การประเมินมิติแนวดิ่งขณะสบฟัน


vertical dimension

การฟื้นฟูสภาพช่องปากนั้น ขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งคือ การประเมินมิติแนวดิ่งขณะสบฟัน (vertical dimension) ซึ่งควรจะทำก่อนเริ่มรักษาเสมอ เพราะในผุ้ป่วยที่มีฟันสึกมากๆ อาจไม่มีการสูญเสียมิติแนวดิ่งขณะสบฟัน เนื่องจากมีการยื่นของกระดูกเบ้ารากฟันขึ้นมาเพื่อชดเชยการสึก และรักษามิติแนวดิ่งขณะสบฟันให้คงเดิม วิธีการประเมินมิติแนวดิ่งขณะสบฟันได้แก่

  • ประเมินจากการออกเสียง “เอส” “s” ขณะที่ออกเสียงนี้ ตำแหน่งปลายฟันหน้าล่างจะอยู่ต่ำกว่า และค่อนไปทางด้านลิ้นกว่าปลายฟันหน้าบนประมาณ 1-2 mm (closet speaking space) หากระยะมากกว่า 1-2 mm แสดงถึงการสูญเสียมิติแนวดิ่งขณะสบฟัน
  • ประเมินจากระยะปลอดการสบ (free way space) โดยวัดระยะระหว่างขากรรไกรบนและล่างขณะสบฟันและขณะพัก โดยมีค่าเฉลี่ย 2-3 mm ถ้าระยะมีค่ามากกว่า 4mm แสดงว่ามีการสูญเสียมิติแนวดิ่งขณะสบฟัน
  • ประเมินจาก facial soft tissue contour โดยผู้ป่วยที่มีการสูญเสียมิติแนวดิ่งขณะสบฟันมักมีใบหน้าส่วนล่างสั้น และมุมปากเป็นร่อง

ในการวางแผนการรักษา เราจะสามารถกำหนดมิติแนวดิ่งขณะสบฟันใหม่ในรายที่มีการสูญเสียมิติแนวดิ่งเท่านั้น โดยจะไม่เพิ่มเกินระยะปลอดการสบ และเพิ่มให้เพียงพอสำหรับการบูรณะ และต้องไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกร โดยอาจใส่เฝือกสบฟันเพื่อดูการตอบสนองของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกรก่อนเริ่มทำการบูรณะ

คำสำคัญ (Tags): #vertical dimension
หมายเลขบันทึก: 411146เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2010 00:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท