down load การบรรยายผศ.ดร.เสาวมาศ


การรับรองมาตรฐานการพยาบาล

ร่างมาตรฐานการบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ

 

หมวดที่ 1 มาตรฐานการบริหารองค์กรบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์

(Standard of Nursing and Midwifery Service Organization) ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน

มาตรฐานที่ 1 การจัดองค์กรและการบริหารองค์กรบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์

มาตรฐาน

ประเด็นสำคัญ

ข้อบ่งชี้

ผลการประเมิน

แหล่งข้อมูล

มี/ใช่

ไม่มี/ไม่ใช่

1.1 องค์กรพยาบาล/ฝ่ายการพยาบาล/กลุ่มงานการพยาบาลอยู่ในโครงสร้างการบริหาร

โรงพยาบาล/สถานบริการพยาบาล และขึ้นตรงต่อผู้บริหารสูงสุดของโรงพยาบาล

/สถานบริการพยาบาล

1.มีองค์กรพยาบาล (กลุ่มงานการพยาบาล/ฝ่ายการ-พยาบาล)ในโครงสร้างการบริหารโรงพยาบาล/สถานบริการพยาบาล

2.องค์กรพยาบาลขึ้นตรงต่อผู้บริหารสูงสุดของ

โรงพยาบาล/สถานบริการพยาบาล

1.มีองค์กรการพยาบาล/กลุ่มงานการพยาบาล/ฝ่ายการพยาบาล/กลุ่มภารกิจบริการวิชาการ/อื่น ๆ ขึ้นตรงต่อผู้บริหารสูงสุดของโรงพยาบาลในโครงสร้างการบริหาร

โรงพยาบาล

2.มีการเผยแพร่โครงสร้างการบริหารโรงพยาบาล

3.บุคลากรทุกคนในองค์กรพยาบาลรับรู้และเข้าใจ

4.ผู้บริหารโรงพยาบาลรับรู้

   

1.โครงสร้างการบริหาร

โรงพยาบาล

2.การสัมภาษณ์บุคลากรพยาบาล/ผู้บริหารโรงพยาบาล

3.เอกสารการเผยแพร่

1.2 องค์กรพยาบาลและการผดุงครรภ์มี

โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ตามขอบเขตงาน

ของวิชาชีพ

บทบาทหน้าที่ขององค์กรพยาบาลเป็นไปตามขอบเขตงานของวิชาชีพ

1. มีโครงสร้าง และบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบขององค์กรการพยาบาล ที่ครอบคลุมงานบริการของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผู้ประกอบวิชาชีพการ-ผดุงครรภ์

2. มีการสื่อสารโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรพยาบาล

3. บุคลากรทางการพยาบาลรับรู้

4. ผู้บริหารทุกคนในองค์กรรับรู้

   

1.หลักฐานแสดงโครงสร้าง ขอบเขตงาน และบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบขององค์กร-พยาบาล

2.เอกสารการเผยแพร่

3.การสัมภาษณ์ผู้บริหารใน

โรงพยาบาล/บุคลากรพยาบาล

1.3 องค์กรพยาบาลมีผู้บริหารสูงสุดเป็นพยาบาลวิชาชีพ

การบริหารบุคลากรทางการพยาบาลเป็นไปตามลักษณะของวิชาชีพที่เป็นสากล

- ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรพยาบาลเป็นพยาบาลวิชาชีพและมีคุณสมบัติสอดคล้องกับเกณฑ์ของสภากาพยาบาล

   

1. ประกาศแต่งตั้ง

2. หลักฐานแสดงคุณสมบัติของ ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร

พยาบาล

3. การสัมภาษณ์ พยาบาล

/ผู้บริหารโรงพยาบาล

1.4 องค์กรพยาบาลมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดทิศทางการบริหารและการจัดบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์

-มีคณะกรรมการบริหารองค์กรฯ ประกอบด้วย ผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์เป็นกรรมการและมีผู้บริหารสูงสุดขององค์กรฯ เป็นประธานคณะกรรมการฯ (รศ.พรจันทร์ขอเพิ่ม)

 

 

 

1. มีการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์กร ฯ

2. มีการกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย เป้าหมายขององค์กรพยาบาลที่ชัดเจนและเป็นไปได้

3. บุคลากรในองค์กรรับรู้

 

 

1.คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารองค์กร

2.เอกสารการประชุมของคณะกรรมการบริหารองค์กร ฯ

3.หลักฐานแสดงปรัชญาวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย

เป้าหมายขององค์กรพยาบาล

4.สัมภาษณ์ผู้นำทีม

การพยาบาลและบุคลากร

1.5 องค์กรพยาบาลมีนโยบาย เป้าหมาย และแผนพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล

องค์กรพยาบาลกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแผนพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล

มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแผนพัฒนาคุณภาพบริการ

   

- หลักฐานแสดงแผนยุทธ-ศาสตร์ และแผนปฏิบัติการ

- รายงานการประชุม

1.6 ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรพยาบาลมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ตัดสินใจ และวางแผนเกี่ยวกับการสนับสนุนและการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล

 
  • ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรพยาบาล เป็นกรรมการบริหารโรงพยาบาล
  • มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ตัดสินใจ และวางแผนเกี่ยวกับการสนับสนุนและการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล
   

- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล

- รายงานการประชุมคณะกรรมการ บริหารโรงพยาบาล

- การสัมภาษณ์กรรมการบริหารโรงพยาบาล

1.7 ผู้บริหารทางการพยาบาลสนับสนุนให้มีระบบและกลไกการบริหารที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

 

-ผู้บริหารการพยาบาลมีแนวทาง /ช่องทางให้บุคลากรพยาบาลทุกระดับมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น

-มีคณะกรรมการ/ คณะทำงานที่ประกอบด้วยบุคลากรที่มาจากระดับต่างๆและจากหลายหน่วยงาน

    - หลักฐานแสดงคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน

- การสัมภาษณ์บุคลากรพยาบาลทุก ระดับ

- หลักฐานแสดงกลไก

การสื่อสาร

 

 

 

 

มาตรฐานที่ 2 การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล

มาตรฐาน

ประเด็นสำคัญ

ข้อบ่งชี้

ผลการประเมิน

แหล่งข้อมูล

มี/ใช่

ไม่มี/ไม่ใช่

2.1 การคัดสรรบุคลากรจัดทำอย่างเป็นระบบ

 

1. มีขั้นตอนและวิธีการในการคัดสรรบุคลากร

2. มีการประเมินระบบการคัดสรรบุคลากร

3. บุคลากรทางการพยาบาลมีส่วนร่วมในการสรรหา

ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรพยาบาล

4. บุคลากรทางการพยาบาลมีส่วนร่วมในการกำหนดคุณสมบัติ และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่สภาการพยาบาลกำหนด

   

1. หลักฐานแสดงขั้นตอน

และวิธีการคัดสรรบุคลากร

ในแต่ละระดับ

2. หลักฐานแสดงการประเมินระบบการคัดสรรบุคลากร

3. การสัมภาษณ์พยาบาล

2.2 พยาบาลทุกระดับมีคุณสมบัติและสมรรถนะที่เหมาะสม

 

1. มีการกำหนดคุณสมบัติ สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพระดับผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหาร และระดับปฏิบัติการ

สอดคล้องกับเกณฑ์ที่สภาการพยาบาลกำหนด

2. มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ คุณสมบัติ และขีดความสามารถของผู้ให้บริการพยาบาลเหมาะสมกับลักษณะงานและตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ

   

1. หลักฐานแสดงคุณสมบัติ สมรรถนะของผู้ครองตำแหน่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่องค์กรกำหนด

2. ประวัติบุคลากรและหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา/อบรมตามตำแหน่ง และงานที่รับ

ผิดชอบ

- การสัมภาษณ์พยาบาล

2.3 การจัดอัตรากำลังเหมาะสมกับความต้องการการบริการพยาบาล

การวิเคราะห์อัตรากำลังเป็นไปตามหลักการของวิชาชีพเป็นสำคัญ

1. มีกระบวนการ วิเคราะห์อัตรากำลัง
2. มีการนำผลการวิเคราะห์อัตรากำลังมาใช้ในการจัดสรรอัตรากำลัง

3. มีการจัดสรรอัตรากำลังของบุคลากรทางการพยาบาลตามผลการวิเคราะห์อัตรากำลัง/ เป็นไปตามเกณฑ์ของสภาการพยาบาล

4. มีแผนสำรองอัตรากำลัง แผนการหมุนเวียนอัตรากำลัง

5. มีเกณฑ์การผสมผสานอัตรากำลังในการดูแลผู้ป่วยแต่ละประเภท ทั้งของบุคลากรทางการพยาบาลระดับวิชาชีพและต่ำกว่า

   

1. หลักฐานแสดงผลการวิเคราะห์อัตรากำลัง

2. เกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังของสภาการพยาบาล

(เอกสาร 2)

2.4 การควบคุมกำกับและการประเมินผลงานของบุคลากร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการ เตรียมการ การควบคุมกำกับและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรพยาบาลมีประสิทธิภาพ

1.มีเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของ บุคลากรพยาบาลทุกระดับ ตลอดจนความถี่ของช่วงเวลาในการประเมิน

2.มีแนวทางการรับฟังความคิดเห็น วิธีการประเมินผลจากผู้ร่วมงาน ผู้บังคับบัญชาระดับต้น และการประเมินตนเอง

3.มีกระบวนการและแนวทางพิจารณาให้รางวัลแก่บุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานตลอดจนความประพฤติดีเด่น

4.มีการจัดทำรายงานความก้าวหน้าและผลการปฏิบัติงานตามแผน

5.มีกลไกการสื่อสาร เกณฑ์การประเมินผล ผลกาประเมิน และการดำเนินการควบคุมคุณภาพการ ปฏิบัติงานพยาบาล ให้บุคลากรการพยาบาลทราบ

6.มีกระบวนการทบทวนเกณฑ์และการดำเนินงานการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรพยาบาลทุกระดับ

   

1.หลักฐานการประกาศใช้เกณฑ์และวิธีการประเมินผล

2.เอกสารแนวทางการประเมินผล

3.หลักฐานแสดงเครือข่ายสารสนเทศภายในองค์กร (Intranet)

4.หลักฐานแสดงผลงานการปฏิบัติ การพยาบาล

5.รายงานการประชุมของ

คณะกรรมการพิจารณาความดี ความชอบทุกขั้นตอน

6.การสัมภาษณ์บุคลากรพยาบาล

2.5 ระบบการพัฒนาความรู้ความสามารถ

มีระบบการพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรที่เป็นการเสริมสร้างและพัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลที่ทันสมัย

1.มีการประเมินความต้องการในการพัฒนาบุคลากร

2.มีแผนพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงาน ผลการวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาบุคลากร และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

3.บุคลากรใหม่ทุกคนได้รับการเตรียมพร้อมก่อนเข้าประจำการให้สอดคล้องกับสมรรถนะเฉพาะที่กำหนดของแต่ละหน่วยงาน

4. บุคลากรทุกคนได้รับการเพิ่มพูนความรู้และทักษะ ตามแผนการพัฒนาบุคลากร

5.มีระบบการติดตามและการประเมินแผนพัฒนาบุคลากรในรูปของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและผลกระทบต่อการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(ระดับ1-7)

 

1.หลักฐานแสดง แผนพัฒนาบุคลากร

2.รายงานการวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาบุคลากร

3.รายงานการประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาบุคลากร

4.สัมภาษณ์ผู้บริหารและบุคลากร

2.6 ระบบการรักษาบุคลากร

ระบบการรักษาบุคลากรในหน่วยงานมีประสิทธิภาพ

1.มีการกำหนดการเสริมสร้างขวัญ กำลังใจ และการพิจารณาความดีความชอบที่มีความยุติธรรม โปร่งใส

2.มีการจัดสวัสดิการของบุคลากรและครอบครัว

3.มีการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน เช่น สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่น่าอยู่ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Healthy workplace) การให้รางวัล

4.มีระบบการสนับสนุนความก้าวหน้าตามบันไดวิชาชีพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(ระดับ1-7)

 

1.ข้อมูลการลาออก / โอนย้าย

2.ข้อมูลการสำรวจความ

พึงพอใจของบุคลากร

3.สัมภาษณ์บุคลากรพยาบาล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรฐานที่ 3 การจัดระบบงานและกระบวนการให้บริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์

มาตรฐาน

ประเด็นสำคัญ

ข้อบ่งชี้

ผลการประเมิน

แหล่งข้อมูล

มี/ใช่

ไม่มี/ไม่ใช่

3.1 การจัดระบบบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์

 

 

 

 

 

 

 

1.มีการดำเนินการจัดระบบบริการพยาบาลที่สอดคล้องกับผู้ใช้บริการ
2.ระบบบริการมีคุณภาพและความปลอดภัย

1.มีการดำเนินการจัดระบบบริการพยาบาลที่เหมาะสมกับประเภทของผู้ใช้บริการโดยคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัย

2.มีการศึกษา วิเคราะห์ ติดตาม ประเมินผลและปรับปรุงการจัดระบบบริการพยาบาล
3.มีการดำเนินการสร้างเครือข่ายระบบบริการพยาบาลที่สร้างความมั่นใจได้ว่าผู้ใช้บริการจะได้รับบริการอย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
4.
มีการจัดระบบบริการพยาบาลที่ดูแลผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน

5.มีระบบการส่งต่อผู้ใช้บริการระหว่างสถานบริการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง

(ระดับ1-7

 

 

 

 

 

(ระดับ1-7)

 

 

(ระดับ1-7)

(ระดับ1-7))

 

1.หลักฐานนโยบายการจัดบริการในหอผู้ป่วย
2.ผังการดำเนินงานของ

คณะกรรมการ

3.เอกสารแนวปฏิบัติเพื่อ

ความปลอดภัยของผู้ป่วย

4. เอกสารการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงานของแต่ละวิชาชีพ และแนวทางการทำงานร่วมกัน

5.เอกสารแนวทางการส่งต่อ

ผู้ใช้บริการ
6.การสังเกต สัมภาษณ์บุคลากร /ผู้ใช้บริการ

3.2 การจัดทีมการพยาบาล

1.พยาบาลวิชาชีพเป็นหัวหน้าทีมการพยาบาลในการให้บริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตลอดระยะเวลาที่ให้บริการ

2.บุคลากรทีมการพยาบาลมีจำนวน และมีคุณสมบัติที่เหมาะสม

- มีพยาบาลวิชาชีพเป็นหัวหน้าทีมการพยาบาลในการให้บริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตลอดระยะเวลาที่ให้บริการ

   

1. เอกสารแดงการมอบหมายงาน

2.เอกสารแสดง ตารางการปฏิบัติงาน

3.เกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังของสภาการพยาบาล

(เอกสาร 2)

3.3 ระบบการบริหารการพยาบาลสนับสนุนการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์

 

1.มีการกำหนดนโยบายการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์

2.มีการสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร การจัดอัตรากำลังที่เหมาะสม

3.มีแนวทางการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้

4.มีการประเมินผลการใช้กระบวนการพยาบาลเป็นระยะทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพเพื่อการปรับปรุง

   

มีหลักฐานแสดงต่อไปนี้

1.นโยบาย

2.ขอบเขตหน้าที่

ความรับผิดชอบ

3.หลักฐานแสดงแนวทางการนิเทศงาน

4.แผนการอบรมบุคลากร

5.แผนการจัดอัตรากำลัง

6.แบบบันทึก

7.การตรวจสอบการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้

3.4 กลไกการส่งเสริมให้พยาบาลและผดุงครรภ์ประกอบวิชาชีพที่ธำรงไว้ซึ่งจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

- องค์กรพยาบาลมีกลไกส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ประกอบวิชาชีพที่ธำรงไว้ซึ่งจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

1.มีการกำหนดนโยบายด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพในการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์

2.มีแนวทางในการกำกับดูแลให้บุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติหน้าที่โดยธำรงไว้ซึ่งจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

3.มีกระบวนการดูแลและส่งเสริมให้บุคลากรมีความปลอดภัยในการทำงานและได้รับการพิทักษ์สิทธิ์ในการประกอบวิชาชีพ

4.มีแนวทางปฏิบัติในการจัดบริการตามหลักจริยธรรมและสิทธิผู้ป่วย คำนึงถึงคุณค่า ความเชื่อของผู้ใช้บริการ

5.มีแนวทางปฏิบัติในการให้ข้อมูลผู้ใช้บริการครอบคลุม สิทธิ ระเบียบและข้อจำกัดของหน่วยงาน

 

 

 

   

มีหลักฐานแสดงดังต่อไปนี้

1.นโยบายด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพในการปฏิบัติการพยาบาล

และการผดุงครรภ์

2.แนวทางการกำกับดูแลให้บุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติหน้าที่โดยธำรงไว้ซึ่ง

จริยธรรมและจรรยาบรรณแห่ง

วิชาชีพ

3.ช่องทางการให้คำปรึกษาและการช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงาน

 

4.แนวทางปฏิบัติในเรื่องที่เสี่ยง

5.แนวทางปฏิบัติในการจัดบริการตามหลักจริยธรรมและสิทธิผู้ป่วย คำนึงถึงคุณค่า ความเชื่อของผู้ใช้บริการ
6.แนวทางปฏิบัติสิทธิ ระเบียบและข้อจำกัดของหน่วยงาน

3.5 ระบบสารสนเทศทางการพยาบาล

1. การจัดระบบสารสนเทศทางการพยาบาลมีประสิทธิภาพ

2.สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการ การดูแลช่วยเหลือผู้ใช้บริการและการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

1.มีระบบการจัดเก็บ ประมวลผล และเรียกใช้ข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ

2.มีแนวทางการนำข้อมูล และสารสนเทศ ไปใช้เพื่อการปรับปรุงการให้บริการ การบริหารจัดการ และการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์

3.มีระบบการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศที่เป็นความลับ

(ระดับ1-7)

 

 

 

 

(ระดับ1-7)

 

1. คำสั่งแต่งตั้ง/การมอบหมายผู้รับผิดชอบ

2.ฐานข้อมูลที่สำคัญของ

หน่วยงาน/องค์กร

3.ผังการไหลเวียนของข้อมูล

4.หลักฐานการใช้ประโยชน์ข้อมูลในการบริหารจัดการ

การพัฒนา/การแก้ปัญหา

5.หลักฐานแสดงแนวทางปฏิบัติในการจัดเก็บและวิธีการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับ
6.การสัมภาษณ์บุคลากร

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรฐานที่ 4 ระบบการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

มาตรฐาน

ประเด็นสำคัญ

ข้อบ่งชี้

ผลการประเมิน

แหล่งข้อมูล

มี/ใช่

ไม่มี/ไม่ใช่

4.1 การกำหนดนโยบาย และแผนงานจัดการระบบคุณภาพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

มีการกำหนดนโยบายและแผนงานจัดการคุณภาพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

1.มีนโยบายการพัฒนาคุณภาพที่ชัดเจน

2.มีแผนงานการพัฒนาคุณภาพ

3.มีการกำหนดระบบและกลไกการพัฒนา

คุณภาพ

4.มีผู้รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับระบบคุณภาพคุณภาพการพยาบาล

 

 

( ระดับ1-7)

  1.หลักฐานแสดงนโยบายการพัฒนาคุณภาพ

2.มีหลักฐานแสดง แผนงานพัฒนาคุณภาพ

3.คำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับระบบคุณภาพการพยาบาล

4.2 ระบบบริหารความเสี่ยง

มีระบบการบริหารความเสี่ยง

1.มีการประเมินความเสี่ยงที่ครอบคลุมงานบริการพยาบาล

2. มีแนวทางการปฏิบัติที่ครอบคลุมความเสี่ยง

3.มีมาตรการการเฝ้าระวังความเสี่ยงและระบบการรายงานความเสี่ยง

4.มีการนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการบริหารความเสี่ยงมาทบทวนเพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อความปลอด-ภัยของผู้ใช้บริการ

5.มีระบบการตอบรับและแก้ไขตามข้อร้องเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(ระดับ1-7)

 

1.หลักฐานแสดงข้อมูลการค้นหาความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง

2.หลักฐานแสดง แนวปฏิบัติที่ครอบคลุมความเสี่ยง

3.รายงานการเฝ้าระวังความเสี่ยง
4.หลักฐานแสดงการวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการบริหารความเสี่ยงมาทบทวนเพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ
5. หลักฐานแสดงแนวทางปฏิบัติ ผังการดำเนินงานการตอบรับและแก้ไข

6.การสัมภาษณ์บุคลากร

7.การสังเกต

8. รายงานการแก้ไขปัญหา

9.รายงานสรุปการบริหารความเสี่ยง

4.3 ระบบการประกันคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (CQI)

มีระบบการประกันคุณภาพและการพัฒนา

คุณภาพ

1.มีนโยบายวิธีปฏิบัติหรือคู่มือปฏิบัติงานหรือแนวการปฏิบัติพยาบาลที่ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ภายใต้ขอบเขตการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ที่สภาการพยาบาลกำหนด

2. มีกระบวนการศึกษา วิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการประกันคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

3.มีการนำข้อมูลการวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลมาใช้เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

4.มีการกำหนดกระบวนการการตรวจประเมินคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล

5.มีรายงานสรุปผลการดำเนินงาน

 

 

 

   

1. หลักฐานแสดงนโยบายวิธีปฏิบัติหรือคู่มือปฏิบัติงานหรือแนวการปฏิบัติพยาบาลที่ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

2.หลักฐานแสดง แนวปฏิบัติการพยาบาลตามตัวชี้วัด

3.การสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ

4.รายงานการประเมินตนเอง

5.รายงานสรุปผลการดำเนินงาน

หมวดที่ 2 มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์

(Nursing and Midwifery practice standard) ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน

มาตรฐานที่ 1 การใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการการพยาบาลและการผดุงครรภ์

มาตรฐาน

ประเด็นสำคัญ

ข้อบ่งชี้

ผลการประเมิน

แหล่งข้อมูล

มี/ใช่

ไม่มี/ไม่ใช่

1.1 การใช้กระบวนการพยาบาล

1.พยาบาลวิชาชีพ กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการ

2.กระบวนการพยาบาลมี 5 ขั้นตอน

3.
พยาบาลใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ใช้บริการครอบคลุมตั้งแต่แรกรับ

จนจำหน่ายกลับบ้าน

1.มีการประเมินภาวะสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม จิตวิญญาณและ

สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพ

2.มีการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่สอดคล้องกับการประเมินภาวะสุขภาพและครอบคลุมปัญหาสำคัญ
3.มีการกำหนดแผนการพยาบาลที่สอดคล้องกับข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและสามารถแก้ปัญหาได้
4.มีการนำแผนการพยาบาลไปปฏิบัติ
5.มีการประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาลเป็นระยะ

6. มีการใช้กระบวนการพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนจำหน่ายกลับบ้าน

7. มีการใช้กระบวนการพยาบาลที่ครอบคลุมปัญหาและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นองค์รวม

8.การพยาบาลมีความต่อเนื่องตามลักษณะปัญหาสุขภาพของผู้ใช้บริการ

   

- หลักฐานทางการพยาบาล เช่น Nursing care plan, Nurse’s note

Problem list แบบประเมินภาวะสุขภาพ
- การสัมภาษณ์พยาบาล /ผู้ใช้บริการ

1.2 การนำแผนการพยาบาลที่กำหนดไปปฏิบัติแก่ผู้ใช้บริการ

มีการนำแผนการพยาบาลไปปฏิบัติแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.มีการปฏิบัติการพยาบาลที่เหมาะสมกับปัจเจกบุคคล

2.ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วม ตามขอบเขตการปฏิบัติการพยาบาล ดังนี้
-การช่วยเหลือดูแล
-การสอน การชี้แนะ การให้คำปรึกษา

-การวินิจฉัยปัญหาและเฝ้าระวัง
-การจัดการในสถานการณ์เร่งด่วนฉุกเฉิน

-การบำบัดอาการทางกาย ทางจิตใจ และจิตวิญญาณ

   

1.บันทึกทางการพยาบาล
2.การสังเกตการปฏิบัติการพยาบาล
3.การสัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ/พยาบาล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรฐานที่ 2 การรักษาสิทธิผู้ป่วย จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

มาตรฐาน

ประเด็นสำคัญ

ข้อบ่งชี้

ผลการประเมิน

แหล่งข้อมูล

มี/ใช่

ไม่มี/ไม่ใช่

2.1 การปกป้องและพิทักษ์สิทธิ์ผู้ใช้บริการ

ผู้ใช้บริการได้รับการปกป้องและพิทักษ์สิทธิ์เกี่ยวกับสุขภาพและการบริการพยาบาล

1.มีแนวทางการปกป้องพิทักษ์สิทธิเกี่ยวกับสุขภาพ และการรักษาพยาบาลของผู้ใช้บริการ

ครอบคลุมตามประกาศสิทธิผู้ป่วย
2.มีแนวทางการการรักษาความลับของผู้ใช้บริการ
3. พยาบาลประพฤติปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด
4.มีการประเมินและปรับปรุงแนวทางที่กำหนด

    1.หลักฐานแสดงข้อมูลการปกป้องพิทักษ์สิทธิเกี่ยวกับสุขภาพ และการรักษาพยาบาลของผู้ใช้บริการครอบคลุมตามประกาศสิทธิผู้ป่วยและจรรยาบรรณ

วิชาชีพ
2.การสัมภาษณ์พยาบาล /ผู้ใช้-บริการ

2.2 การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยาบาลปฏิบัติการพยาบาลโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

1.มีแนวทางปฏิบัติการพยาบาลที่ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

2.พยาบาลใช้แนวทางที่กำหนดในการปฏิบัติ
- มีการประเมินและปรับปรุงแนวทางที่กำหนด

   

1.หลักฐานแสดงข้อมูลการปฏิบัติการพยาบาลที่ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

2. การสัมภาษณ์พยาบาล/ ผู้ใช้บริการ

 

 

 

มาตรฐานที่ 3 การพัฒนาคุณภาพการการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์

มาตรฐาน

หมายเลขบันทึก: 41247เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท