นักพัฒนาบุคลากร


อยากเรียนรู้เร็ว...ต้องหาตัวแบบเป็น

     กำลังทำงาน ในเรื่องของการที่จะให้ความรู้หรือให้ข้อมูลกับน้อง ๆ เจ้าหน้าที่ที่มาบรรจุใหม่ที่มีอายุงานประมาณ ๑ ปี  หรือเกือบ ๆ ๑ ปี  หรือปีเศษ ๆ  ซึ่งคนชุดนี้ไม่เคยผ่านงาน  ไม่เคยผ่านการฝึกอบรม ที่ต้องใช้ความรู้อะไรบ้าง? ในการทำงานส่งเสริมการเกษตร  ซึ่งที่จังหวัดสุพรรณบุรี มีประมาณ ๑๔ คน  ก็เลยให้วิธีการโดยความคิดเราเอง เราก็บอกว่า นักส่งเสริมเนี่ย...ในอันดับแรกควรจะมีความรู้เกี่ยวกับ...การทำงานกลุ่ม...เป็นก่อน

     ฉะนั้น เริ่มต้นก็ให้เจ้าหน้าที่ในแต่ละสายที่มีการจัด DW  โดยมอบงานไว้ในเดือนที่แล้วให้ไปถามพี่ ๆ ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ถามว่า การทำงานกลุ่มให้สำเร็จนั้น  กลุ่มที่ดีควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง?  จากนั้นเจ้าหน้าที่หรือน้อง ๆ ก็คงไปถามพี่ ๆ มาแล้ว พอถึงเดือนนี้ก็ให้เขานำเสนอ  ก็ปรากฎว่า...เขาสามารถแยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ในการทำงานกับกลุ่ม  ซึ่งใช้โจทย์ถามว่า ในการทำงานกับกลุ่มให้สำเร็จนั้น...ควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง?  ก็พบว่า  มีทั้งหมด ๒๔ องค์ประกอบ หรือ ๒๔ เงื่อนไข 

     ก็ถือว่า เป็นการฝึกให้น้อง ๆ ได้ไปแกะประสบการณ์จากพี่ ๆ ว่า...ในเรื่องของกลุ่มอย่างเดียวนั้น จะมีองค์ประกอบอะไรบ้าง?  แล้วก็มอบงานต่อว่า...ใน ๑ สายเนี่ย...มีน้อง ๆ มาใหม่ออกไป ประมาณ ๖ คนบ้าง ๗ คนบ้าง  โดยเฉพาะในสายที่ ๓ มีน้อง ๆ ทั้งหมด ๘ คน ก็เลยถามต่อว่า เมื่อกี้เราพบว่า...มีกี่เงื่อนไข หรือกี่องค์ประกอบ...ก็ปรากฎว่ามี ๒๔ องค์ประกอบ  ก็ถามต่อว่า...๘ หารด้วย ๒๔ นี้มันเท่ากับเท่าไหร่...ก็เท่ากับ ๓  เพราะฉะนั้นน้องแต่ละคนก็เอาบัตรคำที่มีทั้งหมด ๒๔ ใบนี้...แบ่งคนละ ๓ ใบ  แล้วก็ไปเขียนหาคำตอบในรายละเอียดออกมา...             ยกตัวอย่างเช่น  ใครได้บัตรคำ ๆ ว่า ผู้นำ  ก็ลองไปเขียนดูว่า...ผู้นำกลุ่ม ที่จะต้องทำให้กลุ่มมีความประสบผลสำเร็จนั้น...จะต้องมีการทำอย่างไรบ้าง? โดยให้เอามานำเสนอใน DW หน้า  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในคราวหน้า ห้ามไปถามกับพี่อีก...ให้ไปถามกับกลุ่มอย่างน้อย ๓ กลุ่มว่า...ลักษณะผู้นำของกลุ่มนี้เป็นอย่างไร?  ดีหรือไม่ดีเป็นยังงัย?...โดยใช้ตัวกลุ่มเป็น Best Practices...ซึ่งคราวที่แล้วเราใช้พี่เป็น Best Practices  คราวนี้ให้ใช้กลุ่มเป็น Best Practices  แล้วก็เอามาสรุปร่วมกันในคราวหน้า 

คำอธิบาย               

     การคิดอยู่ภายใต้ทฤษฎีการเรียนรู้  การหาตัวแบบเพื่อการเรียนรู้  การสังเคราะห์ความรู้ (Knowledge Organizing)  การฝึกการนำเสนอ  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคน ๗ ๘ คน (Knowledge Sharing)  และสุดท้ายเขียนเป็น Knowledge Assets ได้  โดยมีเป้าหมาย คือ  ต้องการฝึกวิธีการหาตัวแบบ  การแกะตัวแบบ  ซึ่งได้สร้างโจทย์เพื่อให้เขารู้จักการฝึกค้นหา.

หมายเลขบันทึก: 41593เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2006 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

นี่แหละคือ การนำกระบวนการ KM ไปใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากร 

       ขอเพียง CKO รับรู้  เรียนรู้  เข้าใจ และให้โอกาส แค่นี้ก็เกินพอ 

 

ขอชื่นชมเหมาะเป็นคุณเอื้อจริง ๆ เราจะพัฒนาอีกมากหากมีคุณเอื้อเช่นนี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท