หนูรักแม่


บุตรสาวบอกรักแม่กอดแม่ และให้ผู้ป่วยคุยกับบุตรสาว “รักลูกและห่วงลูกเสมอ”

แม่  หนูรักแม่

 

                สังคมไทยเป็นสังคมที่แสดงออกด้านความรักน้อยมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ความรักในครอบครัว ถึงเราจะรัก พ่อกับแม่มากแต่เราก็ไม่เคยที่จะบอกท่านไม่เคยกอดหรือหอมแก้มท่าน บางคนพูดกับพ่อกับแม่ก็ไม่ไพเราะ  จากการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เรื่องการแสดงออกของความรักของบุคคลในครอบครัว มีผลต่อกำลังใจของผู้ป่วย   ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นผู้ป่วยที่ต้องการกำลังใจค่อนข้างมากเพื่อที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้ก้าวข้าม จากคำที่ว่า   ใกล้ตาย เพราะทุกคนคงไม่ปฏิเสธว่า กลัวตายเพราะไม่ทราบว่าเมื่อตายไปแล้วจะพบกับอะไร  การจะให้ผู้ป่วยรับรู้ว่า ความตายเป็นเรื่องธรรมชาติเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะในสังคมไทยมีน้อยรายที่จะได้รับการเตรียมความพร้อมสำหรับการตาย คือ การเจริญ มรณานุสติ    สภาพที่พบในภาวะสุดท้ายของชีวิต คือ ผู้ป่วยบางรายไม่มีลูกหลานมาเยี่ยมหรือถ้ามาเยี่ยมก็มาเยี่ยมระยะเวลาสั้นๆ มีแต่สามี มาเยี่ยมและนั่งให้กำลังใจผู้ป่วยจะเพิ่มมากขึ้นก็จะเป็นพี่น้อง จากการพูดคุยซักถามปัญหาก็พบหลายประเด็นเช่น บุตรต้องทำงานหาเงิน  แยกครอบครัวไปแล้วต้องดูแลครอบครัวซึ่งญาติทั้ง2 กลุ่มจะมีปัญหามากเพราะจะมาฟูมฟายและจะมาให้แพทย์ช่วยเหลือให้เต็มที่ในระยะสุดท้ายของชีวิตโดยก่อนหน้านี้ไม่ได้ให้การดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ดังนั้นการพูดคุยทำความเข้าใจกับญาติก่อนเพื่อให้การดูแลให้กำลังใจกับผู้ป่วยก่อนที่ อาการผู้ป่วยจะหนักนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ความไม่เข้าใจกันระหว่างบุตร และผู้ป่วยก็มีความสำคัญ
                ขอยก กรณีตัวอย่าง 2 ราย 
                รายที่หนึ่งเป็นผู้ป่วยหญิงอายุ 60 ปี เจ็บป่วยด้วยโรค หัวใจล้มเหลวและตับวายมีอาการตัวตาเหลือง บวมทั้งตัว หายใจเหนื่อยหอบ  มีญาติมาเยี่ยมประมาณ 10คน เมื่อพยาบาลเข้าไปพุดคุยด้วยพบว่าเป็นพี่ น้องของผู้ป่วยทั้งหมด เมื่อถามหาบุตรพบว่า มาและกลับไปแล้ว และ ก็มีญาติก็พูดออกมาว่า  “ไม่อยากให้มันมาเยี่ยมหลอกเพราะมันทำให้ผู้ป่วยทุกข์ใจ เรียนก็ไม่จบ แล้วก็ไปแต่งงานมีลูก”เมื่อ มีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับผู้ป่วย พบ  “ ไม่โกรธลูกหลอกเพราะตนเองก็เป็นแม่ที่ไม่ดีกินเหล้าตลอดจนทำให้ไม่สบาย ลูกเสียอีกที่คงโกรธตัวเอง ”  พยาบาลพูดคุยบุตร “บุตรสาวก็ไม่เคยโกรธแม่เลย แต่ที่ไม่ค่อยได้มาเยี่ยมเพราะต้องเลี้ยงหลาน และ ป้าๆน้าๆก็บอกว่าตัวเองทำให้แม่ไม่สบายใจจึงไม่ได้เยี่ยมแม่นานๆตัวเองก็รัก แม่มาก ”  พยาบาลจึง พาบุตรมาพบกับแม่โดยมีพยาบาลเป็นคนกลางให้บุตรสาวบอกรักแม่กอดแม่ และให้ผู้ป่วยคุยกับบุตรสาว “รักลูกและห่วงลูกเสมอ”ในระยะสุดท้ายของชีวิตญาติได้พาผู้ป่วยไปเสียชีวิตที่บ้านตามความต้องการของผู้ป่วย
                สำหรับอีกกรณี เป็นผู้ป่วยลิ้นหัวใจรั่วที่ไม่ยอมผ่าตัดจนหัวใจล้มเหลว  พบมีแต่สามีมานั่งอยู่ข้างเตียงผู้ป่วยตลอดเมื่อสอบถามก็พบว่าผู้ป่วยมีบุตรชายทั้งหมด 4 คนแต่ทำงานต่างจังหวัด พยาบาลจึงให้โทรศัพท์ติดต่อเพราะอาการของผู้ป่วยเริ่มหนัก พบว่าบุตรไม่ยอมรับโทรศัพท์ตัดสายทิ้งตลอด พยาบาลนั่งพุดคุยสามีนานขึ้นเพื่อหาสาเหตุ พบว่าสามีเป็นสามีใหม่ที่พึงแต่งงานกับผู้ป่วยเพราะสงสารผู้ป่วยอยู่คนเดียว แต่บุตรของผู้ป่วยไม่ยอมรับในพ่อเลี้ยงจึงไม่รับโทรศัพท์ พยาบาลจึงขอเบอร์โทรศัพท์ของบุตรโดยพยาบาลจะพูดกับบุตรเอง ในระยะสุดท้ายของชีวิตบุตรได้มาทันอยู่กับแม่และบอกรักแม่เพียง 1 คนจะเห็นได้ว่าการไม่พูดคุยกันทำให้ผู้ป่วยบางรายต้องเสียชีวิตไปพร้อมๆกับความทุกข์ใจ
             ดังนั้นคงต้องมีใครซักคนเป็นสื่อกลางที่จะให้บุคคลในครอบครัวได้เข้าใจกันและบอกในสิ่งที่ญาติไม่ได้คิดถึงว่านี้คือ   ความต้องการของผู้ป่วยบางครั้งผู้ป่วยก็เกรงใจบุตรหลานเพราะเห็นบุตรหลานต้องทำงานรับผิดชอบครอบครัว  ผู้ป่วยเรื้อรังบางรายที่เบื่ออาหารเพราะต้องนั่งทานอาหารคนเดียว  มีต้องการแค่ให้บุตรมาทานอาหารมื้อเย็นกับตัวเองบ้าง  หรือบางรายอยากไปวัดทำบุญบ้างเพราะตั้งแต่เจ็บป่วยไม่ได้ไปทำบุญเลยจะเดินไปเองก็ไม่ไหวเราก็คงต้องเป็นสื่อให้บุตรหลานทราบ หรือทำเสมือนยกวัดมาไว้ในโรงพยาบาล คือ  ส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางศาสนาในโรงพยาบาล  ทั้งการฟังเทศน์  ใส่บาตร ถวายสังฆทาน  และคงมีอีกหลายๆกิจกรรมที่ผู้ป่วยต้องการที่เราหรือญาติคาดไม่ถึงส่งนี้จะได้มาก็จากผู้ป่วยที่เราต้องสร้างสัมพันธภาพและมีเวลาที่จะนั่งฟังผู้ป่วยจึงจะได้สิ่งนี้ออกมา
                         สุดท้ายนี้อย่าลืมดูแลผู้ที่อยู่รอบข้างคุณด้วยนะค่ะ
 
คำสำคัญ (Tags): #palliative care#ความรัก
หมายเลขบันทึก: 415133เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2010 19:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีมากๆ คะพี่ ขอชื่นชม .. ให้กำลังใจ เพิ่มลงรูปหน่อยจะดี..นะเจ๊

  • แนวโน้ม คนไข้ของเรา จะมีลูกหลาน ดูแลน้อยลงนะครับ
  • และเมื่อถึงคราวของเรา ตอนนั้นจะมีคนหนุ่มคนสาวดูแลเราน้อยกว่านี้อีกมาก คงต้องเตรียมตัวเตรียมใจตนเองกันตั้งแต่เดี๋ยวนี้ครับ
  • บางครั้งที่เห็นญาติผู้ป่วยที่อายุ 60-70ปี หรือจะเรียกว่าเพื่อนๆวัยเดียวกันมาเยี่ยมยืน ให้กำลังใจล้อมกันรอบๆเตียงก็เป็นภาพที่น่ารักอีกภาพหนึ่ง แต่เมื่อคิดต่อ ..... คนหนุ่มคนสาวหายไปไหนหมด
  • แต่ก็มีหลายๆครั้งที่ผู้ป่วยอาการหนักเพราะมาโรงพยาบาลช้าเพราะอยู่บ้านคนเดียว
  • และก็มีหลายๆครั้งที่ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลเป็นอาทิตย์ไม่เห็นญาติมาเยี่ยม หรือถ้ามาก็มาแค่ คน 2คนจะมีมามากก็ตอนผู้ป่วยเสียชีวิตหรือ เป็นเพราะเรา ให้ความสำคัญกับพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยายน้องลงเพราะเราให้ความสำคัญกับงาน ความรับผิดชอบเรามากเกินไปหรือปล่าว
  • คราวของเรา เราคงต้องทำบุญไว้มากๆ ผลบุญคงช่วยเราได้นะค่ะ อาจารย์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท