อเล็กซานเดอร์มหาราช The Great king of Macedonian ตอนที่ 2 อเล็กซานเดอร์มหาราชกับดวงชะตาแห่งมหาบุรุษ


การที่ใครซักคนจะสามารถฝากชื่อของเค้าในหน้าประวัติศาสตร์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายดายเลยแม้แต่น้อย นอกเหนือจากการมี สติปัญญา พรสวรรค์ บุคลิกภาพความเป็นผู้นำอันโดดเด่นแล้ว โชคชะตาและจังหวะชีวิตที่ฟ้าประทานมาให้เป็นแรงผลักดันเค้าให้ก้าวสู่ยิ่งใหญ่ก็เป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยไม่น้อย อเล็กซานเดอร์มหาราช เองก็เป็นบุคคลผู้มีลีลาและวีถีการดำเนินชีวิตที่ไม่ธรรมดาเลย เมื่อมองดูจากประวัติความเป็นมาของพระองค์

อเล็กซานเดอร์มหาราชกับดวงชะตาแห่งมหาบุรุษ

 

การที่ใครซักคนจะสามารถฝากชื่อของเค้าในหน้าประวัติศาสตร์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายดายเลยแม้แต่น้อย  นอกเหนือจากการมี สติปัญญา พรสวรรค์ บุคลิกภาพความเป็นผู้นำอันโดดเด่นแล้ว  โชคชะตาและจังหวะชีวิตที่ฟ้าประทานมาให้เป็นแรงผลักดันเค้าให้ก้าวสู่ยิ่งใหญ่ก็เป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยไม่น้อย  อเล็กซานเดอร์มหาราช เองก็เป็นบุคคลผู้มีลีลาและวีถีการดำเนินชีวิตที่ไม่ธรรมดาเลย  เมื่อมองดูจากประวัติความเป็นมาของพระองค์  อเล็กซานเดอร์ถือกำเนิดขึ้นประมาณ 356 ปีก่อนคริสตกาล ที่เมืองเพลลา (Pella) เมืองหลวงของอาณาจักรมาซีโดเนียน  เป็นโอรสของกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งมาซีโดเนีย กับพระนางโอลิมเพียส (Olympias) ธิดาของกษัตริย์แห่งนครรัฐเอพิรุส (Epirus)  ชายาคนที่ 4  โดยเชื้อสายของฝ่ายบิดาในราชวงศ์อากีต (Argead dynasty)  ถือว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากเฮราคลีสผ่านทาง กษัตริย์คารานุสแห่งมาซีโดเนีย  ส่วนฝั่งมารดา พระนางโอลิมเพียส นั้นเค้าถือว่าตนสืบเชื้อสายมาจากนีโอโทลีมุส บุตรชายของอคิลลีส  จึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจเลยแม้แต่น้อยที่อเล็กซานเดอร์จะนิยมชมชอบมหากาพย์อีเลียตของโฮเมอร์มากเป็นพิเศษ  ถึงขนาดได้รับวรรณกรรมเรื่องนี้ฉบับคัดลอกมาจากพระอาจารย์อริสโตเติลและพกพาออกศึกสู้รบด้วยทุกครั้ง   โดยแนวความคิดของวีรชนอคิลลิส  ผู้ได้รับการทำนายทางเลือกในอนาคตไว้สองทาง คือ มีชีวิตอยู่อย่างยืนยาวในแบบปุถุชนธรรมดา กับต้องรบราในสงครามแต่อายุขัยสั้นแลกกับชื่อเสียงอันยิ่งใหญ่ (จากคำพยากรณ์ว่า เขาจะสิ้นชีวิตหากสังหารแม่ทัพทรอย คือ เฮกเตอร์)  แน่นนอนเฮราคลีสเลือกหนทางที่สองเพื่อฝากชื่อของตนให้ได้รับการกล่าวขานตราบนานเท่านานเฉกเช่นวีรบุรุษ  นับเป็นแรงบันดาลใจสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตของอเล็กซานเดอร์  ผู้ออกรบราสู้ฟันทำสงครามขยายอาณาจักรแต่ครั้งเป็นเพียงเจ้าชาย  ภายหลังจากพระองค์ได้ยอดนักปรัชญาแห่งยุคอย่างอริสโตเติล  พระอาจารย์คนสำคัญสั่งสอนสรรพวิชาความรู้ต่างๆ  (ซึ่งผมจะขอกล่าวถึงรายละเอียดในบทต่อไป)  ช่วยหล่อหลอมให้พระองค์กล้าแกร่งและพรั่งพร้อมด้วยสติปัญญาความรู้จนยากจะหาใครในยุคนั้นต่อกรได้  ด้วยวัยเพียง 16 ปี บทบาททางด้านการรณยุทธ์ของพระองค์ก็เริ่มต้นขึ้นนับจากเป็นต้นมา  อันเป็นการปูพรมสู่ฐานแห่งอำนาจของพระองค์  กองทัพของกษัตริย์ฟิลิปที่  2 ได้พระโอรสมาช่วยก็ยิ่งทวีแสนยานุภาพกลืนกินแว่นแคว้นกรีกต่างๆ ออกไปอย่างรวดเร็ว  บรรดาเหล่าเสนาและนายพล ผู้ดำรงตำแหน่งใหญ่โตภายในอาณาจักรมาซีโดเนียต่างหมายมั่นให้พระองค์สืบทอดบัลลังก์ต่อจากพระบิดา  เพื่อความรุ่งโรจน์แห่งอาณาจักรมาซีโดเนียอันเกรียงไกรในภายภาคหน้า

 

File:Triumphant Achilles in Achilleion levelled.jpg

ภาพ วีรบุรุษ อคิลลีส จากมหากาพย์อีเลียตของโฮเมอร์

แรงบันดาลใจสำคัญของอเล็กซานเดอร์มหาราชต่อความฝันพิชิตโลก

 

ประกอบกับช่วงขณะนั้นอาณาจักรมาซีโดเนียของพระองค์กำลังรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ  แตกต่างกับนครรัฐกรีกอื่นๆ เช่น สปาร์ต้าและเอเธนส์ที่ประสบกับความอ่อนแอ  เนื่องจากเกิดสงครามระหว่างนครรัฐด้วยกันเองเป็นเวลานานกว่าศตวรรษ  นครรัฐมาซีโดเนียที่แยกตัวโดดเดียวมาตลอด  ค่อยๆ เสริมสร้างความเข้มแข็งจนเริ่มมีบทบาทเหนือแผ่นดินกรีก  นับว่าเป็นโชคดีของอเล็กซานเดอร์เนื่องจากกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งมาซีโดเนียมีความประสงค์ที่แพร่ขยายอำนาจของอาณาจักรมาซีโดเนียเหนือแผ่นดินกรีก  เพื่อเตรียมทำสงครามกับจักรวรรดิเปอร์เซีย  ผู้ถือโอกาสเข้ามารุกรานชนชาติกรีกที่กำลังอ่อนแออยู่บ่อยครั้ง  พระองค์ประกาศทำสงครามกับนครรัฐต่างๆ เช่น ทีบส์ (Thebes) เอเธนส์ (Athens) และโครินธ์ (Corinth)  และต่อมาอเล็กซานเดอร์มหาราชจะมีบทบาทอย่างมาก  ในการช่วยเหลือพระบิดาทำสงครามกับบรรดานครรัฐเหล่านี้  กษัตริย์ฟิลิปที่ 2 ใช้ทั้งวิธีการเจริญสัมพันธ์ทางการทูตและการทำสงครามขยายอำนาจ  จนทำให้ดินแดนกรีกเกือบทั้งหมดตกลงยอมสยบต่อพระองค์  และยกให้พระองค์เป็นแม่ทัพนำกองทัพชาวกรีกต่อต้านจักรวรรดิเปอร์เซีย  ภายใต้สมาพันธ์เฮเลนิสติกที่ตกลงทำสัญญาลงนามกันที่นครรัฐโครินธ์  แต่เสียดายที่พระองค์ไม่อาจนำกำลังบุกเข้าเอเชียไมเนอร์ต่อกรกับจักรวรรดิเปอร์เซียสมดังใจหวัง  กลับถูกลอบสังหารลงเสียก่อนด้วยน้ำมือเพาซานิอัส องครักษ์คนสนิท (บางตำรากล่าวว่า องครักษ์ผู้นี้เป็นคนรักชายของฟิลิปที่ 2 ผู้กระทำด้วยแรงริษยา  ชายเหนือชายที่สยบได้แม้แต่ชายด้วยกัน จำต้องสิ้นชื่อด้วยมือยอดชายเสียเองซินะ)  ในปี 336 ก่อน อเล็กซานเดอร์ ด้วยวัยเพียง 20 ปี จึงได้รับการตำแหน่งสืบบัลลังก์แห่งมาซีโดเนียต่อ  ภายใต้การสนับสนุนจากอดีตเหล่านายคนสนิทของพิลิปที่ 2  พร้อมรับเอากองทัพชาวมาซีดอนอันเข้มแข็งที่พระบิดาสร้างไว้  และมีประสบการณ์ทางยุทธภูมิผ่านสงครามมาอย่างโชกโชน  รวมถึงกองทหารฟารังค์ (ทหารหอกยาว ซึ่งใช้เป็นกองทัพหน้าบุกทะลวง) อันมีระเบียบ เคร่งครัดในวินัยมาสานฝันการพิชิตโลกของพระองค์

 File:Jupiter-and-olympia-1178.jpg

ภาพ พระนางโอลิมพิอัส กับ เทพเจ้า เซอุส ที่จำแลงกายลงมาหานาง

อันส่งเสริมภาพลักษณ์ความเป็นสมมุติเทพของอเล็กซานเดอร์มหาราช

 

*ภาพนี้ถูกวาดโดยจิตรกร ชาวอิตาเลียน นาม  Giulio Romano ที่ให้เวลาวาดถึง 8 ปี (ระหว่าง ค.ศ. 1526-1534)

 

สถานะความเป็นเทพสมมุติของอเล็กซานเดอร์อันได้รับการล่ำลือกันอย่างหนาหูในหน้าประวัติศาสตร์  ยิ่งช่วยเสริมทรงภาพลักษณ์ของพระองค์ให้อยู่เหนือเกินมนุษย์เดินดินธรรมดา  ด้วยเหตุเริ่มแรกมาจากพระนางโอลิมเพียส  มารดาของพระองค์กล่าวอ้างว่า บิดาที่แท้จริงของอเล็กซานเดอร์แท้จริง คือ เทพเซอุส (Zeus) ผู้เป็นใหญ่แห่งเขาโอลิมปัส  ที่ได้จำแห่งแลงกายเป็นงูเหลียมมาเข้าหานาง  แต่ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นไม่มีการกล่าวถึงแต่ประการใด  ในเรื่องที่อเล็กซานเดอร์ทรงเชื่อตามที่พระมารดากล่าวอ้างหรือไม่ (เห็นว่าช่วงหลังๆ พระนางสนหันเหเข้าหาลัทธิและประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับงูหลายครั้ง  ด้วยเหตุมาจากความสัมพันธ์อันย้ำแยกของพระนางกับพระสวามี  กษัตริย์ฟิลิปที่ 2 ผู้มัวแต่คร่ำเคร่งกับการสงคามขยายอำนาจ)  นอกจากนี้ภายหลังเมื่อ อเล็กซานเดอร์สามารถยกทัพเข้าครอบครองจักรวรรดิเปอร์เซีย  และทำการเคลื่อนเข้าสู่อียิปต์อันเคยตกเป็นอยู่ใต้การข่มขี่ของจักรวรรดิเปอร์เซียมายาวนาน  ชาวอียิปต์มองอเล็กซานเดอร์เหมือนดั่งวีรบุรุษมาปลดปล่อยพวกตน พระองค์ประกาศยกเลิกกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ผู้ปกครองชาวเปอร์เซียทำเอาไว้อย่างเอารัดเอาเปรียบโดยเฉพาะภาษีและส่วย  พวกเค้าจึงพร้อมใจยอมอยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์  รวมถึงมอบราชบัลลังก์แห่งดินแดนอียิปต์ให้แก่อเล็กซานเดอร์รับตำแหน่งฟาโรห์  (นับเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่เคยขึ้นครองบัลลังก์แห่งอียิปต์  ภายหลังจากตำแหน่งนี้ถูกยกเลิกในสมัยถูกจักรวรรดิเปอร์เซียปกครอง โดยเริ่มต้นขึ้นใหม่มีการแต่งตั้งอีกครั้งนับแต่สมัยของพระองค์)  และยกย่องพระองค์เป็นดั่งภาคอวตารของเทพอามอน (Amon) หรือรู้จักกันในอีกชื่อว่า อามอน เซอุส  ตามความเชื่อในขณะนั้นถือว่าเป็นเทพเจ้าองค์เดียวกับเทพเซอุส (ต่อมาภายหลังเกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอียิปต์ กรีก และมาซีโดเนียน กลายเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีความเจริญสูงสุดแห่งหนึ่งของโลก  โดยมีเมืองท่าอเล็กซานเดรียเป็นศูนย์กลาง)  ขวัญกำลังใจที่เหล่าทหารมีต่อพระองค์จึงมีมากล้นตามมาด้วย  อย่างที่ไม่เคยมียุคสมัยใดที่ชาวกรีกจะแสดงความมั่นใจต่อการนำกองทัพของแม่ทัพได้เท่ากับยุคสมัยของอเล็กซานเดอร์  การศึกแต่ละครั้งที่พระองค์ออกรบก็ไม่เคยพ่ายแพ้มาแม้แต่ครั้งเดียว  ตลอดชีวิตบนหลังม้ากว่า 12 ปีทัพของอเล็กซานเดอร์ยาตราทัพผ่านไปที่ใดมีแต่ชัยชนะเสมอมา  จนพระองค์ถูกกล่าวขานจากฮันนิบาลแห่งคาร์เทจ (ยอดจอมทัพในยุคต่อมาของกรีก) ให้เป็นแม่ทัพผู้เก่งกาจเท่าที่โลกเคยประสพพบเจอ  (ถ้าพระองค์มีชีวิตยืนนานกว่านี้และได้ออกทำสงครามไปทางยุโรปตะวันตกแล้วละก็  ผมว่าหน้าประวัติศาสตร์ของชาติมหาอำนาจหลายๆ ประเทศคงถึงการพลิกผันเป็นแน่แท้  อาจรวมศาสนาใหญ่ๆ ของโลกสามศาสนาไปด้วยเลยเอา)

 

File:Batalla de Gaugamela (M.A.N. Inv.1980-60-1) 03.jpg

ภาพ อเล็กซานเดอร์มหาราชกับทหารของพระองค์

ขณะเผชิญหน้ากับทหารของจักรเปอร์เซีย  ณ สมรภูมิ Gaugamela

 

ในส่วนนี้ผมจะขอยกตัวอย่างสองวีรกรรมสำคัญของอเล็กซานเดอร์ ที่แสดงให้เห็นถึงความฉลาดเฉลียวและพระปรีชาสามารถของพระองค์ด้วย เนื่องจากเหตุการณ์เหล่านี้ถือเป็นสิ่งช่วยเสริมสร้างดวงชะตาแห่งผู้พิชิตของอเล็กซานเดอร์ให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น คือ  เหตุการณ์ครั้งอเล็กซานเดอร์อยู่ในวัย 13 ปี  ได้มีพ่อค้าจากเมืองเทสสาลีน่านำเอาม้าป่ามาขายแก่กษัตริย์ฟิลิปที่ 2 ให้ราคา 13 ทาเลนท์ (เทียบกับค่าเงินปัจจุบันจะสามารถแลกเป็นทองค้ำได้ถึง 27 กิโลกรัม มากโขอยู่แฮะ)  เมื่อหัวหน้านายพล นายกองเหล่าทหารของฟิลิปที่ 2 ตรวจดูลักษณะของม้าป่าตัวนี้แล้ว  กลับไม่สามารถปรามพยศของมันลงได้  แต่เมื่อเจ้าชายน้อยนามอเล็กซานเดอร์ขอลองทดสอบดูบ้าง  โดยพระองค์สังเกตเห็นว่ามันตื่นผู้คนและหวาดกลัวเงาของตนเอง  อเล็กซานเดอร์เชิดหน้าม้าป่าหันไปทางดวงอาทิตย์  และฝึกขี่มันโชว์รอบลานกว้างให้พระบิดาและเหล่าทหารประจักษ์ (หน้าแตกกันเลยซิเนี่ย หุ หุ หุ)  ฟิลิปที่ 2 เห็นเข้าถึงกับปลื้มปิติยินดีในความกล้าหาญและความทะเยอทะยานของบุตรชาย   แล้วตรัสว่า “ลูกข้า เจ้าจะต้องหาอาณาจักรที่ใหญ่พอสำหรับความทะเยอทะยานของเจ้า มาซิดอนเล็กเกินไปสำหรับเจ้าแล้ว"  พระองค์จึงยอมซื้อม้าป่าตัวนี้ให้แก่อเล็กซานเดอร์  อเล็กซานเดอร์ตั้งชื่อม้าตัวนั้นว่า บูซีฟาลัส (Bucephalus)  หมายถึง “หัววัว”   บูซีฟาลัส กลายเป็นม้าคู่กายติดตามพระองค์ตรากตรำทำศึกร่วมกันตลอดการเดินทางอันยาวไกล  จนถึงอินเดียสหายยามยากของพระองค์จำต้องละสังขารในศึกสุดท้ายของอเล็กซานเดอร์กับพระเจ้าเปารวะ (Porus) ผู้มีสมญาว่า “สิงห์แห่งปัญจาบ” (เค้าว่าการศึกครั้งสุดท้ายของม้าบูซีฟาลัสนี้คู่ปรับที่ต้องเผชิญหน้าด้วย คือ ช้างครับ  วีรกรรมของยอดอาชาจริงๆ แฮะ)

 

 File:The taming of Bucephalus by Andre Castaigne (1898-1899).jpg

ภาพ อเล็กซานเดอร์มหาราช ขณะเยาว์วัยกับม้าป่า บุซีฟาลัส ระหว่างทำการสยบมันให้เชื่อง

 

อีกเหตุการณ์เกิดขึ้นครั้งอเล็กซานเดอร์ยกไพร่พลเข้าบุกยึดครองดินแดนเปอร์เซียของพระเจ้าดาริอุสที่ 3  ในระหว่างการบุกยึดครองนี้พระองค์สามารถแก้ปม กอร์ดียน (The Gordian Knot) สร้างตำนานความมหัศจรรย์แก่สายตาชาวโลก  ปม กอร์เดียน เป็นปมเชือกเสี่ยงท้ายตามความเชือกของคนท้องถิ่นโบราณ (เจ้าของความเชื่อเป็นชาว Phrygians ซึ่งตอนนี้อาศัยอยู่ในตอนกลางของประเทศตุรกี)  ตามการพยากรณ์ที่ว่าผู้ใดสามารถคลาดปมเชือกนี้ออกได้คนผู้นั้นจะกลายเป็นยอดกษัตริย์  ผู้พิชิตครองครอบเอเชียทั้งทวีป  ที่ผ่านมานั้นได้มีหลายคนมาพยายามคลายปมที่ผูกเอาไว้  จนยอดกษัตริย์แห่งมาซีโดเนียนกรีฑาทัพมาเมืองกอร์ดิอุส (Gordium)  ณ วัดศักดิ์สิทธิ์ที่อดีตกษัตริย์เคยผูกปมทิ้งไว้กับเสาด้านนอกวัดแห่งนี้  พระองค์ได้ลองคลายปมเชือกนี้อยู่พักหนึ่ง  แต่พยายามอย่างไรก็ไม่สามารถคลายกับความเหนียวแน่นทนทานของมัน   พระองค์เลยชักดาบฟันลงบนปนเชือกจนขาดสะบั่นจากกัน  พร้อมประกาศความสำเร็จของพระองค์  หลังจากนั้นปม กอร์ดิอุสได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของปัญหาที่ต้องแก้ไขด้วยวิธีที่รวดเร็วและไม่เน้นกรอบประเพณีนัก (คนหลายที่เคยมาทดสอบคงช็อกกันเป็นแถว  พวกตรู...พยายามแทบตายสุดท้าย มีคนออกมาแก้ได้ง่ายๆ แบบแทบพลิกฝามือ)

  

File:Alexander cuts the Gordian Knot.jpg

ภาพอเล็กซานเดอร์มหาราช ขณะตัด ปม กอร์เดียน แสดงให้เห็นถึงไหวพริบของพระองค์

 

*ภาพนี้วาดโดยจิตกร ชื่อ Jean-Simon Berthélemy

 

ด้วยลีลาและจังหวะชีวิตอันกล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้  อเล็กซานเดอร์มหาราชถือเป็นชายหนุ่ม ผู้เกิดมาภายใต้ดวงดาราแห่งมหาบุรุษโดยแท้จริง  แรกเริ่มจากการเพียงแค่เจ้าชายแห่งนครรัฐแห่งนี้ของกรีกสู่จอมทัพผู้อาจหาญพิชิตโลก  ภาพลักษณ์ของพระองค์ก็ค่อยๆ ถูกเสริมสร้างเติบแต่งภายใต้ทฤษฎีในโลกยุคโบราณที่นักประวัติศาสตร์เรียกกันว่า ทฤษฎีมหาบุรุษ (great man theory)  ทุกการกระทำของอเล็กซานเดอร์มหาราชดูราวกับมีเส้นด้ายแห่งโชคชะตาคอยเรียงร้อยถักถออยู่เบื้องหลัง  แต่ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่มาจากความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อต่อความฝัน  บวกกับความฉลาดล่ำทันเกมสามารถพลิกแพลงสถานการณ์ต่างๆ ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองอย่างน่าอัศจรรย์   พระองค์จึงก้าวเดินไปข้างหน้าสู่อนาคตอันเรืองรองอยู่เสมอ  ทำให้พระองค์มีอิทธิพลอย่างยิ่งยวดต่อเหล่าทหารภายใต้การบังคับบัญชา  ผู้น้อมยอมร่วมติดตามไปกับการเดินทางอันยาวไกล ที่แม้ดูจะไร้จุดหมายแต่กลับเป็นความใฝ่ฝันอันยิ่งใหญ่  ซึ่งเป็นต้นแบบของเหล่าจอมทัพในโลกสมัยต่อๆ มา  หากทุกสิ่งก็ล้วนอยู่ในครรลองแห่งสัจธรรมของโลก  มนุษย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตอันแสนเล็กกระจ๋อยหรอย  หากเทียบเคียงกับโลกอันแสนกว้างใหญ่แล้ว  เราก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ที่ประกอบกันจนกลายเป็นโลกเท่านั้น  อเล็กซานเดอร์ก็เช่นด้วยกับเหล่ายอดบุรุษในหน้าประวัติศาสตร์หลายคน เช่น เจงกีส ข่านแห่งมองโกล  จูเจียต ซีซาร์แห่งโรม นโปเลียน โปนาปาร์ทแห่งฝรั่งเศส  ยอดคนเหล่านี้ต่างก็หมายมั่นจะไล่ตามความปรารถนาในการรวมโลกให้เป็นหนึ่ง  แต่สุดท้ายแล้วกลับไม่เคยมีผู้ใดสามารถบรรลุอุดมการณ์นี้เลยแม้ซักราย

 

 

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

 

ผมเอาตอนต่อของบทความลงให้แล้วครับ ทุกท่าน  ตอนแล้วจะเอามาต่อทันทีหลังจากลงบทนำเสร็จ  แต่อยากจะลองดูกระแสหน่อยว่ามีคนสนใจบ้างไหม รู้สึกผิดหวังหน่อยๆ เหมือนกัน  หรือว่าเป็นเพราะบทนำมันสั้นไปและก็ไม่ค่อยมีการวิพากษ์เกี่ยวกับตัวอเล็กซานเดอร์เท่าไร  แต่นับว่าจากตอนนี้ไปจะมีเนื้อหามากขึ้นและกล่าวถึงมุมที่มีต่อพระองค์กันแล้วครับ

แม้จะไม่ค่อยมใครใคร่มาสนใส่ใจกันนักกับบทความของผม  แต่กระนั้น ผมก็ขอเอามาลงละ  แม้ในมุมของท่านๆ จะมองว่าเป็นเพียงบทความดาษดื่นหาอ่านได้ทั่วไป  แต่สำหรับกระผมแล้วยากจะให้มันเป็นก้าวย่างเล็กๆ สู่เส้นทางความใฝ่ฝันของชายคนหนึ่ง

บทความชุดนี้ยังไม่จบชุดหรอกน่ะ (เพราะท่าทางจะยังอีกยาวไกลกว่าจะเรียบเรียงเนื้อความ และมีเวลาทำต่อจน)  บทต่อไปผมจะกล่าวถึง ชีวิตวัยเยาว์ของอเล็กซานเดอร์มหาราชกันครับ แต่อาจะมาช้าซะหน่อย (คงประมาณ2อาทิตย์ได้)  เนื่องจากช่วงนี้ผมเริ่มจะยุ่งจริงๆ แล้ว  และงานก็เข้ามาจนแทบล้นโต๊ะแน๊ะ  แต่ไม่มีทิ้งไปเฉยๆ แน่นอนคับ

 

By   Mirror

 

หมายเลขบันทึก: 414692เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2010 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าเสียดายที่แม้อเล็กซานเดอร์ จะเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่

หากแม้เพียงเขายังได้ศึกษากับอริสโตเติลต่อจากเดิมอีกหลายปี

เขาย่อมจะได้รับการปลูกฝังความเป็นปราชญ์

อันเป็นแนวคิดที่อริสโตเติลรับสืบทอดจากโสเครติสผ่านมาทางอาจารย์เพลโต

อันมุ่งหมายให้ยอดกษัตริย์มีความเป็นปราชญ์

อันจะยังความมีพลังอำนาจ ที่ไม่เพียงอยู่เหนือคนทั่วไป

หากแต่จะสามารถนั่งอยู่ในใจของผู้คนได้อีกด้วย...

รออ่านตอนต่อไปอยู่นะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท