TOK (Theory of knowledge)


สาระการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์

          เป็นสาระการเรียนรู้สำคัญที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking)  ของผู้เรียนและเป็นสาระการเรียนรู้ที่มีเป้าหมาย (Goal) เพื่อช่วยผู้เรียนให้สามารถเข้าใจสถานการณ์/บริบทในสังคม และใช้ความรู้ที่ตนได้เรียนรู้มาศึกษาวิเคราะห์สภาพการณ์/สถานการณ์/บริบท สามารถจำแนกระหว่างการให้เหตุผลดี เหมาะสม และเหตุผลที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม (Good and poor reasoning) สามารถวิเคราะห์และให้เหตุผล ความอคติ/ความลำเอียง/เกี่ยวกับอุบัติการณ์ของ สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น (to spot international or accidental bias) และสามารถระบุความไม่สมเหตุสมผ(inconsistencies) ของสถานการณ์/สภาพการณ์ต่าง ๆ

ขอบข่ายเนื้อหาการเรียนการสอน

TOK (Theory of knowledge) เป็นสาระการเรียนรู้ที่ว่าด้วยเรื่องประเด็นความรู้ต่าง ๆ (Knowledge Issues) องค์ความรู้ (Body of Knowledge) และทฤษฎีความรู้ (Theory of knowledge) ของสาระการเรียนรู้พื้นฐานทั้งหมด (Interdisciplinary) ในเชิงบูรณการ ในเชิงปฏิบัติ ครูและผู้เรียนจะต้องร่วมกันกำหนดเนื้อหา โดยวิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น การระดมสมอง การใช้แบบสอบถาม เกี่ยวกับประเด็นร้อนของสังคม เหตุการณ์ปัจจุบัน  สภาพปัจจุบันและปัญหาที่ผู้เรียนหรือสังคมกำลังเผชิญหรือหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ เป็นต้น จากนั้นครูและผู้เรียนรวบรวมรายชื่อหัวข้อเรื่อง (Topic) อย่างเป็นระบบ โดยจัดเป็นเอกสารลักษณะรูปเล่ม (Directory)

วิธีการจัดการเรียนการสอน

ครูใช้รูปแบบการสอนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สนทนาโต้ตอบ (Discuss) และอภิปรายซักถาม (Debate) โดยไม่มีการตัดสินถูก (Right) หรือผิด(Wrong) ในข้อคิดเห็น แต่ครูผู้สอนจะต้องมุ่งพัฒนาส่งเสริม/ฝึกฝนวิธีการให้ความคิดบนพื้นฐานของความรู้และทฤษฎีความรู้ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นให้ข้อมูลขัดแย้งหรือเห็นด้วยอย่างมีคุณภาพ (Quality of justification and a balance approach to the knowledge claim in question) ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนจะต้องจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถและมีทักษะในการนำเสนอ แนวคิด/องค์ความรู้ โดยบอกประเด็นสำคัญ 3 ประเด็นเกี่ยวกับหัวข้อ (Topic) ที่ตนเองเลือก ได้แก่

1. สามารถบอกช่องทางการรับรู้ความรู้ (ได้รับความรู้มาอย่างไร) เช่น รับรู้ความรู้โดยความรู้สึก (Sense Perception)หรือรู้โดยเหตุผล (Reason) รับรู้โดยอารมณ์ (Emotion) หรือรับรู้จากสื่อภาษา สัญลักษณ์/การให้สมญานาม (language/symbols/nomenclature) เป็นต้น

2. สามารถบอกสาขาของความรู้ที่ได้รับ (Area of Knowledge) เช่น เป็นความรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์  ศิลปะ และศิลปกรรม

3. สามารถบอกความหมายขององค์ประกอบต่าง ๆ ของความรู้ที่ได้รับในเรื่องต่อไปนี้

    3.1 ธรรมชาติการรับรู้ (Nature of Knowing) เช่น การรับรู้จากประเภทของข้อมูล ได้แก่ สารนิเทศ(information) หรือข้อมูล (Data) หรือ ความเชื่อ (Belief) หรือความศรัทธา (Faith) หรือความคิดเห็น (Opinion) หรือความรู้ (Knowledge) หรือภูมิปัญญา (Wisdom)

   3.2 ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Knowledge of Communities)

   3.3 ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Knower s’ Senses) และ

   3.4 ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและการเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ (Justification  of Knowledge Claims)

การวัดประเมินผลการเรียน

TOK : Theory of Knowledge การวัดประเมินผลสัมฤทธิ์จากการเรียนการสอน TOK ผู้เรียนจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

1. การเขียนความเรียงขั้นสูง (TOK Essay) นำเสนอแนวคิดความคิดเห็นการให้เหตุผลเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ผู้เรียนได้รับเลือกจากหัวข้อเรื่องที่ครูกำหนดให้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับสถานการณ์และสภาพสังคมปัจจุบัน

2. การพูดนำเสนอเนื้อเรื่องของความเรียง (TOK Presentation) ผู้เรียนจะต้องนำเสนอหัวข้อของความเรียงในข้อ 1 ในลักษณะของรูปแบบการนำเสนอตามประเด็นระเบียบวิธีวิจัยเบื้องต้น ตามเวลาที่กำหนดให้ และในการนำเสนอผู้เรียนจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเสนอความคิดเห็นโดยการอ่านอย่างเด็ดขาด

3. ในการให้คะแนนสำหรับผลงานเขียน (Extended-Essay)และการนำเสนอผลงาน (TOK Presentation) โดยครูผู้สอนพิจารณาความสำคัญของหัวข้อเรื่อง (Topic) ความน่าเชื่อถือของการกำหนดหัวข้อเรื่อง (Reliability) ทฤษฎีและความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Literature Review) การเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา (Identification of suitable approach) การสรุปผล และการให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ (Suggestions) เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #TOK (Theory of knowledge)
หมายเลขบันทึก: 416716เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2010 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท