆสะแล้ว ต้องมีโยนิโสมนสิการกำกับ โยนิโสมนสิการ นี้ก็มีความหมายคล้ายๆกับวิจารณญาน ในภาษาไทย ม.๓ นั่นแล ได้ยิน ได้ฟัง เข้าใจ วิเคราะห์ ใคร่ครวญ วินิจฉัย ประเมินค่า นำไปเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ.โยนิโสมนสิการนี้ แยกศัพท์ได้ดังนี้ โยนิโส- กำเนิด, แหล่งที่มา, มนสิการ-กระทำไว้ในใจ แปลเอาความว่า พิจารณาสืบค้นให้เห็นถึงต้นเค้าแหล่งที่มาของสิ่งนั้นๆ แปลตามสำนวนมหาเปรียญ ว่า พิจารณาด้วยอุบายอันแยบคาย แปลแบบนี้คนอื่นไม่เข้าใจด้วย แต่ท่านก็นิยมแปลกันมาแบบนี้

                         น อนฺตลิกเข    น สมุทฺทมชฺเฌ

                         น ปพฺพตานํ    วิวรํ    ปวิสฺส

                         น วิชฺชเต    โส    ชคฺคติปฺปเทโส

                         ยตฺรฏฺฐิตํ    นปฺปสเหยฺย  มจฺจุ

          แปลว่า จะซ่อนตัวในกลีบเมฆกลางเวหา ซ่อนกายากลางสมุทรสุดวิสัย จะซ่อนตัวกลางป่าเขาลำเนาไพร ณ ถิ่นใดพ้นตายนั้นไม่มี.

          พอดีเพื่อนสหธรรมิกท่านนึงได้ช่วยในเรื่องการสมัครเป็นสมาชิก และเอารูปลง ก็ต้องขอขอบคุณท่านไว้ในบันทึกนี้ด้วย เรื่องน้ำใจนี่ก็เป็นสิ่งที่ดีและสำคัญ ในทางพระศาสนาท่านเรียกว่า สังคหวัตถุธรรม ธรรมะที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจกัน หรือธรรมะที่เป็นเครื่องประสานสังคม มี ๔ อย่าง คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา  สมานัตตตา แปลง่ายๆว่า โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ชุมชน วางตนเหมาะสม เรื่องนี้ก็มีพระบาลีรองรับไว้เช่นกัน แต่ขอไม่นำมาลงไว้ เรื่องน้ำใจนี้ อาจารย์ วรณี (สัชฌุกร) ศิริบุญ ท่านก็ได้แต่งกลอนเอาไว้ว่า...

                                         ฝนชุ่มฟ้า ฉ่าลง ตรงภาคพื้น

                                       พฤกษ์สดชื่น เขียวชอุ่ม พุ่มไสว

                                       อันน้ำฟ้า หลั่งมา เวลาใด

                                       ย่อมยังความ ชื่นใจ ให้ปวงชน

                                          เหมือนน้ำใจ เมตตา อารีจิต

                                       เพียงน้อยนิด ปรอยไป คล้ายสายฝน

                                       ใครได้รับ ต่างระรื่น ชื่นกมล

                                       ความทุกข์ทน แทบคลาย สลายเอย

                             

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

   น อนฺตลิกเข    น สมุทฺทมชฺเฌ

                         น ปพฺพตานํ    วิวรํ    ปวิสฺส

                         น วิชฺชเต    โส    ชคฺคติปฺปเทโส

                         ยตฺรฏฺฐิตํ    นปฺปสเหยฺย  มจฺจุ

          แปลว่า จะซ่อนตัวในกลีบเมฆกลางเวหา ซ่อนกายากลางสมุทรสุดวิสัย จะซ่อนตัวกลางป่าเขาลำเนาไพร ณ ถิ่นใดพ้นตายนั้นไม่มี.

    เมฆมหาสมุทรอาจป้อง          ปิดกาย

แอบไศลไพรหมาย                   มิดเร้น                   

หลบหลีกมัจจุราชกราย             กอดชีพ  

หลบเท่าหลบฤๅเว้น                  รอดพ้นมรณา                                         

         

คำว่าไศล เคยผ่านตาที่ไหนไม่รู้จำไม่ได้ แต่ก็คุ้นๆอยู่

เมื่อต้องการทราบความหมายของคำศัพท์

คลิกที่นี่ http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

แล้วพิมพ์คำที่ต้องการลงไปค่ะ

ไศล, ไศล [สะไหฺล, ไสละ] น. เขาหิน เช่น โขดเขินเนินไศล. (ส. ไศล

 

                              

                                 ความชั่วเป็นเหตุห้วง       อบาย

                             ก่อเกิดทุกข์มากมาย            หมดสิ้น

                             ชีพดับลับเลือนหาย           คงอยู่  เสมอนา

                             ชีวิตยังไม่สิ้น                   หมั่นสร้างความดี 

คุณครูช่วยแนะโคลงนี้หน่อย   

                                 ความชั่วเป็นเหตุห้วง       อบาย

                             เกิดก่อทุกข์มากมาย            หมดสิ้น  

                             ชีพดับลับเลือนหาย           คงอยู่  เสมอนา

                             ชีวิตยังไม่สิ้น                   หมั่นสร้างความดี 

                   สิ้น สัมผัส ซ้ำ ค่ะ  คำสัมผัสต้องไม่ซ้ำกันค่ะ

                    เปลี่ยน ก่อเกิด มาเป็นเกิดก่อ  ให้คำเอกถูกต้องตามตำแหน่ง

 

ขออนุโมทนากับการเผยแผ่คำพระพุทธองค์ด้วยครับคุณครู

ขอบคุณครับ..

ขอบคุณ อ.นุที่แวะมาเช่นกันค่ะ

          ภาพการบวชเณร เป็นกิจกรรมของโรงเรียนคุณครูเหรอ คล้ายๆกับบวชที่สวนโมกขพลาราม อีกภาพเป็นภาพเด็กถวายเพลพระ ด้วยปิ่นโต สวนโมกข์ ความหมายของท่านคงจะให้เป็นอารามที่เป็นกำลังแห่งความหลุดพ้นสินะ ศัพท์เกี่ยวกับการถวายภัตตาหารพระ เขานิยมเรียกว่า "อังคาส" บาลีว่า ปริวิสิตฺวา-อังคาสแล้ว เข้าใจว่าเป็นภาษาเขมร แปลว่า การถวายของอยู่ใกล้ๆพระ เวลาพระฉัน เหมือนกันกับงานพระราชพิธี เวลาพระฉัน ข้าราชบริพารจะนั่งอยู่บนเก้าอี้หน้าพระ คอยดูพระฉัน หรืออะไรอยู่ไกลก็หยิบยื่นถวายท่าน

           แต่ก่อนการบวช เรียกว่าการบรรพชา บาลีว่าปพฺพชํ เอามาใช้ในภาษาไทยเปลี่ยนแปลงรูปและเสียง ให้สะดวกกับลิ้นของคนไทย เรียกว่า "บวช" มาจาก ป อุปสรรค บทหน้า แปลว่าทั่ว วช ธาตุ ในความเว้น ตัดหาง ป ทิ้ง เหลือบวช แปลว่า เว้นทั่ว เว้นทุกสิ่งทุกอย่าง ปัจจุบัน การบวชเณร เรียกว่า บรรพชา การบวชพระเรียกว่าอุปสมบท แต่ก่อนบวชเขาเรียกว่า นาค แปลว่า ผู้ประเสริฐเหมาะที่จะรับคุณธรรมเบื้องสูงขึ้นไป นาค คำนี้ บางทีก็ใช้เป็นชื่อของช้างตัวประเสริฐ ดังบาลีว่า อหํ นาโค ว สงฺคาเมฯคำแปลบาลีบทนี้ก็ซึ้งใจมาก และสงสารพระพุทธเจ้าด้วย เรื่องนี้ก็มีที่มาที่ไป ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป...

  • ค่ะ นักเรียนบวชที่สวนโมกข์ค่ะ ที่สวนโมกข์จะมีพระที่เป็นศิษย์เก่า
  • ช่วงปิดเทอมก็จะจัดให้นักเรียนรุ่นน้องได้ไปบวชกัน 
  • ภาพปิ่นโต  สถานที่ในภาพคือ  สวนพุทธธรรมของโรงเรียน  โรงเรียนมีกิจกรรม  "วันนี้วันพระ" นักเรียนจะทำบุญตักบาตร และนำอาหารมาถวายพระ 
  • กรรมการนักเรียนจะนำปัจจัยที่ได้ไปถวายวัดต่าง ๆ มอบโรงเรียนที่ขาดแคลน
  • สถานพินิจเด็กฯ

ภาพเด็กถวายเพลพระ เสียดายว่าถ่ายเอาแต่เด็ก ไม่เห็นพระ ภาพก็เลยไม่สมบูรณ์ ถ้ามองไม่ละเอียดก็เข้าใจว่าทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง

  • ที่โรงเรียนจะมีพระมาสอนวิชาพระพุทธศาสนา
  • วันที่นักเรียนนำปิ่นโตมา ปิ่นโตมาก  เป็น ๕๐ เถา  แต่พระ ๕ รูป
  • ด้วยความไม่รู้ของครูภาทิพและเพื่อน  ปรารถนาดีว่าพระจะเปิดเหนื่อย
  • จึงสั่งให้นักเรียนเปิดปิ่นโตซะเอง  อิอิ   หน้าแตกสิ 
  • ขอถามเกี่ยวกับความหมายของคำในแต่ละวรรคค่ะ

                          น  =?      อนฺตลิกเข    =ไม่มีตัวตน?

                        น สมุทฺทมชฺเฌ =มหาสมุทร?

                         น ปพฺพตานํ =?            วิวรํ   =?     ปวิสฺส=?

                         น วิชฺชเต  =?     โส  =?   ชคฺคติปฺปเทโส =?

                         ยตฺรฏฺฐิตํ =?    นปฺปสเหยฺย =?   มจฺจุ=มัจจุราช

 

 

  • ไม่ใช่ปิ่นโต ๕๐ เถา:พระ ๕ รูปนะ
  • พระ ๑ รูป ๕๐ เถา   จะเลยเพลแล้วพระยังเปิดปิ่นโตไม่หมด

วันนี้รบกวนคุณครูแต่เพียงเท่านี้ ขออนุโมทนาขอบคุณครับ

ชอบการแต่งโคลงของครูจัง คิดว่าคงแต่งในเวลาอันสั้น อยากให้บอกวิธีการแต่งให้บ้างว่าควรใช้หลักอย่างไร

 น  =?      อนฺตลิกเข    =ไม่มีตัวตน?

                        น สมุทฺทมชฺเฌ =มหาสมุทร?

                         น ปพฺพตานํ =?            วิวรํ   =?     ปวิสฺส=?

                         น วิชฺชเต  =?     โส  =?   ชคฺคติปฺปเทโส =?

                         ยตฺรฏฺฐิตํ =?    นปฺปสเหยฺย =?   มจฺจุ=มัจจุราช

ก็มีบางส่วนที่คุณครูเข้าใจถูก แต่.....ถูกไม่หมด ดังต่อไปนี้...

 

สวัสดีค่ะ คุณปภินวิช pap2498 ถนอมวงศ์ (ความเห็นล่าสุด)

  • คงจะถนัด สมัยเรียน โคลงบทแรกที่แต่งในห้องเรียนใช้เวลาไม่ถึง ๕ นาที
  • แต่งบ่อย
  • แม่นเรื่องเสียง คำเอก คำโท 
  • คิดแนวคิดที่จะนำเสนอก่อนคิดคำสัมผัส 
  • หาวรรคหลังก่อนหาวรรคหน้า เมื่อได้คำวรรคหลังก็แต่งจากหน้าไปหลังค่ะ
  • ลองมาแต่งทิ้งไว้สิคะ   แต่ไปเรื่อยๆ แบบล้อแซว  เลียนกัน  สู้กัน ก็จะเร็วขึ้นเอง
  • การแต่งโคลงเร็วของครูภาทิพ  จุดอ่อนคือ คำไม่เพราะ   ขาดการสรรคำ
  • เปิดพจนานุกรมทิ้งไว้ เผื่อไม่มั่นใจในคำที่จะนำเสนอ
  • ครูภาทิพจึงนำพจนานุกรม ใส่ไว้ในเว็บของครูภาทิพ  ให้หยิบใช้ได้สะดวก
  • ห้องเรียนสีชมพู
  • ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

 

          คำแปล ดังนี้..ความตายไม่พึงครอบงำผู้หนีไปในอากาศ ในท่ามกลางสมุทรสู่ช่องแห่งภูเขาทั้งหลายแล้วดำรงอยู่ได้ ไม่มีๆๆ เลย เพราะความตาย ไม่พึงครอบงำผู้ที่ดำรงอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด ประเทศแห่งแผ่นดินนั้นหามีอยู่ไม่. 

         อนฺตลิกเข ไม่ได้แปลว่าตัวตน อนฺตลิกเข น ศัพท์ ก็ไม่ได้ปฏิเสธ อนฺตลิกเข. และอนฺตลิกเข ก็แปลเข้าใจกันยากอยู่ แต่คำแปลที่เห็นข้างบนท่านได้กรองมาแล้วและสมบูรณ์แล้ว แต่ก็ยังเข้าใจยากอยู่ดี คำแปลที่ให้ไว้ทีแรกเป็นกลอนนั้นแหละเข้าใจง่ายดี ..ๆๆ สองอันนะ ไม่ได้ใส่ผิด

ครูภาทิพ ต้องการเรียนลัดเกี่ยวกับคำบาลี 

คำต่อคำ  ค่ะ 

ก็เลยเดา ว่า  อนฺตลิกเข  เหมือนกับ อนัตตา

          ดีใจที่คุณครูสนใจในเรื่องศัพท์ เรื่องไวยากรทีแรกคิดว่า คงไม่มีใครสนใจบาลีเพราะเข้าใจยาก อันนี้ต้องขอขอบคุณครับ ภาษาอีสานท่านว่า..

                                   เก้าสิฆ่าสิบสิฆ่า    ให้เอาแก่นพะยูงตี

                                   อย่าสิเอาบาลี        มาต่อยตีต่างฆ้อน

อาจารย์ประมวล  พิมพ์เสน ท่านเขียนโคลงไว้ดังนี้...

                                   ลงโทษาฆ่าด้วย     พยุงตี

                                   ขออย่าเอาบาลี       ต่างฆ้อน

                                   พยุงแก่นยังดี         หมดห่วง

                                   การต่างบาลีย้อน     ครั่งแค้นแสนถวิล

      สนทนาธรรมค่ำนี้     พอควร

พอศึกษาคิดครวญ          ออกบ้าง

เติมสติเจียนจวน             จะแจ่ม 

วันพรุ่งรอเสริมสร้าง          สืบซ้องสายธรรม

  • ถ้าเพียงแต่นำคำที่เขาแปลแล้วมา  จะไม่ได้อรรถรสค่ะ
  • เว็บอื่น ๆ ก็พอจะหาอ่านได้
  • แต่ถ้าเสริมความรู้บาลีบ้าง  ทีละเล็กทีละน้อย  จะค่อยซึมซับไปเอง
  • เรียนรู้แบบไม่ถูกบังคับ จะจำได้และเข้าใจดี
  • เมื่อเจอคำเดิมๆ ซ้ำ ๆ บ่อยๆ  ก็จะแม่น เข้าใจโดยไม่รู้ตัว

 

         ศัพท์บาลีสันสกฤตที่เห็นมีปรากฏในภาษาไทย ต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นว่า ศัพท์นั้นมาจาก"ธาตุ"อะไร ธาตุคือรากเหง้า หรือรากศัพท์เดิม เช่นคำว่า อนุโมทนา มาจาก อนุ บทหน้า แปลว่า น้อย,ภายหลัง,ตาม,  มุทฺท ธาตุในความยินดี ลง ยุ ปัจจัย แปลง ยุ เป็น อน เป็น อนุโมทน ทีฆะ อะ เป็น อา เป็น อนุโมทนา แปลว่าตามชื่นชมยินดี เช่นกันกับ อนุชา อนุ-ชา เกิดทีหลัง เราชอบอะไรสั้นๆ ก็เลย เป็น นุช ไป ก็แปลว่าน้องนั่นเอง

         อยู่ภาคใต้ อบอวลไปด้วยหลักคำสอนแห่งสวนโมกข์ อัตตา อนัตตา ท่านพุทธทาสท่านเน้นเรื่องนี้ (ตัวกู ของกู) ....ขออนุโมทนา..

  • มาอ่านเรื่องดี ๆ (และแอบอ่านการสนทนาด้วย) คงไม่ว่ากันนะครับ
  • ขอบคุณครับที่ไปให้กำลังใจ
  • ปณิธิ ภูศรีเทศ
  • อย่างนี้นี่ล่ะเรียกว่า แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างแท้จริง
  • นี่คือสิ่งที่ครูภาทิพต้องการ  ถ้าพระคุณเจ้าพิมพ์ไหว

       ศัพท์นั้นมาจาก"ธาตุ"อะไร ธาตุคือรากเหง้า หรือรากศัพท์เดิม เช่นคำว่า อนุโมทนา มาจาก อนุ บทหน้า แปลว่า น้อย,ภายหลัง,ตาม,  มุทฺท ธาตุในความยินดี ลง ยุ ปัจจัย แปลง ยุ เป็น อน เป็น อนุโมทน ทีฆะ อะ เป็น อา เป็น อนุโมทนา แปลว่าตามชื่นชมยินดี เช่นกันกับ อนุชา อนุ-ชา เกิดทีหลัง เราชอบอะไรสั้นๆ ก็เลย เป็น นุช ไป ก็แปลว่าน้องนั่นเอง

  • ก่อนนี้เคยเรียนเพื่อสอบ  แต่ต่อไปนี้เป็นการเรียนเพื่อรู้ค่ะ
  •  เพียงแค่ที่ครูภาทิพยกมา ก็มีความรู้มากมาย
  • วิภัตติ ปัจจัยก็ไม่กระจ่างกะเขาสักที ต่อไปนี้น่าจะดีขึ้น(ถ้าครูดี)
  • ขอบคุณ ครูปณิธิ ภูศรีเทศ ที่แอบมาเช่นกันค่ะ
  • ครูภาทิพ ชอบผลงานของครูปณิธิทั้งกลอนและภาพค่ะ
  • เรียนวิชาโทศิลปะด้วยนะคะ แต่ไม่มีฝีมือ

ขอเพิ่มเติมครับ.....      

          อนุโมทนา มาจาก อนุ บทหน้า แปลว่า น้อย,ภายหลัง,ตาม,  มุทฺ ธาตุในความยินดี ลืมบอกด้วยว่า เอา อุ ที่ มุ เป็น  โอ แล้วลง ยุ ปัจจัย แปลง ยุ เป็น อน  ลบ อะ ทิ้ง เป็น อนุโมทน ทีฆะ อะ เป็น อา เป็น อนุโมทนา แปลว่าตามชื่นชมยินดี  มุทิตา ก็ธาตุตัวเดียวกัน แค่ลง ตา ปัจจัย ในภาวตัทธิต แปลว่า ความพลอยยินดี เป็นธรรมะข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔

มาด้วยระลึกถึงและเรียนธรรม....

          วันนี้มีคุณครูศุภวรรณ-คุณครูอำนาจ พลไชย คุณครูวันทนี-คุณโยมดิเรก ศรีมณี เอาของขวัญมาถวาย พอเปิดดูเป็นกล้องดิจิตอล ยี่ห้อ sony 14.1 mega pixels ราคาก็คงจะหลายพันบาทอยู่ คุณครูที่กล่าวถึงนี้ท่านคงจะสาสารอาตมาที่ไม่มีกล้องใช้ เพราะมีงานหรือมีอะไรก็ชอบหยิบยืมจากคุณครูวันทนี ศรีมณี เป็นประจำ อีกอย่างนึงก็คงจะอยากทำบุญ และให้อะไรเป็นการตอบแทนบ้าง อันที่จริงก็สืบเนื่องมาจากอาตมานี่แหละ เมื่อถึงปีใหม่ก็จะซื้อหนังสือธรรมะที่เคยอ่านแล้ว และคิดว่าดี คนอื่นน่าจะได้อ่านบ้าง ก็เลยซื้อมามอบเป็นวิทยาทานแก่คุณครูทุกท่าน ก็ทำมาเรื่อยๆ ก็ไม่ได้คิดที่จะอยากได้อะไรเป็นการตอบแทน คิดแต่เพียงว่าให้คนอื่นได้รู้และเข้าใจในพุทธธรรมคำสอน และอีกอย่างตนเองก็จะได้มีปัญญาเฉลียวฉลาด เพราะการให้หนังสือก็เป็นการสะสมปัญญาบารมีอีกแนวทางนึงเช่นกัน เรื่องนี้ก็สมดังคำกลอนที่ อาจารย์วรณี (สัชฌุกร) ศิริบุญ ท่านได้เขียนกลอนเอาไว้ว่า

                                อยากให้ใคร ไหว้เรา ไหว้เขาก่อน

                             อยากได้ยิน คำสุนทร ต้องอ่อนหวาน

                             อยากได้รับ ความรักใคร่ ไมตรีการ

                             ต้องเจือจาน ใจสมัคร  รักเขาจริง

          แม้ทางพระศาสนาท่านก็ว่า วนฺทนํ ปฏิวนฺทโก ผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้รับ เรื่องนี้ก็รวมลงในสังคหวัตถุธรรมนั่นแล จึงขออนุโมทนาขอบคุณคุณครูที่กล่าวนามมาข้างต้นไว้ในบันทึกนี้ด้วย..ขอให้ท่านเหล่านั้นจงประสบแต่สิ่งดีงามเป็นนิตย์เทอญ.

ลืมบอก คุณครูที่กล่างถึงอยู่โรงเรียนบ้านผักกาดหญ้าโรตารี่อุทิศ. เสลภูมิ ร้อยเอ็ด

ชอบพิมพ์ตกหล่นและสะกดคำผิดอยู่เรื่อย ต้องขออภัยด้วย.

         เมื่อสักครู่ก็ได้รับของขวัญจากคุณครูสุพัฒสร ศรีชา และคุณครุยุพาพรรณ กลางบุรัมย์ ซึ่งคุณครูทั้งสองได้ซื้อเปปทีน และโอวัลติลให้  จึงขออนุโมทนาขอบคุณคุณครูที่กล่าวนามมาในบันทึกนี้ด้วย ขอให้ประสบแต่สิ่งดีงามเป็นนิตย์เทอญฯ ........

          เป็นพระก็แบบนี้แหละนะ  เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อว่าเรียกว่า “ภิกษุ”แปลได้หลายอย่างๆนึงแปลว่าผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร, ผู้เห็นภัยในความประมาท,(ปมาเท ภยทสฺสิวา) ผู้ขอโดยอาการปกติ อย่างกิริยาที่เดินบิณฑบาต เรียกได้ว่าขอโดยอาการปกติ เดินไปตามลำดับแห่งตรอก/ซอย ด้วยอาการสำรวมตามสมณประเพณี เขาให้อะไรก็เอาก็รับด้วยอาการสำรวมและมีสติ ไม่ได้ตำหนิสิ่งของที่เขาให้ และไม่ได้เรียกร้องจากใคร เพราะชีวิตของนักบวชนั้นมีชีวิตเนื่องอยู่ด้วยผู้อื่น พระพุทธเจ้าสอนว่าให้ทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ... คำว่า บิณฑบาต กับคำว่า บาตร สองคำนี้เป็นคำนามและคำกริยา ส่วนมากนักเรียนหรือผู้ไม่เข้าใจก็มักจะเขียนผิดบ่อย บิณฑบาต มาจากศัพท์ว่า ปิณฑ-ปาต  ปิณฑ-ก้อนข้าว ปาต-ตกไป  รวมแล้วก็คือการตกไปแห่งก้อนข้าว ส่วน บาตร นั้นเขียนตามแบบสันสกฤต ปาตฺร (ร เป็น อัฒฑสระ บังคับให้ ต ซึ่งอยู่ข้างหน้าออกเสียง อะ ครึ่งเสียง)(หลักการพยัญชนะที่เป็นอัฒฑสระ,อรรธสระ,นี้ถ้านำมาประยุกต์กับการอ่านคำสมาส- สนธิ บาลี-สันสกฤตก็จะเป็นการดี) สรุปแล้ว บิณฑบาต ก็คำนึง บาตร ก็คำนึง   

         คุณครูช่วยดูนี่ให้หน่อยครับ...มันเป็นกาพย์ยานีมั้ย แต่มีสัมผัสที่วรรคสุดท้ายด้วยนะครับ ถ้าไม่ดีคุณครูก็ช่วยแนะนำและแก้ใหม่ใหม่ด้วย...

                             เมืองไทยในวันนี้          จะชั่วดีที่คนไทย

                           ต่างคนต่างจิตใจ            จงอย่าได้ทะเลาะกัน

                           มาร่วมกันขันอาสา           พัฒนาประชาสรรค์

                           ด้วยรักและผูกพัน            สถาบันนั้นหลักใจ

                           อดีตที่ผ่านมา                 ปล่อยเวลาให้พาไป

                          ทุกคนคิดทำใหม่            ประเทศไทยจงเจริญ                                 

ถ้าไม่ดีคุณครูก็ช่วยแนะนำและแก้ใหม่ให้ด้วย...

นมัสการพระคุณเจ้า

  • เสน่ห์ของกาพย์ยานี  อยู่ที่น้ำหนักของคำ  การเลือกคำ
  • ครูภาทิพเองยังแต่ได้ไม่ดี  เพียงแค่สัมผัสได้เท่านั้น จึงไม่ขอแก้ไข
  • ผลงานชิ้นนี้ สัมผัสถูกต้อง แนวคิดก็ดีค่ะ แต่ยังไม่โดน
  • กาพย์ยานี ๑๑ ที่ไพเราะ ต้องอ่าน วรรณกรรมเพื่อชีวิต วรรณกรรมทางการเมืองค่ะ

  

 

                      รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ                     

          ร่างกายย่อยยับไป แต่ชื่อเสียงและคุณงามความดีหาย่อยยับไปไม่

 

                กายงามยามหยุดยั้ง     หายใจ

         กายเน่าผุพังไป                  เมื่อนั้น

         ความดีที่ทำใน                   ขณะอยู่ นะแม่

         กระฉ่อนเฉกเดิมดั้น            แด่ผู้ประกอบกรรม

    

ขอขอบคุณที่คุณครูแนะนำเว็บต่างๆให้เช่น ของวัดโพธิเกษตร นิราศต่างๆของ หอมรดกไทย และเว็บท่านอาจารย์ ผศ.โสภณ ซี่งที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่มีความรู้สาระดีๆทั้งนั้น

  • พระพุทธพจน์หมดแต่เพียงเท่านี้หรือคะ

          พูดถึงพระพุทธพจน์นั้นไม่มีวันหมดหรอก ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นมีมากถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ความรู้ในพระพุทธศาสนานี้ไม่สามารถจะศึกษาได้หมดสิ้นได้ในชีวิตเดียว จะนำเสนอเรื่อยๆ พอดีวันนี้เพิ่งกลับถึงวัด นั่งรถมาวันนี้ก้ได้ความรู้อะไรหลายอย่าง อย่างนึงก็เคยได้ยินศัพท์ว่า"ผีเรียกคน" และก็ได้ทราบว่าคืออะไร แต่บทเรียนเรื่องนี้ก็แพงนิดนึง แต่ก็คุ้มค่าอยู่ เรื่องนี้ก็มีที่มาที่ไป...ดังจะเล่าต่อไปนี้

 ขอแนะนำแหล่งศึกษาให้พระคุณเจ้าอีกที่หนึ่งค่ะ

ที่นี่เป็นแขนงของ gotoknow สำหรับการเรียนการสอน การส่งงานของนักเรียนนักศึกษา

ขณะนี้มีกิจกรรมหนึ่งคิดว่าพระคุณเจ้าสนใจและทำได้

 http://learners.in.th/blog/learnersinth/443674

การสมัครเหมือน gotoknow  ทุกประการ ลองเรียนรู้ดูนะคะ  จะเข้าไปอ่านผลงานของพระคุณเจ้า

 

        ราตรีมีเรื่องต้อง               ติดตาม

   คือค่ายลูกเสือยาม                ค่ำนี้

   การแสดงเด็กภาคสนาม         รออยู่ นาท่าน

   จำหยุดพุทธพจน์ลี้               รีบแล้วจำจร  

เป็นพระนี่เรื่องการเดินทางก็ถือว่าลำบากพอสมควรอยู่ วันนี้อาตมา มารอขึ้นรถที่ บขส.ร้อยเอ็ด จะไปเสลภูมิ ก็รอรถในช่วงเวลา ๕ โมงเย็น ก็มีรถกรุงเทพฯอุบลมาจอดคันนึง ก็เลยขึ้นไปดูปรากฏว่าไม่มีที่นั่งก็เลยลงไม่อยากไปแย่งที่นั่งฆราวาส เพราะเขาเองก็เสียเงินค่ารถ การจะขึ้นไปก็คงต้องมีใครคนใดคนนึงสละที่นั่งให้ ก็เกรงใจเขา ก็จำเป็นต้องลง ก็พอดีมีคนนึงที่เขาทำหน้าที"ผีเรียกคน" อยู่บริเวณนั้นเขามาถามว่าพระอาจารย์จะไปไหน ก็เลยบอกว่าไปเสลภูมิ เขาก้เลยบอกว่าไปรถผมมั้ย จะไปส่ง ทีแรกก็ยังไม่ไป  แต่ก็มาคิดถึงชาวโยมที่บ้านว่าจะต้องรีบกลับไปเจริญพระพุทธมนต์ให้เขา เพราะวันนี้มีการเผาศพ แล้วไม่ได้อยู่ด้วย ตอนเย็นก็เลยจะไปให้เขา เพราะคิดว่า พระอาศัยชาวบ้าน ก็ต้องอยู่กับชาวบ้าน เป็นที่พึ่งให้เขาในยามที่เขามีความทุกข์ ก็เลยตกลงกับโยมคนที่บอกว่าจะมาส่งที่แรกเขาบอกจะเอาค่าโดยสาร๓๐๐บาท ก็ตกลงมาด้วย นั่งรถมาด้วยกัน ก็เลยถามว่า คนที่เขาช่วยแนะนำขึ้นรถคันนั้นคันนี้เวลาที่มีรถเข้ามาในสถานี เขาได้อะไรมั้ย ที่ทำแบบนั้น  เขามีเงินเดือนมั้ย คนขับที่ขับรถมาส่งนั้นเขาก็เลยเล่าให้ฟังว่า พวกนั้น เขาเรียกว่า "ผีเรียกคน" เขาไม่มีเงินเดือน แต่ก็ได้เบี๊ยเลี้ยง ถ้าเอาคนขึ้นรถได้มาก รถคันนั้นก็ต้องจ่ายให้เขาเป็นน้ำใจ เขาก็ไม่ได้เรียกร้องอะไร มันเป็นธรรมเนียม เขารู้กันเอง อาตมาเองก็เพิ่งจะได้ยินคำนี้ "ผีเรียกคน" แต่ก่อนก็มีแต่สงสัย ว่าพวกนี้เขามีเงินเดือนมั้ย พอมาถึงเสลภูมิ ก็จ่ายปัจจัยค่าโดยสารให้โยมคนที่ขับรถมาส่ง เเขจะเอาค่าโดยสาร ๔๙๐  บาท อาตมาก็ขอลด ๔๕๐ ได้มั้ย ก็เปิดกระเป๋าจ่ายปัจจัย ในรถมันก็มืด เขาก็ไม่เปิดไฟให้ ก็จ่ายให้ตามนั้น พอมาถึงวัดดูกระเป๋า แต่ก่อนก็จำได้ว่าในกระเป๋ามีเงินแบ๊งค์ ๕๐๐ อยู่ ๑ ใบ พอมาดูปรากฏว่าไม่มี ก็เลยคิดได้ สงสัยตอนจ่ายปัจจัยให้โยมคนนั้น จะนึกว่าแบ๊งค์ ๕๐๐ เป็น ๑๐๐ เพราะมันมืดค่ำดูไม่ชัด ก็เลยสรุปเองว่า ความรู้เรื่อง "ผีเรียกคนนี้"มีราคาค่าเรียนตั้งเกือบพันบาท.........จะว่าคุ้มก็คุ้ม ผีเรียกคน.... 

                                

                                   "ผีเรียกคน"ช่วยเอื้อ      อำนวย

                               เราต่างก็เอออวย              รับรู้

                              และแล้วด่วนดวงซวย         หลงจ่าย ผิดนา

                              เกินกว่าจะกอบกู้               บทนี้ค่าแพง

                             

                              

                              

          วันหนึ่งนางวิสาขามีผ้าเปียกปอนผมเปียก เดินร้องไห้ไปเฝ้าพระพุทธองค์ เมื่อพระตถาคตถามก็ได้ความว่า นางวิสาขาเสียใจเพราะหลานสาวอันเป็นที่รักคนหนึ่งตายลง นางรักเธอมากเพราะเธอเป็นคนดี ช่วยงานทุกอย่าง รวมทั้งงานที่เกี่ยวกับการบุญการกุศลด้วย

          “ข้าแต่พระผู้เป็นดวงตาของโลก” นางวิสาขาทูล “ข้าพระพุทธเจ้าเสียใจในมรณกรรมของหลานสาวคนนี้เหลือเกิน เธอเป็นคนดีอย่างจะหาใครเสมอเหมือนได้ยาก”พระตถาคตเจ้าทรงดุษณีอยู่ครู่หนึ่งแล้วเอื้อนพระโอษฐ์ว่า

          “ดูก่อนวิสาขา คนในเมืองสาวัตถีนี้มีประมาณเท่าใด”

          “มีหลายสิบล้านพระพุทธเจ้าข้า” นางตอบ

          “ถ้าคนเหล่านั้นดีเช่นสุทัตตีหลานของเธอ เธอจะรักเขาเหล่านั้นหรือไม่”

          “รักพระเจ้าข้า”

           “แล้วคนในเมืองสาวัตถีนี้ตายวันละเท่าไร”

          “วันหนึ่งหลายๆ คนพระเจ้าข้า”

          “ดูก่อนวิสาขา ถ้าอย่างนั้นเธอก็ต้องมีผมเปียกมีผ้าเปียกอยู่อย่างนี้ทุกวันละซี เธอต้องร้องไห้คร่ำครวญมีใบหน้าอาบน้ำตาอยู่เสมอ เพราะมีคนตายกันอยู่ทุกวัน วิสาขาเอย ตถาคตกล่าวว่า

          " ความรักความอาลัยเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ เพราะฉะนั้นคนมีรักมากเท่าใดย่อมมีทุกข์มากเท่านั้น รักหนึ่งมีทุกข์หนึ่ง มีรักสิบมีทุกข์สิบ มีรักร้อยมีทุกข์ร้อย ความทุกข์ย่อมเพิ่มขึ้นตามปริมาณแห่งความรัก เหมือนไฟย่อมเพิ่มขึ้นตามจำนวนเชื้อที่เพิ่มขึ้น

        นางวิสาขาได้ฟังพระพุทธโอวาทแล้วสร่างความโศกลงไปได้บ้าง นางเป็นโสดาบันก็จริงอยู่ แต่พระโสดาบันนั้นเพียงทำให้บริบูรณ์ในศีลเท่านั้น หามีสมาธิและปัญญาสมบูรณ์ไม่ จึงมีบางครั้งมีเผลอสติไป แสดงอาการเยี่ยงชนทั้งหลาย พระอรหันต์เท่านั้นที่สติสมบูรณ์

         สิ่งอันเป็นที่รักย่อมทำให้จิตใจกระเพื่อมและกระทบกระเทือนอยู่เสมอ เมื่อความรักเกิดขึ้น ความราบเรียบของดวงใจย่อมปลาสนาการไป ยิ่งความรักอันเจือด้วยนันทิราคะด้วยแล้ว ยิ่งทำให้จิตใจอ่อนไหวและเสียสมาธิเป็นที่สุด ความรักนั้นเปรียบด้วยพายุ เมื่อมีพายุพัดผ่านความราบเรียบของน้ำก็หมดไป เหลือไว้แต่รอยกระแทกกระทั้นกระทบกระเทือนอยู่ตลอดเวลา มนุษย์จะมีความสุขอย่างสงบประณีต ถ้าเราสามารถทำใจให้ยินดีรับความขมขื่นและไม่เพลิดเพลินในความชื่นสุขให้มากนัก อย่างน้อยก็ทำใจให้ปฏิเสธความขมขื่นที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว

         เรื่องนางวิสาขามหาอุบาสิกานี้มาใน ธรรมบทภาคที่ ๓ ปุปผวรรค วรรณนา เนื้อเรื่องที่นำมาลงบันทึกนี้มาใน หนังสือ พระอานนท์พุทธอนุชา เขียนโดย อาจารย์วศิน อินทสระ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จัดพิมพ์

 

               ทีฆา ชาครโต รตฺติ    ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ  

 

              ทีโฆ พาลาน สํสาโร    สทฺธมฺมํ อวิชานตํ 

 

        ราตรีของคนตื่นอยู่ (ด้วยธรรม) อยู่ข้างนาน โยชน์(หนทาง)ของคนเหนื่อยแล้วอยู่ข้างไกล สังสารวัฏ(การเวียนว่าย ตายเกิด)ของคนพาลผู้ไม่รู้พระสัทธรรมอยู่ย่อมยาว..พอดีเพิ่งอ่านหนังสือเสร็จ ก็เลยฝากพุทธพจน์นี้เอาไว้ ถ้าคุณครูสงสัยในพุทธพจน์นี้ก็ทิ้งคำถามเอาไว้.. 

 

 

 

 

                      จิรปฺปวาสึ  ปุริสํ             ทูรโต โสตฺถิมาคตํ

                      ญาตี มิตฺตา สุหชฺชา จ     อภินนฺทนฺติ อาคตํ

                      ตเถว กตปุญฺญมฺปิ           อสฺมา   โลกา ปรํ คตํ

                      ปุญฺญานิ  ปฏิคฺคณฺหนฺติ    ปิยํ ญาตีว   อาคตํ.

          แปลว่า  ญาติและมิตรสหายผู้มีใจดีทั้งหลาย ย่อมยินดีบุรุษผู้ที่อยู่แรมนาน ถึงความสวัสดีมาแล้วแต่ที่ไกลฉันใด แม้บุญทั้งหลาย ย่อมรับรองผู้มีบุญอันทำแล้วไปจากโลกนี้สู่โลกหน้า เหมือนญาติทั้งหลาย รับรองญาติอันเป็นที่รักมาแล้วฉันนั้น

          พอดีได้เจอหนังสือเก่าๆ เล่มนึงของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ และในหนังสือนั้นมีกระดาษแผ่นนึงสอดพับขั้นหนังสือเอาไว้  เห็นท่านบันทึกไว้ในกระดาษแผ่นนั้น  ซึ่งก็ตรงกับคำแปลข้างต้น  ในกระดาษแผ่นนั้นมีใจความว่า..         

                                  ..บุญต้อนรับ คนทำ แต่กรรมดี

                                 จากโลกนี้ วายชนม์ ดลโลกอื่น

                                 ดุจญาติเห็น คนที่รัก ผินพักตร์คืน

                                 ย่อมแช่มชื่น ต้อนรับ จับดวงมาน 

                                   เหมือนญาติมิตร สหาย เห็นชายชาติ

                                 ผู้นิราศ แรมร้าง ห่างสถาน

                                 นิวัติจาก ที่ไกล ปลอดภัยพาล

                                 ย่อมชื่นบาน ว่ามาแล้ว พ่อแก้วเรา

         

          คำว่า...ดวงมาน ดวงมาลย์ ก็เห็นใช้ลักลั่นกันอยู่ ไม่ทราบจะใช้คำไหนดี และที่ใช้คำนั้นมีเหตุผลอะไรรองรับมั้ย หรือใช้เพราะความนิยมตามกันมา และรูปคำสวยงาม. แต่ที่เห็นถ้าเป็นฆราวาส อย่างอาจารย์เนาวรัตน์ ก็ใช้ดวงมาลย์..มีดวงมาลย์เพื่อปวงชน(มวลชน)ใช่ตนเอง อีกคำนึงที่เห็นในบทกลอนก็ใช้ดวงมาลย์เช่นกัน ดังตัวอย่างนี้"ไฟหน่ายแหนงแรงร้อนกร่อนดวงมาลย์ ทิฐิรานน้ำจิตฉันมิตรสิ้น" แต่ที่แน่ๆ "มาน" ก็แปลว่าใจ  แต่เติมดวงเข้ามาข้างหน้า เช่นกันกับคำว่า ดวงแด ที่ยืมมาจากภาษาเขมร แด ก็แปลว่าใจ  ..จึงฝากคำนี้เพื่อนักภาษาไทย พิจารณาดูเองเถิด..(เรื่องนี้ก็ฝากคุณครูให้ความคิดเห็นด้วย พร้อมบอกเหตุผล)

เพิ่มเติมเรื่องนี้อีก

        คำว่า มาลย์ ก็แปลว่าดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวงมาลัย อีกคำที่ได้ยิน ก็คือ องคุลีมาล ผู้มีมาลัยนิ้วมือ ,มีนิ้วมือเป็นมาลัย, มาลัยนิ้วมือ, สาเหตุก็เกิดจากการฆ่าคนมากๆ เพื่อเป็นการจำว่า ฆ่ากี่คน ก็ตัดเอาข้อนิ้วมือคนนั้นมา แล้วร้อยเป็นมาลัย คล้องแขนบ้าง คอบ้าง จึงได้นามโจรองคุลีมาลในกาลต่อมา แต่ก่อนก็ชื่ออหิงสกะ แปลว่าผู้ไม่ได้เบียดเบียนใคร เช่นเดียวกับ อชาตศัตรู แปลว่า ไม่ได้เกิดมาเป็นศัตรู แต่ศัพท์นี้ บางทีก็แปลว่า เป็นศัตรูตั้งแต่ยังไม่เกิด เพราะมีเหตุการณ์ตอนนึงเมื่อคราวที่พระมารดาทรงครรภ์แล้ว เกิดอาการแพ้ท้องประหลาดอยากเสวยพระโลหิตพระราชสวามี พระเจ้าพิมพิสารพระองค์ทรงเจาะพระพาหา หลั่งพระโลหิตออกใส่ภาชนะทองคำให้พระมเหสีเสวยอาการแพ้ท้องจึงระงับไป นี่แลเรียกว่าเป็นศัตรูตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด          

         ส่วนคำว่า มาน หรือ มานะ ตามศัพท์เดิมแปว่าความถือตัว ท่านใช้เป็นชื่อของกิเลสอย่างนึง ใช้ในทางที่ไม่ดี แต่นำมาใช้ในภาษาไทย เปลี่ยนความหมายใหม่ แปลว่าความพยายาม ความขยัน ใช้ในทางดี มาน อีกอย่างนึง มาจาก มน แปลว่าใจ มาน อีกอย่างนึง เป็นเรื่องของการตั้งท้อง เช่น มานท้อง ข้าวมาน ก็ข้าวตั้งท้องนั่นเอง คำนี้ที่อีสานใช้เป็นคำพื้นเมือง  เรียกผู้หญิงคนที่ตั้งครรภ์ว่า มาน ดังคำว่า “มีครรภ์ คันบ่มีผัวซ้อน มานทางเขาสิว่า มีลูกคันลูกคันหากมีย้อนซู้เขาสิเฮื่องเจ้าใส่ทาง”  อันนี้ก็สืบเนื่องมาจาก ดวงมาน ดวงมาลย์ นั่นแล ขอผู้รู้จงใคร่ครวญดูเถิด.

          คุณครูช่วยอธิบายวิธีสร้างบล็อก ที่อยู่ ชื่อบล็อก คำอธิบายบล็อก ส่วนเสริม คำสำคัญ ว่าแต่ละอย่างต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะอยากจะมีบันทึกการเขียนอะไรสักอย่างเพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน จะต้องเพิ่มอย่างไร ? ทำอย่างไร ?

๑.เปิดหน้าเว็บไว้อย่างน้อย ๒ หน้าเพื่อเป็นหน้าอ่านคำแนะนำและหน้าที่จะทำ

๒. เข้าสู่ระบบด้วยพาสเวิร์ด

๓. ไปที่เมนูของฉันด้านบน  คลิกที่สร้างบล็อกใหม่   แล้วก็เติมข้อความในช่องว่า

หรือ คลิกที่นี่ แล้วลองคลิกเข้าไปอ่านให้เข้าใจก่อน แล้วลองทำตราบใดที่จำพาสเวิร์ดของตนเองได้ก็ลบได้เสมอ

http://gotoknow.org/manual

     เรื่องดวงมาน กับดวงมาลย์ มีความคิดเห็นอะไรให้อ่านบ้างมั้ยครับ คุณครู เรื่องวิธีสร้างบล็อกขั้นตอนก็มากอยู่นะ มีเวลาว่างๆจะลองศึกษาดูครับ เผื่อจะได้มีบันทึกอะไรบ้าง วันนี้ก็ได้สอน นร.เรื่องคุณธรรมของครู ครูแบบกัลยาณมิตร ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า มีอยู่ ๗ ประการ จึงขอแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูครูในบันทึกนี้ ดังนี้

         ๑.ปิโย น่ารัก นักเรียนมมองดูแล้วก็ชวนให้เกิดความรัก ทั้งบุคลิก ทั้งรูปร่างหน้าตา บางคนแม้จะเป็นคนที่หน้าตาไม่ดี ไม่หล่อ ไม่งาม แต่ก็ชวนมอง ชวนชม งามในสายตาของผู้ชม จริงๆแล้วรูปลักษณ์ภายนอกเป็นสิ่งที่เลือกไม่ได้ตามใจหวัง เป็นมาอย่างไรก็เป็นไปอย่างนั้น แต่ปัจจุบันก็อาจจะเปลี่ยนแปลงกันได้บ้าง แต่ก็ยังเหลือเค้าให้เห็นอยู่ แม้ไม่น่ารัก แต่ทำตัวให้น่ารัก เด็กๆก็รัก หน้าตานี่ท่านว่าเป็นเสน่ห์อย่างนึง ทำให้คนที่ถือประมาณในรูปัปปมาณิกา ชื่นชอบ..แต่เสน่ห์นอกหลอกตาคน เสน่ห์ที่ติดตน(ความดี) คือเสน่ห์ใน เสน่ห์ก็คือสิ่งที่ทำให้คนรักคนชอบ ในทางพระศาสนาท่านว่าถ้าอยากมีเสน่ห์ต้องมีสังคหวัตถุธรรม สรุปแล้วครูต้องเป็นคนงามคนน่ารัก งามทั้งภายใน ภายนอก ภายนอกคือบุคลิกรูปร่าง ภายในคือคุณธรรม ดังคำที่ว่า รูปร่างต้องตา วาจาต้องใจ ภายในยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความรู้  ครูคนไหนถ้าหากทำตัวให้น่ารักน่าเคารพจริงๆแล้ว ไม่มีลูกศิษย์คนใดหรอก ที่จะอดใจไม่ให้รักเคารพครูคนนั้นได้(ว่างๆจะต่อข้อที่สอง)

         อาตมา มาเขียนอะไรไว้มากมาย เหมือนกับว่านี่เป็นบันทึกของตนเอง ก้ต้องขออภัยคุณครูด้วย... คิดว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็แล้วกัน

  • การสร้างบล็อกไม่ยุ่งยากหรอกค่ะ ค่อยๆ เรียนรู้ ครูภาทิพแก่แล้วยังทำได้เลย
  • บันทึกนี้เดี๋ยวค่อยมาต่อนะคะ
  • ตอนนี้ครูภาทิพ เปิดบันทึกใหม่ เพราะต้องนำไปใช้เป็นหน้าเว็บห้องเรียนสีชมพู
  • คลิกที่นี่ค่ะ  http://gotoknow.org/blog/tip-poem/420344
  • พระคุณเจ้าใช้บันทึกนี้ได้ตามสบายค่ะ  ไม่ต้องเกรงใจ
  • เมื่อพระคุณเจ้ามีบล็อกแล้วก็ค่อยมาcopyข้อความในนี้ไปลงในบันทึกของพระคุณเจ้า  ไม่ได้เสียหายอะไรเลย
  • ครูภาทิพว่างก็จะมาเก็บความรู้ไปเขียนเรื่อย ๆ ก็สะดวกดีค่ะ

 

                      

                             คำถามยามค่ำนี้         นานแถลง

                          ถามมากหากแสดง        สืบไว้

                          คุณครูไม่ชี้แจง            ดูหน่อย

                         เขียนต่อพอรู้ไซร้          สุดสิ้นกังขา

                                   

                      

     แก้ใหม่ครับ                       

                             คำถามยามค่ำนี้         นานแถลง

                          ถามมากหากแสดง        สืบไว้

                          คุณครูไม่ชี้แจง            ดูหน่อย

                         เติมต่อพอรู้ไซร้             สุดสิ้นกังขา

มาน ๑ น. ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น มีถุงน้ำเกิดที่เยื่อบุ
  ช่องท้อง การอุดกั้นหลอดเลือดดำหรือทางเดินของน้ำเหลือง ตับแข็ง
  ลิ้นหัวใจพิการ ไตอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีน้ำสีเหลืองใสอยู่ในช่องท้อง
  อาจมีเพียงเล็กน้อยหรือมากถึง ๑๕-๒๐ ลิตร เป็นเหตุให้หน้าท้องโป่ง
  พองจนเห็นได้ชัด น้ำหนักเพิ่ม แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร หายใจ
  ลำบาก เท้าบวม เป็นต้น.
 
 
มาน ๒ น. ความถือตัว; ใจ, ดวงใจ, เช่น ดวงมาน. (ป., ส.).
 
 
มาน ๓ ก. มี เช่น มานพระบัณฑูร. (ข.).
 
 
มาน ๔ (ถิ่น) ก. ตั้งท้อง เช่น มานลูก ข้าวมาน.

 

มาลย์ (แบบ) น. ดอกไม้, ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวง. (ป., ส. มาลฺย).

 

ขอบพระคุณพระคุณเจ้าที่ทำให้ได้ความรู้อีกเรื่องหนึ่งคือคำแปลขององคุลีมาลย์

          ขอบคุณที่คุณครูอ่านให้ เรื่อง ดวงมาน ดวงมาลย์ สงสัยจริงๆ เห็นใช้กันทั้งสองอย่าง อยากได้เหตุผลรองรับ ก็เลยถามครับ องคุมาล ไม่มี ย์ องฺค-มาล องฺค-ข้อนิ้วมือ มาล-มาลัย. อังคุลิมาลปริตร เป็นคำพูดของท่านถือกันว่าศักดิ์สิทธ์นัก  เพราะเป็นการอ้างสัจจาธิษฐาน นิยมใช้ทำน้ำมนต์ ลองศึกษาคำแปลดูครับ

                        ทีฆา ชาครโต รตฺติ    ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ  

 

              ทีโฆ พาลาน สํสาโร    สทฺธมฺมํ อวิชานตํ 

 

        ราตรีของคนตื่นอยู่ (ด้วยธรรม) อยู่ข้างนาน โยชน์(หนทาง)ของคนเหนื่อยแล้วอยู่ข้างไกล สังสารวัฏ(การเวียนว่าย ตายเกิด)ของคนพาลผู้ไม่รู้พระสัทธรรมอยู่ย่อมยาว

 

อ่านแล้วยังไม่เข้าใจความหมายค่ะ

ในพจนานุกรม มาล ไม่มีค่ะ มีแต่ มาลย์

ในพจนานุกรม นิยมสันสกฤตครับ ส่วน มาล เป็นบาลี

                ราตรีของคนตื่นอยู่ด้วยธรรม อยู่ข้างนาน(บทนี้จะอธิบายทีหลัง)....  หนทางสำหรับผู้เขาเหนื่อยล้าแล้ว มองดูหนทางข้างหน้าที่จะไป ช่างยาวไกลจริงๆ คนผู้ไม่รู้ธรรมะย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ (ฏ์)อีกนาน เพราะฉะนั้นท่านจึงบอกว่าสังสารวัฏของคนพาลผู้ไม่รู้พระสัทธรรมอยู่ย่อมยาว

                โน เจ อสฺส สกา พุทฺธิ         วินโย วา  สุสิกฺขโต

                วเน อนฺธมหีโสว                 จเรยฺย พหุโก ชโน

            คำแปล หากความรู้ของตนไม่พึงมี หรือวินัยไม่ได้ศึกษาดีแล้ว ชนเป็นอันมากจะพึงเที่ยวไป เหมือนกระบือบอดที่เที่ยวไปในป่า ฉะนั้น

            ความหมายก็คือ ถ้าหากว่าเป็นคนไม่มีความรู้ ไม่ได้ศึกษากฎระเบียบ การดำเนินชีวิตมาเป็นอย่างดี ชีวิตของคนนั้นก็เปรียบเหมือนกระบือที่ตาบอด เที่ยวหากินไปในป่า ไม่รู้ว่าจะไปชนกับอะไรที่ไหนอย่างไรบ้าง หรืออาจจะตกเหวตกเขาตายไปก็ไม่อาจจะทราบได้ เช่นเดียวกันกับคนที่ไม่มีความรู้ ทั้งความรู้วิชาการ ทั้งวิชาชีพ การดำเนินชีวิตก็ไม่ราบรื่นเท่าไร เพราะฉะนั้น ความรู้หรือปัญญานี้ท่านจึงเปรียบเหมือนแสงสว่าง ดังบาลีว่า นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา แสงสว่างใด เสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี.

 ประโยชน์ของการคบบัณฑิต                

                    นานยํ นยตี ธีโร            อธุรายํ น ยุญฺชติ

                    สุนโย เสยฺยโส โหติ       สมฺมาวุตฺโต น กุปฺปติ

                    วินยํ โส ปชานาติ          สาธุ เตน สมาคโม 

           บัณฑิตย่อมไม่แนะนำในสิ่งที่ไม่ควรแนะนำ, ไม่ประกอบในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ,การแนะนำดี เป็นความดีของบัณฑิต, บันฑิตนั้นอันผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนโดยดี ย่อมไม่โกรธ,ท่านรู้ทั่วถึงอุบายสำหรับแนะนำ,การสมาคมกับบัณฑิตนั้น จึงเป็นความดี,

                โน เจ อสฺส สกา พุทฺธิ         วินโย วา  สุสิกฺขโต

                วเน อนฺธมหีโสว                 จเรยฺย พหุโก ชโน

            คำแปล หากความรู้ของตนไม่พึงมี หรือวินัยไม่ได้ศึกษาดีแล้ว ชนเป็นอันมากจะพึงเที่ยวไป เหมือนกระบือบอดที่เที่ยวไปในป่า ฉะนั้น

            ความหมายก็คือ ถ้าหากว่าเป็นคนไม่มีความรู้ ไม่ได้ศึกษากฎระเบียบ การดำเนินชีวิตมาเป็นอย่างดี ชีวิตของคนนั้นก็เปรียบเหมือนกระบือที่ตาบอด เที่ยวหากินไปในป่า ไม่รู้ว่าจะไปชนกับอะไรที่ไหนอย่างไรบ้าง หรืออาจจะตกเหวตกเขาตายไปก็ไม่อาจจะทราบได้ เช่นเดียวกันกับคนที่ไม่มีความรู้ ทั้งความรู้วิชาการ ทั้งวิชาชีพ การดำเนินชีวิตก็ไม่ราบรื่นเท่าไร เพราะฉะนั้น ความรู้หรือปัญญานี้ท่านจึงเปรียบเหมือนแสงสว่าง ดังบาลีว่า นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา แสงสว่างใด เสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี.

 

                ชนใดขาดรอบรู้         สรรพวิทย์ 
            ภิกษุวินัยปิด                 เปล่ารู้
            คือมหิงส์มัวมิด              มืดบอด  ตานา
            จะเสาะอาศัยสู้              อยู่ได้ฉันใด

การสร้างบล็อก

๑.ไปที่เมนูของฉัน ด้านบน เมาส์แตะ  ให้ปรากฏรายการ

๒.คลิกเลือกสร้างบล็อกใหม่ จะพบข้อความ

ข้อมูลบล็อก

ที่อยู่ (url): http://gotoknow.org/blog/

เติมชื่อพระคุณเจ้าที่เป็นภาษาอังกฤษไปอาจจะซ้ำกับผู้อื่นก็อาจจะเติมตัวเลขหรืออื่นๆ เพิ่มเช่น

http://gotoknow.org/blog/winaisalaepoom

๓. ใส่ชื่อบล็อก  เช่น  เรียนรู้ดำรงชีวิตทางโลกและทางธรรม

                            พุทธพจน์กับการดำเนินชีวิต

                            พุทธสารผ่านG2K

   คำอธิบายบล็อก  ใส่ข้อความที่บ่งบอกถึงเนื้อหาเรื่องราวที่จะสื่อ เช่น

    วิถีพุทธ

๔. ส่วนเสริมไม่ต้องเติม

๕. คำสำคัญ ก็คือคำสืบค้น   อาจจะใส่

        ศาสนาพุทธ

        วิถีพุทธ

        พุทธภาษิต

        การดำเนินชีวิต

        พระวินัย

         ฯลฯ

๖. คลิกคำว่าสร้าง มุมขวาล่าง

๗. เมาส์แตะที่เมนูของฉัน  คลิกเลือกจัดการบล็อก

๘.คลิกที่ชื่อบล็อกที่ตั้งไว้เมื่อกี๊

๙.ด้านบนขวา  คลิกตกแต่งบล็อก  

๑๐. คลิกเลือกรูปแบบ  ไม่พอใจก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ

๑๑. คลิกsave Themeมุมขวาล่าง

 

ขณะทำบล็อก ควรเปิดหน้าเว็บไว้สัก ๓ หน้าเพื่อจะได้คลิกอ่านไปมาได้สะดวก

การทำบันทึกก็เช่นเดียวกัน   ไปที่ เมนูของฉันก่อน  แล้วคลิกเลือกเพิ่มบันทึก

คลิกบล็อกที่ได้ทำไว้แล้ว 

ใส่ชื่อเรื่อง  ที่จะนำเสนอ

คลิกเลือก หมวดหมู่ 

เนื้อหา ควรจะพิมพ์ในเวิร์ด  และ save ไว้ ก่อน   ค่อยcopy มาลง 

คลุมดำข้อความ คลิกเลือกขนาดตัวอักษร  Heading 5 หรือ 6

เคาะเลื่อน ย่อหน้า  เอนเทอร์ เว้นระยะ

 

ใส่คำสำคัญ ที่เป็นคำค้น เมื่อคนสืบค้นทาง google  เช่น พุทธภาษิต  พระวินัย

ภาษาบาลี เป็นต้น    

 

คลิกบันทึกมุมขวาล่าง 

อ่านทบทวนตรวจสอบหากมีข้อผิดพลาด  คลิกแก้ไขและบันทึกใหม่

ตัวอย่างบล็อก ของ พระคุณเจ้า ต่าง ๆ

บล็อก เมื่อรู้จักความสำคัญที่แท้จริง ของ ท่านธรรมฐิต

บล็อกของ ท่าน BM chaiwut  มีหลายบล็อกมาก ลองคลิกตามลิงก์ที่ทำให้นะคะ

ของพระคุณเจ้าอาจจะเริ่ม บล็อกเดียวและเขียนหลายๆบันทึกหลายแนวไปในที่เดียวกันก่อน  เข้าใจบล็อก เมื่อไรค่อย เพิ่มก็ได้ค่ะ

การตั้งลิงก์ที่อยู่กรุณาเลือกจาก a-z, A-Z, 0-9 และ - (ขีดกลาง) เท่านั้น และห้ามเริ่มหรือลงท้ายลิงก์ด้วยขีดกลาง สงสัยจะใส่อะไรแล้วผิดเลยบอกแบบนี้ ใช่มั้ยครับ

ตัวอย่าง http://gotoknow.org/blog/tip-poem/

tip-poem  อย่างนี้ได้ค่ะ  แต่ขีดล่างไม่ได้ค่ะ

อาจจะเป็น winai-tiwapath   

http://gotoknow.org/blog/winai-tiwapath

คุณครูครับกรณีแพลนเน็ตที่รวมบล็อกนี้ หมายถึงยังไงครับ?

วันนี้วันครูขอให้คุณครูทุกท่านจงมีความสุข

แพลนเน็ต คือคลังข้อมูลบันทึกของสมาชิกเครือข่ายค่ะ

ของครูภาทิพ คือ ห้องเรียนสีชมพู

เมื่อเราไปพบบล็อกของใครที่สนใจจะติดตามอ่านเราก็คลิกที่นำเข้าแพลนเน็ตของท่าน

ต่อไปเมื่อราต้องการทราบว่าวันนี้ เครือข่ายของเรามีใครเขียนบันทึกบ้าง

เราก็คลิกที่แพลนเน็ตของเรา ก็จะเห็นบันทึกล่าสุดของสมาชิกเราค่ะ

ถ้าดึงบล็อก ร้อยกรองของภาทิพ อยู่ในแพลนเน็ตของพระคุณเจ้าแล้ว

เมื่อคลิกแพลนเน็ตตอนนี้จะเห็นว่าครูภาทิพ ส่งบันทึกใหม่ขึ้นไปค่ะ

 

น้ำใจครูยากแท้            พรรณนา

                สอนสั่งสรรพวิชา               ก่อเกื้อ

                คอยสอดส่องตรวจตรา        ดูศิษย์  

                มิใช่ชาติใช่เชื้อ                 เลิศด้วยคุณธรรม   

    โคลงนี้ไม่เพราะเท่าไร ขอมอบให้คุณครูภาทิพ ในวันครูครับ

อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ปมาโท มจฺจุโน ปทํ

อปฺปมตฺตา น มียนฺติ เย ปมตฺตา ยถา มตา

ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย คนทั้งหลายผู้ไม่ประมาทแล้วชื่อว่าย่อมไม่ตาย คนเหล่าใดประมาทแล้ว คนเหล่านั้นชื่อเหมือนคนตายแล้ว..

อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ปมาโท มจฺจุโน ปทํ

อปฺปมตฺตา น มียนฺติ เย ปมตฺตา ยถา มตา

ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย คนทั้งหลายผู้ไม่ประมาทแล้วชื่อว่าย่อมไม่ตาย คนเหล่าใดประมาทแล้ว คนเหล่านั้นชื่อเหมือนคนตายแล้ว..

 

         ชนใดขาดสติตั้ง          เตือนตน

    ตายย่อมชิดทุกหน            แห่งห้วง

    มิประมาทคือชน               หายห่าง  ตายนา

    เผลอมัจจุราชอาจจ้วง        จู่จ้องจับตาย

      คุณครูตอนนี้ประวัติบ้านผักกาดหญ้าก็ใกล้จะสมบูรณ์แล้ว และในบันทึกนั้นได้หยิบยกคำโคลงของคุณครูไปอ้างอิงด้วย คุณครูคงไม่ว่าอะไรนะ 

     เรื่องความประมาทนี้ สำคัญ แม้ก่อนที่จะปรินิพพานพระพุทธเจ้าพระองค์ก็ยังกล่าวถึงในปัจฉิมโอวาท บางท่านก็สรุปว่าธรรมทั้งหมดตลอดระยะเวลา ๔๕ ปีที่สั่งสอนเวไนยสัตว์ รวมลงในความไม่ประมาท อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ..ประมาทก็คือ ขาดสติ เป็นอยู่อย่างขาดสติๆคือความระลึกได้รู้ตัวอยู่เสมอ ในเรื่องที่คิด กิจที่ทำ คำที่พูด ประมาทอีกอย่างนึงก้คือ นิ่งนอนใจ พลั้งเผลอ ทอดธุระ ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป พลาดจกโอกาส พลาดจากสิ่งที่จะพึงได้พึงถึง  ที่ว่าตายนี้มี ๒ นัย ตายอันแรกก้คือตายหมดลมหายใจ ตายอันที่สองคือตายจากคุณงามความดี ตายทั้งที่ยังหายใจอยู่ หรือตายทั้งเป็น ตายจากประโยชน์ อันนี้ว่าตามที่เข้าใจนะ ขอคุณครูจงพิจารณาดูเองเถิด.................เวไนยสัตว์ แปลว่าผู้ที่พอแนะนำได้  สัตว์ ในที่นี้หมายถึงผู้ยังข้องอยู่ในวัฏฏสงสาร...การเวียนว่ายตายเกิด..

นมัสการพระคุณเจ้า

  •   ไม่ทราบว่าเป็นการเข้าใจผิดหรือเป็นความตั้งใจ ที่นำพระพุทธพจน์ไปใส่ในบล็อกของประวัติบ้านผักกาดหญ้า....
  • ทำไมไม่ใส่ในบล็อกเดิมที่อธิบายที่มาของพุทธพจน์
  • พระคุณเจ้ามีบล็อก ๒ บล็อก
  • บล็อกหนึ่งเล่าเรื่องพื้นเพประวัติท้องถิ่น บันทึกในบล็อกนี้ก็ต้องเป็นเรื่องในท้องถิ่น
  • แต่นี่หัวชื่อประวัติ...แต่เนื้อในเป็นอีกเรื่องหนึ่ง?
  • หากเป็นความผิดพลาดอาจจะย้ายบันทึกด้วยการไปที่เมนูของฉัน คลิกจัดการบันทึก แล้วคลิกย้ายบันทึกไปลงในบล็อกพุทธพจน์กับการดำเนินชีวิตค่ะ
  • แต่หากว่าเป็นความประสงค์ก็ไม่เป็นไรค่ะ

เป็นความประสงค์ครับ ขอบคุณครับที่แนะนำ

          นั่งรถไปตามถนนผ่านเมือง คนก้พลุกพล่าน มีทั้งหญิงและชาย  ก็พลอยพาให้คิดไป ถึงพระพุทธเจ้าตอนที่เป็นเจ้าชาย พระองค์เป็นกษัตริย์สมบูรณ์ทุกอย่าง แต่ทำไมจึงเกิดความเบื่อหน่าย ที่ว่าเห็นเทวทูตนั้นก็ใช่อยู่หรอก หรืออีกอย่างจะพิจารณาว่าความสุขที่ได้รับอยู่นั้นเป็นความสุขไม่แท้จริง สุขที่ต้องอาศัยสิ่งอื่น เป็นความสุขไม่ยั่งยืน  จึงอยากจะหาทางเพื่อให้ได้พบกับความสุขนั้น การที่จะอยู่ในเมืองที่มีอะไรมากมายสมบูรณ์ด้วยเบญจกามคุณอย่างนี้คงจะไม่สะดวก เพราะธรรมชาติของใจเป็นสิ่งที่กลับกลอกได้เร็ว หากใจยังไม่มีที่พึ่งที่มั่นคง ย่อมหวั่นไหวต่อสิ่งยั่วยุเหล่านั้น นี่หรือที่ทำให้พระองค์หนีออกบวช อยู่ตามป่าเขา  เพื่อที่จะไม่ได้พบเห็นสิ่งเหล่านั่น แต่เมื่อใดที่เอาชนะจิตใจได้แล้ว ค่อยเข้าเมืองมาประกาศสิ่งที่ได้ค้นพบให้แก่คนอื่น ยามนี้อะไรจะมายั่วยุขนาดไหน ก็คงไม่หวั่นไหวอะไร เพราะเอาชนะใจได้แล้ว.ก็มาพิจารณาถึงตนเอง ได้พบเห็นอะไรมากมาย ถ้าเราไม่มีสติก็เผลอไผลไปตามสิ่งที่ได้พบเห้นเหมือนกัน ธรรมดาหญิงสาวย่อมเป็นที่สนใจของชายหนุ่ม ชายหนุ่มย่อมเป็นที่ชอบใจของหญิงสาวเช่นกัน (ถี รมติ ปุ)..... เบญจพิธกามคุณ หรือ ปัญจพิธกามคุณ ก็คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแล.  เบญจพิธกามคุณ ฟังดูชื่อก็ไพเราะแล้ว...แต่เป็นชื่อของกิเลสที่ยากจะสลัด..สรุปแล้วสำคัญที่สติ..

     คุณครูพรุ่งนี้วันพระ คงจะมีกิจกรรมถวายปิ่นโตอีกนะ ถ้าของที่ถวายหรือประเคนแล้วเขาจะไม่นิยมไปแตะต้องครับ กิริยาที่ประเคนก็ต้องโน้มตัวลงนิดนึงในกรณีที่ยืน ถ้านั่งก็ปกติ ยกขึ้นพอสมควร(พอให้แมวลอดได้) แต่ปัจจุบันนี้ไม่ยก เพียงแค่ให้พระใช้มือแตะ แต่ก็ผิดพุทธ ประสงค์ ของที่ประเคนต้องเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับสมณสารูป ไม่ผิดพระวินัย (ไม่ใช่วัตถุอนามาส)ไม่ใหญ่เกินไป ถ้าเป็นผลไม้ก็นิยมทำให้เป็นของสมควรก่อน โดยการปลอกเปลือก ทำให้มีรอยมีตำหนิ เวลาถวายของพระ ถ้าถอดรองเท้าได้ก็ควรถอด มีหมวกก็ถอดออกเช่นกัน กิริยาที่จับก็จับสองมือ ผู้หญิงก็ประเคนได้ พระท่านมีผ้ารับประเคน ไม่ผิดแต่ประการใด เรื่องผู้หญิงกับการประเคนบาตรนี้ได้หรือไม่ ตอบว่าได้ ในครั้งพุทธกาลนางวิสาขาก็รับเอาบาตรของพระมหาโมคคัลลานะ ตามพุทธดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ว่า หากเธอประสงค์อยากจะนิมนต์พระรูปใด จงรับเอาบาตรของรูปนั้นเถิด แม้ในรั้วในวังบ้านเมืองเราปัจจุบัน เจ้าฟ้าเจ้าหญิง พระองค์ท่านก็ประเคนบาตรเช่นกัน.....ไม่ผิดแต่อย่างใด ที่ผิดๆเพราะไม่รู้ จึงสำคัญผิด....ดังนี้แล...

          มีหนังสือเรื่องนึงชื่อ ครูคือใครทำไมจึงสำคัญนัก? ของพระปลัดนอบ รกฺขิตสีโล ท่านได้แสดงปาฐกถาเอาไว้ พระอาจารย์ท่านนี้เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อปัญญา  มีผู้ถอดเทป เรียบเรียงเป็นหนังสือ เนื้อหาสาระดีมาก อาตมาเคยอ่าน ตอนนี้ไม่รู้อยู่ที่ไหน หาไม่เจอ ในเล่มจะมีคำถามเป็นระยะ  ผู้ฟังก็ฟังไม่เบื่อ ผู้อ่านก็วางไม่ลง ในนั้น ท่านได้รวบรวมความหมายของคำว่าครูไว้หลากหลายตามที่มีผู้แสดงไว้  มีความหมายนึงที่หลวงพ่อพุทธทาสให้ไว้ ครูคือผู้นำทางความคิดและจิตวิญญาน (สปิริตชวลไกด์) ซึ่งก็ตรงกับคำนึงที่อาจารย์เนารัตน์ว่าไว้ ครูคือผู้ยกระดับวิญานของมนุษย์ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน์ สำหรับอาตมา ครูแปลว่าผู้หนัก หนักในทุกสิ่งที่เป็นไปในทางที่ดี แล้วแต่เราจะแปล  ที่พูดมานี้ก็เพื่อแนะนำหนังสือ บางทีก็อาจจะผ่านตาคุณครูมาแล้วก็ได้...

           ประวัติรวมรวบไว้             ศึกษา

       หวังว่าเป็นตำรา                  สืบไว้

       ทำไปเพื่อบูชา                   ถิ่นพัก

       ยามจากพรากไกลไซร้         ฝากให้คิดถึง

คุณครูครับช่วยเติมแต่งโคลงนี้ให้ด้วย หรือแนะนำสิ่งที่ควรแก้ไขด้วยครับ

          ประวัติรวมรวบไว้            ศึกษา

       หวังว่าเป็นตำรา                สืบค้น

       ทำไปเพื่อบูชา                  ถิ่นพัก

       ยามจากพรากไกลพ้น        ฝากให้คิดถึง

อันไหนจะดีกว่ากันครับ.

         ประวัติรวมรวบไว้             ศึกษา ดีแล้วค่ะ หรือ   ประวัติหวังวาดไว้

       หวังว่าเป็นตำรา                 สืบไว้  ดีแล้วเช่นกันหรือ รวมรวบเป็นตำรา

       ทำไปเพื่อบูชา                   ถิ่นพัก  หรือ ทำไปเพื่อบูชา   ชมถิ่น  พักนอ

       ยามจากพรากไกลไซร้         ฝากให้คิดถึง    ดีแล้ว หรือยามพรากจากเมืองไซร้

                            อจฺจยนฺติ อโหรตฺตา    ชีวิตํ อุปฺปรุชฺฌติ

                            อายุ ขียติ มจฺจานํ       กุนฺนทีมโวทกํ

                วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป อายุของสัตว์ย่อมสิ้นไป  ดุจน้ำแห่งลำธารย่อมหมดไปฉะนั้นฯ..... ที่จริง คำว่า วัย ก็แปลว่าเสื่อม เห็นชัดคำว่าโรงพยาบาล  มาจาก วย-ปาล  วย-เสื่อม ปาล แปลว่ารักษา รวมแล้วแปลว่ารีกษาความเสื่อม ความไม่สมบูรณ์ทางร่างกาย  อีกคำนึง คำว่า พระขีณาสพ  มาจากศัพท์ว่า ขีณ-อาสว ขีณ แปลว่าสิ้นไป อาสวะ เป็นชื่อของกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน ท่วมท้นจิตใจสัตว์  อาสวะ ลบ อา แปลง ว เป็น พ เป็น ขีณาสพ ท่านใช้เรียกเป็นคุณสมบัติของพระอรหันต์ คำนึงที่เวลาดูฟุตบอลมักจะได้ยินอยู่บ่อยๆ นายทวารบาล ทวาร แปลว่า ช่อง, ประตู, บาล-รักษา  ผู้รักษาประตู อีกคำนึงที่คนไม่เข้าใจ คิดว่าเป็นคำมาจากภาษาอังกฤษ มังสวิรัติ มังสะ-เนื่อ วิรัติ-เว้น เว้นจากการกินเนื้อก็คือกินผัก แต่นิยมเรียกว่า เจ เวลาสอนพรหมวิหารสี่ ไม่อยากจะให้แปล อุเบกขา ว่า วางเฉย แปลแบบนี้ต้องอธิบายมาก เดี๋ยวเด็กจะทอดธุระ ไม่ใส่ใจ เพิกเฉยไม่ทำอะไร ที่จริง อุเบกขา มาจาก อิกฺข ธาต ในความแลดู อุป ศัพท์ หน้า แปลว่า เข้าไป เมื่อ พิจารณาแล้วควรจะแปลว่า เข้าไปแลดู หรือเข้าไปพิจารณาดูด้วยใจที่เป็นกลาง จะเห็นภาพมากกว่า อีกคำคือ วิมังสา แปลว่า ปัญญา ที่จริง ต้องบอกให้ละเอียด ความหมายเดิม แปลว่าการพิจารณา ก็ใช้ปัญญานี่แหละพิจารณา แต่ผู้ไม่รู้แปลว่าไม่มีเนื้อ เพราะเห็นศัพท์ว่า มังสา ที่ท้ายคำ เรื่องพุทธพจน์ก็เห็นคนมาดัดแปลงทำเป็นเรื่องตลกคะนองก็มี ที่จริงก็เป็นการไม่สมควร เป็นการบิดเบือนคำสอน บินเบือนภาษา เช่น วิสาสปรมา ญาตี ความคุ้นเคยเป็นลูกเขยอย่างยิ่ง อะไรทำนองนี้ หรือไม่ก็ยกมาพูดเป็นการล้อเลียน แต่คนเหล่านั้นก็นับถือพุทธศาสนา ซึ่งฟังดูแล้วก้ไม่ดีเท่าไร เช่นเดียวกันกับคนรักภาษาไทย เห็นคนใช้ภาษาแสลง ภาษาวัยรุ่น ก็รู้สึกไม่ดีเท่าไร.

             คุณครูเรื่องบล็อกเราสามารถเปลี่ยนชื่อได้มั้ย จากชื่อนึงเป็นชื่อนึง แล้วอนุทินสำหรับเขียนอะไรบ้าง และโคลงนี้ในนิราศนรินทร์ จะให้อ่านยังไง

                        จากมามาลิ่วล้ำ          ลำบาง
                        บางยี่เรือราพลาง              พี่พร้อง
                        เรือแผงช่วยพานาง           เมียงม่าน มานา
                        บางบ่รับคำคล้อง              คล่าวน้ำตาคลอ
    

บาง ยี่ เรือ ราพ ลาง  หรือ  บาง ยี่ เรือ รา พลาง

เข้าใจแล้วครับ เมื่อถึงตำบลบางยี่เรือก็ราพายชะลอให้เรือช้าลง พลางพูดกับเรือแผง (เรือที่ใช้แผงกั้นเป็นเครื่องกำบัง) ราพาย   เพิ่งเคยได้ยิน

   ความรักนี้ก็ช่างมีอานุภาพมากมาย ทำให้คนดีๆ ถึงกับพร่ำเพ้อรำพึงรำพันถึงคนที่ตนรักกับสิ่งไม่มีชีวิต พูดแม้กระทั่งกับเรือ แต่เรือก็ไม่รับคำ ด้วยความคิดถึงจึงเป็นเหตุให้น้ำตาคลอ สงสารนายนรินทร์ (อิน) ที่ต้องเป็นทุกข์เพราะการพลัดพราก แต่การพลัดพรากที่นายนรินทร์อิน ประสบนั้น เป็นการพลัดพรากทั้งๆที่มีชีวิตอยู่ สักวันถ้ายังมั่นคงในความรักทั้งสองคงต้องได้พบกันอีก แต่ยังมีการพลัดพรากที่ยากจะทำใจได้ นั่นคือ คนที่ตนรักต้องมีอันต้องจากโลกนี้ไป เป็นการพลัดพรากที่ถาวร ไม่มีวันที่จะพบกันอีก คงจะไม่เหมือนกับกามนิต และวาสิฏฐี  ที่ไปพบกันบนสวรรค์ นี่แลท่านว่าเป็นทุกข์ (อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข ปิเยหิ วิปฺปโยโคทุกฺโข)

นมัสการพระคุณเจ้า

  • การเปลี่ยนชื่อบล็อก ไปที่เมนูของฉัน คลิกที่ จัดการบล็อก คลิกที่แก้ไขค่ะ
  • การใช้สีป้ายตัวอักษรมาก ทำให้ดูเลอะ อ่านไม่สบายตาค่ะ

                            อจฺจยนฺติ อโหรตฺตา    ชีวิตํ อุปฺปรุชฺฌติ

                            อายุ ขียติ มจฺจานํ       กุนฺนทีมโวทกํ

                วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป อายุของสัตว์ย่อมสิ้นไป  ดุจน้ำแห่งลำธารย่อมหมดไปฉะนั้นฯ..... 

 

      วันคืนลุลดสั้น               ตามกาล
ชีวิตพาสังขาร                    ขดด้วย
อายุยิ่งพบพาน                   พรากหมด  เร็วแฮ
ดุจดั่งธารหายห้วย              เหตุแล้งขาดฝน    

 

  • ขอบพระคุณมากค่ะ ได้ความรู้ที่มาของ โรงพยาบาล มาอีกคำ

   

                    อายุกาลผ่านพ้น                  วัยเยาว์

                กาลก่อนเคยขลาดเขลา            ข้นแค้น

                มาสู่ "กาสาวพัตร์" แม้น             หลบลี้วุ่นวาย  

คุณครูช่วยดูโคลงนี้ให้ด้วย จะแก้ไขส่วนไหนบ้าง   

                                                          

ตกหล่นครับ..

   อายุกาลผ่านพ้น                     วัยเยาว์

กาลก่อนเคยขลาดเขลา               ข้นแค้น

ครวญคิดใคร่พาเอา                     อกรอด พ้นนา

มาสู่ “กาสาวพัตร์”แม้น                 หลบลี้วุ่นวาย

                                                            

ข้นแค้น จะหาคำเสียงเอกว่าอะไร ว่าใส่แทนคำนี้ดี

อายุกาลผ่านพ้น                     วัยเยาว์

กาลก่อนเคยขลาดเขลา           ข้นแค้นค่นแค้น  คับแค้น  คับแค้น

ครวญคิดใคร่พาเอา ขัดเกลา    อกรอด พ้นนา  กรองอาต-  มานา

ผันสู่ “กาสาวพัตร์”แม้นแจ้น     หลบลี้วุ่นวาย  จบร้อนรุมเรา    

    อายุ"สังขาร"ผ่านพ้น      วัยเยาว์

กาลก่อนเคยขลาดเขลา      คับแค้น

ครวญคิดใคร่ขัดเกลา          กรองอาต-มานา

ผันสู่"กาสาวพัตร์"แจ้น        หลบร้อนรุมเรา

  

    สิ่งใดใครส่งให้                        มอบมา

ทุกอย่างยังตรึงตรา                       มั่นแท้

ขอบคุณที่เมตตา                         หยิบยื่น  ให้นอ

น้ำจิตคิดเลิศแล้                          ซาบซึ้งน้ำใจ  

โคลงนี้ว่าจะเขียนขอบคุณ คุณครูที่ รร.ที่ท่านมีน้ำใจ

 

          สาวหนึ่งมานอบน้อม               วันทา

           สำรวจกิริยา                                 เรียบร้อย

          ถวายสิ่งของมา                            ก็รับ นาท่าน

          แกะออกคือเสื้อน้อย                    เหตุนี้อะไร      

  ตอนปีใหม่มีการจับฉลากของขวัญ บังเอิญว่า อาตมาจับได้ตุ๊กตาตัวโตๆ ซึ่งเป็นของนศ.ฆราวาสผู้หญิง  จริงๆก็ไม่ได้อยากได้ อายที่จะถือ พอดีหญิงสาวคนนึง มาถามเปลี่ยน เขาก็เอาของขวัญเขามาเปลี่ยน ก็รีบเปลี่ยนไม่รีรอ  พอวันหลัง มาเที่ยวตามหา บอกเอาของขวัญมาเพิ่มให้อีก ท่าทีเธอก็ดูเรียบร้อย  เปิดดูก็เป็นเสื้อหนึ่งผืน และมีปัจจัยอยู่ในนั้น ก็ยังนึกขำๆและสงสัยจนทุกวันนี้ ให้เสื้อผ้า เหมือนกับเป็นฆราวาส

ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนนะ ก็เสตุฆาตไปแล้ว       เสตุ-สะพาน  ฆาต-ทำลาย,ฆ่า แปลให้ไพเราะว่าทำลายสะพานการเชื่อต่อ  ทัณฑฆาต  ก็เช่นกัน  ทัณ-ไม้ฆ้อน ฆาต-ฆ่า ถูกฆ่าตายเพราะไม้ฆ้อนจึงไม่มีเสียง การันต์ การ-กระทำ อนฺต-ที่สุด ที่จริงแปลว่าสระที่สุดศัพท์ 

             

                เล่าเรียนเพียรสืบไว้           วิทยา

           วันหนึ่งซึ่งพลอยพา              พรั่งพร้อม

           อย่าปล่อยปละเวลา               หลุดล่วง เปล่าเฮย

           การศึกษานำน้อม                  ส่งให้เจริญ    

   

          ถึงคราค่ำย่ำฆ้อง                    สัญญาน

      สนธยาทิวากาล                         ผ่านพ้น

      สวดมนต์กล่อมดวงมาลย์         เพียรเพ่ง ใจนา

      อานิสงส์หลากล้น                    ล่วงล้ำบ่วงมาร

คุณครูช่วยดูให้ด้วยตรงไหนควรแก้ไข..        ควรจะใช้คำยังไงดีถ้าเราแต่งแบบนี้                                                       

 

 

    

 

ผันสู่กาสาวพัตร์แจ้น จบร้อนรุมเรา หลงพิมพ์ผิดเป็น หลบร้อน

               สาวหนึ่งมานอบน้อม               วันทา

 

           สำรวจกิริยา                              เรียบร้อย

           ถวายสิ่งของมา                          ก็รับ นาท่าน

           แกะออกคือเสื้อน้อย                    เหตุนี้อะไร      

 

 

                 สาวสวยมามอบเสื้อ           ทรงศีล

           เธอคิดจะหมายปีน                  ป่ายงิ้ว

           ปัจจัยจากวัยทีน                     มอบท่าน 

           ลาสิกขาหอบหิ้ว                     ยื่นให้ปัจจัย

 

                  ขอโทษค่ะ  ตีความตามสาร

 

 

 

 

 

             เล่าเรียนเพียรสืบไว้            วิทยา

           วันหนึ่งซึ่งพลอยพา              พรั่งพร้อม

            อย่าปล่อยปละเวลา              หลุดล่วง เปล่าเฮย

            การศึกษานำน้อม                  ส่งให้เจริญ    

 บทนี้ไพเราะแล้วค่ะ

   

 

          ถึงคราค่ำย่ำคืนค่ำฆ้อง                  สัญญาน

       สนธยาทิวากาล                             ผ่านพ้น

       สวดมนต์กล่อมดวงมาลย์ มุ่งนิพพาน    เพียรเพ่ง จิตนา

       อานิสงส์หลากล้น                           หลบเร้นไกลมารหรือ หลบเร้นมารผจญ

สุโข ปุญญัสสะ อุจจะโย การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้

บุญกุศลเร่งสร้าง กันไว้

หวังเพื่อติดตัวไป ชาติหน้า

อย่ามัวแย่งแข่งใหญ่ กันอยู่ เลยท่าน

ด้วยแผ่นดินจะล้า เพื่อนบ้านทั้งหลาย

  คุณครูครับ เขาส่งมาให้สมัคร Facebook  จะต้องสมัครมั้ย แล้วทำไมเวลาเพิ่มเติม แก้ไขบันทึก แก้แล้วก็ยังเหมือนเดิม หรือมันจะมีผลอะไรต่อกัน  

จะสมัครเฟสบุ๊ครึไม่ 

ต้องถามใจพระคุณเจ้าว่า

  • เหมาะไหมกับสมณ? 
  • เป้าหมายในการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่ออะไร
  • สำหรับครูภาทิพ  เป็นสมาชิกแต่ไม่ใช้  เพราะเสียเวลา
  • เป้าหมายของครูภาทิพในการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ประสบการณ์ และนำเสนอผลงานการเขียน
  • ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ  สังคมที่แท้จริง ให้มากกว่าสังคมอินเตอร์เน็ต
  • แต่ละวันจะมีคนเชิญเป็นเพื่อนบนอินเตอร์เน็ตมากหมายแต่ลบทิ้งหมด คำตอบ คือเสียเวลา 

หรือว่าบันทึกนั้นมันจะบรรจุข้อความได้เท่านั้น เพิ่มอีกเลยไม่เพิ่มให้

สวัสดีค่ะ คุณครู ปภินวิช pap2498 ถนอมวงศ์ 

                   สุโข ปุญญัสสะ อุจจะโย

               การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้

 

          สะสมเงินมากไซร้          เศรษฐี

    กอบเก็บมิตรไมตรี               มากพ้อง

    สะสมแต่ราวี                      วิวาท  เวียนแล

    บุญสั่งสมพาข้อง                ครอบล้วนสุขแสน

   

ลองenter ไล่ข้อความลงไปก่อนนะคะ ครูภาทิพเคยเจอปัญหานี้เหมือนกันค่ะ

  อ๋อก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะใช้ และก็ใช้ไม่เป็นด้วย ทีแรกนึกว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงระบบหรืออะไรก็ไม่ทราบ นึกว่ามันจะเกี่ยวกัน  ก็เลยถามครับ. แล้วทำไมเวลาที่แก้ไขบันทึก หรือเพิ่มเติมข้อความ เสร็จแล้ว ก็ตกลง แต่บันทึกนั้นก็ยังเหมือนเดิม หรือจะเป็นเพราะมีการจำกัดข้อความ 

บันทึกไม่จำกัดข้อความ ค่ะ  แต่อาจจะมีปัญหาอะไรสักอย่าง

หากพยายามแล้วยังไม่เป็นผล  พระคุณเจ้า ลองแบ่งเนื้อหาจากบันทึกนั้น

ไปเปิดบันทึกใหม่แล้วใช้ชื่อเดิมแต่ใส่เลข ๒ ตามหลังก็ดีค่ะ

                 สุวณฺตา สุสรตา       สุรูปตา  สุสณฺฐานํ

                 อธิปจฺจํ  ปริวาโร      สพฺพเมเตน ลพฺภติ

    ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ความเป็นผู้มีเสียงไพเราะ ความเป็นผู้มีทรวดทรงดี(รูปร่างสมส่วน) ความเป็นใหญ่ ความเป็นผู้มีบริวาร สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เกิดมีขึ้นได้เพราะบุญ(บุญนิธิ)   ตามที่ศึกษามานางวิสาขามีความสมบูรณ์ตามพระบาลีนี้มากกว่าใคร..เรื่องของนางวิสาขาเป็นเรื่องยาวมาก น่าศึกษา เป็นต้นแบบแห่งผู้หญิงทั้งหลาย  เป็นคนที่มีหน้าตาดี จนได้นามว่า เบญจกัลยาณี เธอมีอายุ ๑๒๐ ปี และยังเป็นพระอริยบุคคลขั้นต้นในศาสนา จนได้นามต่อท้ายชื่อว่า มหาอุบาสิกา เป็นคนริเริ่มในการทำบุญมากมายหลายชนิด ประเพณีบุญต่างๆที่ทำกันในปัจจุบัน ก็เกิดจากนางวิสาขา เธอเป็นคนที่เดินด้วยกิริยาที่สวยงาม มีความรักใคร่ชอบพอกับพระอานนท์ แต่เป็นความรักที่เกิดจากความเคารพนับถือ ปราศจากกามราคะ วัดบุพพาราม ก็เป็นวัดที่นางสร้าง... 

                 สุวณฺณตา สุสรตา       สุรูปตา  สุสณฺฐานํ

                 อธิปจฺจํ  ปริวาโร         สพฺพเมเตน ลพฺภติ

สุวณฺตา สุสรตา       สุรูปตา  สุสณฺฐานํ

                 อธิปจฺจํ  ปริวาโร      สพฺพเมเตน ลพฺภติ

    ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ความเป็นผู้มีเสียงไพเราะ ความเป็นผู้มีทรวดทรงดี(รูปร่างสมส่วน) ความเป็นใหญ่ ความเป็นผู้มีบริวาร สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เกิดมีขึ้นได้เพราะบุญ(บุญนิธิ)

 

         ผิวพรรณผุดผ่องแผ้ว      เพียงแข
 เสียงเปล่งจับดวงแด               ห่อห้อม
ทรวดทรงสง่างามแล               เลอเลิศ
อำนาจบริวารล้อม                   เหตุล้วนจากบุญ

 เพราะดีครับ ฟังครั้งเดียวก็พอนึกตามได้ แข พระจันทร์ใช่มั้ยครับ คำนี้เข้าใจว่าเป็นภาษาเขมร ดวงแด -ดวงใจ ก็เช่นกัน

   ยามที่ว่างจากการศึกษา จะเก็บพระบาลี และยืมคำโคลงเหล่านี้ไปอธิบายขยายความ จะได้เป็นบุญเป็นกุศลแก่ตนเอง  และเพื่อผู้ต้องการศึกษาจะได้รู้และเข้าใจ  คุณครูคงไม่ว่าอะไรนะครับที่หยิบยกโคลงไปด้วย ก็บอกชื่อคุณครูกำกับไว้ด้วยตลอด ถ้าแต่งวันละโคลงสองโคลง นานไปคิดว่าคงจะมาก . บุญ กับ กุศล ต่างกัน แต่นิยมเรียกด้วยกัน ทานกับบริจาคก็ต่างกัน แต่นิยมเรียกว่าบริจาคทาน  สังเกตได้จากทศพิธราชธรรม.

พระคุณเจ้าก็นำพุทธภาษิตมาทิ้งไว้ได้เรื่อยๆ ค่ะ

ครูภาทิพว่าง หรือมีความพร้อมจะแต่งก็จะเข้ามาแต่งทิ้งไว้ค่ะ

    แก้ไขครับ            

                  สุวณฺตา สุรูปตา        สุสรตา  สุสณฺฐานํ
                  อธิปจฺจํ  ปริวาโร          สพฺพเมเตน ลพฺภติ
   

           ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ความเป็นผู้มีรูปสวย ความเป็นผู้มีเสียงไพเราะ ความเป็นผู้มีทรวดทรงดี(รูปร่างสมส่วน)  ความเป็นใหญ่  ความเป็นผู้มีบริวาร สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เกิดมีขึ้นได้เพราะบุญ(บุญนิธิ)

                         อตฺตานเมว    ปฐมํ    ปฏิรูเป      นิเวสเย

                         ยถญฺญมนุสาเสยฺย    น กิลิฏเสยฺย ปณฺฑิโต

                บัณฑิตควรตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน จึงสอนคนอื่นในภายหลัง จะไม่พึงลำบาก.

                          อตฺตานญฺเจ    ตถา  กยิรา  ยถญฺญมนุสาสติ

                          สุทนฺโต วต ทเมถ   อตฺตาหิ  กิร  ทุทฺทโม

                ถ้าสั่งสอนคนอื่นอยู่ฉันใด ควรทำตนฉันนั้น ฝึกตนดีแล้วหนอ ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนเองฝึกยาก.

                        

                         อตฺตานเมว    ปฐมํ    ปฏิรูเป      นิเวสเย

                         ยถญฺญมนุสาเสยฺย    น กิลิฏเสยฺย ปณฺฑิโต

                บัณฑิตควรตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน จึงสอนคนอื่นในภายหลัง จะไม่พึงลำบาก.

                          อตฺตานญฺเจ    ตถา  กยิรา  ยถญฺญมนุสาสติ

                          สุทนฺโต วต ทเมถ   อตฺตาหิ  กิร  ทุทฺทโม

                ถ้าสั่งสอนคนอื่นอยู่ฉันใด ควรทำตนฉันนั้น ฝึกตนดีแล้วหนอ ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนเองฝึกยาก.

 

    ปราชญ์ปฏิบัติเลิศแล้ว          ในตน
แบบอย่างสาธุชน                     ยกให้
ศรัทธาทั่วผองพล                    พบผ่าน   ปราชญ์นอ
จึงสั่งสอนศิษย์ได้                    ง่ายแท้ปฏิบัติตาม

 

    สอนเขาเราย่อมต้อง            ดีงาม
ศิษย์จึ่งปฏิบัติตาม                   ต่อถ้อย
ลูกปูแม่ปูยาม                         เดินย่ำ    เป๋แล
สอนสั่งเขาตามต้อย                 ยากแท้คืออาตมา
       

อันปวงปราชญ์ฉลาดล้ำนำวิถี มีวิธีสอนคนชนกล่าวถึง

ท่านอบรมบ่มตนจนคะนึง แล้วค่อยพึงแนะนำให้ทำตาม

สอนคนอื่นเช่นไรให้ย้อนคิด ดำรงตนถูกหรือผิดคิดหยาบหยาม

ถ้าตั้งตนหมองมัวชั่วเลวทราม คนประณามทั่วแผ่นดินว่าสิ้นดี

ควรตั้งตนให้ดีมีศีลธรรม เป็นผู้นำที่ดีมีศักดิศรี

สุจริตกายใจไขพจี ชั่วชีวีสติตรองคุ้มครองตน.

แต่งได้ไม่ดี แต่ก็ฝืนแต่ง ฝึกทักษะวันละนิดวันละหน่อย ค่อยเป็นไป....

                    ชยํ เวรํ  ปสวติ          ทุกฺขํ เสติ  ปราชิโต

                    อุปสนฺโต  สุขํ เสติ     หิตฺวา  ชยปราชย

     "...บุคคลผู้ชนะย่อมประสบเวร  ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้เข้าไปละความชนะ และความแพ้แล้ว สงบอยู่ ย่อมอยู่เป็นสุข..."

          พิมพ์ตก แก้ใหม่เป็น ชยปราชยํ

อัปราชัย ที่จริงคำนี้แปลว่า ความไม่ปราชัย (ไม่แพ้) คือความชนะนั่นเอง คู่กับคำว่า ปราชัย (ความแพ้) แต่คนทั่วไปใช้คำว่า "อัปราชัย" ในความหมายว่าแพ้ เช่นในภาษิตโบราณมีคำว่า คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย

                    ชยํ เวรํ  ปสวติ          ทุกฺขํ เสติ  ปราชิโต

                    อุปสนฺโต  สุขํ เสติ     หิตฺวา  ชยปราชยํ

     "...บุคคลผู้ชนะย่อมประสบเวร  ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้เข้าไปละความชนะ และความแพ้แล้ว สงบอยู่ ย่อมอยู่เป็นสุข..."

                       ยินดีในชนะนั้น             ฤๅนาน
                  คนอื่นหมายทะยาน            หยิบบ้าง
                  ปราชัยยิ่งทรมาน               หมองหม่น
                  ปัดชนะปราชัยขว้าง           ย่อมคว้าสุขเยือน

            ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ       ยํ กตฺวา  นานุตปฺปติ

            ยสฺส  ปตีโต   สุมโน     วิปากํ  ปฏิเสวติ

        "...บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่ตามเดือดร้อน ถึงความอิ่มใจ มีใจดี เสวยผลของกรรมใดอยู่ กรรมที่บุคคลทำแล้วนั่นแล เป็นการดี (กรรมดี)..." โดยความหมายแห่งพระบาลีนี้ กรรมดี หรือความดี ก็คือ สิ่งที่ทำไปแล้วไม่ส่งผลเป็นความเดือดร้อนในภายหลังทั้งแก่ตนเองและคนอื่น คนทำมีความสุขใจในการกระทำดีนั้น เวลาคิดถึงก็เอบอิ่มใจ สุขใจ ท่านเรียกสิ่งที่ทำนี้ว่ากรรมดี...."

    คุณครูทำไมไม่เพิ่มเติมโคลง"บุคคลผู้ชนะย่อมประสบเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์"ในบันทึกหละครับ อัศจรรย์คำสอนของพระพุทธเจ้า พระดำรัสที่ตรัสล้วนแล้วเป็นข้อคิดได้ดีทุกอย่าง คำลักษณะนี้ เขาเรียกว่าคาถาๆคือรูปแบบของคำประพันธ์ในภาษาบาลี คำประพันธ์คือคำที่ผ่านการกลั่นกรองมาแล้วเป็นอย่างดี ทั้งในแง่ความหมาย ทั้งในแง่ไวยากรณ์ จึงไม่มีที่ติ บางทีพระบาลีบทนี้อาจจะเป็นฉันท์อะไรสักอย่าง บางทีการทรงจำก็ทำให้ผิดพลาดก้ได้ แต่ก่อนยังไม่มีการจารึกเป็นอักษร อาศัยการทรงจำปากต่อปาก มุขปาฐะ ปัจจุบันก็มีการทรงจำพระไตรปิฎก ในพม่ามีเยอะ ในไทยเล่าลือกันว่า พระพรหมคุณาภรณ์(ประยุทธ)ท่านก็ทรงจำได้เช่นกัน แต่ในเมืองไทยเราการจำพระปาฏิโมกข์ก็มีอยู่ทั่วไป แต่ก็เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความเพียรพยายามเช่นกัน ในคำอาราธนาพระธรรม ก็มีคำนึงที่เวลาพิมพ์เขาพิมพ์ผิดแล้วเป็นเหตุให้เกิดการจดจำกันมาแบบนั้นโดยไม่เปลี่ยนแปลง คำว่า อนฺธิวรํ  มาจาก อนฺธ-มืด วรํ-ประเสริฐ  ในคัมภีร์ฉันทลักษณ์วุตโตทัย คือ อนธิวรํ (อะนะธิวะรัง)คำนี้เป็นพระคุณของพระพุทธเจ้าในบรรดาพระคุณทั้งหลาย.คำอาราธนาพระธรรมนี่แลก็เป็นสิ่งที่น่าศึกษา สหบดีพรหม ถ้าเป็น ธรรมาธิษฐษน ก็น่าจะหมายถึง กรุณา ซึ้งเป็นธรรมะข้อนึงในพระพุทธศาสนา เพราะ พรหม คือผู้ที่เป็นใหญ่ หรือสิ่งที่เป็นใหญ่  คุณธรรมที่จะทำให้เป็นใหญ่ได้ กรุณา ก็รวมอยู่ในนั้น การตีความธรรมะ ควรตีความทั้ง ปุคคลาธิษฐาน (รูปธธรรม) ทั้งธรรมาธิษฐาน (นามธรรม).

    เรื่องพรหมนี้ ตอนออกบวชก็กล่าวถึง ฆฏิการพรหม ตอนจะแสดงธรรมก็กล่าวถึงสหัมบดีพรหม เรื่องพระพรหม เห็นรูปปั้น เขาทำไว้มีสี่หน้า คงจะหมายถึง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

    วันนึงนั่งรถมาจะกลับวัด พอดีรถแน่นที่นั่งเต็มหมด แล้วมียายคนนึง ขึ้นมาทีหลัง แกก็ไม่มีที่นั่ง นักเรียน นักศึกษาผู้ชายก็นั่งเต็มหมด จะหาใครลุกให้ยายนั่งก็ไม่มี บางทีก็ทำเป็นมองไม่เห็น หรือทำเป็นนอนหลับ เรื่องทำนองนี้เห็นบ่อยมาก แต่วันนั้น มีเด็กสาวคนนึง เธอลุกจากที่นั่ง แล้วมาจูงยายคนนั้นไปนั่งที่เบาะของเธอๆก็เลยยืน อาตมานั่งมาในรถคันนั้นก็ประทับใจมาก และเข้าใจในเรื่องพรหมวิหารสี่ชัดเจนกว่าเดิม  ก็นึกชื่นชมอยู่ในใจของเธอ น้ำใจนี้ช่างหายากจริงๆ

   พรหมวิหารสี่ท่านว่า เป็นธรรมของผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ หรือธรรมที่ทำให้เป็นผู้ใหญ่ เธอคนนั้น แม้จะเป็นเด็กสาว แต่เธอก็ได้ชื่อว่ามีจิตใจที่ยิ่งใหญ่ ผู้ใหญ่ถ้าไม่มีคุณธรรมเหล่านี้ ก็พลอยทำให้ผู้น้อยขาดความรัก ความเคารพนับถือได้เช่นกัน ถ้าคุณธรรมนี้มีในผู้น้อย ก็ทำให้เป็นผู้น้อยที่น่ารัก น่านับถือ น่าช่วยเหลือ สนับสนุนส่งเสริม  เรื่องเช่นนี้ควรที่จะนำเป็นกรณีสั่งสอนนักเรียนได้เช่นกัน จึงฝากคุณครูผู้อยู่ในวงการสอนไว้ในที่นี้ด้วย.

นมัสการพระคุณเจ้า

   จากนี้ไปจะนำเสนอในรูปแบบกลอนดอกสร้อย  ซึ่งเมื่อมากพอ จะนำไปเปิดบันทึก

ดอกสร้อย...ล้อรอยธรรม  ค่ะ

 

             ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ       ยํ กตฺวา  นานุตปฺปติ

            ยสฺส  ปตีโต   สุมโน     วิปากํ  ปฏิเสวติ

        "...บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่ตามเดือดร้อน ถึงความอิ่มใจ มีใจดี เสวยผลของกรรมใดอยู่ กรรมที่บุคคลทำแล้วนั่นแล เป็นการดี (กรรมดี)..." 

 

       กรรมเอ๋ยกรรมดี                 ความเปรมปรีดิ์ก่อให้ในภายหลัง
หากทำดีดีตอบคนชอบยัง           เพิ่มพลังแก่ผู้ทำชุ่มฉ่ำใจ
อย่ากังวลผลกรรมที่นำส่ง           ว่าพุ่งตรงตอบพลันหาฉันไหม
เมื่อทำดีดีมาหาทันใด                 ความอิ่มเอิบนั่นไซร้ให้มาเอย

      สักวากรรมดีผิว์ก่อไว้         ส่งผลให้เปรมปรีดิ์ฤดีหลาย

   เป็นอาภรณ์ชีวิตปิดอบาย       คือเครื่องหมายคนดีที่ดีจริง   

   อันผู้ใดทำชั่วมั่วทางบาป       ยังไม่ทราบยังสนุกถูกผีสิง

   ควรปรับปรุงหัวใจใช่ประวิง     แสวงสิ่งสุขแท้แก่ตนเอย

ประวิง ก. หน่วงไว้ให้เนิ่นช้า, ถ่วงเวลา, เช่น ประวิงเวลา ประวิงเรื่อง.

          เหนื่อยๆครับคุณครู วันนี้มีการเข้าค่ายพุทธบุตร ที่โรงเรียนผักกาดหญ้าโรตารี่อุทิศ ก็เป็นวิทยากรร่วมตอบปัญหาธรรมะ ในช่วงท้าย  คำถามที่มีสาระที่นักเรียนถาม พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นเมื่อไร, ทำไมพระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์, ทำไมเจ้าชายสิทธัตถะจึงไม่เป็นพระราชา,และทำไมจึงออกบวช, นรกมีกี่ขุม, ตายแล้วไปไหน, ภิกขาจาร,ภิกษาจาร คืออะไร, โอวาทปาฏิโมกข์คืออะไร,ทำไมคนเราจึงเกิดมาไม่เหมือนกัน,สวรรค์มีกี่ชั้น,เข้าค่ายพุทธธรรมเพื่ออะไร,   คำถามเหล่านี้วิทยากรท่านส่งมาให้ตอบ ก็ตอบทุกคำถาม ส่วนที่ถามกวนก็มีและมีเยอะ เช่นเลขงวดนี้จะออกอะไร ฯลฯ แต่ท่านอื่นเป็นผู้ตอบ เพื่อให้มีสีสัน ให้เกิดความคล้อยตาม สนใจ 

   วันนี้วันพระ...

             วันเอ๋ยวันพระ                หมายให้สละละชั่วสิ่งมัวหมอง

       ให้ดำเนินชีวิตตามครรลอง      มีสติครองตนชนนิยม

       วันพระแต่ละทีนี้ฉุกคิด           วันละนิดละชั่วตัวทับถม

       ทำความดีทำน้อยพลอยอบรม  ค่อยสั่งสมเดี๋ยวมากหากนานเอย  

       

                    น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ     ยํ กตฺวา  อนุตปฺปติ

                    ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ   วิปากํ ปฏิเสวติ

           "...คนทำกรรมใดแล้ว ย่อมตามเดือดร้อน มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้เสวยผลของกรรมใดอยู่ กรรมที่เขาทำแล้วนั้นไม่ดีเลย..."

             

        สักวากรรมใดที่ให้โลก                     ไม่เศร้าโศกอนาทรย้อนทีหลัง

อำนวยผลดลความสุขทุกชีวัง                    เมื่อยามยังได้ชื่นชมสมอุรา

อันผู้ใดสั่งสมอบรมไว้                              มีสติทำไปให้มากหนา

เป็นอาภรณ์ประเสริฐเลิศชีวา                     จะพลอยพาปกป้องคุ้มครองเอย.

   หมายความว่า กรรมใดที่ทำไปแล้ว ส่งผลเป็นความเดือดร้อนแก่ตนและคนอื่น แล้วต้องเศร้าโศกเสียใจในภายหลัง เพราะได้รับผลแห่งกรรมที่ตนเองได้ทำ แสดงว่ากรรมนั้น เป็นกรรมไม่ดี

               น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ   กตฺวา อนุตปฺปติ

               ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ    วิปากํ ปฏิเสวติ

กรรมใดที่ทำไปแล้ว ส่งผลเป็นความเดือดร้อนแก่ตนและคนอื่น แล้วต้องเศร้าโศกเสียใจในภายหลัง เพราะได้รับผลแห่งกรรมที่ตนเองได้ทำ แสดงว่ากรรมนั้น เป็นกรรมไม่ดี

     กรรมใดไปก่อร้อน             รนเขา

หรือก่อทุกข์ทับเรา                 รุ่มร้อน

คือกรรมชั่วขลาดเขลา            ควรห่าง

กรรมส่งผลคืนย้อน                เยี่ยงนี้หยุดทำ

       กรรมเอ๋ยกรรมชั่ว             ที่เจ้าตัวประกอบชอบหนักหนา

จะก่อทุกข์โศกเศร้าเคล้าน้ำตา    ชั่วชีวาไร้สุขทุกข์ครอบครอง

อกุศลกรรมเช่นนั้นท่านกล่าวไว้    เป็นเหตุให้ดวงจิตคิดหม่นหมอง

จงอย่าปล่อยจิตใจให้เป็นรอง      หมั่นไตร่ตรองพิจารณาคราทำเอย

                       น  หิ  เวเรน  เวรานิ  สมฺมนฺตีธ  กุทาจนํ

                       อเวเรน  จ  สมฺมนฺติ   เอส ธมฺโม สนนฺตโน

              "...ในกาลไหนๆ มา เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวรเลย ก็แต่ว่า ย่อมระงับด้วยความไม่มีเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า..."(หมายความว่าเรื่องแบบนี้มีมาเช่นนี้นานแล้ว)

                        น  หิ  เวเรน  เวรานิ   สมฺมนฺตีธ  กุทาจนํ

                       อเวเรน  จ  สมฺมนฺติ    เอส ธมฺโม สนนฺตโน

              "...ในกาลไหนๆ มา เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวรเลย ก็แต่ว่า ย่อมระงับด้วยความไม่มีเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า..."(หมายความว่าเรื่องแบบนี้มีมาเช่นนี้นานแล้ว

                    เวเอ๋ยเวรี                      อาฆาตแค้นไม่มีที่สิ้นสุด

      ย่อมมีแต่กลั่นแกล้งยื้อแย้งยุด        พระสัมพุทธสอนซึ้งอย่าพึงทำ

      หยุดจองเวรด้วยอภัยใจสงบ           ย่อมพาพบศานติสุขทุกเช้าค่ำ

      เลิกระแวงเสแสร้งทิ้งจริงใจนำ         อยากสุขล้ำเลิกเกี่ยวข้องจองเวรเอย

     

            ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ       ยํ กตฺวา  นานุตปฺปติ

            ยสฺส  ปตีโต   สุมโน     วิปากํ  ปฏิเสวติ

        "...บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่ตามเดือดร้อน ถึงความอิ่มใจ มีใจดี เสวยผลของกรรมใดอยู่ กรรมที่บุคคลทำแล้วนั่นแล เป็นการดี (กรรมดี)

        คิดทำดีอย่าท้วง            ถามผล

  กรรมย่อมมาเยือนยล             เยี่ยงนั้น

  ทุกข์สุขย่อมกรรมดล            บอกส่อ   ชี้นา

 อดอิ่มโศกสุขกั้น                   กอดไว้ด้วยกรรม

                       น  หิ  เวเรน  เวรานิ   สมฺมนฺตีธ  กุทาจนํ

                       อเวเรน  จ  สมฺมนฺติ    เอส ธมฺโม สนนฺตโน

              "...ในกาลไหนๆ มา เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวรเลย ก็แต่ว่า ย่อมระงับด้วยความไม่มีเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า..."(หมายความว่าเรื่องแบบนี้มีมาเช่นนี้นานแล้ว

                        พยาบาทอาฆาตแค้น             คืนเขา

                  ยากยิ่งจะบรรเทา                        ทุกข์ได้

                  หากอภัยนั่นแหละเกลา                 เกลียดโกรธ นะพ่อ

                  สืบแต่ปางบรรพไซร้                     สั่งให้คิดครวญ                    

                 

                    จรญฺเจ   นาธิคจฺเฉยฺย   เสยฺยํ  สทิสมตฺตโน

                   เอกจรํ  ทฬฺหํ  กยิรา นตฺถิ  พาเล  สหายตา

            "...ถ้าบุคคลเมื่อเที่ยวไปไม่พึงประสบ(พบ)ซึ่งสหายผู้ประเสริฐกว่าก็ดี ผู้เสมอ
แก่ตนก็ดี  (ก็)พึงทำความเป็นคนเดียวเที่ยวไปให้มั่น เพราะคุณสมบัติเครื่องเป็น
สหายไม่มีในคนพาล..."
 
              หากหามิตรเที่ยวด้น            แดนไกล
        ยากยิ่งคนดีใด                          ร่วมแล้
        จงเดินเดี่ยวคลาไคล                  คลาดมิตร    พาลพ่อ
         ควรคบเพียงมิตรแท้                 เท่านั้นปลอดภัย         

                         เตสํ มจฺจุปเรตานํ        คจฺฉตํ  ปรโลกโต

                         น ปิตา ตายเต  ปุตฺตํ   ญาตี วา ปน ญาตเก

   เมื่อสัตว์เหล่านั้นถูกความตายครอบงำแล้ว ต้องไปปรโลก บิดาจะป้องกันบุตรไว้

ไม่ได้ หรือพวกญาติจะป้องกันพวกญาติไว้ก็ไม่ได้

         ความตายคราครอบเข้า          ควบคุม      ชีพนา
ฤๅปล่อยจากเกาะกุม                      มัจจุราชเจ้า
สองมือพ่อญาติรุม                          รีบปก  ปลอดฤา  
เกินกว่าขวางขัดเข้า                       คลาดพ้นความตาย   

 

 

                    น หิ โส อุปกฺกโม อตฺถิ  เยน ชาตา น มิยฺยเร
                    ชรมฺปิ ปตฺวา มรณํ        เอวํ ธมฺมา หิ ปาณิโณ
    ด้วยว่า สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้ว จะไม่ตายด้วยความพยายามอันใด ความพยายาม
อันนั้นไม่มีเลย แม้จะอยู่ได้ถึงชราก็ต้องตาย เพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา
 
           ความตายพานพบพ้อง            ทุกคน
เกิดคู่ตายชิดชน                               เช่นนั้น
เด็กสาวหนุ่มชราจน                          รวยร่ำ    นั้นฤๅ
ตายติดตามกระชั้น                           ซึ่งล้วนธรรมดา

๐ไปไม่กลับ ลับเร้น .......... เลือนหาย
 หลับไม่ตื่น คือตาย .......... แตกม้าง
 พื้นไม่มี กลับกลาย .......... ก่อเกิด
 หนีไม่พ้น เคว้งคว้าง ........ คตินี้แน่นอน๚๛
 ..............................​..............................​...
 (พระมหาวินัย ๑๘.๑๘ น. : ๔ ต.ค.๕๔)

มาเยี่ยมคุณครูยังที่นี้ ด้วยความระลึกถึง หวังว่าสุขภาพร่างกายของคุณครูคงจะแข็งแรง ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียนนะ.

 

ชื่นชอบหน้าเว็บโคลงนี้ดีอยากติดต่อศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนโคลง ผมอยู่เว็บธรรมชอบแต่งโคลงลงเว็บครับ

สวัสดีค่ะคุณธวัชชัย

     ลองมาฝึกแต่งที่นี่ก็ได้ค่ะ  และนำลิงก์นี้ไปใช้ก็ได้ค่ะ

     ด้วยความยินดีค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท