ระบบการบริหารคุณภาพการศึกษา


ระบบบริหารคุณภาพการศึกษา
                ระบบบริหารทางการศึกษา ที่ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษาที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมุ่งเน้นคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการศึกษาเป็นสำคัญ มีการจัดโครงสร้างการดำเนินงานที่เป็นรูปแบบชัดเจน สามารถตรวจติดตามประสิทธิผลได้อย่างมีรูปธรรม มีขั้นตอนการดำเนินงานและใช้ทรัพยาการอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสามารถนำสถานศึกษาไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน
เป็นการบริหารให้เป็นระบบ ที่ใดที่มีการบริการนั้นสามารถใช้ระบบบริหารคุณภาพเข้าไปบริหารได้ โดยการจัดระบบงานที่ทำอยู่ให้การทำงานดีขึ้น (Work Improvement) และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement) จัดได้ว่าเป็นการ "จัดระเบียบการทำงาน" ของสถานศึกษา เป็นมาตรฐานของระบบการทำงานร่วมกันของทุกคนในสถานศึกษา เพราะคุณภาพเป็นเรื่องของทุกคน ตั้งแต่ผู้บริหาร ครู อาจารย์ นักการ ภารโรง เจ้าหน้าที่ยาม แม้ค้าขายของในสถานศึกษา ฯลฯ ที่ต้องทำงานให้เป็น "ระบบ" เป็นการทำงานที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เน้นความพึงพอใจของผู้ปกครองและนักเรียนเป็นสำคัญ (Customer Focus and Customer Satisfaction)
งานทางการศึกษาเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อประเทศชาติ เพราะเป็นการสร้างคนที่มีคุณภาพให้กับสังคม ระบบบริหารคุณภาพในทางการศึกษาไม่ใช่บริหารและพิจารณาที่ผลลัพธ์สุดท้าย ต้องพิจารณาตั้งแต่ต้นที่ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ นักเรียนหรือนักศึกษา ถ้าปัจจัยนำเข้ามีการกลั่นกรองดีมีคุณภาพ กระบวนการจัดการศึกษา (Process) ดีมีการบริหารจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนดีมีคุณภาพ และมาตรฐาน คาดว่าผลผลิต (Output) คือนักเรียนหรือนักศึกษาที่จบมามีคุณภาพ อย่างไรก็ตามจะต้องเน้นที่กระบวนการจัดการศึกษา แม้ว่าปัจจัยนำเข้าไม่ดี เพราะบางครั้งไม่สามารถควบคุมได้ แต่ถ้ากระบวนการจัดการศึกษาดี ก็คาดว่าผลผลิตทางการศึกษาดีมีคุณภาพและมาตรฐาน
ผลผลิตทางการศึกษาเป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรม จะต้องคำนึงถึงคุณภาพการศึกษาว่าทำอย่างไรให้ได้นักเรียนเป็นคนดี มิใช่เก่งอย่างเดียว ควรให้มีบูรณาการกับศาสนา เพื่อให้เป็นทั้งคนเก่ง ดี มีสุข มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นคนโดยสมบูรณ์ทั้ง 4Q ตามปรัชญาการศึกษาที่ว่า "คุณธรรม นำความรู้" ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันที่ว่า
"เจตนาของการศึกษานั้น กล่าวโดยสรุปก็คือ การวางรากฐานที่ถูกต้องในตัวบุคคลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และความรู้ทั้งปวง"
หมายเลขบันทึก: 411949เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2010 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท