กฎหมายอิสลาม ตอน 12


เศรษฐศาสตร์อิสลาม เศรษฐศาสตร์อิสลาม (عِلْمُ الإِقْتِصَادِ الإِسْلاَمِيّ) หมายถึง ภาควิชาที่ประมวลบรรดาหลักการและกฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ในรูปแบบต่าง ๆ และวิธีการพัฒนาสินทรัพย์ให้งอกงามโดยมีที่มาจากอัล-กุรฺอาน อัส-สุนนะฮฺ การวินิจฉัยทางสติปัญญาของบรรดานักวิชาการ คำว่า “อัล-อิกติศอดฺ” หมายถึง ความพอดีหรือความเป็นกลางระหว่างความฟุ่มเฟือย และความตระหนี่ ที่มาของเศรษฐศาสตร์อิสลาม หลักการและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในภาควิชาเศรษฐศาสตร์อิสลาม มีที่มาจากแหล่งเดียวกันกับภาควิชากฎหมายอิสลาม คือ อัล-กุรฺอาน และอัล-หะดีษ นอกจากนี้ยังปรากฏอยู่ในตำราของบรรดานักวิชาการมุสลิมอีกเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏในอัล-กุรฺอาน ว่า             ความว่า “และบรรดาผู้ซึ่ง เมื่อพวกเขาได้ใช้จ่าย พวกเขาก็ไม่ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย และพวกเขาก็ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว และระหว่างทั้งสองสภาพนั้น พวกเขาอยู่สายกลาง” (สูเราะฮฺอัล-ฟุรกอน อายะฮฺที่ 67) และ ดังปรากฏในอัล-หะดีษ ว่า مَا عَالَ مَنِ اقْتَصَدَ ความว่า“บุคคลที่มีความพอดี (ไม่ฟุ่มเฟือยในการใช้จ่ายและไม่ตระหนี่) ย่อมไม่ขัดสนยากจน” (รายงานโดยอะหฺมัด) หลักพื้นฐานสำคัญของเศรษฐศาสตร์อิสลาม มีดังต่อไปนี้ 1. มีลักษณะเป็นเอกเทศ ระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลามเป็นระบอบที่แยกเป็นเอกเทศจากระบอบเศรษฐศาสตร์อื่น ๆ โดยมีความแตกต่างทั้งในด้านเป้าหมาย วิธีการ และการตราบัญญัติต่าง ๆ เพื่อปกป้องควบคุ

เรื่อง การแบ่งมรดกตามกฏหมายอิสลาม ศึกษาจาก islamwit.net เข้าที่เผยแผ่ผลงานครูแล้ว เข้าต่อที่ รอฟีกี การีมี cai

เศรษฐศาสตร์อิสลาม

                เศรษฐศาสตร์อิสลาม  (عِلْمُ الإِقْتِصَادِ الإِسْلاَمِيّ)  หมายถึง  ภาควิชาที่ประมวลบรรดาหลักการและกฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ในรูปแบบต่าง ๆ และวิธีการพัฒนาสินทรัพย์ให้งอกงามโดยมีที่มาจากอัล-กุรฺอาน  อัส-สุนนะฮฺ  การวินิจฉัยทางสติปัญญาของบรรดานักวิชาการ 

                คำว่า  “อัล-อิกติศอดฺ”  หมายถึง  ความพอดีหรือความเป็นกลางระหว่างความฟุ่มเฟือย  และความตระหนี่ 

 

        ที่มาของเศรษฐศาสตร์อิสลาม 

หลักการและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในภาควิชาเศรษฐศาสตร์อิสลาม  มีที่มาจากแหล่งเดียวกันกับภาควิชากฎหมายอิสลาม  คือ อัล-กุรฺอาน และอัล-หะดีษ นอกจากนี้ยังปรากฏอยู่ในตำราของบรรดานักวิชาการมุสลิมอีกเป็นจำนวนมาก 

ดังปรากฏในอัล-กุรฺอาน ว่า

tûïÏ%©!$#ur !#sŒÎ) (#qà)xÿRr& öNs9 (#qèù̍ó¡ç„ öNs9ur (#rçŽäIø)tƒ tb%Ÿ2ur šú÷üt/ šÏ9ºsŒ $YB#uqs% ÇÏÐÈ  

ความว่า “และบรรดาผู้ซึ่ง  เมื่อพวกเขาได้ใช้จ่าย  พวกเขาก็ไม่ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย  และพวกเขาก็ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว  และระหว่างทั้งสองสภาพนั้น  พวกเขาอยู่สายกลาง”

(สูเราะฮฺอัล-ฟุรกอน  อายะฮฺที่  67)

และ ดังปรากฏในอัล-หะดีษ  ว่า

مَا عَالَ مَنِ اقْتَصَدَ

ความว่า“บุคคลที่มีความพอดี  (ไม่ฟุ่มเฟือยในการใช้จ่ายและไม่ตระหนี่)  ย่อมไม่ขัดสนยากจน”

(รายงานโดยอะหฺมัด) 

        หลักพื้นฐานสำคัญของเศรษฐศาสตร์อิสลาม  มีดังต่อไปนี้

1.       มีลักษณะเป็นเอกเทศ

ระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลามเป็นระบอบที่แยกเป็นเอกเทศจากระบอบเศรษฐศาสตร์อื่น ๆ โดยมีความแตกต่างทั้งในด้านเป้าหมาย  วิธีการ  และการตราบัญญัติต่าง ๆ เพื่อปกป้องควบคุม  ส่งเสริม  และขับเคลื่อนระบอบอย่างเป็นรูปธรรม  การที่ปรากฏว่า  ระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลามได้สอดคล้องกับระบอบเศรษฐศาสตร์อื่น ๆ ในข้อปลีกย่อยบางส่วน  มิได้หมายความว่าระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลามเป็นระบอบสังคมนิยมหรือเป็นระบอบทุนนิยมแต่อย่างใด

        2.       เป็นส่วนหนึ่งจากองค์รวมของหลักคำสอนในศาสนาอิสลาม

  ระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลามมีความผูกพันอยู่กับหลักความเชื่อ  จริยธรรมอิสลาม  และหลักบัญญัติทางศาสนาอิสลามข้ออื่น ๆ อย่างยิ่งยวด  ทั้งนี้เราไม่สามารถแยกส่วนระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลามออกจากระบอบอิสลามอื่นๆ  ได้เลย  เนื่องจากระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลามไม่อาจแสดงบทบาทที่ถูกต้องในการปฏิรูปเรื่องการเงินการคลังของประชาชาติได้เลย  ตราบใดที่ระบอบนี้ไม่นำเอาหลักคำสอนทางจิตวิญญาณมาเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาจิตใจของปัจเจกบุคคล  การปลูกฝังคุณค่าทางจริยธรรมในจิตใจของผู้คนเหล่านั้น  ตลอดจนการล้อมสังคมด้วยรั้วทางจริยธรรมอันงดงามอันเป็นสิ่งกำหนดวิถีทางของปัจเจกบุคคลและสังคมโดยรวม

        3.       เป็นระบอบที่สอดคล้องกับธรรมชาติและสัญชาตญาณของมนุษย์

 ธรรมชาติของมนุษย์มีความรักในการครอบครอง  และการถือครองกรรมสิทธิ์  อิสลามได้อนุมัติในเรื่องดังกล่าวด้วยภาพลักษณ์ที่เปิดกว้าง  อิสลามเพียงแต่กำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อควบคุมไม่ให้ธรรมชาติในการรักที่จะครอบครองและมีกรรมสิทธิ์นั้นส่งผลกระทบต่อปัจเจกบุคคลและสังคม  ตลอดจนส่งเสริมเรื่องการทำงาน  การประกอบสัมมาอาชีพที่ไม่ส่งผลร้ายต่อตัวเองหรือผู้อื่น  ซึ่งในกรณีนี้ระบอบอิสลามจึงมีความแตกต่างจากระบอบเศรษฐศาสตร์แบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์  และระบอบทุนนิยม

        4.       เป็นทางสายกลางและมีดุลยภาพ

ปัญหาของระบอบเศรษฐศาสตร์อื่น ๆ ก็คือ  การมองด้านหนึ่งด้านใดเป็นการเฉพาะจากข้อเท็จจริง  ดังปรากฏในระบอบเศรษฐศาสตร์แบบทุนนิยมซึ่งมีการตรากฎหมายมากมายเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิในการครอบครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล  และความเสรีในการทำงานและการประกอบอาชีพ  แต่ระบอบทุนนิยมก็ละเลยเป็นอันมากในการให้ความสำคัญต่อสิทธิของสังคมส่วนรวม  บรรดาคนร่ำรวยในระบอบดังกล่าวได้รับอภิสิทธิมากเกินไป  จึงเกิดความไม่เป็นธรรมในสังคมและสร้างผลกระทบต่อคนอื่นอย่างมากมาย  ส่วนระบอบเศรษฐศาสตร์แบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์กลับมุ่งเป้าหมายไปยังการคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของสังคมมากเกินไป  จนเกิดความไม่เป็นธรรมต่อปัจเจกบุคคลและลิดรอนสิทธิของพวกเขาในด้านการถือครองกรรมสิทธิและการทำงาน  แต่ในระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลามได้มีการกำหนดระเบียบที่เหมาะสมต่อการดำรงอยู่ของปัจเจกบุคคลและวิถีชีวิตของสังคมส่วนรวม  ทั้งสองภาคส่วนได้รับการคุ้มครองสิทธิของตนอย่างมีความสมดุลและเป็นธรรม  ซึ่งสิ่งนี้จะไม่มีในระบอบอื่นนอกจากระบอบอิสลาม  อันเป็นระบอบที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานลงมาให้กับมนุษยชาติ

       5.       เกิดความเมตตาและการเกื้อกูลอย่างเป็นรูปธรรม

การตราบัญญัติในระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลามมุ่งชี้นำให้บรรดาผู้ร่ำรวยได้พยายามทุ่มเทไปในการเกื้อหนุนสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของเหล่าผู้ยากจน  ขัดสน  ให้หยิบยื่นความช่วยเหลือแก่คนเหล่านั้น  ซึ่งมิใช่เป็นเพียงเรื่องของความเวทนาสงสาร  หากแต่เป็นคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า  ที่ผู้ใดเบี่ยงเบนออกจากคำสั่งนั้นย่อมถูกลงโทษ  อิสลามได้ประกาศอย่างชัดเจนต่อเหล่าอิสลามิกชนว่า  “พวกท่านคือพี่น้องกัน  และทรัพย์สินที่พวกท่านมีอยู่ในครอบครองเป็นทรัพย์สินของพระผู้เป็นเจ้า  และบรรดาผู้ยากจนขัดสนย่อมมีสิทธิอันชอบธรรมในทรัพย์สินของพวกท่าน”  และเพื่อทำให้สิ่งดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม  อิสลามจึงได้บัญญัติเรื่องซะกาฮฺ  ภาษีที่ดินและส่งเสริมให้มีการบริจาคทานและการใช้จ่ายในรูปต่าง ๆ อันเป็นการลดช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างคนรวยกับคนจน  ซึ่งนำไปสู่สภาพสังคมที่เต็มไปด้วยความรักและการเกื้อกูลกันระหว่างสมาชิกในสังคมนั้น

หมายเลขบันทึก: 418510เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2011 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท