ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

บทความที่ดี


การเขียนบทความที่ดีส่วนใหญ่มักจะแบ่งส่วนสำคัญออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนแรก คือ ชื่อเรื่อง ส่วนที่สอง คือ คำนำ ส่วนที่สาม คือ เนื้อเรื้อง ส่วนที่สี่ คือ สรุป จบ

บทความที่ดี

โดย..ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

http://www.drsuthichai.com

ผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตส่วนใหญ่มักจะเป็นนักสื่อสาร ไม่ว่าจะด้วยการพูดหรือการเขียน ถามถ้าว่าระหว่างการพูดกับการเขียน อะไรยากกว่ากัน ผมเชื่อแน่ว่า คนส่วนใหญ่มักจะบอกว่าเขียนซิยากกว่าพูด แต่การเขียนก็เหมือนกับการพูดอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าเราอยากเป็นนักเขียน เราต้องเริ่มศึกษาหาความรู้หลักวิชาการเขียนแล้วจึงเริ่มเขียนครับ เหมือนกัน คนพูดเก่งก็มักจะมีหลักวิชาแล้วจึงพัฒนาฝึกฝนการพูดจนสามารถพูดได้ดี การเขียนก็เช่นกัน ดังนั้นเราสามารถพัฒนาการเขียนของเราได้ถ้าเรามีความพยายามเพราะการเขียนมีความสำคัญต่อชีวิต นักเรียน ต้องเขียน การบ้าน ข้อสอบ รายงานส่งครู , ครู อาจารย์ ต้องเขียน หนังสือ ตำรา เอกสารประกอบการสอน , นักข่าว ต้องเขียนข่าว ฯลฯ้วจึงเริ่มเขียนครับ เ แต่ถ้าจะพูดถึงงานเขียนแล้วมีหลากหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่างานเขียนนวนิยาย งานเขียนสารคดี งานเขียนตำรา งานเขียนเรียงความ งานเขียนบันทึก และ งานเขียนบันเทิงคดี เรื่องเล่า นิทาน เรื่องสั้น บทละครพูด ฯลฯ สำหรับบทความฉบับนี้เราจะมาพูดถึงงานเขียนบทความที่ดี การเขียนบทความมีความคล้ายกับการเขียนเรียงความ คือ มีชื่อเรื่อง มีคำนำ มีเนื้อเรื่องและสรุปจบ แต่มีความแตกต่างกันบางประการเช่น บทความมักจะต้องมีความคิดเห็นของผู้เขียนกับข้อเท็จจริงประกอบอ้างอิง ส่วนเรียงความมักจะมุ่งเรื่องความรู้มากกว่าการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งก็คือ การเขียนบทความมักจะมีความทันสมัยมากกว่าการเขียนเรียงความ การเขียนเรียงความอาจเขียนเรื่องในอดีต อนาคต แต่การเขียนบทความผู้เขียนมักจะเขียนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน สำหรับประเภทของบทความ มีการแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน เช่น บทความทางวิชาการ,บทความแสดงความคิดเห็น,บทความเชิงวิจารณ์,บทความประเภทสัมภาษณ์ ฯลฯ แต่การเขียนบทความที่ดีส่วนใหญ่มักจะแบ่งส่วนสำคัญออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนแรก คือ ชื่อเรื่อง ส่วนที่สอง คือ คำนำ ส่วนที่สาม คือ เนื้อเรื้อง ส่วนที่สี่ คือ สรุป จบ เราลองมาดูส่วนแรกกัน คือชื่อเรื่อง ทำอย่างไรให้ผู้อ่าน เห็นแล้วเกิดอาการอยากอ่าน...อยากรู้....การตั้งชื่อเรื่องที่ดีเป็นอย่างไร...ผมอยากแนะนำให้ไปดู พาดหัวตัวใหญ่ หน้าหนึ่ง...หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ต่างๆ เช่น นสพ.ไทยรัฐ , นสพ.เดลินิวส์ ,นสพ.มติชน ฯลฯ เมื่อได้อ่านแล้วเกิดอาการอยากอ่านเนื้อหาต่อ ส่วนที่สองคือ คำนำ ต้องสอดคล้องกับหัวข้อเรื่อง...บอกย่อๆว่า...เกิดอะไร...ที่ไหน...เมื่อไร.. เร้าความสนใจ...คำนำมักจะอยู่ย่อหน้าแรกของบทความ อาจขึ้นต้นด้วยคำถาม อาจขึ้นต้นด้วยการยกตัวอย่างหรือด้วยการเหตุการณ์เพื่อโยงไปถึงส่วนของเนื้อหา ส่วนที่สาม คือ เนื้อเรื่อง ต้องสอดคล้องกับคำนำและสรุปจบ ...มีความเป็นเอกภาพ...บอกรายละเอียด...มีความกลมกลืน...อาจลำดับเวลา สถานที่ ก่อนหลัง จากอดีต มาปัจจุบัน ไปอนาคต หรือจากน้อยไปหามาก ส่วนของเนื้อเรื่องจะใช้พื้นที่มากที่สุดในการเขียนบทความ ส่วนที่สี่ คือ สรุปจบมักจะเฉลยส่วนสำคัญของเรื่อง....มักจะอยู่ย่อหน้าสุดท้ายของบทความ อาจให้แง่คิดที่สำคัญของบทความที่เขียน มีความสั้นกระชับ มีความยาวใกล้เคียงกับคำนำ สรุป การตั้งชื่อเรื่องต้องหยุดคนอ่านได้ เห็นชื่อเรื่องแล้วอยากรู้อยากอ่านต่อ คำนำต้องยั่วยุให้อยากอ่านเนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องต้องกลมกลืน มีเอกภาพ สรุปจบต้องประทับใจผู้อ่าน

คำสำคัญ (Tags): #บทความ
หมายเลขบันทึก: 410550เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2010 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บทความประกอบด้วยสี่ส่วน

ชื่อชวนอ่าน

บทนำน่าสนใจ

เนื้อหากลมกลืน

สรุปประทับใจ

ขอบคุณครับมีประโยชน์มาก

ขอขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลที่เติมเต็มให้ครับ

สำหรับ meepole แล้วการเขียนยากกว่า เพราะเคยลองเขียนมาแล้ว คิดมากจริงๆ กว่าจะเขียน โดยเฉพาะที่ต้องเขียนให้คนอื่นอ่าน เพราะต้องคำนึงถึงอะไรหลายๆอย่าง เช่น ความเหมาะสมของภาษา (จะมีขำขันเจือปนได้ใหม ภาษาท้องถิ่น ฯ) ความถูกต้องของคำที่ใช้ สะกดคำต้องคอยระวัง วัยคนอ่าน ทำยังไงหัวเรื่องจึงเป็นที่น่าสนใจ ..อื่นๆมากมาย (ถ้า diary อ่านเองไม่มีปัญหา ประธาน กิริยา กรรม เอามาเริ่มได้หมด นอกจากนี้การเขียนที่ไร้สาระมากเกินไป เขียนกันเต็มไปหมดสู่พื้นที่สาธารณะ (ภรรยาไม่อยู่ ลูกนอนหลับ กินข้าวไม่ลง นอนสะดุ้ง เจอดารา....) มันก็ส่อให้เห็นถึงตัวตน แนวโน้มของสังคมกลุ่ม และที่สำคัญมากคือ สิ่งที่เขียนออกมา มันเป็นหลักฐาน คำพูดเพียงลมปาก เดี๋ยวก็หมด (ไม่งั้นจะมีคนที่ชอบรับปากกันแล้วลืมไปทั่วเมือง จนวุ่นวายเรียกร้องทวงสัญญากันมากมายอย่างทุกวันนี้หรือ? )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท