กฏหมายอิสลาม ตอน 5


มะฮัรฺ (اَلْمَهْرُ) สตรีที่ห้ามนิกาหฺ สิทธิและหน้าที่ของสามีภรรยา

มะฮัรฺ  (اَلْمَهْرُ)

มะฮัรฺ  (اَلْمَهْرُ)  หมายถึง  ทรัพย์หรือสิ่งของที่ฝ่ายชายให้แก่หญิงคู่สมรสด้วยสาเหตุการทำข้อตกลงในการนิกาหฺ  อนึ่งนักวิชาการเรียกชื่อทรัพย์หรือสิ่งของที่ฝ่ายชายให้แก่หญิงคู่สมรสหลายชื่อด้วยกัน  เช่น  صَدَاقٌ,   نِحْلَةٌ   และمَهْرٌ   เป็นต้น

มะฮัรฺ  เป็นสิ่งจำเป็น  (وَاجِبٌ)  ที่ฝ่ายชายต้องมอบให้แก่ฝ่ายหญิงหลังจากการประกอบพิธี   นิกาหฺเสร็จสิ้นสมบูรณ์  ไม่ว่าจะมีการขานจำนวนที่แน่นอนของทรัพย์ที่ให้แก่ฝ่ายหญิงในขณะประกอบพิธีนิกาหฺหรือไม่ก็ตาม   และมะฮัรฺนั้น  ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งจำเป็นในการทำข้อตกลง          นิกาหฺ  แต่มะฮัรฺก็มิใช่องค์ประกอบหลัก  (رُكْنٌ)  หรือเงื่อนไขหนึ่ง  (شَرْطٌ)  จากบรรดาเงื่อนไขของการนิกาหฺ  อันที่จริงมะฮัรฺเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังการประกอบพิธีนิกาหฺเท่านั้น  หลักฐานที่บ่งชี้ว่ามะฮัรเป็นสิ่งจำเป็น  คือ

อัลกุรฺอาน  :  ดังที่ปรากฎว่า

(#qè?#uäur uä!$|¡ÏiY9$# £`ÍkÉJ»s%߉|¹ \'s#øtÏU 4 ÇÍÈ  ….

 

ความว่า “และสูเจ้าทั้งหลายจงนำมาให้แก่บรรดาสตรี  (คู่สมรส)  ซึ่งบรรดามะฮัรฺของพวกนางด้วยความเต็มใจ”

(สูเราะฮฺอัน-นิสาอฺ  อายะฮฺที่  4)

อัล-หะดีษ  : รายงานจากสะฮฺล  อิบนุ  สะอฺด    ว่า  :  มีสตรีนางหนึ่งมาหานบีมุฮัมมัด  และกล่าวว่า  :  “แท้จริงนางได้มอบตัวของนางแก่อัลลอฮฺและรสูลของพระองค์”  นบีกล่าวว่า  :  “ฉันไม่มีความต้องการในตัวของสตรีแต่อย่างใด”  ชายผู้หนึ่งก็กล่าวขึ้นว่า  “ท่านจงนิกาหฺนางให้แก่ฉัน”  นบีกล่าวว่า  :  “ท่านจงมอบอาภรณ์แก่นาง”  ชายผู้นั้นกล่าวว่า  :  “ฉันไม่มี”  นบีกล่าวว่า  :  ท่านจงมอบให้แก่นางเถิด ถึงแม้จะเป็นแหวนที่ทำจากเหล็กก็ตาม” 

(รายงานโดย อัล-บุคอรียฺและมุสลิม)

อนึ่ง ส่งเสริม (مُسْتَحَبٌّ)ให้ขานจำนวนของมะฮัรฺในการประกอบพิธีนิกาหฺ  ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาพิพาทที่จะเกิดขึ้นระหว่างคู่สมรสทั้งสอง

 

สิทธิและอัตราของมะฮัรฺ

มะฮัรฺเป็นสิทธิของฝ่ายหญิงเพียงผู้เดียว  และนางย่อมมีสิทธิที่จะจัดการกับมะฮัรฺอย่างไรก็ได้  เช่น ยกให้พ่อแม่  บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์  หรือมอบกลับคืนให้ฝ่ายชาย เป็นต้น

มะฮัรฺไม่มีกำหนดอัตราที่แน่นอน  ไม่ว่าจะมากสุดหรือน้อยสุด  ทุกสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นทรัพย์  หรือแลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์ได้  ย่อมอนุญาตให้กำหนดเป็นมะฮัรฺ  มากหรือน้อย เป็นสิ่งของหรือเป็นหนี้  หรือเป็นประโยชน์ก็ตาม  เช่น  พรมปูละหมาด  เงินจำนวน  10,000  บาท  การพักอาศัยในเคหสถาน หรือการสอนอาชีพ  เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม  สมควรที่มะฮัรฺจะมีจำนวนอัตราไม่น้อยกว่า  10  ดิรฮัม  และไม่ควรเกินกว่า  500 ดิรฮัม 

 

ข้อควรปฏิบัติตามสุนนะฮฺเนื่องในการประกอบพิธีนิกาหฺ  มีดังนี้

1)  การสู่ขอหรือการหมั้น  (اَلْخِطْبَةُ)  ก่อนหน้าการประกอบพิธีนิกาหฺ

2)  ขอพรแก่คู่สมรสด้วยประโยคดุอาอฺที่ว่า  :

(بَارَكَ الله لَكَ ، وَبَارَكَ عَلَيْكَ ، وَجَمَعَ بَيْنَكُمَا فِىخَيْرٍ)

ความว่า“ขออัลลอฮฺทรงประทานสิริมงคลแก่ท่านและทรงประทานสิริมงคลเหนือท่าน 

ตลอดจนรวมระหว่างท่านทั้งสองในคุณงามความดี”

                                                (รายงานโดย อัต-ติรมีซียฺ, อบูดาวูด และอิบนุมาญะฮฺ )

 

3)  ประกาศการประกอบพิธีนิกาหฺให้เป็นที่รับรู้  และแสดงออกซึ่งความยินดี  โดยการประกอบพิธีนิกาหฺในมัสญิด 

4)  การจัดงานวะลีมะฮฺ

คำว่า  อัล-วะลีมะฮฺ  (اَلْوَلِيْمَةُ)  ตามหลักภาษาหมายถึง  อาหารที่ทำขึ้นเพื่อรับประทานร่วมกันจะเชิญแขกมาร่วมหรือไม่ก็ตาม  ณ  ที่นี้หมายถึง  การเลี้ยงฉลองภายหลังเสร็จสิ้นการประกอบพิธี      นิกาหฺ  ซึ่งตามหลักการศาสนาถือเป็นสุนนะฮฺ  มุอักกะดะฮฺ  เนื่องจากมีปรากฏในสุนนะฮฺของ นบี  ทั้งที่เป็นคำพูดและการกระทำ ดังที่ปรากฎในอัล-หะดีษว่า 

“أَوْلِمْ وَلَوْ بِشَا ةٍ”

ความว่า “จงเลี้ยงฉลอง  (เนื่องจากการนิกาหฺ)  แม้ด้วยแพะเพียงตัวเดียว” 

(รายงานโดยอัล-บุคอรียฺ  และมุสลิม  )

และมีรายงานระบุว่านบีมุฮัมมัดได้เลี้ยงอาหารเนื่องจากการนิกาหฺกับภริยาบางคนของท่านด้วยข้าวสาลีจำนวน  2  มุดฺด  (ประมาณ  12  ขีด)

(รายงานโดยอัล-บุคอรียฺ)

และนบีมุฮัมมัด ได้เลี้ยงอาหารเนื่องจากการนิกาหฺกับท่านหญิงเศาะฟียะฮฺ  บุตรี  หุยัยฺย   ด้วยแป้งสาลีและอินทผาลัม

(รายงานโดยอัต-ติรมีซียฺ)

และมีรายงานว่านบีมุฮัมมัดได้เลี้ยงอาหารเนื่องจากการนิกาหฺกับท่านหญิงซัยนับ 

(รายงานโดยมุสลิม )

อนึ่ง การจัดงานวะลีมะฮฺสำหรับผู้มีความสามารถน้อยที่สุดคือ  แพะหรือแกะ  1  ตัว  ส่วนมากที่สุดนั้นไม่มีกำหนด

เวลาสำหรับการจัดงานวะลีมะฮฺเนื่องจากการนิกาหฺนั้นเปิดกว้าง นับตั้งแต่การประกอบพิธีนิกาหฺถึงช่วงเวลาหลังการส่งตัวคู่สมรส  แต่ที่ดีที่สุด  (اَلأَفْضَلُ)  คือภายหลังการส่งตัวคู่สมรสและมีการร่วมหลับนอนฉันท์สามีภรรยาแล้ว

การตอบรับคำเชิญสู่การร่วมงานวะลีมะฮฺนั้นถือเป็นภารกิจจำเป็น  (وَاجِبٌ)  สำหรับผู้ที่ถูกเชื้อเชิญ    โดยการรับประทานอาหารในงานวะลีมะฮฺนั้นไม่ถือเป็นสิ่งจำเป็น  หากแต่สิ่งที่จำเป็นก็คือให้มาร่วมงาน  ส่วนจะรับประทานอาหารหรือไม่นั้นให้ถือตามอัธยาศัย  ทั้งนี้นักวิชาการได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับความจำเป็นที่จะต้องรับคำเชิญสู่งานวะลีมะฮฺไว้ดังนี้

1)  เจ้าภาพต้องไม่เจาะจงเชื้อเชิญเฉพาะคนรวยเท่านั้น  หากเจาะจงเชิญเฉพาะคนรวยก็ไม่จำเป็นต้องตอบรับคำเชิญ

2)  เจ้าภาพต้องเป็นมุสลิมและผู้ถูกเชิญต้องเป็นมุสลิม

3)  เป็นการเชิญในวันแรก กรณีมีการจัดงานวะลีมะฮฺมากกว่า  1  วัน  หากเชิญในวันที่  2  ก็ถือว่าส่งเสริม  (مُسْتَحَبٌّ) ให้รับคำเชิญ  แต่ถ้าเป็นวันที่  3  ก็ถือว่าเป็นสิ่งไม่บังควรในการตอบรับคำเชิญ  (مَكْرُوْهٌ)

4)  เป็นการเชิญชวนอย่างมิตรภาพและเป็นการสร้างความใกล้ชิด

5)  เจ้าภาพต้องไม่เป็นผู้อธรรมหรือเป็นคนชั่วหรือเป็นผู้มีทรัพย์สินที่ต้องห้าม

6)  ในงานวะลีมะฮฺต้องไม่มีสิ่งที่เป็นอบายมุข  เช่น  มีการเลี้ยงสุรา  มีการปะปนกันระหว่างชายหญิง  เป็นต้น

 

สตรีที่ห้ามนิกาหฺด้วย

ศาสนาอิสลามห้ามชายทำการนิกาหฺกับสตรีดังต่อไปนี้

1.  แม่,  ยาย  ฯลฯ

2.  ลูกสาว ,  หลานสาว  ฯลฯ

3.  พี่สาว,  น้องสาว

4.  พี่สาวน้องสาวของพ่อ  (ป้า – อา)

5.  พี่สาวน้องสาวของแม่  (ป้า – น้า)

6.  ลูกสาวของพี่ชายหรือน้องชาย  ฯลฯ

7.  ลูกสาวของพี่สาวหรือน้องสาว  ฯลฯ

8.  แม่นม

9.  สตรีที่ร่วมดื่มนมจากแม่นมคนเดียวกัน 

10.  แม่ของภรรยา  (ทั้งแม่จริงหรือแม่นม)  ฯลฯ

11.  ลูกสาวของภรรยาที่ชายนั้นร่วมหลับนอนด้วย  มิใช่ภรรยาที่เพียงแต่ทำข้อตกลงนิกาหฺด้วยเท่านั้น

12.  ภรรยาของพ่อ  ของปู่  ฯลฯ

13.  ลูกสะใภ้  หลานสะใภ้  ฯลฯ

14.  พี่สาวหรือน้องสาวของภรรยาไม่ว่าจะร่วมสายโลหิตหรือร่วมดื่มนมก็ตาม  กล่าวคือ  ศาสนาห้ามมิให้รวมสตรีสองพี่น้องมาเป็นภรรยาในคราวเดียวกันทั้ง  2  คน

15.  ห้ามมิให้สมรสกับสตรีร่วมกับป้าของนางหรือน้าของนางหรือลูกสาวของพี่สาวน้องสาวหรือพี่ชายน้องชายของนางในคราวเดียวกัน

16.  สตรีที่เกินจากภรรยา  4  คนในคราวเดียวกัน  กล่าวคือ  ห้ามชายที่มีภรรยาในคราวเดียวกัน  ครบ  4  คนแล้ว  สมรสกับสตรีคนที่  5  ในขณะที่ไม่ได้หย่าขาดคนใดคนหนึ่งจากภรรยาจำนวน  4 คนนั้น

17.  สตรีที่ตั้งภาคี  ซึ่งมิใช่สตรีจากชาวคัมภีร์

18.  สตรีที่มีสามีอยู่แล้ว

19.  สตรีที่ยังคงอยู่ในช่วงเวลาการครองตน (عِدَّةٌ) 

20.  สตรีที่ถูกหย่าขาดจากสามีครบ  3  ครั้ง  ไม่อนุญาตให้สามีที่หย่าภรรยาของตนครบ  3  ครั้ง  กลับไปคืนดีหรือนิกาหฺกับภรรยาคนดังกล่าวอีก  จนกว่านางจะได้นิกาหฺกับสามีใหม่อย่างถูกต้องตามหลักการของศาสนา  หากต่อมาสามีใหม่ได้หย่าขาดนาง  และนางพ้นช่วงเวลาการครองตนจากการหย่าของสามีใหม่แล้ว  จึงจะอนุญาตให้สามีเก่านิกาหฺกับนางได้โดยประกอบพิธี  นิกาหฺใหม่และมอบมะฮัรใหม่ 

 

สิทธิและหน้าที่ของสามีภรรยา

อิสลามกำหนดให้สามีภรรยามีสิทธิและหน้าที่ต่อกัน  ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด  ซึ่งสามารถแบ่งสิทธิและหน้าที่ดังกล่าวได้ดังนี้

 

ก.  สิทธิของภรรยาที่สามีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ

       1)  สามีต้องมอบมะฮัรให้แก่ภรรยา  ทั้งนี้มะฮัรเป็นสิทธิทางทรัพย์สินที่ภรรยาจำต้องได้รับจากสามีภายหลังการประกอบพิธีนิกาหฺเสร็จสิ้นสมบูรณ์

      2)  สามีต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู  (نَفَقَةٌ)  แก่ภรรยาตามฐานานุรูปและกำลังความสามารถของตน  เช่น  อาหารและเครื่องนุ่งห่ม  เป็นต้น  ทั้งนี้ให้พิจารณาประเพณีนิยมเป็นหลัก

     3)  สามีต้องใช้ชีวิตคู่กับภรรยาโดยดี

    4)  ให้ความรู้แก่ภรรยาในเรื่องที่เกี่ยวกับหลักการของศาสนาและแนะนำให้ภรรยาปฏิบัติตามหลักคำสอนและมารยาทของศาสนาโดยเคร่งครัด

    5)  ให้ความเป็นธรรมระหว่างภรรยาด้วยกัน  ในกรณีที่สามีมีภรรยามากกว่า  1  คน  ไม่ว่าจะเป็น  อาหาร  เครื่องดื่ม  เครื่องนุ่งห่ม  ที่พักอาศัยและการร่วมหลับนอน

    6)  ต้องไม่นำความลับของภรรยาไปโพนทะนาและไม่กล่าวถึงข้อตำหนิของนางต่อผู้อื่น 

    7)  ให้คำปรึกษาแก่ภรรยาในเรื่องที่เกี่ยวกับครอบครัวและช่วยเหลือภรรยาของตนในงานบ้าน 

 

ข.  สิทธิของสามีที่ภรรยามีหน้าที่ต้องปฏิบัติ

1)  เชื่อฟังสามีในสิ่งที่ไม่ฝ่าฝืนต่อหลักคำสอนของศาสนา

2)  รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของสามี  และรักษาเกียรติของนาง

3)  อยู่ในบ้านของสามี  ไม่ออกนอกบ้านเว้นแต่ได้รับอนุญาต

4)  ดูแลความเรียบร้อยภายในบ้านและรับผิดชอบลูกๆ  ของสามีตลอดจนทรัพย์สินของสามี

5)  ปฏิบัติดีกับญาติฝ่ายสามี 

นบีมุฮัมมัดกล่าวว่า  :

"  أَلاَ إِنَّ لَكُمْ عَلى نِسَاءِ كُمْ حَقًّا وَلِنِسَاءِ كُمْ عَلَيْكُمْ حَقًّا  "

ความว่า “พึงทราบเถิด!  แท้จริงสำหรับพวกท่านมีสิทธิอันเป็นหน้าที่เหนือเหล่าภรรยาของพวกท่าน  และสำหรับเหล่าภรรยาของพวกท่านก็มีสิทธิอันเป็นหน้าที่จำเป็นเหนือพวกท่าน”

(รายงานโดยอัต-ติรฺมีซียฺ )

การหย่า  (اَلطَّلاَقُ)

การหย่า  (اَلطَّلاَقُ)  ตามหลักภาษาหมายถึง  :  การแก้  การปลด  การปล่อย และการหลุด

ตามศาสนบัญญัติ  การหย่าหมายถึง  :  การยกเลิกพันธะที่มีขึ้นจากการนิกาหฺด้วย                     คำหย่า  طَلاَقٌ))  เป็นต้น

โดยหลักศาสนาอนุญาตให้มีการหย่าได้  แต่ในทางปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ  นอกจากมีความจำเป็นสุดที่จะหลีกเลี่ยงได้  ดังที่ปรากฎในอัล-หะดีษ ว่า

"  أَبْغَضُ الْحَلاَلِ إِلَى اللهِ تَعٰالى الطَّلاَقُ  "

ความว่า “สิ่งอนุมัติอันเป็นที่โกรธกริ้วมากที่สุดยังอัลลอฮฺ  คือ  การหย่าร้าง”

(รายงานโดย อบูดาวูด และอิบนุมาญะฮฺ )

องค์ประกอบหลักของการหย่า

การหย่า    มีองค์ประกอบหลัก  3  ประการ  คือ

1)  สามีเป็นผู้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์บังคับของศาสนา  กล่าวคือ  บรรลุศาสนภาวะ  มีสติสัมปชัญญะ  และไม่ถูกบังคับ  การหย่าเป็นสิทธิของผู้เป็นสามีเท่านั้น

2)  ภรรยาเป็นผู้มีความสัมพันธ์ในการนิกาหฺอย่างแท้จริงที่ผูกสัมพันธ์นางกับสามีผู้หย่า  กล่าวคือภรรยายังคงอยู่ในปกครองของสามี  ดังนั้นการหย่าสตรีที่มิใช่ภรรยาของชายผู้หย่า  หรือการหย่าสตรีที่ขาดจากสามีไปแล้วด้วยการหย่า  3  ครั้ง  หรือด้วยการยกเลิกนิติสัมพันธ์สมรส  (فَسْخٌ)  จึงไม่มีผลแต่อย่างใด

3)  ถ้อยคำที่บ่งชี้ถึงการหย่า    แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ

ก.  การหย่าด้วยถ้อยคำที่ชัดเจน  (اَلصَّرِيْحُ)  หมายถึง  ถ้อยคำที่ไม่อาจตีความเป็นอื่นนอกจากการหย่าเท่านั้น  เช่น  เธอถูกหย่า  หรือ  ฉันหย่าเธอ  เป็นต้น  การหย่าด้วยถ้อยคำประเภทที่  1  นี้ถือเป็นผลทันที  เมื่อฝ่ายสามีได้เปล่งวาจาออกมาโดยไม่ต้องมีเจตนาเป็นเงื่อนไข

ข.  การหย่าด้วยถ้อยคำที่ไม่ชัดเจน  (اَلْكِنَايَةُ)  หมายถึง  ถ้อยคำที่ตีความว่าเป็นการหย่าหรือไม่ใช่การหย่าก็ได้  เช่น  “เธอจงกลับไปอยู่กับครอบครัวของเธอ”  หรือ  “เธอจงไปไกล ๆ ฉัน” เป็นต้น  การใช้ถ้อยคำประเภทที่  2  ในการหย่านี้จะไม่เป็นผล นอกเสียจากเมื่อฝ่ายสามีมีเจตนา  (نِيَّةٌ)  ในการหย่าเท่านั้น 

 

ประเภทของการหย่า

การหย่า  ในกรณีสามารถคืนดีได้หรือไม่  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  คือ

1.  การหย่าแบบคืนดีได้  (طَلاَقٌ رَجْعِيٌّ)  คือ  การหย่าที่สามีและภรรยาคืนดีกันได้  โดยไม่ต้องประกอบพิธีนิกาหฺใหม่  และไม่ต้องจ่ายมะฮัรฺอีก  ตราบเท่าที่ภรรยาอยู่ในช่วงการครองตน    ดังปรากฎในอัล-กุรฺอาน ว่า  :

£`åkçJs9qãèç/ur ‘,ymr& £`ÏdÏjŠtÎ/ ’Îû y7Ï9ºsŒ ÷bÎ) (#ÿrߊ#u‘r& $[s»n=ô¹Î) 4 £............  ÇËËÑÈ

 

            ความว่า “และบรรดาสามีของพวกนางนั้นเป็นผู้มีสิทธิที่สุด  ด้วยการนำพวกนางคืนกลับมาในสิ่งดังกล่าว  (คือการคืนดีขณะที่พวกนางยังคงอยู่ในช่วงการครองตน)  หากพวกเขาปรารถนาการประนีประนอม”

                                                     (สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ  อายะฮฺที่  228) 

 การหย่าที่คืนดีกันได้นั้น  มีเงื่อนไขดังนี้

          ก.       ภรรยาที่ถูกหย่าจากสามียังคงอยู่ในช่วงเวลาการครองตน

ข.     การหย่าของสามีนั้นต้องเกิดขึ้นภายหลังการร่วมหลับนอนกับภรรยาแล้ว  ฉะนั้นหากสามีได้หย่าภรรยาของตนก่อนการร่วมหลับนอนกับนาง  ภรรยาก็ขาดจากสามีแล้วและไม่อนุญาตให้สามีคืนดีกับนางได้อีก  เนื่องจากไม่มีความจำเป็นสำหรับนางในการที่จะต้องอยู่ในช่วงเวลาครองตนจากสามี  และการหย่านี้ได้กลายเป็นการหย่าที่ขาด(بَائِنٌ) ไปแล้ว

            ค.       การหย่าของสามีต้องเป็นการหย่าที่ยังไม่ครบ  3  ครั้ง  กล่าวคือเป็นการหย่า  1  ครั้ง  หรือ  2  ครั้ง  เท่านั้น

            ง.       การหย่าที่เกิดขึ้นต้องไม่ใช่การหย่าโดยมีสินจ้าง  (خُلْعٌ) 

2.  การหย่าที่คืนดีไม่ได้แบบบาอินเล็ก  (طَلاَقٌ بَائِنٌ بَيْنُوْنَةً صُغْرَى)  คือการหย่าที่ยังไม่ครบ  3  ครั้ง  และภรรยาได้ผ่านพ้นช่วงเวลาการครองตนจากการหย่าของสามีแล้ว  ในกรณีนี้สามีจะกลับมาคืนดี  (رَجْعَةٌ)  กับภรรยาไม่ได้อีก  นอกจากจะต้องประกอบพิธีนิกาหฺและจ่ายมะฮัรใหม่

3.  การหย่าที่คืนดีไม่ได้แบบบาอินใหญ่  (طَلاَقٌ بَائِنٌ بَيْنُوْنَةً كُبْرَى)  คือการหย่าที่ครบสามครั้งแล้ว  การหย่าประเภทนี้สามีไม่สามารถจะกลับมาคืนดีกับภรรยาที่ถูกหย่าได้อีก  ยกเว้นภายหลังการที่ภรรยาได้สมรสกับชายอื่นอย่างถูกต้อง  และมีการร่วมหลับนอนกับชายผู้เป็นสามีใหม่  ต่อมาสามีใหม่ได้หย่านางหรือเสียชีวิต  นางก็อยู่ในช่วงเวลาการครองตน   เมื่อนางได้พ้นช่วงเวลาการครองตนแล้ว    สามีคนแรกก็ย่อมมีสิทธิที่จะสมรสกับนางได้อีก 

 

ช่วงเวลาการครองตนของสตรี  (العِدَّةُ)

ช่วงเวลาการครองตนของสตรี  เรียกในภาษาอาหรับว่า  อัล-อิดดะฮฺ  (اَلْعِدَّةُ)  ตามหลักภาษา  หมายถึง  การนับจำนวน  ส่วนตามศาสนบัญญัติ  หมายถึง  ชื่อเรียกช่วงเวลาที่ถูกกำหนดแน่นอนซึ่งสตรีต้องรอคอยในช่วงเวลาดังกล่าว  เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ    หรือเพื่อเป็นการแสดงถึงความเศร้าโศกที่มีต่อสามี  หรือ  เพื่อความแน่นอนจากการบริสุทธิ์ของมดลูก 

การครองตนของสตรีในช่วงอิดดะฮฺ  ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการทบทวนและไคร่ครวญสำหรับคู่สามีภรรยาว่าสมควรที่จะแยกจากกันหรือจะกลับคืนดีกัน  นอกจากนี้อิดดะฮฺยังเป็นการป้องกันความสับสนในการสืบสายโลหิต  ทั้งนี้เพราะระยะเวลาที่ถูกกำหนดในการครองตนนั้นเป็นการพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่า  ก่อนที่สตรีผู้นั้นจะนิกาหฺกับชายอื่น  นางมิได้ตั้งครรภ์กับสามีคนก่อนอย่างแน่นอน

ช่วงเวลาในการครองตนของสตรีมีระยะเวลาที่แตกต่างกัน  โดยพิจารณาถึงสภาพของสตรีเป็นหลัก  ดังนี้

1)  กรณีที่สตรีตั้งครรภ์  ระยะเวลาในการครองตนของนางเนื่องจากการหย่าของสามี  สิ้นสุดลงด้วยการคลอดบุตร  ดังปรากฎในอัล-กุรฺอาน ว่า

àM»s9'ré&ur ÉA$uH÷qF{$# £`ßgè=y_r& br& z`÷èŸÒtƒ £`ßgn=÷Hxq 4 ...... ÇÍÈ

 

               ความว่า  “และบรรดาสตรีที่ตั้งครรภ์นั้น  กำหนดเวลาของพวกนางคือการที่พวกนางคลอดบุตร”

                                                     (สูเราะฮฺอัฏ-เฏาะลาก  อายะฮฺที่  4)

2)  กรณีที่สามีของสตรีนั้นเสียชีวิต  หากนางตั้งครรภ์อยู่  ช่วงระยะเวลาการครองตนของนางก็สิ้นสุดลงด้วยการคลอดบุตร  ดังกรณีแรก  ไม่ว่าระยะเวลาการเสียชีวิตของสามีกับการคลอดบุตรจะนานหรือสั้นก็ตาม  ถ้าหากว่านางมิได้ตั้งครรภ์ช่วงระยะเวลาการครองตนของนางคือ  4  เดือน  10  วัน (ตามปฏิทินทางจันทรคติ)   ดังปรากฎในอัล-กุรฺอานว่า

tûïÏ%©!$#ur tböq©ùuqtFムöNä3ZÏB tbrâ‘x‹tƒur %[`ºurø—r& z`óÁ­/uŽtItƒ £`ÎgÅ¡àÿRr'Î/ spyèt/ö‘r& 9åkô­r& #ZŽô³tãur .... ÇËÌÍÈ  

 

               ความว่า “และบรรดาผู้ที่เสียชีวิตจากหมู่สูเจ้าและพวกเขาละทิ้งคู่ครองเอาไว้  พวกนางจะต้องรอคอยด้วยตัวพวกนางเองเป็นระยะเวลาสี่เดือนสิบวัน” 

                                            (สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ  อายะฮฺที่  234)

3) กรณีสตรีที่มิได้ตั้งครรภ์และนางยังคงมีรอบเดือน  (حَيْضٌ)   คือ สะอาดจากการมีรอบเดือน  3  ครั้งนับจากการหย่าของสามี  ดังปรากฎในอัล-กุรฺอาน ว่า 

àM»s)¯=sÜßJø9$#ur šÆóÁ­/uŽtItƒ £`ÎgÅ¡àÿRr'Î/ spsW»n=rO &äÿrãè% 4 ....... ÇËËÑÈ

 

                ความว่า “และบรรดาสตรีที่ถูกหย่านั้น  พวกนางจะต้องรอคอยด้วยตัวของพวกนางเองด้วยการสะอาดจากการมีรอบเดือน  3  ครั้ง”

                                                   (สูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺ  อายะฮฺที่  228)

4)    กรณีสตรีที่ไม่มีรอบเดือน  ด้วยเหตุที่นางยังไม่ถึงวัยการมีรอบเดือนหรือนางพ้นวัยของการมีรอบเดือนแล้ว  ระยะเวลาการครองตนของนาง คือ  3  เดือน  (ตามปฏิทินจันทรคติ)  นับจากการหย่าของสามี  ดังปรากฏในอัล-กุรฺอาน ว่า

‘Ï«¯»©9$#ur z`ó¡Í³tƒ z`ÏB ÇيÅsyJø9$# `ÏB ö/ä3ͬ!$|¡ÎpS ÈbÎ) óOçFö;s?ö‘$#

£`åkèE£‰Ïèsù èpsW»n=rO 9ßgô©r& ‘Ï«¯»©9$#ur óOs9 z`ôÒÏts† 4  ÇÍÈ

            ความว่า “และบรรดาสตรีที่สิ้นหวังจากการมีรอบเดือน  (คืออยู่ในวัยหมดรอบเดือน)  จากบรรดาภรรยาของสูเจ้าทั้งหลาย  หากสูเจ้าทั้งหลายสงสัย  ดังนั้นช่วงเวลาการครองตนของพวกนางคือ  3  เดือน  และบรรดาสตรีที่ไม่เคยมีรอบเดือน  (ก็เช่นกัน)”

(สูเราะฮฺอัฏ-เฏาะลาก  อายะฮฺที่  4)

อนึ่ง ช่วงเวลาการครองตนของสตรีที่ถูกสามีหย่านั้น มีหลักการร่วมกันในกรณีที่ว่า  สตรีจำเป็นต้องอยู่ในบ้านของสามี  โดยจะต้องไม่ออกนอกบ้านยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็น  ส่วนสตรีที่สามีของนางเสียชีวิตนั้น จำเป็นที่นางต้องไว้ทุกข์แก่สามีด้วยการไม่ใส่เครื่องประดับ  ไม่ใช้เครื่องหอม  ไม่ใส่เสื้อผ้าที่มีสีสันฉูดฉาด  เป็นต้น 

    ในกรณีของสตรีที่อยู่ในช่วงการครองตนเนื่องจากการหย่าแบบคืนดีได้หรือการหย่าแบบคืนดีไม่ได้ หากนางตั้งครรภ์  สามีจำเป็นต้องจัดการที่พักอาศัยแก่นางตลอดจนจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่นาง  แต่ถ้านางมิได้ตั้งครรภ์  กรณีนี้จำเป็นที่สามีต้องจัดการที่พักอาศัยแก่นางเพียงอย่างเดียว 

                       

การคืนดี  (اَلرَّجْعَةُ)

การคืนดีระหว่างสามีกับภรรยา  เรียกในภาษาอาหรับว่า  “อัร-รอจฺญ์อะฮฺ”  (اَلرَّجْعَةُ)  หมายถึงการที่สามีหวนกลับไปคืนดีกับภรรยาที่ถูกหย่าในประเภทการหย่าที่สามารถคืนดีกันได้เท่านั้น  โดยการคืนดีของสามีต้องเกิดขึ้นก่อนการสิ้นสุดช่วงเวลาการครองตนของภรรยาตามรายละเอียดที่กล่าวมาแล้ว  ทั้งนี้ไม่ต้องมีการประกอบพิธีนิกาหฺและการจ่ายมะฮัรฺใหม่แก่ภรรยาแต่อย่างใด  แต่ถ้าสามีปล่อยให้ช่วงเวลาการครองตนของภรรยาสิ้นสุดลง โดยที่สามียังมิได้คืนดีกับภรรยา และการหย่านั้นยังไม่ครบ  3  ครั้ง  จำเป็นต้องประกอบพิธีนิกาหฺและจ่ายมะฮัรใหม่แก่ภรรยา  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของภรรยาเป็นสำคัญว่าจะยอมคืนดีด้วยหรือไม่  ส่วนกรณีการคืนดีที่เกิดขึ้นก่อนสิ้นสุดช่วงเวลาการครองตนของภรรยานั้นถือเป็นสิทธิของสามี  ภรรยาจะพอใจหรือไม่ก็ตาม  และศาสนาส่งเสริมให้มีพยานรับรู้  2  คนในการคืนดีของสามีกับภรรยาแต่มิใช่เป็นสิ่งจำเป็นแต่อย่างใด

 

การหย่าโดยมีสินจ้าง  (اَلْخُلْعُ) 

การหย่าโดยมีสินจ้าง  เรียกในภาษาอาหรับว่า  อัล-คุลอุ  (اَلْخُلْعُ)  หมายถึง  การที่ฝ่ายภรรยาไถ่ตัวเองจากสามีที่นางรังเกียจ ด้วยทรัพย์สินที่นางจะจ่ายให้สามีเพื่อให้สามีปล่อยนางไป การหย่าประเภทนี้ถือเป็นที่อนุญาตหากครบเงื่อนไขที่กำหนดไว้  ดังปรากฏในอัล-หะดีษว่า  :

"  أَنَّ امْرأَةَ ثَابِتِ بْنِ قَيْسٍ أَتَتِ النَّبِيَّ فقال : يَا رَسُوْلَ الله ، مَا أَعْتِبُ عَلَيْهِ  في خُلُقٍ وَلاَدِيْنٍ  ،  وَلكِنِّيْ أَكْرَهُ الْكُفْرَ فِى الإِسْلاَمِ  ،  فَقَالَ لَهَا  :  أَتَرُدِّيْنَ عَلَيْهِ

حَدِيْقَتَه  ؟  قالَتْ  :  نَعَمْ  . فقال رسول الله لِزَوْجِهَا  :  اقبل الْحَدِيْقَةَ وَطَلِّقْهَا تَطْلِيْقَةً  " 

ความว่า “ภรรยาของษาบิต  อิบนุ  ก็อยฺส์ มาหานบีมุฮัมมัด   และกล่าวว่า  : “โอ้รสูลุลลอฮฺ    ฉันมิได้ตำหนิเขา  (ษาบิต)  ในเรื่องมารยาทและเรื่องศาสนา  แต่ฉันรังเกียจการฝ่าฝืนในอิสลาม  นบีกล่าวกับนางว่า  :  เธอจะมอบสวนของษาบิตคืนแก่เขาหรือไม่  ?  นางกล่าวว่า  :  ได้สิ !   นบีจึงกล่าวแก่ษาบิตสามีของนางว่า  :  ท่านจงรับเอาสวนนั้น(คืนไป)  และท่านจงหย่านาง  1  ครั้ง”

(รายงานโดยอัล-บุคอรียฺْ)

 เงื่อนไขในการหย่าโดยมีสินจ้าง  (اَلْخُلْعُ)ได้แก่      

1)  การรังเกียจนั้นเกิดจากฝ่ายภรรยา

2)  ภรรยาต้องไม่ร้องขอให้มีการหย่าโดยมีสินจ้าง   นอกจากนางอยู่ในภาวะที่สุดจะทนแล้วเท่านั้น

3)  สามีต้องไม่มีเจตนาทำร้ายภรรยาเพื่อให้นางร้องขอการหย่าโดยมีสินจ้าง 

 

การเลี้ยงดูบุตร  (اَلحَضاَنَةُ)

การเลี้ยงดูบุตรเป็นหน้าที่ของบิดาและมารดา  ฉะนั้นหากเด็กไม่มีบิดาและมารดาก็ให้ญาติในลำดับใกล้ชิดที่สุดเป็นผู้เลี้ยงดู  แต่ถ้าหากเด็กไม่มีญาติใกล้ชิดก็ต้องเป็นภาระของรัฐมุสลิมหรือประชาคมมุสลิมในการอุปการะเลี้ยงดูเด็กนั้น

เมื่อมีการหย่าร้างระหว่างบิดาและมารดาของเด็ก  ผู้มีสิทธิมากที่สุดในการเลี้ยงดูบุตรคือมารดาของเด็กตราบที่นางยังไม่ได้สมรสใหม่  เนื่องจากนบี  ( )  ได้กล่าวกับสตรีที่มาฟ้องร้องท่านถึงสามีของนางที่หย่านางและต้องการพรากบุตรชายไปจากนาง ว่า  :

"  أَنْتِ أَحَقُّ بهِ مَالَمْ تَنْكِحِىْ  "

      “เธอมีสิทธิในตัวเขามากที่สุด ตราบที่เธอยังไม่ได้สมรสใหม่  (กับชายอื่น)” 

(รายงานโดยอะหฺหมัด   อบูดาวูด  และอัล-หากิม)

                หากเด็กไม่มีแม่  หรือมีแต่นางปฏิเสธที่จะเลี้ยงดู  สิทธิในการเลี้ยงดูเด็กตกเป็นของยาย  (แม่ของแม่)  หากไม่มียายสิทธิเลี้ยงดูตกเป็นของย่า  (แม่ของพ่อ)  ถัดมาคือพี่น้องผู้หญิงร่วมพ่อร่วมแม่,  พี่น้องผู้หญิงร่วมพ่อ,  พี่น้องผู้หญิงร่วมแม่,  น้าสาว  (พี่น้องผู้หญิงของแม่)  ป้า  (พี่น้องผู้หญิงของพ่อ)  ลูกสาวของพี่ชายหรือน้องชาย  และลูกสาวของพี่สาวหรือน้องสาวตามลำดับ 

                ระยะเวลาในการเลี้ยงดูบุตรจะดำเนินเรื่อยไปจนกระทั่งเด็กถึงวัยรู้เดียงสา  ( اَلتَّمْيِيْزُ)  อันหมายถึงการที่เด็กนั้นสามารถทำธุระส่วนตัวได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ใด  เช่น  การทานอาหาร  การดื่มน้ำ  การปลดทุกข์  และการชำระร่างกาย  เป็นต้น  ซึ่งวัยรู้เดียงสานี้จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์เมื่อเด็กมีอายุได้  7  ขวบ  ดังนั้นเมื่อเด็กมีอายุครบ  7  ปี  ถือว่าเป็นผู้รู้เดียงสา  (مُمَيِّزٌ)  ระยะเวลาในการเลี้ยงดูก็สิ้นสุดลง  และให้เด็กมีสิทธิเลือกว่าจะอยู่กับผู้ใดระหว่างมารดาและบิดา  ผู้ใดจากทั้งสองที่เด็กเลือกจะอยู่ด้วย  ก็ให้ส่งมอบเด็กแก่ผู้นั้น  แต่ถ้าเด็กไม่เลือกและบิดามารดาของเด็กมีการขัดแย้งกันก็ให้จับฉลากระหว่างบุคคลทั้งสอง

                อนึ่งในกรณีที่ฝ่ายมารดาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตร  บิดาของเด็กมีหน้าที่ต้องออกค่าเลี้ยงดูตามกำหนดเวลาที่ศาสนากำหนดเอาไว้  โดยค่าเลี้ยงดูนั้นให้เป็นไปตามฐานานุรูปของบิดา  

 

 

หมายเลขบันทึก: 411031เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2010 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

มะฮัร(สินสอด)ถือเป็นของขวัญและสินน้ำใจที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงด้วยความเต็มใจ เป็นข้อผูกพันที่สานสายใยแห่งความรักและความเข้าใจกัน

นิติพร วราชิต ม.5/1 เลขที่ 18 นายณัฐดนัย มังกะลัง ม.5/1 เลขที่ 7 นายพัชรพล นิภา ม.5/1 เลขที่ 8

มะฮัร(สินสอด)ถือเป็นของขวัญและสินน้ำใจที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงด้วยความเต็มใจ เป็นข้อผูกพันที่สานสายใยแห่งความรักและความเข้าใจกัน

ร๊อบใบ มัยหมาดเลขที่ 23 ฟารีดา หะยีอาลี เลขที่ 31 ฮาริส หมาดหนุด เลขที่ 26 ชรินทร์ฤทธิ์ ช่างเรือ เลขที่ 11

นักเรียนมีความคิดเห็นการจัดงานวะลีมะฮฺอย่างไรในปัจจุบันเพราะเหตุใด

ตอบ สมัยนี้ผู้คนมักใส่ใจกับมะฮัรและจัดงานฟุ่มเฟือยที่จริงตามหลักการแล้วท่านนบีกล่าวว่า ใช้แพะเพียงตัวเดียวก็เพียงพอแล้ว แล้วส่วนใหญ่พวกหนุ่มสาววัยรุ่นมักจะจ้างผู้คนมาเพื่อทำนอกะฮ์ให้(แอบแต่งงาน)โดยพวกเขาไม่ให้ความสนใจในการจัดงานวะลีมะฮ์

ม.5/1

นายบัยอากี นารีเปน ชั้น ม.501

ปัจจุบันมุสลิมจัดงานวะลีมะกันอย่างฟุ่มเฟือยและไม่คำนึงถึงสุนนะนบีที่ได้กระทำไว้

นาย พีระพงศ์ อบทอง เลขที่ 20 นส.อริสรา ประทาน เลขที่ 14 นาย นพดล หมัดอาดัม เลขที่ 17 นาย อัชอารีย์ บิลละเตะ เลขที่ 24

ตอบ สมัยนี้ผู้คนมักใส่ใจกับมะฮัรและจัดงานฟุ่มเฟือยที่จริงตามหลักการแล้วท่าน นบีกล่าวว่า ใช้แพะเพียงตัวเดียวก็เพียงพอแล้ว แล้วส่วนใหญ่พวกหนุ่มสาววัยรุ่นมักจะจ้างผู้คนมาเพื่อทำนอกะฮ์ให้(แอบแต่ง งาน)โดยพวกเขาไม่ให้ความสนใจในการจัดงานวะลีมะฮ์

มะฮัร(สินสอด)ถือเป็นของขวัญและสินน้ำใจที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงด้วยความ เต็มใจ เป็นข้อผูกพันที่สานสายใยแห่งความรักและความเข้าใจกัน

นาย พีระพงศ์ อบทอง เลขที่ 20 นส.อริสรา ประทาน เลขที่ 14 นาย นพดล หมัดอาดัม เลขที่ 17 นาย อัชอารีย์ บิลละเตะ เลขที่ 24

ม 5/1

นายอามีน หมาดสกุล นายชนกานต์ ชูเลิศ นายฟูรกรณ์ เจะแม นายฟาริส สะมะแอ ม.5/1

มะฮัร(สินสอด)ถือเป็นของขวัญและสินน้ำใจที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงด้วยความเต็มใจ เป็นข้อผูกพันที่สานสายใยแห่งความรักและความเข้าใจ

นางสาวนัสรีน หวังมานะ นางสาวแพรวโพยม วริศราภูริชา นางสาวณัฐธิดา สมานแก้ว ม.5/1

สมัยนี้ผู้คนมักใส่ใจกับมะฮัรและจัดงานฟุ่มเฟือยที่จริงตามหลักการแล้วท่านนบีกล่าวว่า ใช้แพะเพียงตัวเดียวก็เพียงพอแล้ว แล้วส่วนใหญ่พวกหนุ่มสาววัยรุ่นมักจะจ้างผู้คนมาเพื่อทำนอกะฮ์ให้(แอบแต่งงาน)โดยพวกเขาไม่ให้ความสนใจในการจัดงานวะลีมะฮ์

ร๊อบใบ มัยหมาด เลขที่ ๒๓ สิริกัญญา หญ้าปรัง เลขที่ ๒๗ ฟารีดา หะยีอาลี เลขที่ ๓๑ ปรียาพร วงษ์มะเซาะ เลขที่ ๓๐

การหย่าร้างทำให้เกิดผลเสียทางสังคมอย่างไร

ตอบ ทำให้เกิดความแตกแยก แล้วก้อทำให้ลูกขาดพ่อหรือแม่ไปทำให้ลูกนั้นขาดความอบอุ่นทำให้เป็นบ่อเกิดของการเสพยาเสพติด หรือมีปมด้อย เมื่อ พ่อแม่อย่าร้างกัน ทำให้ไม่มีเวลารับผิดชอบดูแล เอาใจใส่ลูก

ม.๕/๑

มาเรียม อัลรุไดนี เลขที่ ๑๖

การหย่าร้างทำให้เกิดผลเสียทางสังคมอย่างไร

ตอบ ทำให้เกิดความแตกแยก แล้วก้อทำให้ลูกขาดพ่อหรือแม่ไปทำให้ลูกนั้นขาดความอบอุ่นทำให้เป็นบ่อเกิดของการเสพยาเสพติด หรือมีปมด้อย เมื่อ พ่อแม่อย่าร้างกัน ทำให้ไม่มีเวลารับผิดชอบดูแล เอาใจใส่ลูก

ม.๕/๑

ฮาริส หมาดหนุด เลขที่ฤ ๒๖ ชรินทร์ฤทธิ์ ช่างเรือ เลขที่ ๑๑

การหย่าร้างทำให้เกิดผลเสียทางสังคมอย่างไร

ตอบ ทำให้เกิดความแตกแยก แล้วก้อทำให้ลูกขาดพ่อหรือแม่ไปทำให้ลูกนั้นขาดความอบอุ่นทำให้เป็นบ่อเกิดของการเสพยาเสพติด หรือมีปมด้อย เมื่อ พ่อแม่อย่าร้างกัน ทำให้ไม่มีเวลารับผิดชอบดูแล เอาใจใส่ลูก

ม.๕/๑

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท