การวิจัยเชิงบรรยาย


การวิจัยเชิงบรรยาย 
                                                                                                                                            การวิจัยเชิงบรรยาย หรือ การวิจัยเชิงพรรณนา  (Descriptive Research)       เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการค้นหาคําตอบหรือคําอธิบายของข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสภาพการณ์ ปรากฏการณ์ หรือเรื่องราวต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นในสภาพปัจุบัน โดยทําการศึกษาเพื่อบ่งชี้ให้เห็นว่าสภาพการณ์เหล่านั้นเป็นอย่างไร   การวิจัยประเภทนี้อาจเป็นการศึกษาเชิงสํารวจหรือการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง        แต่ผลจากการวิจัยส่วนใหญ่มักจะเป็นการตอบคําถามเกี่ยวกับสภาพการณ์ที่เป็นข้อเท็จจริงการวิจัยประเภทนี้มักจะพบเห็นทั่วไปที่เกี่ยวกับการสํารวจหรือการศึกษาเจตคติหรือการศึกษาความคิดเห็น  ของบุคคลต่อองค์กรหรือต่อสิ่งต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นและมี ผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น ปัญหา   การเลือกตั้ง ความคิดเห็นของชุมชน เป็นต็น ซึ่งข็อมูลที่ ศึกษาส่วนมากจะเกิดจากการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสอบถาม การสํารวจ การสัมภาษณ์ และการ สังเกต  สําหรับแนวทางที่เหมาะสําหรับการวิจัย   เชิงบรรยายมีดังนี้

  1. ข้อเท็จจริง  ปรากฏการณ์ และสภาพการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
  2. ภารกิจ กระบวนการต่าง ๆ ที่กําลังดําเนินอยู่ในปัจจุบัน หรือสิ่งที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจํา
  3. เจตคติ แนวความคิด ความคิดเห็น หรือความเชื่อต่อสิ่งต่าง ๆ
  4. การทํานาย หรือการคาดหมายลักษณะของผลหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
  5. แนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไป

ลักษณะของการวิจัยเชิงบรรยาย  มีดังนี้

  1. เปนการศึกษารวบรวมขอมูลตาง ๆ ที่เกิดขึ้นในสภาพปจจุบัน  เพื่อคนหาขอเท็จจริงตางๆ ของเหตุการณที่เปนอยูในปจจุบัน หรือเหตุการณที่เกิดขึ้นผานมาแลวและสงผลถึงปจจุบัน
  2. ในกระบวนการวิจัยเชิงบรรยาย จะไมมีการสรางสถานการณใด ๆ ขึ้นมา แตจะเปน การศึกษาสภาพตาง ๆ ที่เปนขอเท็จจริง
  3. ส่วนใหญ่จะไม่มีการกําหนดตัวแปรอิสระและตัวแปรตามแต่อย่างใด แต๋อาจมีการกําหนดสมมติฐานขึ้นเพื่อใช็เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัย

จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงบรรยาย

การวิจัยเชิงบรรยายมีความมุ่งหมายที่สำคัญดังนี้

  1. เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพการณ์ที่ปรากฏในปัจจุบัน
  2. เพื่อหาเกณฑ์มาตรฐนและนำผลไปใช้เป็นเกณฑ์ในการปรับปรุงไขข้อบกพร่องหรือวางแผนงานได้ถูกต้อง
  3. เพื่อทราบความสัมพันธ์ พัฒนาการต่างๆ ของเหตุการณ์ในปัจจุบันและทราบแนวโน้ม    ของเหตุการณ์ในอนาคต
  4. เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติและนำไปใช้

ประเภทของการวิจัยเชิงบรรยาย

การวิจัยเชิงบรรยาย แบ่งตามลักษณะของการวิจัยได้ 3 ประเภท ได้แก่

  1. การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research หรือ Exploratory Studies) แบงออกเป็น

1.1    การสํารวจองค์กร (Organization Survey)

1.2    การวิเคราะหางาน (Job Analysis)

1.3    การวิเคราะหาเอกสาร (Documentary or Content Analysis)

1.4    การสํารวจประชามติ (Public Opinion Survey)

1.5    การสํารวจชุมชน (Community Survey)

  1. การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Interrelationship Research)

2.1    การศึกษารายกรณี (Case Studying)

2.2    การวิจัยเปรียบเทียบผลเพื่อศึกษาสาเหตุ (Casual Comparative Studies)

2.3    การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research)

  1. การวิจัยเชิงพัฒนาการ (Developmental Research)

3.1    การศึกษาความเจริญเติบโต (Growth Studies)

3.2    การศึกษาแนวโน้ม (Trend Studies)

 

หมายเลขบันทึก: 416476เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2010 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นทีจะต้องศึกษาเรื่องงานวิจัยให้มากกว่านี้

มีประโยชน์จริงๆ ได้ข้อมูลทางด้านวิจัยมาอีกแหล่งแหละ

ขอบคุณมาก สำหรับข้อมูลการวิจัยเชิงบรรยาย เพราะตอนนี้กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่เหมือนกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท