ขนาดของประชากร


ขนาดของประชากร
 
 ขนาดของประชากร
ในแหล่งที่อยู่แต่ละแห่งจะมีจำนวนกลุ่มสิ่งมีชีวิตหรือจำนวนประชากรแตกต่างกันไป การศึกษาขนาดหรือลักษณะความหนาแน่นของจำนวนประชากรในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆสามารถศึกษาได้จาก
     - การอพยพเข้าของกลุ่มสิ่งมีชีวิต
     - การอพยพออกของกลุ่มสิ่งมีชีวิต
     - การเกิดของกลุ่มสิ่งมีชีวิต
     - การตายของกลุ่มสิ่งมีชีวิต
 


 จากการศึกษาดังกล่าว ทำให้สามารถแบ่งขนาดของประชากรออกเป็น 3 ขนาดดังนี้
     1. ประชากรที่มีขนาดคงที่
          อัตราการเกิด   +   อัตราการอพยพเข้า     =     อัตราการตาย   +   อัตราการอพยพออก

     2. ประชากรมีขนาดเพิ่มขึ้น
         อัตราการเกิด   +   อัตราการอพยพออก    >     อัตราการตาย   +   อัตราการอพยพเข้า

     3. ประชากรมีขนาดลดลง
         อัตราการเกิด   +   อัตราการอพยพเข้า     <     อัตราการตาย   +   อัตราการอพยพออก
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

 การศึกษาขนาดของประชากรในแหล่งที่อยู่ ดูได้จากอัตราการเกิด อัตราการตา อัตราการอพยพเข้าและอัตราการอพยพออกจากแหล่งที่อยู่โดยอัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราดังกล่าวเกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกแหล่งที่อยู่

   การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม : สภาพแวดล้อมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยหรือเกิดการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง สามารถลดจำนวนประชากรลงได้

   กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ : การถางป่า การทำไร่เลื่อนลอย เพื่อทำฟาร์มสัตว์หรือเพื้่อการเกษตร
เป็นการลดขนาดของที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตบางชนิดในธรรมชาติ

   จำนวนผู้ล่า : การมีผู้ล่าจำนวนเพิ่มมากขึ้นขณะที่เหยื่อมีจำนวนเท่าเดิมหรืดเิ่พิ่มเพียงเล็กน้อย ทำใ้ห้เหยื่อมีโอกาสถูกล่าและลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว

   ทรัพยากรมีอยู่จำกัด : บางครั้งสิ่งมีชีวิตก็อาจจำ้เป็นต้องต่อสู่แย่งชิงสิทธิ์ครอบครองทรัพยากรที่มี่อยู่อย่างจำกัด ทำให้เกิดการล้มตาย

   การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว : พืชหรือสิ่งมีชีวิตที่มีการเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว  ทำให้เกิดความหนาแน่นจำเป็นจะต้องหาแหล่งที่อยู่ใหม่เพิ่มขึ้น

    ศัตรูทางธรรมชาติและเชื้อโรค : การแพร่กระจายของศัตร ูทางธรรมชาติหรือการละบาดของเชื้อโรค เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดจำนวนประชากรลดน้อยลง
การสำรวจสิ่งแวดล้อม

การสำรวจองค์ประกอบภายในระบบนิเวศจะช่วยให้เราทราบขนาดของประชากรและเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ภายในระบบนิเวศนั้นๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการจำแนกลักษณะและประ เภทของระบบนิเวศแต่ละระบบได้การสำรวจองค์ประกอบภายในระบบนิเวศแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

การสำรวจลักษณะทางกายภาพ
   เป็นการสำรวจเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของสิ่งไม่มีชีวิตด้านสภาพแวดล้อม เช่น แสงแดดอุณหภูมิความชื้นปริมาณแร่ธาตุ เป็นต้น

การสำรวจทางชีวภาพ
   เป็นการสำรวจเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของสิ่งมีชีวิต โดยพิจารณาจากชนิด จำนวนความหนาแน่นของสิ่งมีชีวิตต่อพื้นที่ทำการสำรวจ

แหล่งที่มามาจาก

www.dpt.go.th/ITCitdb/txt/pop/pop1.htm

หมายเลขบันทึก: 416739เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2010 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท