O-net กับการจัดการเรียนการสอน


ลิงสามารถทำข้อสอบปรนัยแบบ 4 ตัวเลือกได้ แถมทำคะแนนได้ถึง 25% แล้วโรงเรียนของท่านครูทั้งหลายท่านทำแบบทดสอบแบบไหนให้กับนักเรียนของท่าน

 

         O - net กับการจัดการเรียนการสอน 
         O - net คือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ซึ่งสถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องกรค์มหาชน)เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยจัดสอบเฉพาะชั้น ป.6 , ม.3 และม.6 สำหรับวัตุประสงค์หลักในการจัดการทดสอบ O - net นั้นก็คือ เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศเป็นการจัดความรู้และความคิดของนักเรียน
ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศง 2551 ครอบคลุมเนื้อหาวิชา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาาาไทย, สังคมศึกษาฯ, ภาษาอังกฤษ,คณิตศาตร์,วิทยาศาตร์,สุขศึกษาและพลศึกษา,การงานอาชีพและเทคโนโลยี,ศิลปะ
        เราจะสอนอย่างไรให้เด็กสอบ O - net ได้คะแนนดี 
        1.ก่อนอื่นเราต้องมาวิิเคราะห์ก่อนว่า เหตุใดที่นักเรียนสอบO - net กันได้คะแนนไม่ดีกันมาก แต่ที่มีการกล่าวขวัญกันมากที่สุดมีอยู่เพียง 2 ประเด็น คือ
            1. โรงเรียนไม่สอนตามหลักสูตร หรือไม่ครอบคลุมหลักสูตร
            2. แบบทดสอบยากเกินไป,แบบทดสอบผิดพลาดไม่ได้มาตรฐาน,แบบทดสอบไม่ได้ออกตามหลักสูตร
            3. คนออกข้อสอบไม่ได้สอน คนสอนไม่ได้ออกข้อสอบ
         จากปัญหาทั้ง 3 ประการนี้เป็นที่ถกเถียงกันมากต่างคนต่างฝ่ายต่างอ้างเหตุผลของตัวเอง แต่ถ้าเราจะมองในแง่ปัญหาเท่านั้นคงไม่ได้ช่วยอะไรเราได้มากนัก เราควรมามองกันที่ เราจะแก้ปัญหาประเด็นต่างๆทั้ง 3 ได้อย่่างไร แล้วใครเป็นผู้แก้
         ถ้าจะวิเคราะห์ดีๆ ทั้ง 3 ประเด็นพอจะสรุปได้ไหมว่า แจ้าภาพหลักในการแก้ปัญหานั้นมีอยู่เพียง 2 กลุ่มเท่านั้น คือ ประเด็นที่ 1 คือ โรงเรียน และประเด็นที่เหลือคือ สทศ. เิลิกอคติ เลิกความคิดเชื่อมั่นตนเองเสีย หันมายอมรับว่า ใช่ ปัญหามันเกิดมาจากทั้ง 3 ประเด็น แล้วเราจะสามารถแก้ปัญหาต่างๆกันได้ ถ้าหากยังคิดว่าความคิดของข้าถูกของเราผิดกันอยู่ ผมเชื่อว่าไม่มีอะไรดีขึ้น
          ในฐานะที่ผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนจึงขอมองและวิเคราะห์ในประเด็นที่1 เท่านั้น ส่วนปรระเด็นอื่นๆ เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ ผู้เขียนทำได้เพียงเสนอแนะแนงทางแก้ปัญหาเท่านั้นเอง ส่วนท่านเหล่านั้นจะดำเนินการหรือไม่อย่างไรก้จนปัญญา และความสามารถที่จะไปบังคับได้ครับ
        โรงเรียนสอนไม่เป็นไปตามหลักสูตรหรือไม่คลุมหลักสูตร
         จริงหรือไม่ที่โรงเรียนไม่สอนตามหลักสูตร ทั้งนี้ผมมองว่า“อาจจะไม่”  และจริงหรือไม่ที่โรงเรียนสอนไม่ครอบคลุมหลักสูตร ตรงนี้ผมมมองว่า “อาจจะใช่” แต่ก็ยังติดใจอยู่ว่า แล้วแบบทดสอบเป็นไปตามหลักสูตรหรือไม่ จึงได้ค้นหาข้อมูล วิธีการออกข้อสอบของ สทศ. ว่าเป็นอย่างไรได้ความพอสรุปได้ดังนี้ครับ(สรุปจากคู่มือ O-net ปี 2554)
        1. ยึดหลักสูตร เนื่องจากหลักสูตรเขียนได้แบบกว้างๆ สทศ. จึงดำเนินการสำรวจแบบเรียนเท่าที่มีในประเทศไทยทั้งของรัฐและเอกชน เพื่อนำมาสังเคราะห์หาเนื้อหาร่วม ข้อนี้อยากให้พิจารณา 2 ประเด็น คือ หนังสือแบบเรียน กับ การสังเคราะห์หาเนื้อหาร่วม
        2. ร่างข้อสอบ โดยการทำโครงสร้างของข้อสอบ ว่าเนื้อหาสาระต่างๆ นั้นอยู่ไหนในข้อสอบ ข้อใดบ้าง มีระดับความยากง่ายเท่าใด โดยมีหลักการดังนี้ ง่ายมาก 10% ค่อนข้างง่าย 15% ปานกลาง 60% ยาก 10% ยากมาก 5% ซึ่งถ้าแบ่งเป็น 3 กลุ่ม พอจะสรุปได้ว่า ง่าย 25% ปานกลาง 60% และยาก 15% สำหรับในเรื่องนี้ต้องมองว่า ยาก,ปานกลาง,ง่าย ในความคิดของใคร เพราะข้อสอบของ O-net ออกปีต่อปี ไม่มีการทดสอบคุณภาพของข้อสอบตามวิธีการออกข้อสอบที่ถูกต้องพอง่ายๆก้คือไม่มีการทดสอบ ใช้ข้อสอบเพื่อหาค่าความเชื่อมั่น และความยากง่ายของข้อสอบ ประเด็นนี้ถือว่า ผิดหลักการหรือไม่อย่างไร
       3. ครูผู้ลึกลับ นั่นคือครูผู้ออกข้อสอบ สทศ. บอกว่าลึกลับจริงหรือเพื่ออะไร แล้วที่บอกว่าครูเหล่านี้คือผู้สอนในชั้นเรียนแต่ว่ามีความชำนาญพิเศษในการออกข้อสอบ แล้วทำไมถึงมีข่าวว่าการออกข้อสอบปีนี้ (ปีพ.ศ.2553)ครูออกข้อสอบไม่ได้มาตรฐาน (O-net) แล้วใครเป็นผู้ระบุว่าได้ / ไม่ได้มาตรฐาน เพราะไม่มีการทดลองใช้ข้อสอบ
       4. ส่วนประเด็นอื่นๆในการจัดทำข้อสอบของ สทศ. ที่เหลือเป็นประเด็นปลีกย่อยและไม่สัมพันธ์กับสิ่งที่จะว่ากันต่อไป จึงไม่นำมาเสนอในที่นี้
       จากทั้ง 3 ขั้นตอนของการออกข้อสอบก็ทำให้พอจะสรุปเป็นคำถามสำหรบ สทศ. นำไปพิจารณาดังนี้
       1. ใครเป็นผู้บอกว่า ข้อสอบมีความยากง่ายเพียงใด (เนื่องจากไม่มีการทดลองในข้อสอบ)
       2. มีวิธีการอย่างไรในการระบุว่าข้อสอบได้มาตรฐาน และไม่ได้มาตรฐาน
          จากขั้นตอนการออกข้อสอบของ สทศ.ข้างต้น เราพอจะมองออกหรือยังครับว่า โรงเรียนควรดำเนินการจัดการเรียนการสอนอย่างไร(ขอให้เรามองที่ตัวเราก่อนนะครับ)
       1. ผมเชื่อว่าทุกโรงเรียนมีหลักสูตรที่ชัดเจน เพราะมีหลักสูตรแกนกลางมีมาตรฐานตัวชี้วัดเป็นกรอบในการดำเนินการทำหลักสูตรสถานศึกษาอยู่แล้ว
       2. การกำหนดคำอธิบายรายวิชา ผมก็ยังมีความเชื่อว่าทุกโรงเรียนคงสามารถทำได้ครอบคลุมหลักสูตร
       3. ประเด็นการออกแบบการเรียนรู้นี้เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งที่โรงเรียนต้องปรับปรุงและพัฒนา จากขั้นตอนแรกของการออกข้อสอบของ สทศ. ผมเน้นย้ำที่คำว่า สำรวจหาหนังสือแบบเรียน เพื่อนำมาสังเคราะห์หาเนื้อหาร่วม จึงเปิดประเด็นคำถามในใจว่า แล้วโรงเรียนครูผู้สอน สำรวจหาหนังสือแบบเรียน เพื่อนำมาสังเคราะห์หาเนื้อหาร่วมที่จะสอนหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่เลือกหนังสือจากบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่เราเคยใช้มาสอนตามหนังสือเล่มนั้น ครูผู้สอนรู้หรือไม่ว่า หนังสือเล่มอื่นของบริษัทอื่นมีเนื้อหาอย่างไร และสุดท้ายสำหรับการออกแบบการเรียนการสอนนั้น มีวิธีการหลากหลายเพียงใด หรือเป็นแค่ ครูสอนหนังสือแต่ไม่ได้สอนนักเรียน  
     4. การวัดผลประเมินผล เรื่องนี้ก็เป็นหัวข้อสำคัญ ครูทำการวัดผลและประเมินผลด้วยวิธีการอย่างไร สอดคล้องหรือคล้ายกับวิธิการวัดผลประเมินผลของ สทศ. หรือไม่ สำหรับประเด็นนี้ อยากฝากว่า ในโลกนี้มีแบบข้อสอบเกือบ 80 รูปแบบ สทศ. เลือกมา 4 รูปแบบ และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม ดังนี้
          ก. แบบปรนัย 4 ตัวเลือก เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
          ข. แบบปรนัย 4 ตัวเลือก เลือกคำตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ
          ค. เลือกคำตอบแบบกลุ่มสัมพันธ์
          ง. ระบายคำตอบที่เป็นค่าของตัวเลข
          และทิ้งท้ายหัวข้อนี้ว่า ลิงสามารถทำข้อสอบปรนัยแบบ 4 ตัวเลือกได้ แถมทำคะแนนได้ถึง 25% แล้วโรงเรียนของท่านครูทั้งหลายท่านทำแบบทดสอบแบบไหนให้กับนักเรียนของท่าน

 

หมายเลขบันทึก: 418665เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2011 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 08:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท