เสกของเล่นให้เป็นสื่อ


“ของเล่นพื้นบ้าน” ของเล่นธรรมดาที่ใครหลายๆ คนคิดว่าไม่สามารถจะเอามาเป็นสื่อในการนำพาเรื่องของสุขภาพได้ แต่เมื่อได้เห็นถึงประสิทธิภาพและศักยภาพของ “ของเล่น” แล้วทำให้ทีมงานรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพรู้ซึ้งถึงคุณค่าอันมหาศาลของ “ของเล่น” ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
 
1. ขั้นตอนการเรียนรู้งาน

ซึ่งการทำงานภายในโครงการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ (MLH) ในประเด็นเรื่อง “ของเล่นพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ” นั้น ทางโครงการฯ ได้ทดลองกับกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเด็ก และผู้ปกครอง,กลุ่มเด็กพิเศษ (เด็กออทิสติก) กลุ่มเด็กด้อยโอกาส และกลุ่มเด็กที่ประสบภัยพิบัติจากคลื่นสึนามิ

การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายของกิจกรรมของเล่นพื้นบ้านนั้น เราจะเน้นที่กลุ่มเด็ก เพราะว่าเด็กกับของเล่นเป็นของคู่กัน ไม่มีใครเข้าใจเรื่องของเล่นได้ลึกซึ้งเท่ากับเด็ก และเป็นการรื้อฟื้นของเล่นพื้นบ้านให้ยังคงอยู่ในสังคม เพราะในปัจจุบัน เด็กส่วนมากหันไปเล่นของเล่นพลาสติกกันหมด ซึ่งต่อไปอาจจะไม่มีใครหันมาเล่นของเล่นพื้นบ้าน ซึ่งถือได้ว่าทางโครงการฯ ได้เสนอทางเลือกการเล่นของเล่นอีกทางหนึ่งให้กับเด็ก และเป็นการช่วยอนุรักษ์ของเล่นพื้นบ้านให้ยังคงอยู่ (ถึงแม้จะช่วยได้น้อยนิด)
ซึ่งทำให้ทางโครงการฯ วิเคราะห์ถึงกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้ดังนี้
วิธีการจำแนกกลุ่ม  เมื่อผู้รับสารที่มาเข้าร่วมกิจกรรมมีความแตกต่าง ในระดับความรู้ที่แตกต่างกัน จะทำให้สามารถจำแนกกลุ่มผู้รับสารออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น
- สื่อเปลี่ยน กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยน  เมื่อมีการเปลี่ยนตัวสื่อ เพื่อต้องการหาว่าการใช้สื่อชนิดไหนสามารถจะเข้าไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างดี ส่วนการเปลี่ยนแปลงกลุ่มเป้าหมาย คือ สื่อที่ได้มานั้น มีประสิทธิภาพในการทำงานดี ถ้าเปลี่ยนไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายอื่น จะมีประสิทธิผลมากเพียงใด
 
2. รูปแบบการจัดกิจกรรม
นอกจากนั้นยัง การจัดงานแบบมีส่วนร่วม (Participatory communication) ในการทำของเล่น ทำให้ผู้เข้าร่วมเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสารมากขึ้น ซึ่งทำให้ทางโครงการฯ เข้าใจได้ว่า “ของเล่น” สามารถเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่สามารถใช้สื่อสารให้เกิดมิติสุขภาวะทั้ง อันได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ ดังนั้น กิจกรรม “ของเล่นพื้นบ้าน” จึงมีกระบวนการนี้อยู่เต็มร้อย
                 และการจัดกิจกรรมของโครงการฯ ยังได้มีการใช้การสื่อสารแบบ “แนวนอน” (Horizontal) อีกด้วย ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ระหว่างวิทยากร ทีมงาน MLH และผู้เข้าร่วมเสวนา ถือได้ว่าเป็นการสื่อสารที่ให้ทุกคนต่างมีส่วนในการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน เพื่อให้แนวความคิดและความรู้ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายดำเนินไปในทางเดียวกัน ถือเป็นการถ่ายโอนความรู้อีกทางหนึ่ง
 
3. Empower
                 ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของโครงการฯ ถือได้ว่าเป็นการ Empower คณะทำงานไปในตัว เพราะทีมงานของโครงการฯ ส่วนมากจะไม่ได้จบสายนิเทศศาสตร์มา การลงมือปฏิบัติงานนั้น ถือได้ว่าเป็นการร่วมเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
                 การ Empower เครือข่ายของเล่นพื้นบ้าน จากกลุ่มที่มุ่งมั่นในการทำของเล่นพื้นบ้าน เพื่อรื้อฟื้นเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อพอได้เข้ามาร่วมงานกับทางโครงการฯ ก็ทำให้ผู้ประดิษฐ์ของเล่นได้เล็งเห็นมิติเรื่องของสุขภาพผ่านของเล่น และเข้าใจคุณลักษณะของของเล่นมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่มองของเล่นเป็นเพียงเครื่องสร้างความสนุกสนานอย่างเดียว ในระยะหลังเครือข่ายของเรามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการนำเสนอมากขึ้นเพราะสามารถโยงประเด็นเข้าสู่เรื่องสุขภาพได้ทุกครั้งที่ทำกิจกรรม และเป็นไปในทิศทางเดียวกับของโครงการฯและสสส.อีกด้วย
 
4. เชื่อมโยงเครือข่าย
                 หลังที่เครือข่ายที่จะเข้ามาร่วมกิจกรรมกับทางโครงการฯ แล้ว ทางเครือข่ายได้เห็นถึงประสิทธิภาพของของเล่น จึงนำเอาไปใช้ในการทำกิจกรรมของตน และเกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายกันเอง โดยที่ทางโครงการฯ ไม่ได้เป็นผู้วางแผนให้ทั้งสองฝ่ายต้องมาติดต่อกัน แต่เกิดจากที่ทั้งสองฝ่ายติดต่อกันเอง การเชื่อมโยงกันของเครือข่ายในครั้งนี้เกิดจากที่ทางโครงการฯ ได้จัดกิจกรรมจากงาน “ของเล่นพื้นบ้านกับเด็กพิเศษ” ในวันที่ 25 พ.ย. 48 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ทำให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดนครปฐม เห็นถึงมิติของของเล่นที่มีคุณลักษณะที่สามารถนำไปใช้พัฒนากับเด็กพิเศษได้ จึงได้ติดต่อเครือข่ายของเล่นพื้นบ้านกลุ่มรุ่งอรุณบางบอน ไปให้ความรู้ในเรื่องการประดิษฐ์ของเล่น ซึ่งถือได้ว่าทางโครงการฯ ได้เป็นเวทีที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายได้มาเจอและเสนอมุมมองใหม่ให้แก่เครือข่าย
 
                 ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าอะไรก็ตามที่สามารถเป็นสื่อนำพาเรื่องของสุขภาพได้ทั้งนั้น แต่เราจะต้องรู้ถึงคุณลักษณะของสิ่งนั้นๆ ให้ดีเสียก่อน แล้วสื่อนั้นจะเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพ


กรรณิการ์  เพ็งปรางค์

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4186เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2005 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท