ข้อเสื่อม


ข้อเสื่อม ภาวะข้อเสื่อม การฟื้นฟูภาวะข้อเสื่อม ท่าออกกำลังกายเพือการฟื้นฟูภาวะข้อเสื่อม

ข้อเสื่อม ข้อเสื่อม ข้อเสื่อม เวลาท่านไปพบแพทย์ แล้วได้รับคำวินิจฉัยว่าข้อเสื่อมมักจะมีคำๆนี้  วนเวียนอยู่ในห้วตลอดเวลา  ทำไมฉันถึงข้อเสื่อม ฉันจะทำกิจกรรมต่อไปได้หรือไม่  แล้วต่อไปฉันจะเดินได้ไหม  มีสารพัดจะให้คิด

สำหรับข้อเสื่อม โดยเฉพาะข้อที่ต้องรับน้ำหนักได้แก่  ข้อเข่า  ข้อสะโพก ข้อของกระดูกสันหลัง  ถ้ามีอายุ 50 ขึ้นไปอาจจะเป็นเรื่องปกติ ข้อเสื่อมอาจจะไม่เกี่ยวกับคำว่าแก่เสมอไป เพราะฉะนั้นอย่ากลัว แต่เป็นเรื่องที่เราต้องดูแล อีกประการหนึ่งต้องแน่ใจว่าอาการปวดนั้น ไม่ได้เกิดจากภาวะของโรคอื่นๆที่เกิดกับข้อ เช่นโรครูมาติก หรือโรคข้ออื่นๆ   แต่ถ้าอายุน้อยกว่านั้น ต้องพิจารณาว่าเกิดจากอะไร เช่นอุบัติเหตุ ทำให้ข้อเกิดการผิดรูปเล็กน้อยแล้วค่อยๆเสียดสีจนเกิดอาการเสื่อมก่อนวัย

อาการของภาวะข้อเสื่อม  โดยทั่วไปจะเริ่มจากการที่ร่างกายจะเตือนเรา โดยจะมีความรู้สึกฝืดๆ นั่งนานๆ จะลุกต้องใช้เวลาพอสมควรสำหรับการจะเหยียดตัวให้ตรง แล้วต่อมาจะมีอาการฝืดมากขึ้น มีเสียงดังกรอบแกรบบ้างในบางราย  ระยะนี้จะเป็นระยะที่น้ำในข้อเริ่มน้อยลง อาจมีการอับเสบเล็กน้อยทำให้เริ่มเมื่อยจนถึงปวด ถ้าเราใช้มากขึ้นโดยไม่ดูแลข้อให้เหมาะสม ก็จะมีการเตือนมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเริ่มปวดมากขึ้น ฝืดมากขึ้น วันดีคืนร้ายข้อจะบวมและปวดมากขึ้น  บางรายอาจต้องไปเจาะน้ำออกจากข้อมาแล้วก็มีโดยเฉพาะข้อเข่า

การดูแลข้อที่สำคัญคือจะต้องเข้าใจประเด็นหลักๆดังนี้

1. การใช้มากเกินไปหรือใช่ไม่เหมาะสมหรือใช้ในลักษณะที่ผิดรูปแบบของข้อนั้นจะทำให้ข้อเสื่อมได้  เช่นการใช้ข้อนั้นนานๆ ไม่ว่าการงอเข่า  การก้ม  การแอ่นคอ หรือหลังมากไปหรือนานไป  ท่านอาจจะเคยได้ยินสุภาสตรีบางท่านไปนอนสระผมนานๆในท่าแอ่นคอแล้วลุกขึ้นมาอาจปวดคอหรือร้าวลงแขน หรือคลื่นใส้อาเจียนจากการที่กระดูกเสื่อมไปรบกวนเส้นเลือดได้

2. การใช้น้อยเกินไป หรือไม่ค่อยใช้ก็มีผลเสียเช่นกัน จะทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อซึ่งควรจะมาช่วยในการป้องกันหรือดูแลข้อไม่สามารถทำหน้าที่นั้นได้ ก็อาจจะทำให้สารน้ำที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆในข้อ เช่นหมอนรองข้อ กระดูกอ่อน ไม่สามารถไปเลี้ยงได้ดี  ทำให้เกิดภาวะเสื่อมหรือสูญเสียสภาพของข้อได้เช่นกัน

การดูแลข้อจะต้องเข้าใจการใช้ข้อตั้งแต่ตื่นจนถึงนอนเลยทีเดียว

ตั้งแต่การลุกจากเตียงตอนเช้าควรลุกโดยการนอนตะแคงแล้วลุกขึ้น หรือนอนคว่ำแล้งค่อยๆดันตัวขึ้น  สำหรับผู้ที่นอนบนพื้นควรหาเตียงหรือตั่งมานอนเนื่องจากการลุกจากพื้นนั้นจะทำให้เกิดภาวการณ์ทำงานที่ผิดปกติของหลังและเป็นการทำให้ข้อเข่าต้องทำงานหนักมากขึ้นทุกวัน   สำหรับหมอนที่นอนหนุนนั้น โดยทั่วไปก็ควรจะรับคอหรือศีรษะได้ดีเหมือนเราอยู่ในท่ายืน  การนอนหมอนเตี้ยไปหรือสูงไปจะทำให้ข้อต้องอยู่ในท่าผิดปกตินานๆซึ่งไม่เป็นผลดีแน่นอน  แต่สำหรับบางรายที่นอนหนุนหมอนสูงแล้วรู้สึกสบายก็เพราะอาจจะมีภาวะข้อของคอที่ติดแล้วจึงทำให้นอนในท่าปกติไม่สบาย

การนั่งใช้งานในท่าที่ไม่เหมาะสมโดยเฉพาะการยื่นคอ หรือนั่งก้ม หรืองอมากไป หรือชอบนั่งพับเข่านานๆ จะทำให้ข้อนั้นเกิดภาวะกดนานๆ ก็จะทำให้เกิดภาวะข้อเสื่อมได้

การทำงานอดิเรกหรือการเล่นกีฬา ก็ควรจะเล่นกีฬาให้เหมาะกับวัย หากต้องการเล่นกีฬาที่ต้องใช้ข้อมาก  ก็อย่าลืมที่จะต้องเน้นการอุ่นเครื่องก่อนเล่นให้เต็มที่  รวมถึงควรบริหารให้กล้ามเนื้อรอบข้อที่ต้องใช้มากสำหรับกิจกรรมนั้นๆ  ให้แข็งแรงขึ้น

การดูแลข้อ นอกจากการใช้ให้เหมาะสมแล้วการออกกำลังกายถือได้ว่าเป็นเรื่องหลักในการดูแลรักษาภาวะเสื่อม  โดยเฉพาะภาวะข้อเสื่อม

การออกกำลังกายแบ่งง่ายๆเป็น 

1.การดูแลการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆให้ดีขึ้น                                    

2.การทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อต่างๆ แข็งแรงขึ้นซึ่งจะช่วยในการปกป้องข้อได้ 

ท่าเพื่อการเคลือนไหวคอ

 - ประโยชน์เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อโดยการก้มเงยหน้า และหันหน้าไปทางซ้ายและขวาช้าๆ

 - ข้อควรระวังไม่ควรออกกำลังกายด้วยการหมุนคอ

ท่าเพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบคอ

 - ประโยชน์เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบคอใช้ฝ่ามือดันต้านกับศีรษะสี่ทิศโดยเริ่มจากแรงต้านน้อยๆ

 - ข้อควรระวัง ห้ามดันแรงหรือเคลื่อนไหวคอมากเกินไป

ท่าเพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและท้อง

 - นอนราบกับพื้น  ชันเข่าทั้งสองขางขึ้น  กดหลังลงแนบพื้น  ค่อยๆ ยกขาขึ้นที่ละข้างโดยไม่ให้หลังแอ่นขึ้นมา  ทำต่อเนื่องกัน  แล้วจึงสลับข้าง

ท่าเพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกด้านหลัง

 - นอนราบกับพื้น   ชัยเข่าขึ้นทั้งสองข้าง  ค่อยๆยกสะโพกขึ้นโดยประมาณ  ไม่ให้หลังแอ่น  ค้างนับ1-5

 ท่าเพื่อความแข็งแรงของข้อเข่า

 1- ยื่นหลังอิงหรือชิดกับกำแพง  ปลายเท้าแยกจากกันเป็นเลขสิบเอ็ดหรือแบะออกเล็กน้อย  แล้วค่อยๆ เลื่อนตัวลงช้าๆ โดยหลังยังอิงหรือชิดกับกำแพงอยู่  เลื่อนตัวลงมาจนเข่างอประมาณ 30 องศาหรืออย่าให้ด้านหน้าของหัวเข่าเกินปลายเท้า  แล้วค่อยๆ เลื่อนตัวกลับเข้าที่เดิมอย่างช้าๆ  ทำซ้ำ5-10ครั้งนับเป็น1ชุด ทำวันละ1-3ชุด  หรือ

 2- ใช้ยางในเก่าๆ ของจักรยาน  หรือยางยืดแล้ว  วางเท้าบนยางนั้น  ค่อยๆ ดึงเข้าหาตัวจนเข่างอประมาณ 30องศา  แล้วจึงค่อยๆเหยียดเข่าออกโดยดันยางยืดออกไป         ทำซ้ำ5-10ครั้งนับเป็น1ชุด ทำวันละ1-3ชุด

หวังว่าเมื่อท่านได้อ่านจนถึงตอนจบนี้ คงได้คำตอบแล้วว่า ข้อเสื่อมเป็นเรื่องปกติ     ท่านเท่านั้นที่จะดูแลตัวเองได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

    

                                                                        

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 412224เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2010 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ตอนนี้ร่างกายเริ่มมีบ้างแล้ว ต้องออกกำลังกายเบาๆ

แก้วก็เป็นคะ โดนหมอฉีดยามาแล้วเจ็บสุดๆ

เป็นโรคทันสมัยนะคะ! ตัวเองก็เป็นเหมือนกันคะ

ถ้าเป็นกัน ก็อย่าลืมออกกำลังกายท่าที่เพิ่มความแข็งแรงของข้อน่ะค่ะได้ผลจริงๆ ขอบอก

กำลังจะเป็นอย่เหมือนกันค่ะ แต่พยายามออกกำลังกายค่ะ

ขอบคุณนะค่ะสำหรับข้อมูล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท