Learning to Fly: ข้อเสนอหลักของการจัดการความรู้


Learning to Fly

Learning to Fly: ข้อเสนอหลักของการจัดการความรู้

เย็นจิตร ถิ่นขาม

Chris Collison & Geoff parcel. Learning to fly. Tj International ltd, padstow, Cornwall,2002.

 

ความหมายของการจัดการความรู้ (Defining Knowledge Management)  “การที่เราจะประสบผลสำเร็จได้นั้น  ไม่จำเป็นที่จะต้องรู้หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกเรื่อง  สิ่งสำคัญมันอยู่ที่ว่าจะทราบได้อย่างไรว่าใครรู้เรื่องอะไร แล้วนำมาใช้ (Sharing) ได้อย่างไรจึงจะเป็นผลดีต่อคุณ” 

เมื่อพูดถึงความรู้  หมายถึง การรู้วิธีที่จะได้มาซึ่งความรู้, รู้ว่าทำไม, รู้ว่าจะทำอะไร, รู้ว่าใครรู้, รู้ว่าที่ไหนที่สามารถหาความรู้, รู้ว่าจะสามารถใช้ได้เมื่อไร 

สิ่งที่จะทำให้องค์กร หรือบุคคลประสบความสำเร็จ  ได้คือ การค้นหาความรู้ใหม่ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจำพบความรู้ที่ดีที่สุด, การค้นหาวิธีการปฏิบัติที่ดีจากภายในและภายนอกองค์กร, ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย, งานที่ยากและลึกซึ้งจะเป็นสิ่งที่พิสูจน์คุณค่า, การติดตาม ประเมินผล นำไปใช้

กระบวนการจัดการเรียนรู้ คือ   เก็บ               ค้นหา            ค้นพบ (เชื่อมโยงความรู้  

ก่อน             หลัง )  เราสามารถที่จะเรียนรู้ได้จาก  Learn Before  คือ การเรียนรู้ก่อนที่จะเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ  ที่อาจจะเริ่มจากประสบการเดิม  พรสวรรค์  เพื่อน  การแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้ปฏิบัติงานร่วมกัน   Learn During  คือ  การเรียนรู้ในขณะที่มีการทำกิจกรรมนั้นเป็นประจำ  การทำซ้ำ ๆ มันจะช่วยให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง  เชี่ยวชาญ เรียนรู้ แก้ปัญหาได้   Learn After   คือ การเรียนรู้หลังจากที่ทำกิจกรรมนั้น ๆ เป็นการเรียนรู้ที่มีความสำคัญมาก  การทำกิจกรรมครั้งหลัง ๆ จะสามารถทำได้ดีกว่าครั้งแรก ๆ  เพราะมีการเก็บเกี่ยวประสบการณ์

                วิธีการที่จะสามารถจัดการความรู้ได้ คือ การขจัดสิ่งกีดขวางสำหรับการกระจายข้อมูล (ส่งเอกสารเป็นอิเล็กทรอนิคส์, รู้จักการใช้อีเมล, เรียนรู้การใช้ Floppy disk หรือ VDO, CD, รู้จักการใช้โทรศัพท์, เรียนรู้การใช้ Website), การมีสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติการร่วมกัน, การมีเครือข่ายในองค์กร, กระบวนการที่จะก่อให้เกิดกำลังใจ, การเรียนรู้ที่จะถามสำหรับคนที่ต้องการความช่วยเหลือ, การเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ฟังที่ดี

                เทคนิคในการทบทวน  ตรวจสอบ หลังจากการปฏิบัติการ(AAR-After Action Review) เป็นเทคนิคที่สามารถใช้ได้ง่ายทั้งการทำงานของแต่ละบุคคลหรือเป็นทีม ซึ่งจะต้องยึดหลักคำถาม 4 คำถามที่ต้องตอบ คิดทบทวน  คือ (1) อะไรคือสิ่งที่เราคาดหวัง (ต้องการ) ให้เกิดขึ้น (2) สิ่งที่มันเกิดขึ้นมาจริง ๆ คืออะไร (3)  อะไรคือสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างสิ่งที่คาดหวังและความจริงที่เกิดขึ้น และทำไมถึงแตกต่างกัน (4) เราสามารถที่จะเรียนรู้อะไรได้จากสิ่งที่ทบทวนบ้าง  นอกจาก 4 คำถามนี้แล้วการทำงานเป็นทีมก็ต้องยึดหลักของ AAR คือ การใช้อย่างทันทีทันใด, การสร้างความคิดความเชื่อที่ถูกต้องในการทำงานเป็นทีม, การแต่งตั้งผู้อำนวยความสะดวกในการใช้ AAR, การเริ่มตั้งคำถามที่ 1 , การตั้งคำถามที่ 2 , เปรียบเทียบแผนงานความคาดหวังกับความเป็นจริง, การจดบันทึกจากการทำ AAR (เพื่อให้ทีมได้เรียนรู้และได้บทเรียนจาก AAR ครั้งที่ผ่านมา)

                เทคนิค Retrospect เป็นเทคนิคที่ใช้เมื่อทำงานเสร็จสิ้น โดยมีโครงสร้างคล้าย AAR คือ ทบทวนวัตถุประสงค์และสิ่งที่เสนอในการทำงาน, อะไรจะนำไปสู่สิ่งที่ดีและทำไม, อะไรจะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่าและทำไม  โดยการที่จะใช้เทคนิค Retrospect บรรลุผลสำเร็จ  มีดังนี้ การเรียกประชุมที่สร้างบรรยากาศเป็นการเอง เปิดโอกาสให้มีการพูด, การเชิญบุคคลที่เหมาะสม, การแต่งตั้งผู้อำนวยความสะดวกในการประชุม, การทบทวนเป้าประสงค์, ทบทวนวางแผนโครงการ, ถามว่า อะไรที่จะไปได้ดี, ค้นหาทิศทางเพื่อจะนำไปสู่อนาคต, อะไรเพื่อทำให้เกิดสิ่งที่ดีกว่า, มองหาอุปสรรคที่เป็นอยู่, ทำให้แน่ใจว่าการมีส่วนร่วมได้มาจากการประชุม, การวางแผนว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร, การบันทึกการประชุม

                แนวทางสำหรับการสร้างความรู้ที่เป็นประโยชน์ 10 ขั้นตอน  คือ (1) การมีลูกค้าสำหรับความรู้นี้ (2) ต้องแน่ใจว่าความรู้ที่แท้จริงของเราคืออะไร (3)  มีการปฏิบัติร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ (4) มีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้คุณสามารถยึดเอาความรู้ที่เป็นประโยชน์ของตนเองมาใช้ (5) จัดหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อจะให้ผู้อื่นเข้าใจในจุดประสงค์และอยู่ในประเด็น (6) สร้างการอธิบายด้วยการยกตัวอย่างหรือเรื่องราว (7) การกระจายความรู้สู่คนอื่น เช่น ทางป้าย อินเตอร์เน็ต (8) การประกาศใช้แนวทางที่ต้องถูกต้องและแม่นยำ (9) การเผยแพร่ความรู้ต้องสามารถเข้าถึงได้ง่าย ไม่ว่าเวลาใด (10) ขั้นสุดท้าย คือ การที่จะทำให้ความรู้นั้นคงอยู่ได้อย่างไร               (การรักษาความรู้ที่เป็นประโยชน์ทำได้ยากกว่าการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เป็นครั้งแรก เพราะความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงกับผู้เป็นเจ้าของเนื้อหา หากปราศจากการฝึกฝน ผลลัพธ์ก็จะเป็นเพียงเว็บไซด์ที่หรูหรา ซึ่งจะเสื่อมลงอย่างรวดเร็วซึ่งสิ่งนี้คือข้อควรระวังสำหรับงานวิจัยดีๆ)          

6 ขั้นตอนการได้มาซึ่งความรู้ที่สมบูรณ์ (1) สอบถามว่าความรู้อะไรที่จำเป็นต่อการถ่ายทอด (2) การพัฒนาแผนการที่จะนำเอาความรู้มาถ่ายทอดออกไป (3) การประชุม (4) การทำให้ความรู้เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ (5) การสร้างเครือข่ายกับผู้ที่มีความรู้เสมอ (6) สรุป ประเมินผล

 

                การแก้ปัญหาความยากจนในประเทศไทยโดยข้อเสนอจาก Learning to Fly

                ปัญหาความยากจนเป็นปัญหาหลักของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติ ชนชั้นที่ยากจนก็ยังเป็นชนชั้นที่ยากจนต่อไป  การพัฒนาประเทศตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยที่ผ่านมาก็ยิ่งเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้กับคนที่ยากจนและร่ำรวย  ซึ่งการที่จะสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้นั้นต้องมีการทบทวนว่า  สาเหตุของความยากจนนั้นเกิดจากสิ่งใดบ้าง ซึ่งวิเคราะห์สาเหตุแห่งความยากจนคือ การขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร (การศึกษา  ที่ดินทำกิน การทำงานชั้นสูง)  ความเจ็บป่วย, การขูดรีดทางสังคม(ค่าแรงต่ำ, ต้นทุนในการผลิตสูง, ราคาผลผลิตต่ำ, รายได้น้อย, ดอกเบี้ยเงินกู้ในการลงทุนที่สูง) การขาดโอกาสในการวางแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับตนเอง

                จากสาเหตุความยากจนที่กล่าวมานั้นกระบวนการและเทคนิคหนังสือ Learning to Fly เสนอนั้นมีกระบวนการ  และเทคนิคที่สามารถนำมาประยุกต์ในการขจัดสาเหตุที่จะนำมาซึ่งความยากจนได้  ดังนี้ 

(1) เทคนิค Retrospect โดยเทคนิคนี้เป็นสิ่งที่จะสามารถขจัดการขาดโอกาสในการวางแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับตนเอง  ยกตัวอย่างคือ แนวทางการพัฒนาประเทศหลายอย่างที่ออกมาจากส่วนกลางโดยที่คนจนในท้องถิ่นไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย หรือรับรู้แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง เมื่อทรัพยากรต่าง ๆ ลงมาในพื้นที่ก็ไปไม่ถึงคนจนอย่างแท้จริง ดังนั้นเทคนิค Retrospect จะนำมาใช้ในการวางแผนการพัฒนาประเทศที่เอื้อประโยชน์แก่คนจนอย่างแท้จริง โดยยึดการมีส่วนร่วมเหมือนกับที่คนจนเป็นพนักงานคนหนึ่งในองค์กร  ที่จะมีการเรียกประชุมที่สร้างบรรยากาศเป็นการเอง เปิดโอกาสให้คนจนมีการพูด, การเชิญบุคคลที่เหมาะสม, การทบทวนเป้าประสงค์ของการพัฒนา, ทบทวนวางแผนโครงการที่จะสามารถสร้างรายได้ ลดการถูกเอาเปรียบ การสร้างโอกาสในการศึกษา, ถามว่า อะไรที่จะไปได้ดี  คือ โครงการใดที่จะดีและเหมาะสม, ค้นหาทิศทางเพื่อจะนำไปสู่อนาคต, อะไรเพื่อทำให้เกิดสิ่งที่ดีกว่า, มองหาอุปสรรคที่เป็นอยู่, ทำให้แน่ใจว่าการมีส่วนร่วมได้มาจากการประชุม, การวางแผนว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร, การบันทึกการประชุม  เช่น  การที่จะสร้างเขื่อนหรือโรงงานสักแห่งหนึ่งก็ต้องมีการประชุมระหว่างคนจนในพื้นที่และหน่วยงานราชการถึงความจำเป็นและความต้องการ สิ่งที่ดีกว่าที่อาจจะเกิดขึ้นมากกว่าการสร้างเขื่อนหรือโรงงาน เพื่อที่ผลที่ออกมาจะเป็นการพัฒนาเพื่อคนจน ไม่ใช่การขูดรีดจากคนจน นี้ก็จะเป็นแนวทางในการขจัดสาเหตุแห่งความยากจนได้ทางหนึ่ง

(2) สาเหตุแห่งความยากจนอย่างหนึ่งก็คือการขาดโอกาสในการศึกษาหาความรู้ เมื่อไม่มีความรู้แล้วก็จะทำให้ต้องทำงานที่ใช้แรงงาน งานที่ไม่สร้างรายได้มากนัก ขาดการได้รับโภชนาการที่สมบูรณ์ ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย ซึ่งจะเจ็บป่วยตามมา ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาก็ไม่มีเงินอีก ซึ่งจะเห็นว่าสาเหตุแห่งความยากจนหนึ่งก็จะเป็นผลจากสาเหตุหนึ่ง ดังนั้นการที่จะตัดวงจรแห่งความยากจนได้ก็ต้องเริ่มจากที่ใดสักแห่ง  จาก 6 ขั้นตอนการได้มาซึ่งความรู้ที่สมบูรณ์ในข้อ 1 จะเป็นการสร้างความรู้ การศึกษาให้กับคนที่ยากจน เพื่อที่การศึกษา  ความรู้ที่มี จะสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพ ได้ ยกตัวอย่างคือ (1) สอบถามว่าความรู้อะไรที่จำเป็นต่อการถ่ายทอด คือ มีการตรวจสอบว่าสิ่งใดที่คนจนต้องการที่จะทราบ เช่น การฝึกอาชีพ การศึกษาแนวทางการเรียนต่อเพื่อที่จะเรียนต่อให้สูงขึ้น  แหล่งงานที่ดีเพื่อให้คนจนได้มีโอกาสในการทำงาน การให้ข้อมูลด้านโภชนาการที่ประหยัดแต่มีคุณค่า เพื่อลดความเจ็บป่วยของคนจน การถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้คนจนได้นำไปใช้ (2) การพัฒนาแผนการที่จะนำเอาความรู้มาถ่ายทอดออกไป คือ ต้องมีการถ่ายทอดความรู้เหล่านี้ให้ไปถึงคนจน ไม่ใช่ข้อมูลกระจุกอยู่ที่คนชั้นกลางหรือคนรวย (3) การทำให้ความรู้เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่าย การที่จะให้ความรู้เป็นประโยชน์แก่คนจนก็ต้องผ่านสื่อที่เขาสามารถจะรับได้ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ป้ายโฆษณา ไม่ใช่การที่จะผ่านทางเว็บไซด์ หรือสื่ออื่นที่คนจนมีโอกาสในการเข้าถึงน้อย หรือมีการส่งเสริมการศึกษาสำหรับคนจน โดยการมีเงินทุนเพื่อการศึกษา ก็เป็นการทำให้ความรู้เป็นสิ่งที่เข้าถึงง่ายเหมือนกัน (4) การสร้างเครือข่ายกับผู้ที่มีความรู้เสมอ คือ คนจนก็ต้องมีการสร้างเครือข่ายเพื่อที่จะช่วยเหลือกันและกัน มีการติดต่อกับผู้รู้ เช่น ข้าราชการ พัฒนากร เพื่อที่จะทราบแนวทางการพัฒนาความเป็นอยู่วิถีชีวิตตนเองอยู่ตลอดเวลา หากพัฒนากรมีการส่งเสริมโครงการต่าง ๆ คนจนก็จะมีโอกาสร่วมเพื่อรับผลประโยชน์ ดังนั้นจึงจะเห็นว่าขั้นตอนการได้มาซึ่งความรู้ที่สมบูรณ์ก็เป็นแนวทางการขจัดสาเหตุความยากจนได้

                นอกจากนี้ก็มีกระบวนการเรียนรู้  ที่ขึ้นอยู่กับคนจนแล้วว่าเขานั้นจะมีการเรียนรู้สักแค่ไหนว่าในรุ่นตา ยาย เขาก็ยังจนอยู่ ก็ต้องเอาประสบการณ์นั้นมาคิดว่าทำไม่ถึงยากจน (เรียนรู้ก่อน) และในรุ่นเขานั้นเขาก็ยังยากจนอยู่เพราะอะไร (เรียนรู้ขณะนั้น) และสิ่งที่เขาทำเมื่อวานก็ยังยากจนอยู่ เพราะอะไร (เรียนรู้หลังทำ) จากนั้นเขาก็ต้องคิดแล้วหละว่าเขาได้เรียนรู้อะไรจากรุ่นตา ยาย และรุ่นเขา และเขาจะทำอย่างไร เพื่อที่จะไม่ให้อนาคต (รุ่นลูก) ยังยากจนอยู่ ซึ่งหากเขาคิดหาแนวทางในการพัฒนาตนเองอยู่เรื่อย ๆ การคิดครั้งหลัง ๆ ของเขาย่อมที่จะดีกว่าเดิม เช่น การที่เขาเคยทำนาแล้วยากจน เพราะเขาทำนาเสร็จก็ไปขายข้าวในราคาถูก ซื้อของใช้อุตสาหกรรมมาบริโภค เขาก็ยังต้องยากจนต่อไป แต่เมื่อเขาคิดว่าน่าจะมีการปรับปรุงวิถีชีวิตที่บริโภคจากสิ่งที่มีอยู่ก่อน หรือทำสิ่งที่ทำได้เพื่อการบริโภค เขาก็อาจจะมีการทำการเกษตรผสมผสาน เหลือกินจึงขาย เขาก็ไม่ต้องยึดติดกับอุตสาหกรรมก็จนน้อยลง หรือหากคิดเรื่องการกู้ธนาคาร เขาก็อาจจะเรียนรู้จากการที่จ่ายดอกเบี้ยแพง ก็มีการตั้งกลุ่มธนาคารกันขึ้นมา มีการออม เขาก็จะได้ทั้งแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ มีการออมเพื่ออนาคตของครอบครัว หนทางที่เขาจะรอดพ้นจากวงจรความจนก็มีมากขึ้น หากเขาคิดต่อยอด เรียนรู้ไปเรื่อย ๆ ตามที่หนังสือ Learning to Fly ได้เสนอไว้นั้นเขาก็จะเกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่จะมีแนวทางการขจัดสาเหตุแห่งความยากจนต่อไป

 

หลักการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์กับ Learning to Fly

                จากหลักการของการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์  8  ข้อ  คือ

   

จากเทคนิค และกระบวนการต่าง ๆ ที่เสนอมาในข้อ 1 มีความสอดคล้องกับหลักการของการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ (แผนภาพข้างบน)  คือ

(1) ในขั้นตอนของการของกระบวนการจัดการเรียนรู้ซึ่งประกอบไปด้วย  การเรียนรู้ก่อนทำ การเรียนรู้ระหว่างทำ  การเรียนรู้หลังจากทำนั้น  มีความสอดคล้องกับการกระตุ้นความใฝ่รู้ในหลักการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งการที่จะกระตุ้นความใฝ่รู้ได้นั้นเราต้องมีการที่จะเรียนรู้ก่อนที่จะมีการทำกิจกรรมใด ๆไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อน จากประสบการณ์ครั้งก่อน ๆของเรา จากหนังสือหรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ โดยการกระตุ้นความใฝ่รู้นั้นจะทำให้เรามีความคิดต่อยอดขึ้นมา นอกจากนั้นก็เป็นการเรียนรู้ระหว่างที่ทำกิจกรรมอยู่ เมื่อเราทำกิจกรรมเราจะทราบตลอดเวลาว่ากิจกรรมที่เราอยู่นั้นมีปัญหาอะไร อุปสรรคที่เกิดขึ้นอยู่ตรงไหน แม้ว่าเราอาจจะยังไม่เข้าใจอย่างแท้จริงในขณะนั้นเราก็สามารถที่จะเข้าใจได้อีกครั้งเมื่อเรามีการเรียนรู้หลังจากที่ทำกิจกรรมนั้นเสร็จ  ซึ่งก็คือการเรียนรู้หลังทำนั่นเอง

 (2) จากที่เสนอเทคนิค AAR ซึ่งเป็นเทคนิคการทบทวน  ตรวจสอบหลังจากเสร็จสิ้นการทำ ก็มีความสอดคล้องกับหลักการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์  คือ ในขั้นตอนของการหาสิ่งที่เป็นความคาดหวังในสิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในกระบวนการ AAR สอดคล้องกับขั้นตอนการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา  ซึ่งความคาดหวังที่เราจะให้เกิดขึ้นนั้นเป็นแผนการที่วางเอาไว้เพื่อที่จะให้ปัญหานั้นถูกขจัดออกไป, ในขั้นตอนของการค้นหาสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในกระบวนการของ AAR ก็มีความสอดคล้องกับขั้นตอนการหาหลักฐาน  คือ การที่เราจะสามารถทราบความเป็นจริงที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงได้เราต้องมีการค้นหา เน้นการมองสิ่งที่มีอยู่จริง จึงจะทำให้ความคิดของเราออกมาจากความเป็นจริง เป็นความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่อิงอยู่สภาพการณ์ที่แท้จริงได้ ซึ่งการค้นหาสภาพสิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็จะรวมทั้งผลที่เกิดขึ้นโดยตรงทั้งผลดี ผลเสีย และรวมถึงผลข้างเคียง (ผลกระทบที่ไม่ได้คาดหมาย) ด้วย, ในคำถามที่ 3 ของ AAR ที่กล่าวว่าอะไรคือความแตกต่างของความคาดหวังและสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และทำไมนั้น ก็เป็นส่วนที่สอดคล้องกับขั้นตอนการค้นหาสาเหตุ ซึ่งก็เป็นการหาความแตกต่างระหว่างแนวทางแก้ไขที่ต้องการให้เกิดขึ้น กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจากการแก้ไข แล้วสำรวจว่าสิ่งที่มีความแตกต่างกันนั้นคืออะไร  แล้วเกิดจากอะไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น   ซึ่งเราก็จะได้เรียนรู้สาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากอะไร เพื่อที่จะกลับมาเข้าสู่ขั้นตอนของการหาแนวทางแก้ไขอื่น ๆ ต่อไป ตามวงจรหลักการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์

(3) ในเทคนิค Retrospect ที่มีขั้นตอนทบทวนวัตถุประสงค์และสิ่งที่เสนอในการทำงาน,การตอบคำถามว่าอะไรจะนำไปสู่สิ่งที่ดีและทำไม, อะไรจะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่าและทำไม  ก็เป็นเทคนิคที่มีความสอดคล้องกับหลักการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์  คือ  มีการคิดทบทวน  ถามซ้ำ  เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุด  ดีกว่า ซึ่งความคิดเชิงสร้างสรรค์นั้นไม่จำเป็นต้องมีเพียงความคิดเดียวและเป็นการคิดเพียงครั้งเดียว  แต่ต้องมีการคิดกลับไปกลับมา  คิดทบทวน  คิดที่จะกำจัดข้อโต้แย้งต่าง ๆ มีการตั้งข้อเสนอ  คิดหาข้อโต้แย้งเพื่อที่จะเสนอข้อเสนอใหม่อยู่เรื่อย ๆ จนได้สิ่งที่คิดในขณะนั้นว่าดีที่สุด  แต่เราก็สามารถที่จะคิดเพื่อที่จะหาสิ่งที่ดีกว่าได้ในภายหลัง

(4) สิ่งที่จะทำให้องค์กร หรือบุคคลประสบความสำเร็จ  ได้คือ การค้นหาความรู้ใหม่ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจำพบความรู้ที่ดีที่สุด ก็มีความสอดคล้องกับการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่ต้องมีการคิด ค้นหา  ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อที่จะมาสนับสนุนความรู้เดิม  โดยที่จะสามารถคิดหาสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งจะเป็นแนวทางแก้ปัญหา  หรือได้แนวคิดใหม่ที่ดีกว่าเดิม

                เทคนิค และกระบวนการที่หนังสือ Learning to Fly ได้เสนอนั้นมีความสอดคล้องกับหลักการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำมาใช้ที่จะสามารถประยุกต์ใช้เทคนิค กระบวนการนั้น ๆ  ควบคู่ไปกับหลักการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้มีการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์และเพื่อให้ความคิดเชิงสร้างสรรค์นั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด

หมายเลขบันทึก: 418396เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2011 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
นาย วิสุทธ์ จันทรสาขา

จะพยายามทำความเข้าใจ ^^

อ่านหลายๆ รอบก็จะเข้าใจจ๊ะ...

ขอบคุณมากนะคะ กำลังทำ IS เกี่ยวกับหนังสือนี้พอดี

ได้รายละเอียดไปเยอะ เพราะถ้าให้อ่านฉบับอังกฤษ คงใช้เวลาพอดู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท