วัดอุดมคงคาคีรีเขต


                หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต  ตำบลนางาม

                            อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

 

 หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคิรีเขต

วัดอุดมคงคาคีรีเขต
ตั้งอยู่ที่บ้านดอนแก่นเท่า ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี เป็นวัดป่าของหลวงปู่ผางซึ่งเคยเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ม ีชื่อเสียงเป็นที่เคารพ สักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้ว แต่มีอนุสรณ์สถานที่ บรรจุอัฐิของ หลวงปู่ผางอยู่ในบริเวณวัด วัดนี้ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามีต้นไม้ป่าขึ้นอยู่ร่มรื่น เป็นวัดที่เน้นการปฏิบัติ วิปัสสนา

 

การเดินทาง

ไปตามเส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) ประมาณ 14 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าเส้นทางสายบ้านทุ่ม-มัญจาคีรี (ทางหลวงหมายเลข 2062) อีกประมาณ 44 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าเส้นทางสายมัญจาคีรี-ชัยภูมิ (ทางหลวงหมายเลข 229) ประมาณ 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าวัดอีก 12 กิโลเมตร

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

                หลวงพ่อผาง  เป็นหนึ่งในศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต  ที่บรรดาศิษย์และผู้เลื่อมใส  และวัดวาอารามต่าง ๆ ขอความเมตตาจากท่านสร้างวัตถุมงคลต่าง ๆ เอาไว้ไม่ต่ำกว่า 50 รุ่น  เหรียญที่ท่านได้สร้างขึ้นและได้รับความนิยมมากที่สุด คือ เหรียญรุ่นแรก ปี 2512  มีด้วยกันหลายพิมพ์ หลายบล็อค

 

พระอริยเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของเหล่าพวกกายทิพย์

พระเดชพระคุณหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต ท่านเป็นที่พึ่งและเคารพของเหล่ากายทิพย์ มีภูตผี พยานาค เทวบุตร เทวดา เป็นต้น เหล่าเทวดามักเรียกชื่อท่านว่า “หลวงพ่อน้อยสัตย์ซื่อ” เพราะเทวดาเอาเหล็กไหลของศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมาวางไว้ภายในถ้ำน้ำหนาวที่ ท่านพักภาวนาอยู่ ท่านไม่เคยจะสนใจจะหยิบฉวยเอาเลย

ท่านเป็นศิษย์สายกรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่นภูริทตฺโต ที่สำคัญยิ่งรูปหนึ่ง หลวงตามหาบัวได้กล่าวยกย่องว่า “ท่านเป็นพระประเภทเพชรน้ำหนึ่ง

ท่านอุปสมบทถึง ๓ ครั้ง ครั้งสุดท้ายได้ถวายตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นที่วัดบ้านหนองผือ จังหวัดสกลนคร ท่านพระอาจารย์มั่นได้ให้โอวาทว่า “ให้เที่ยวไปองค์เดียว อยู่คนเดียว และตายคนเดียว

ท่านมักมีความรู้แปลกๆ พิสดาร สามารถรู้ภาษาสัตว์ได้ ไม่ว่าสัตว์บกหรือสัตว์น้ำท่านสามารถสั่งสอนให้อยู่ในโอวาทได้อย่างน่า อัศจรรย์ โดยเฉพาะจระเข้กับงู มีความผูกพันใกล้ชิดกับท่านเป็นพิเศษ ท่านสามารถเรียกให้ไปมาได้ วันที่ท่านนิพพานจระเข้ที่ท่านเลี้ยงร้องไห้เสียงดังถึง ๓ วัน ท่านจึงมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องลึกลับที่ปุถุชนสัมผัสและเข้าใจได้ยาก

ท่านเป็นพระพูดน้อยแต่ปฏิบัติมาก ธรรมะที่ท่านแสดงใจความสั้นๆ แต่แหลมคมเช่นว่า“ชีวิตของเรามีเพียงบาตรใบเดียวก็อยู่ได้ และเพียงพอแล้ว” ท่านทรงจำภาษิตอีสานเก่าๆที่เป็นคติธรรม เตือนใจ เช่น “มีซือบ่ให้ปรากฎ มียศบ่ให้ลือชา มีตำราบ่ให้เฮียนยาก

สิ่งใดๆก็ตาม ถ้าท่านได้ตั้งสัจจะว่าจะทำอะไรแล้ว ท่านจะต้องทำได้จริงๆ ถึงแม้นสิ่งนั้นๆจะยากลำบากสักเพียงใดก็ตาม ท่านจะพยายามทำให้สำเร็จจนได้

สัจจะบารมี คือคุณธรรมอันเลิศที่ท่านหลวงปู่ผางถือปฏิบัติ และเป็นปฏิปทาที่ควรถือเอาเป็นแบบอย่าง

หลวงปู่คำดี ปภาโส พระอริยเจ้าแห่งวัดถ้ำผาปู่ จังหวัดเลย ได้กล่าวยกย่องหลวงปู่ผางว่า “หลวงพ่อผาง ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติจริงจังมาก ปฏิบัติแบบสละชีวิต ในคราวที่ท่านบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ในปี ๒๕๑๓ ได้พบโมกขธรรม (หลุดพ้น) จิตของท่านสว่างไสวทั้งกลางวันและกลางคืน

ท่านเกิดวันอังคารที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๙ ปีขาล ณ บ้านกุดกะเสียน ตำบลเขื่อนใน อำเภอเขื่อนใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของ นายทัน และนางบัพพา ครองยุติ

ปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ณ วัดเขื่องกลาง บ้านเขื่องใน ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูดวน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านศึกษาพระธรรมวินัย มีความรู้พอสมควร ต่อมาจึงได้ลาสิกขาจากสมณเพศ และได้มีครอบครัวตามประเพณีอยู่หลายปี แต่ไม่มีลูก

ต่อมาเมื่ออายุได้ ๔๓ ปี จึงได้ชวนภรรยาออกบวช ภรรยาได้บวชเป็นแม่ชี ส่วนท่านบวชในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายอีกครั้ง ที่วัดคูขาด บ้านศรีสุข ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูศรีสุดดาภรณ์ (ตื้อ)เป็นพระอุปัชฌาย์ ถึงอุปสมบทใสคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย แต่ท่านได้เข้าศึกษาอบรมพระกรรมฐานอยู่ในสำนักวัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล จึงเกิดความเลื่อมใสในคณะสงฆ์ฝ่ายอรัญญวาสี

ต่อมาจึงได้ขอญัตติในคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต เมื่ออายุได้ ๔๗ ปี ในวันพุธที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๑ ณ วัดบ้านโนน หรือวัดทุ่ง โดยมีพระครูพินิจศีลคุณ (พระมหาอ่อน เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาทรายเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

อบรมกรรมฐานอยู่ในสำนักท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม พอสมควรแล้ว จึงได้ออกธุดงค์ปฏิบัติกรรมฐานไปหวิเวกโดยลำพัง และได้เข้าอบรมอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดบ้านหนองผืออยู่พอสมควร จากนั้นก็ท่องเที่ยววิเวกไปแต่ผู้เดียวในป่าเขาจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นถิ่นทุรกันดารเป็นเวลานานหลายปี

ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ จำพรรษาอยู่วัดป่าบัลลังก์ศิลาทิพย์ บ้านแท่น ๑ พรรษา แล้วธุดงค์ต่อไปยังภูผาแดง อำเภอมัญจาคีรี ชาวบ้าน เรียกสถานที่นั้นว่า “ดูน” มีน้ำไหลออกมาจากภูเขาตลอดปี และชาวบ้านแถวนั้นถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์ ไม่มีพระรูปใดเข้าไปอยู่ได้ ท่านอยู่จำพรรษา ณ สถานที่นั้นหลายปี และได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดอุดมคงคาคีรีเขต”

ในวันเสาร์ที่ ๓๐ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมกันทั้ง ๕ พระองค์ เพื่อปิดทองฝังลูกนิมิตและนมัสการหลวงปู่ผาง นับได้ว่าเป็นเกียรติประวัติครั้งสำคัญยิ่งของคณะศิษยานุศิษย์และชาวจังหวัด ขอนแก่นโดยแท้

หมายเลขบันทึก: 412733เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2010 06:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

...เตรียมข้อมูลเชิงลึกขึ้นเรื่อยๆครับ...กำหนดการออกไปสำรวจเรียนรู้แหล่งเรียนรู้ วัดอุดมคงคาคีรีเขต เร็วๆนี้ เพื่อจัดทำเว็บไซต์ ให้ทันงาน "กล้วยไม้ป่าบานและของดีเมืองมัญจาคีรี" กศน.อำเภอมัญจาคีรี อยู่ในฝ่ายจัดนิทรรศการครับ...ร่วมด้วยช่วยกันครับ

เก่งมากค่ะครูบอย ข้อมูลเยอะด้วย

นายวสันต์ ขุมดินพิทักษ์

ผมเป็นคนมัญจาคีรีก็มีเหรียญของท่านครับ

ลุงที่บ้านบอกว่ามาอยู่ที่ ถ้ำหนาวน้ำ ทำเหรียญใว้แจก แต่ผมไม่มี ท่านเดินทางด้วยเท้าเข้าตรงปากถ้ำน้ำหนาวเดิมตามถ้ำไปเรื่อยๆๆไปออกที่ ชัยภูมิ ก่อนไปจากถ้ำน้ำหนาว เป็นคำเล่าลือนะ ไม่รู้จริงหรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท