1ปีครึ่งกับการเรียน family medicine ในระบบ in-service training ตอนที่2


รุ่นจ้างเรียน

ตอนที่1 มีคุณครูหยุยเข้ามาแสดงความเห็นของผมด้วย ซึ่งผมรู้สึกปลื้มใจและดีใจมากครับ ^_^

ในตอนที่แล้วผมเล่าเรื่องการเรียนแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว แบบ in-service training ซึ่งเป็นโครงการร่วมของกระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยแหล่งเงินมาจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติครับ

โครงการนี้มีข้อท้วงติงจากแพทย์สาขาอื่น และได้ชื่อแบบไม่เป็นทางการต่อมาว่า "รุ่นจ้างเรียน"!!! 

ที่ได้ฉายา"รุ่นจ้างเรียน"เพราะ ในระหว่างศึกษาผู้เรียนจะได้รับเงินสนับสนุนการศึกษาในปีที่ 1 เดือนละ 10,000 บาท ในปีที่ 2 เดือนละ 20,000 บาท และในปีที่ 3 เดือนละ 30,000 บาท ในชั้นปีที่ 3 อาจมีการศึกษาดูงาน หรือไปปฏิบัติในต่างประเทศ (ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนออกมาครับ) โดยหลังจากจบแล้วต้องทำงานในพื้นที่ 3 ปี หากลาออกก่อนก็ให้ชดใช้ตามที่ได้รับไป 

การได้เงินสนับสนุนรูปแบบนี้ไม่เคยมีมาก่อนในการศึกษาต่อของแพทย์ครับ จึงได้รับข้อท้วงติง ข้อกังวลจากแพทย์หลายๆสาขา จนราชวิทยาลัยต้องทำหนังสือชี้แจงขึ้นมา

ปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนในรุ่นแรกจึงมีเพียง 11 คน(เดิม13ลาออก2) ทั้งที่งบประมาณพร้อม 

แต่จริงๆปัจจัยหลักมาจาก จำนวนสถาบันหลัก และสถาบันสมทบครับ

ในปีแรกของโครงการในความเห็นส่วนตัวของผมมองว่า มีเวลาน้อยเกินไปในการเตรียมตัว เพราะโครงการนี้ออกหนังสือเวียนให้โรงพยาบาลชุมชนสมัครเป็นสถาบันสมทบภายในระยะเวลาที่สั้นเกินไป ซึ่งหากโรงพยาบาลไหนไม่ศึกษาโครงการให้ดีและยังไม่มีตัวผู้เรียน ก็อาจจะไม่ได้สนใจที่อยากจะเป็นโรงพยาบาลสมทบ จึงไม่สมัครไป 

ผมเองเห็นหนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการ ขณะเซ็นหนังสือแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลเดิม (โรงพยาบาลไพศาลี อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์) เพราะท่านเดินทางไปราชการ ผมจึงโทรศัพท์ไปหาพี่ผู้อำนวยการที่ผมจะย้ายไป (โรงพยาบาลชุมแสง อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์) เพื่อขอให้พี่เค้าสมัครเป็นโรงพยาบาลสมทบ ซึ่งหลังจากที่พี่ผอ.ชุมแสง ได้ศึกษารายละเอียดแล้วจึงส่งใบสมัครเข้าร่วมเป็นโรงพยาบาลสมทบ

หลักเกณฑ์เบื้องต้นของคุณสมบัติของโรงพยาบาลที่จะสมัครเป็นโรงพยาบาลสมทบ เช่น ต้องมีแพทย์อนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตรเวชศาสตร์ครอบครัว ที่เป็นแพทย์ประจำอย่างน้อย 1 ท่าน (ต่อผู้เรียน 1 ท่าน) ซึ่งจะมีหน้าที่เป็นแพทย์พี่เลี้ยงให้กับผู้เรียน โรงพยาบาลสมทบจะต้องไม่ห่างจากโรงพยาบาลหลักมากเกินไป ผู้เรียนสะดวกเข้าไปเรียนที่สถาบันหลักได้...แต่จริงๆแล้วรุ่นแรกก็อาจไม่ตรงมากนักครับ

หลังจากส่งใบสมัครไปแล้ว ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวจะส่งทีมเข้ามาเพื่อประเมินศักยภาพของโรงพยาบาลในการเป็นโรงพยาบาลสมทบและโรงพยาบาลหลัก

จากมีผู้สมัคร 80 กว่าท่าน พอตัดเรื่องคุณสมบัติของโรงพยาบาลสมทบ จึงเหลือเพียง 30 กว่าท่าน ส่วนสาหตุที่เหลือสอบสัมภาษณ์เพียง 20 กว่าท่านผมไม่แน่ใจถูกตัดไปอีกด้วยเหตุใด แต่หากคาดเดาก็น่าจะมาจาก การประเมินของราชวิทยาลัยของการเป็นสถาบันสมทบ

ตอนต่อไปจะเล่าว่าทำไมเหลือ 11 คน แล้วกระจายไปที่ไหนบ้าง บรรกาศการสัมภาษณ์ และเหตุผลของการเรียนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวรวบรวมจากการพูดคุยในเพื่อนๆรุ่นแรกครับ ^_^ 

หมายเลขบันทึก: 413986เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2010 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท