เปิดโลกใหม่โดยการร่วมInternational Symposium on International Law and the Prosperity of Asia


การเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ นับว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ของตัวเองในอีกมุมมองหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

วันนี้ มีโอกาสไปสัมมนา ในหัวข้อ International Symposium on “International Law and the Prosperity of Asia” ซึ่งจัดโดย Saranrom Institute of Foreign Affairs and the International Law Association of Thailand.

 

เป็น Symposium ที่มีความสำคัญอีกงานหนึ่งของประเทศไทย เพราะเป็นเวทีที่มีบุคคลที่มีชื่อเสียงในสาขากฎหมายระหว่างประเทศของโลก เข้าร่วมมากมาย อาทิเช่น Judge Hisashi Owada (International Court of Justice), Prof. Li Zhaojie (China), Prof. Merlin M. Magallona (Phillippines), Prof. Vittit Muntarbhorn (Special Rapporteur of the UN Commission on Human Rights), Prof. Yogesh Tyagi (India), Prof. Lim Chin Leng (Singapore) เป็นต้น

 

สำหรับเราในฐานะที่เป็นมหาบัณฑิตจบใหม่ และกำลังเลือกว่าจะไปทำงานที่ไหนต่อนั้น การเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ นับว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ของตัวเองในอีกมุมมองหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง รับรู้ว่าเวทีโลกในปัจจุบันเขาถกเถียงกันเรื่องอะไรบ้าง เพราะนอกจากการเรียนในห้องเรียน อ่านหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ก็ต้องใช้เวลากว่าจะตาม trend  ของโลกทัน ทั้งยังได้ฟังความคิดเห็นของคนที่เราเคยอ่านหนังสือเขาอยู่ น่าปลื้มใจและได้รับความรู้มาก จริง ๆ

 

Symposium ในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 Session โดย

Session 1 “Contribution of International Law for the Prosperity of Asia: Peace, Security and Disputes Settlements”

Session 2 “International Humanitarian Law and Human Rights: Asian Perspective”

Session 3 “Law of the Sea in Asia”

Session 4 “ Internaitonal Trade and Economic law:Prospects and Challenges for Asia

 

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนักกฎหมายระหว่างประเทศของโลกสนใจภูมิภาคเอเซียใน 4 ประเด็นหลัก ๆ ซึ่งประเด็นดังกล่าวประกอบด้วย กฎหมายในเรื่องต่าง ๆ ทั้งเรื่องสันติภาพของโลก ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน กฎหมายทะเล เศรษฐกิจ ซึ่งเรื่องดังกล่าวสามารถแตกประเด็นออกมาถกเถียงได้อีกมากมาย

 

นอกจากนี้การประชุมในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างภูมิภาคเอเชีย โดยจะมีการจัดตั้ง ASIL ในอีกสองปีข้างหน้า

หมายเลขบันทึก: 41053เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบใจจ๊ะรัตน์ที่มาเล่าให้ทราบ

ถ้ามีรายละเอียดในแต่ละเรื่อง เล่าด้วยก็ดีค่ะ

กำลังค่อย ๆ เขียนออกมาเป็นแต่ละ session คะ

รอหน่อยนะคะ

The issues,which I'll be waiting for u to elaborate it, that I concentrate on this, are comprised in these follows :

1. The peculiars of Asian value or Asian perspective"s" of international law.

It bring us to the arising questions; Does we have it and if we have it, what is it or what are they? and if we can denote it, how can we,under the progressive principle of cooperation among states or entities, bring it for the light of international plane ?. this issues carried out by Judge Owada and Professor Yogesh Tyagi    

from my point of view, It's really the stunning issues for the world community which I'll have to study the papers more to contemplate it to implement some articles out from it and I will expree it in my blog later

2. Doctrinal problems related to multilateral disciplines, it happen in the practical field in internaitonal community : What do you wanna speak out lound to be either Gattist or bilateralist ? 

this issues carried out by Professor C.L Lim , which the most adorable-in the performance of the presentation disscussant in this symposium, and be extended by Professor Subedi which demonstrate us, as arjarn Jaturon conclusively explain in his book, "the fighting among ideals and goals which have been derived by the post-WW2 school of thought" and altogether which the classic but controversial quote of Magareth Thacther, "Ther is no others ways" 

I'll  explain in details in my blog krub.

     ตามความเห็นของดิฉันในฐานะที่ได้มีโอกาสเข้าเป็นผู้เข้าร่วมสัมมนาอีกคนหนึ่ง มีประเด็นครอบคลุมตามที่พี่รัตน์และคุณแทนเพิ่มเติมค่ะ และตามที่เข้าใจประเด็นหลักจริงๆ อยู่ที่พื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นจากวัฒนธรรมของคนเชีย เช่น เรื่องกฎหมายมนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน หรือ กฎหมายทะเล หรือ กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศโดยฉพาะรูปแบบในการสร้างพันธกรณีระหว่างประเทศ ดังนั้นจะเกิดองค์การความร่วมมือทางกฎหมายกฎหมายระหว่างประเทศในภูมภาคเอเชียได้ ก็ต่อเมื่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ต้องร่วมมือกันที่จะก่อให้เกิดทางปฏิบัติที่ลักษณะเป็นเอกลักษณ์หรือมีวิธีการในการสร้างหลักกฎหมายในมุมมองแบบเอเชียโดยแท้ มิใช่ต้องรอการก่อตัวของกฎหมายจากโลกตะวันตกแต่เพียงอย่างเดียว จึงจะสามารถบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศได้เป็นผลสำเร็จ

     ตลอดจนทางปฏิบัตินั้นต้องสอดคล้องกับวิถึทางวัฒนธรรมของคนเอเชียอีกด้วย จึงจะก่อให้เกิด opinio juris   ขึ้นในภูมิภาคนี้เกิดเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศอันเป็นบ่อเกิดประการหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ และองค์การกฎหมายระหว่างประเทศแห่งเอเชียก็สามารถก่อตั้งขึ้นได้ในความเป็นจริงในการสร้างหลักกฎหมายระหว่างประเทศและการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายต่อรัฐสมาชิก มิใช่เป็นเพียงองค์การเสือกระดาษระดับภูมิภาค

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท