วันขึ้นปีใหม่


เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๓ ขออวยพรให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน ตลอดจนครอบครัวประสบความสุขความเจริญ หากในปีที่ผ่านมามีความทุกข์ใดๆ มากล้ำกรายก็ขอให้มลายไปพร้อมกับปีเก่า ขอให้เรามาตั้งต้นปีใหม่ ชีวิตใหม่ด้วยมุมมองใหม่

 

       ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า “ปี” หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่ง ราว ๓๖๕ วัน : เวลา ๑๒ เดือน ตามสุริยคติ

ความเป็นมา

นานาชาติในสมัยโบราณนั้น แต่ละชาติต่างก็ไม่มีวันขึ้นปีใหม่ที่ตรงกัน เช่นในประเทศเยอรมัน ชาวเยอรมันในสมัยโบราณจะมีวันขึ้นปีใหม่ในปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นเวลาที่กาลังมีอากาศหนาวเย็น ประชาชนที่แยกย้ายออกไปหากินในที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ในช่วงฤดูร้อน หลังจากเก็บเกี่ยวพืชผล และ นาขึ้นยุ้งฉางเสร็จแล้ว ก็จะมาร่วมฉลองขึ้นปีใหม่ในระยะนี้ ต่อมาเมื่อชาวโรมันได้เข้ามารุกราน จึงได้เลื่อนการฉลองปีใหม่มาเป็น วันที่ ๑ มกราคม ชาติโบราณ เช่น ไอยคุปค์ เฟนิเชียนและอิหร่าน เริ่มปีใหม่ราว วันที่ ๒๑ กันยายน รวมถึงชาวโรมันก็เริ่มปีใหม่วันนี้เช่นเดียวกัน

       แต่เดิมนั้นไทยเราถือเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์หรือวันแรกที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากจักรราศีมีนไปสู่จักรราศีเมษ (เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า สงกรานต์ แปลว่า การเคลื่อนย้าย)

       การนับวันปีใหม่ หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติเมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติย่อมคลาดเคลื่อนกันไปในแต่ละปีดังนั้น ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๓๒ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑ เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ถือเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมาเพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่าวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีต่อ ๆ มาจะไม่ตรงกับวันที่ ๑ เมษายน แล้วก็ตาม)

       ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม คณะรัฐบาลในสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นวันปีใหม่ตามสากลนิยมตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับบรรดานานาอารยประเทศ ซึ่งนิยมใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่กันทั่วโลกเหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ ๑ เมษายน มาเป็นวันที่ ๑ มกราคม คือ

       ๑. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ

       ๒. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา

       ๓. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก

       ๔. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ ได้แก่

                ๑. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้านหรือไปที่วัด หรือตามสถานที่ต่าง ๆ ที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ

                ๒. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่และอวยพรเพื่อนฝูงการมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร

                ๓. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูงญาติพี่น้อง หรือตามหน่วยงานต่าง ๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

ประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่สาหรับพระราชพิธีปีใหม่นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าเสด็จ เข้าไปรับพระราชทานเลี้ยง ณ ท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระราชทาน ฉลากแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการบางคน ครั้นพระราชทานสิ่งของตามฉลากแล้วเสด็จพระราชดำเนินมาที่ชาลาหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทอดพระเนตรละคร หลวงแล้วเสด็จ ฯ กลับ

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทนรัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.. ๒๔๕๕ และต่อมาใน พ.. ๒๔๕๖ โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศก สงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้าพระพิพัฒน์ สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่าพระราชพิธีตรุจสงกรานต์
ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ ๘ คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ใน พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ ๑ มกราคม ใกล้เคียงวันแรม ๑ ค่า เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปี และเป็นการสอดคล้อง ตามจารีตประเพณีโบราณของไทยต้องตามคติแห่งพระบวร พุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.. ๒๔๘๔ ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๘ หน้า ๓๑ เป็นต้นไป
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อ พ..๒๔๙๐ คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์โปรดให้ยกการพระราชกุศลสดับปกรณ์ผ้าคู่ในวัน ขึ้นปีใหม่ไปใช้ในพระราชพิธีสงกรานต์ ซึ่งฟื้นฟูขึ้นใหม่ตาม โบราณราชประเพณีซึ่งเป็นเทศกาล สงกรานต์ในวันที่ ๑๓ - ๑๔ - ๑๕ เมษายน
ต่อมา พ.. ๒๕๐๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ งดการ พระราชกุศลสวดมนต์เลี้ยงพระในวันขึ้นปีใหม่ เปลี่ยน เป็นเสด็จออก ทรงบาเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตรวันขึ้นปีใหม่แทนใน พุทธศักราช ๒๕๐๑ และวันที่ ๑ มกราคม พ.. ๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดาเนินโดย รถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิตไปพระบรม มหาราชวัง ทรงจุดธูปเทียนถวายนมัสการพระพุทธปฏิมาที่พระแท่น นพปฎลมหาเศวตฉัตรภายในท้องพระโรง เวลา ๗ นาฬิกา เสด็จฯ ลงยังสนามหน้าพระที่นั่ง จักรีมหาปราสาท ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยแล้วทรง บาตรพร้อมด้วย พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการ ทุกกระทรวง ทบวง กรมโดยจัดเป็น สาย ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศา นุวงศานุวงศ์ ๕๐ รูปนอกนั้นสายละ ๒๕ รูป รวมพระ สงฆ์ ๓๐๐ รูป เสร็จแล้วเสด็จฯ ขึ้น งานนี้แต่งเครื่องแบบ ปรกติขาว งานนี้มีสังข์ แตร ปี่ พาทย์ ประโคม บรรเลง ตั้งแต่เสด็จทรงจุดเทียนจนเสด็จขึ้น
วันนี้ เวลา ๙ นาฬิกาจนถึงเวลา ๑๗ นาฬิกา สำนักพระราชวัง จะได้จัดที่สำหรับลงพระนามและนาม ถวายพระพรไว้ที่พระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตร ขึ้นปีใหม่ ในวันที่ ๑ มกราคมเป็นวันที่ ๓๑ ธันวาคม ซึ่ง เป็นวันสิ้นปี
ต่อมาในปี พ.. ๒๕๑๘ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลทรงบาตรขึ้นปีใหม่ ได้ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้จัดเป็นงาน ส่วนพระองค์ ณ พระราชฐานที่ประทับ สาหรับ พิธีของราชการและประชาชนสาหรับงานของทาง ราชการและประชาชนในวันขึ้นปีใหม่ก็จะมีตั้งแต่คืนวันที่ ๓๑ ธันวาคม จนถึง วันที่ ๑ มกราคมเช่นเคยยึดถือมาเดิม คือในวันสิ้นปี หรือวันที่ ๓๑ ธันวาคม ทางราชการหรือ ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ จัดให้มีการรื่นเริง และมหรสพ มีพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน พรปีใหม่ แก่ประชาชน สมเด็จพระสังฆราชประทานพรปีใหม่ แก่พุทธศาสนิกชนและบุคคลสำคัญของบ้านเมือง เช่น ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธาน ศาลฎีกากล่าวคำปราศรัย พอถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. วัดวาอารามต่างๆ จะจัด พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้อง กลอง ระฆัง เพื่อแสดง ความยินดีต้อนรับรุ่งอรุณแห่งชีวิตของประชาชนในปีใหม่ โดยทั่วกัน ตอนเช้าวันที่ ๑ มกราคมก็จะมีการทาบุญตักบาตร สุดแท้แต่การจัด บางปีมีการจัดร่วมกัน บางปีบางท้องที่ก็ไป ทำบุญตักบาตรกันที่วัด หรือที่ใดๆ บางท่านบางครอบครัว ก็มีการทำบุญตักบาตร หรือการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านและที่สำนักงาน
 

เพลงวันปีใหม่ 

(เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)

ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

 

สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์

ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี

ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี

โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย

ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย

ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี

ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้

ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ

 

เกี่ยวกับเพลงพรปีใหม่

       เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๓ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์ เพลง“พรปีใหม่” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี ๒ วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทยในวันปีใหม่ วันอังคารที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๕

 

การทำบุญในวันขึ้นปีใหม่

     เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับไฟและธงชาติตามสถานที่สำคัญๆ ครั้นถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ก็จะมีการทำบุญเลี้ยงพระไปวัดเพื่อประกอบกิจกุศลต่าง ๆ เช่น ฟังพระธรรมเทศนา ถือศีลปฏิบัติธรรมแต่บางคนก็แค่ทำบุญตักบาตร ตอนกลางคืนบางแห่งอาจจัดเทศกาลกินเลี้ยงที่ครื้นเครงสนุกสนาน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เช้าวันที่ ๑ มกราคม จะมีการทำบุญตักบาตร ไปท่องเที่ยวหรือเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ผู้ที่เคารพนับถือ มีการมอบของขวัญและบัตรอวยพรให้แก่กัน สำหรับในต่างจังหวัด จะมีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัดอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ญาติที่ล่วงลับ กลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้านหรือจัดมหรสพมาฉลอง

 

 

 


 

ข้อมูลจาก : หนังสือ “ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย” โดย คุณกิตติ ธนิกกุล

http://www.zabzaa.com/event/newyear.htm

หมายเลขบันทึก: 416233เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2010 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท