หลักในการ ทิ้งความสนใจในเพศตรงข้าม


พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
สังโยคสูตร


[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายอันเป็นสังโยคะ(ผูกพัน)ทั้งวิสังโยคะ(สิ้นความผูกพัน) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรมบรรยายอันเป็นสังโยคะทั้งวิสังโยคะเป็นอย่างไร ?


ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็หญิงย่อมสนใจสภาพแห่งหญิงในภายใน กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจเสียง และเครื่องประดับของหญิง เขาย่อมยินดี พอใจ ในสภาพของตนนั้นๆ

เมื่อเขายินดี พอใจในสภาพของตนนั้นๆ แล้ว ย่อมสนใจถึงสภาพของชายในภายนอก ( หมายความว่า  มองตัวเอง  เป็นภายใน  คือ  ตัวเองเป็นหญิง มองว่าเรามีร่างกายรูปร่างหน้าตา  ผิวพรรณ เสียง ฯลฯ  เป็นหญิง  จึงสนในสภาพชายที่เกิดในภายนอกของตน  ได้แก่ ร่างกายของผู้อื่นที่เป็นชาย) กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง และเครื่องประดับของชาย ย่อมยินดี พอใจในสภาพของชายนั้นๆ เขายินดี พอใจในสภาพของชายนั้นๆ แล้ว ย่อมมุ่งหวังการสมาคมกับชาย และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคมกับชายเป็นเหตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้พอใจในภาวะแห่งหญิงก็ถึง
ความเกี่ยวข้องในชาย ด้วยอาการอย่างนี้แล หญิงจึงไม่ล่วงพ้นภาวะแห่งหญิงไปได้




ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมสนใจสภาพแห่งชายในภายใน กิริยา ท่าทางความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของชาย เขาย่อมยินดี พอใจในสภาพของตน

เมื่อ เขายินดีพอใจในสภาพของตนนั้นๆ แล้ว ย่อมสนใจถึงสภาพของหญิงในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง และเครื่องประดับของหญิง ย่อมยินดี พอใจในสภาพของหญิงนั้นๆ แล้วย่อมมุ่งหวังการ
สมาคมกับหญิง และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคมกับหญิงเป็นเหตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้พอใจในภาวะแห่งชายก็ถึงความเกี่ยวข้องในหญิง ด้วยอาการอย่างนี้แล ชายจึงไม่ล่วงพ้นภาวะแห่งชายไปได้


[/i]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกี่ยวข้องย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล ฯ[/i]



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนความไม่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร ?

ดูกรภิกษุทั้งหลายหญิงย่อมไม่สนใจในสภาพของหญิงใน ภายใน กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของหญิง เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งหญิงแล้ว  ก็ย่อมไม่สนใจถึงสภาพแห่งชายในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับแห่งชาย เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งชายนั้นๆ แล้ว ก็ย่อมไม่มุ่งหวังการสมาคมกับชายในภายนอก และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคมกับชาย


ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้ไม่พอใจในสภาพแห่งหญิงก็ถึงความไม่เกี่ยวข้องในชาย ด้วยอาการอย่างนี้แล หญิงจึงล่วงพ้นสภาพแห่งหญิงไปได้ ฯ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมไม่สนใจในสภาพแห่งชาย กิริยา ท่าทางความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของชาย เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งชายนั้นๆ แล้ว ย่อมไม่สนใจถึงสภาพแห่งหญิงในภายนอก กิริยาท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของหญิง เขาไม่ยินดีไม่พอใจในสภาพแห่งหญิงนั้นๆ แล้ว ย่อมไม่มุ่งหวังการสมาคมกับหญิงใน
ภายนอก และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคมนั้นเป็นเหตุ


ดูกรภิกษุทั้งหลายสัตว์ผู้ไม่พอใจในสภาพแห่งชาย ก็ถึงความไม่เกี่ยวข้องในหญิง ด้วยอาการอย่างนี้แล ชายจึงล่วงพ้นภาวะแห่งชายไปได้


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่เกี่ยวข้องย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลชื่อว่าธรรมบรรยายอันเป็นทั้ง
สังโยคะและวิสังโยคะ ฯ

จบสูตรที่ ๘


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  บรรทัดที่ ๑๒๙๘ - ๑๓๓๙.  หน้าที่  ๕๗ - ๕๙.

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=1298&Z=1339&pagebreak=0
คำสำคัญ (Tags): #ธรรมะ#หลักคิด
หมายเลขบันทึก: 41783เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2006 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท