แจ้งข่าว...เปิดบ้าน...ฝึกสอนสมาธิหลักสูตรเบื้องต้น อาทิตย์ที่ 16 มกราคม


ปฏิบัติธรรม...สมาธิวิชชาธรรมกาย

 

 

ขอเรียนเชิญท่านผู้สนใจฝึกสมาธิวิชชาธรรมกายทุกท่านเข้าร่วมฝึก  หลักสูตรเบื้องต้น 

ณ หมู่บ้านพฤษา 11 รังสิต ปทุมธานี

 

 

เนื่องจากมีผู้สนใจเรียกร้องและถามไถ่มาว่า  "ชมรมพัฒนาใจให้สว่างใส" มีโครงการฝึกอบรมธรรมภาคปฏิบัติหรือไม่ 

 

ดังนั้น...ทางคณะวิทยากรเห็นว่า สมควรเปิดอบรมหลักสูตรเบื้องต้น

 

ใน..วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม 2554 

มี 2 รอบ คือ...

 

 

รอบเช้า   10.00 - 12.00 น.

รอบบ่าย  14.00- 16.00 น.

 

 

เนื้อหาการฝึก คือ

 

 

1. หลักสูตร ๔ กายธรรม

2. หลักสูตร ๑๘ กาย

ฯลฯ

แถมการพูดคุย เพื่อ ปูพื้นฐานการเรียนรู้วิชชาธรรมกายเพื่อความเข้าใจตามหลักวิชชาที่ถูกต้อง

 

 

โดยใช้บ้านของวิทยากรท่านหนึ่ง  คือท่านพี่อู๊ด 

ในหมู่บ้านพฤกษา 11 คลอง 3 ธัญบุรี  อ.ธัญบุรี ปทุมธานี

 

 

ท่านผู้สนใจโปรดติดต่อแจ้งชื่อและอีเมลมาในกระทู้นี้

 หรือที่นี่ http://forums.212cafe.com/samatha/board-14/topic-15.html

 

หากเกรงว่าจะมาไม่ถูก  โปรดติดต่อเบอร์ 

 

 

0899254798  คุณอู๊ด(เจ้าของบ้าน)

                                              

0892499744  คุณต้น(ผู้ประสานงาน)

 

 

รับจำนวนจำกัด

โครงการให้ความรู้เป็นธรรมทาน...ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

 

 

แผนที่หมู่บ้านพฤกษา 11 มีเซเว่นอยู่ปากทางเข้าหมู่บ้านนะครับ

(ภาพจากการก๊อปแผนที่ของหมู่บ้านเขามาอีกที)

 

แก้ไขข้อมูล  บ้านเลขที่  ที่ถูกต้อง  คือ 30/359

 

 

ผลงานการสอนสมาธิภาวนาวิชขชาธรรมกาย  ของ "ชมรมพัฒนาใจให้สว่างใส"

 

ดูได้ที่นี่  http://forums.212cafe.com/samatha/board-4/list.html

 

หมายเลขบันทึก: 418666เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2011 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ช่วยกรุณาขยายความภาพนี้อีกสักนิดนะคะ....

ภาพที่เห็นนี้ เรียกว่า ฐานทางเดินของใจ ทั้ง ๗ ฐาน
เมื่อผู้ฝึกภาวนาวิชชาธรรมกาย  เริ่มเข้าที่นั่งสมาธิ  ท่านว่า ให้ใจทำงาน ๒ อย่าง คือ บริกรรมนิมิต เป็น ดวงแก้วกลมขาวใส  และบริกรรมภาวนาว่า สัมมาอะระหัง  แล้วน้อมดวงใสนั้นไปตามฐานทางเดินของใจทั้ง ๗ ฐาน ดังนี้
 ฐานที่ ๑ ปากช่องจมูก ท่านหญิงน้อมเข้าไปทางปากช่องจมูกซ้าย – ท่านชายน้อมเข้าไปทางปากช่องจมูกขวา ส่งใจสัมผัสนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมใจ สัมมา อะระหัง (๓ ครั้ง) นึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ

 

ต่อไป...เลื่อนดวงนิมิตใสไป ฐานที่ ๒ เพลาตา ท่านหญิงเพลาตาซ้าย – ท่านชายเพลาตาขวา ดวงใสเป็นนิมิตไม่ใช่วัตถุบรรจุลงไปได้ ส่งใจสัมผัสนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมใจ สัมมา อะระหัง (๓ ครั้ง) นึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ

    

ต่อไป...เลื่อนดวงนิมิตใสไป ฐานที่ ๓ จอมประสาท อยู่ในกะโหลกศีรษะของเรา นึกให้ดวงนิมิตใสมาอยู่ในกะโหลกศีรษะของเรา โดยทำตาเหลือบกลับเข้าข้างในกะโหลกศีรษะ แล้วลืมเรื่องการเหลือกตาทันที ส่งใจสัมผัสนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมใจ สัมมา อะระหัง (๓ ครั้ง) นึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ

   

ต่อไป...เลื่อนดวงนิมิตใสไป ฐานที่ ๔ ปากช่องเพดาน จุดหมายที่เราเคยสำลักน้ำสำลักอาหาร ให้นักเรียนอธิษฐานใจว่า " ณ ที่หนึ่งที่ใด ที่ข้าพเจ้าเคยสำลักน้ำสำลักอาหาร ขอให้ดวงนิมิตใสไปหยุดตรงจุดหมายนั้นเถิด" แล้วดวงนิมิตใสจะไปหยุดตรงจุดหมายนี้เป็นอัตโนมัติ ส่งใจสัมผัสนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมใจ สัมมา อะระหัง (๓ ครั้ง) นึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ

    

ต่อไป...เลื่อนดวงนิมิตใสไป ฐานที่ ๕ ปากช่องลำคอ อยู่ในหลอดลำคอของเรา คะเนว่าอยู่เหนือลูกกระเดือกนิดหนึ่ง ให้เลื่อนดวงใสมาอยู่ที่ปากช่องลำคอนี้ ส่งใจสัมผัสนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมใจ สัมมา อะระหัง (๓ ครั้ง) นึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ

    

ต่อไป...เลื่อนดวงนิมิตใสไป ฐานที่ ๖ ฐานของศูนย์กลางกาย ระดับเดียวกับสะดือ โดยสมมุติว่าเรามีเส้นด้าย ๒ เส้น เส้นที่ ๑ แทงจากสะดือตัวเราเอง ขึงตึงทะลุข้างหลัง อีกเส้นหนึ่งสมมุติว่า แทงจากสีข้างขาวขึงตึงทะลุสีข้างซ้าย นึกดูในท้องของเรา จะเห็นเส้นด้ายตัดกัน ๒ เส้น เป็นรูปเครื่องหมายกากบาท ให้เรานึกเลื่อนดวงนิมิตใสมาอยู่ที่เส้นด้ายตัดกันนี้ ส่งใจสัมผัสนิ่งกลางดวงนิมิตใส บริกรรมใจ สัมมา อะระหัง (๓ ครั้ง) นึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ

    

ต่อไป...เลื่อนดวงนิมิตใสไป ฐานที่ ๗ ศูนย์กลางกาย ให้เรานึกเลื่อนดวงนิมิตใส ให้สูงขึ้นมาจากเส้นด้ายตัดกันนั้น ประมาณ ๒ นิ้วมือตัวเราเอง แล้วดวงใสก็จะมาอยู่ที่ศูนย์กลางกายเป็นอัตโนมัติ ส่งใจนิ่งลงไปที่กลางดวงใส ท่องใจ สัมมา อะระหัง ๆ ๆ ๆ ๆ เรื่อยไป แล้วนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างขึ้น

 

     เราจะรู้สึกว่า ดวงใสสว่างขึ้น ใจของเราปลอดโปร่งขึ้น ใจของเราสงบขึ้น ดวงใสสว่างโชติขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จงอย่าดีใจ จงอย่าปลื้มใจ จงวางใจเฉย ๆ ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ประคองดวงใสไว้ให้โชติช่วง

 

สำหรับ วงกลม ด้านล่าง เรียกว่า  ธาตุ ๖ สำหรับท่านที่ปฏิบัติจนกระทั่งเห็นกายในกาย และพิจารณา ธาตุ ๖ ที่ศูนย์กลางกาย จะเห็นดวงธาตุ ๖ มีลักษณะดังนี้ เมื่อเราเอาใจนิ่งที่ศูนย์ นึกดูธาตุทั้ง ๖ กายธรรมต่อรู้ต่อญาณทัสสนะให้เห็น 

1.ด้านหน้าจะเห็นดวงกลมใสคือธาตุน้ำ

2.ด้านขวาจะเห็นดวงกลมใสคือธาตุดิน 

3.ด้านหลังจะเห็นดวงกลมใสคือธาตุไฟ 

4.ด้านซ้ายเห็นดวงกลมใสคือธาตุลม 

5.ตรงกลางจะเห็นเป็นดวงกลมใสคืออากาสธาตุ 

6.กลางดวงอากาสธาตุจะเห็นดวงกลมใสซ้อนอีกดวงคือดวงวิญญาณธาตุ

 

กล่าวอธิบายโดยย่อตามที่แสดงแล้วนั้น สนใจฝึกให้เห็นดวงธาตุทั้ง ๖ เชิญไปฝึกได้ตามที่แจ้งรายละเอียดไว้ด้านบนนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท