องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

การเข้าถึงการปรึกษาและการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มประชากร เคลื่อนย้ายและกลุ่มเข้าถึงยาก


                               นางสาวรัชนี ปวุตตานนท์ และงานให้บริการปรึกษา

โครงการส่งเสริมการเข้าถึงการปรึกษาและการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มประชากร เคลื่อนย้ายและกลุ่มเข้าถึงยาก ปี 2553 มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการสุขภาพที่เอื้อต่อการรับบริการสุขภาพในการป้องกันโรคเอดส์ การดูแลรักษาที่เหมาะสม และส่งเสริมการเข้าถึงบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มประชากรเคลื่อนย้ายและกลุ่มเข้าถึงยาก รวมถึง ประชาชนทั่วไป รับผิดชอบโครงการฯ โดยงานให้บริการปรึกษา กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

การดำเนินงานโครงการฯ งานให้บริการปรึกษาร่วมมือกับสถาบันเรียนรู้เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน คัดเลือกสถานประกอบการเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ        5 แห่ง แบ่งเป็น สถานประกอบการที่ดำเนินการป้องกันเอดส์ 3 แห่ง และดำเนินการป้องกันเอดส์และ วัณโรค 2 แห่ง ดำเนินงานตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง 30 กันยายน 2553 โดยทำการศึกษาข้อมูล ปัญหา และความต้องการรับบริการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ (Need Assessment) ประชุมชี้แจงโครงการฯ ต่อผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการเข้าถึงบริการปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ประสานงานกับผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการให้การปรึกษารายบุคคลหรือแบบกลุ่มก่อนการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี การตรวจเลือดด้วยความสมัครใจ และการให้การปรึกษารายบุคคลหรือแบบคู่หลังการตรวจเลือดที่สถานประกอบการ ผลการดำเนินงานโครงการฯ

ภาพกิจกรรมที่ร้านรุ่งจิตต์ นครสวรรค์

ภาพกิจกรรมที่บริษัทแมคโคร นครสวรรค์

สรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบการบริการในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีฯ ของโรงพยาบาลใช้การประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสาย ป้ายประชาสัมพันธ์ จัดบริการช่องทางด่วน

    ผลการส่งเสริมการเข้าถึงบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มตัวอย่างในสถานประกอบการ พบว่า

  • กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรคเอดส์ก่อนการอบรมระดับดี ร้อยละ 18 หลังการอบรมระดับดี ร้อยละ 30
  • ความรู้เรื่องโรคเอดส์และวัณโรคก่อนการอบรมระดับดี ร้อยละ 28.8 หลังการอบรมระดับดี ร้อยละ 58.3

       การให้การปรึกษาก่อนและหลังการตรวจเลือดด้วยความสมัครใจ พบว่า

  • มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันร้อยละ 66.2
  • มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นที่ไม่ใช่สามี/ภรรยา ร้อยละ 28.4
  • มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นที่ไม่ใช่สามี/ภรรยา ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ร้อยละ 31
  • ตัดสินใจตรวจเลือดร้อยละ 44.6
  • มาฟังผลเลือด ร้อยละ 97
  • ผลเลือดลบอาจอยู่ในระยะฟักตัวและนัดตรวจเลือดซ้ำ ร้อยละ 31.4

  กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจมากที่สุด

  • ด้านเจ้าหน้าที่ให้บริการปรึกษาให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำได้ครอบคลุมและเข้าใจง่าย เฉลี่ย 4.57
  • เอกสารความรู้ที่แจกมีประโยชน์ เฉลี่ย 4.52
  • การเจาะเลือดในสถานประกอบการ เฉลี่ย 4.44

    ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการต่อไป คือ การส่งเสริมการเข้าถึงการปรึกษาและการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มประชากรเคลื่อนย้ายและกลุ่มเข้าถึงยากควรจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลโดยจัดเข้าระบบงานปกติที่ง่ายต่อการเข้าถึงบริการ ควรมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายหรือองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเอดส์ และอาจให้การสนับสนุนกิจกรรมที่เอื้อต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี เช่น การตรวจเลือดในสถานประกอบการ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 411826เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2010 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท