ศาสตราใหม่สำหรับครูเพื่อศิษย์ ทักษะสำหรับศตวรรษที่ ๒๑


          ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิง เพื่อให้เป็น "ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑" ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๐ หรือศตวรรษที่ ๑๙ ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม   การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเตรียมคนออกไปเป็น knowledge worker และเป็น learning person   ไม่ว่าจะประกอบสัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเป็น learning person และเป็น knowledge worker   ชาวนาหรือเกษตรกร ก็ต้องเป็น learning person และเป็น knowledge worker    ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษที่ ๒๑ จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ หรือ learning skills

          ที่การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ จำเป็นต้องเป็นเช่นนี้ก็เพราะต้องเตรียมคนไปเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรง และพลิกผัน คาดไม่ถึง   คนยุคใหม่จึงต้องมีทักษะสูงในการเรียนรู้และปรับตัว

         ครูเพื่อศิษย์จึงต้องพัฒนาตนเองให้มี learning skills  และในขณะเดียวกันมีทักษะในการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งไม่เหมือนการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๐ หรือ ๑๙

           ทักษะของคนในศตวรรษที่ ๒๑ ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C


          3R ได้แก่ Reading, 'Riting และ 'Rithmetics
          7C ได้แก่ Critical thinking & problem solving
                        Creativity & innovation
                        Cross-cultural understanding
                        Collaboration, teamwork & leadership
                        Communications, information & media literacy
                        Computing & ICT literacy
                        Career & learning skills


          การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ คือการเรียนรู้ 3R x 7C

          ครูเพื่อศิษย์เอง ต้องเรียนรู้ 3R x 7C   เรียนรู้ตลอดชีวิต แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง   ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์ และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง

          ดู 21st Century Learning Framework ได้ที่นี่

          ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการเป็นโค้ช และเป็น facilitator ในการเรียนรู้แบบ PBL (Project-Based Learning) ของศิษย์   ผมจะเขียนรายละเอียดเรื่อง PBL ในบันทึกต่อๆ ไป

          ย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ facilitator ของการเรียนของศิษย์   ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL  คือโรงเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน   เน้นทั้งการเรียนของศิษย์ และของครู

          ครูจะต้องปรับตัวมาก  ซึ่งเป็นเรื่องยาก  จึงต้องมีตัวช่วย คือ PLC (Professional Learning Community)   ซึ่งก็คือการรวมตัวกันของครูประจำการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสกการณ์การทำหน้าที่ครูนั่นเอง   และ มสส. กำลังจะจัด PLC ไทย เรียกว่า ชร.คศ. (ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์)   หรือในภาษา KM เรียกว่า CoP (Community of Practice) ของครูเพื่อศิษย์นั่นเอง

          ชร.คศ. คือตัวช่วยการเรียนรู้ของครู   ให้การปรับตัวของครู เปลี่ยนชุดความรู้และชุดทักษะของครู ไม่เป็นเรื่องยาก แต่จะสนุกเสียด้วยซ้ำ

          เรื่อง PLC และ ชร.คศ. นี้ ผมจะเขียนโดยพิสดารในบันทึกต่อๆ ไป

 

วิจารณ์ พานิช
๑๕ ธ.ค. ๕๓
                       

หมายเลขบันทึก: 415058เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2010 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
สุรเดช เดชคุ้มวงศ์

อาจารย์ครับ ผมขออนุญาตินำบทความนี้ไปลงในfbของผม หมออนามัยพิจิตรสามารถนำไปปรับใช้ได้ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและเครือข่ายหมออนามัยครับ

  สุรเดช เดชคุ้มวงศ์

 

เรียนท่านอาจารย์หมอที่เคารพ

 กระผมก๊อปปี้ลิงค์ของอาจารย์หมอไปในเฟซบุ๊คหลายครั้งครับผม แต่ไม่ได้บอกกล่าวครับผม แม้บางทีกระผมไม่ได้แสดงความเห็น แต่ก๊อปปี๊ลิงค์ไปวางไว้ เพื่อต้องการเปิดมุมมองที่หลากหลายแก่เพื่อนๆในเฟซบุ๊ค ซึ่งจะลิงค์มาที่เว็บนี้อีกที

ด้วยความเคารพครับผม

นิสิต

 

ขอบคุณครับ เห็นด้วยกับ 3R+7C ครับ ผมจะนำไปเป็นแนวทางใช้ประโยชน์แต่จะประยุกต์เป็น L+3r+7c โดยLตัวแรกคือ Listenning เพราะโดยส่วนตัวเห็นว่าเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญมากสำหรับชีวิต แต่ทักษะนี้หายไปโดยลำดับเมื่ออัตตาใหญ่ขึ้น ตอนนี้ก็พยายามพัฒนาทักษะนี้ให้กับตัวเองและกลุ่มอยู่ครับ

อาจารย์คะ กราบขอบพระคุณที่อาจารย์หาความรู้ดี ๆ มาให้  หนูทำงานเป็นครูมานานรู้สึกมีกำลังใจมากขึ้น เพราะคิดมานานแล้วว่าการเป็นครูเพื่อศิษย์ที่แท้จริง ครูต้องพัฒนาทั้งจิตใจ และปัญญาตนเองอยู่เสมอด้วย  ตอนนี้อยากเรียนด้านจิตตปัญญาศึกษามาก ๆ แต่ไม่มีโอกาส

ผมซื้อหนังสือวิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ ของอาจารย์มาอ่านแล้วครับ ผมเหลืออายุราชการอีก ๘ ปี คิดว่าคงได้ร่วมมือกับอาจารย์เรื่องการศึกษาได้บ้างครับ

กราบขอบพระคุณที่ท่านได้ให้เป็นแนวทางตั้งนานมาแล้ว แต่ด้วยภาระในงานมากมายจึงไม่ลงถึงแก่นมากนัก แต่วันนี้ได้เห็นว่าเริ่มมีหน่วยงานทางการศึกษานำมาจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้ที่เพิ่มตาราง "ทักษะที่จำเป็น 3r 7c อย่างแท้จริง จะขับเคลื่อนสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ค่ะ เอกสารหลักสูตรที่ ม. ราชภัฎสวนดุสิตจัดทำขึ้น ดีมากๆค่ะ โดยเฉพาะ บทที่ 2 ของ ดร. ฉัตรแก้ว เภาวิเศษ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท