โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

บทสรุปแห่งการเดินทาง-4


ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเก่าแก่และมีชื่อเสียงยังจัดโดยพระ..............

บทสรุปแห่งการเดินทาง-4

โสภณ  เปียสนิท

 

................................

 

 

                     พบว่าการศึกษาของฝรั่งในอดีตจัดโดยพระ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเก่าแก่และมีชื่อเสียงยังจัดโดยพระ แม้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในประเทศไทยที่มีภราดาประทีป เป็นอธิการใหญ่ยังเคยตอบคำถามเรื่องการสอนศาสนาในสถานศึกษาว่า “เราเป็นมหาวิทยาลัยศาสนา.....” ด้วยความภาคภูมิใจ ที่มาเลเซียนั้น ในทุกสถานศึกษาต้องมีที่ทำละหมาด แม้รัฐสภายังต้องมีมัสยิดตั้งตระหง่านงดงาม สถานศึกษาไทยต้องเอาเป็นแบบอย่าง เร่งส่งเสริมการสวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติธรรมควบคู่กับสรรพวิชาเพื่อส่งเสริมความสุขของสังคม

 

                    การเรียนหนังสือด้วยการวิเคราะห์แยกแยะเป็นจุดเด่นของตะวันตก การท่องบ่นทรงจำเป็นจุดเด่นของตะวันออก ในความเห็นของผมแล้วไม่ควรตำหนิจุดเด่นของตนแล้วก้าวตามเขา แต่ควร “รักษาจุดเด่น แล้วเน้นจุดด้อย" เสริมเข้าจักทำให้การศึกษาเรารุ่งเรือง และที่สำคัญสถานศึกษาต้องไม่ทอดทิ้งสังคม

 

                 ความจริงอีกประการหนึ่งที่ได้พบคือ หลักแห่งความเป็นอนิจตา ความไม่เที่ยง บ้านเมืองที่เคยรุ่งเรืองถึงขีดสุดในที่สุดแล้วก็เสื่อมลงเช่นกรุงโรม ชีวิตของคนที่เคยดำรงอยู่ในยุคนั้นต่างล้วนล้มหายตายจากไป ทิ้งบทบาทลีลาชีวิตไว้เป็นเครื่องเตือนใจอนุชนรุ่นหลังให้ตระหนัก ไม่ว่าจะเป็นเจ้าฟ้า พระยา หรือไพร่ ทิ้งทรัพย์สินบ้านเรือนรกร้างถูกดินถมทับจมหายอยู่เบื้องล่างทั้งที่เคยแหนหวงแสวงหาอย่างเอาชีวิตเข้าแลก

 

                      มีบางอย่างที่ยังไม่ได้คำตอบจากการเดินทางในครั้งนี้ คือเราสอนกันอย่างไรให้นักเรียนนักศึกษาตีกันจนแก้ไม่ตก ให้นักเรียนติดเกมส์ติดเที่ยวจำนวนมาก นักศึกษานิยมการอยู่กันเป็นคู่ก่อนเวลาอันควร สอนกันอย่างไรจนครูเห็นว่ากิจกรรมทางศาสนาไม่เกี่ยวข้องกับความดีงามในชีวิตของผู้เรียน และไม่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่สอน จนผู้จบการศึกษาหมิ่นผู้ที่ไม่ได้เรียนหรือเรียนน้อยกว่า และมุ่งหาวิธีการเอาเปรียบผู้ที่ฉลาดน้อยกว่าโดยไม่ใยดีว่าเราจะอยู่ร่วมกันในสังคมนี้อย่างไร หรือว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษา?

 

หมายเลขบันทึก: 410358เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2010 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2012 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ภาพภราดาประทีป อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เคยตอบคำถามด้านการจัดการเรียนการสอนเรื่องคุณธรรมว่า

"ในฐานะเราเป็นมหาวิทยาลัยทางศาสนา นศ. คนขาดเรียนวิชาด้านคุณธรรม เกิน2ครั้ง ต้องลงเรียนใหม่"  

สวัสดีค่ะอาจารย์โสภณ

ชอบหมัดแย็บย่อหน้าสุดท้าย ทีเคโอเลยค่ะ จิตสำนึกเรื่องคุณธรรมความดีและรักศักดิ์ศรี ละอายต่อบาป อาจจะไม่ได้อยู่ที่ระดับการศึกษา? นะคะ  

เห็นด้วยอย่างยิ่งยวดกับ สถานศึกษาไทยต้องเร่งส่งเสริมการสวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติธรรมควบคู่กับสรรพวิชา .. ค่ะ เพราะพุทธศาสนาสั่นคลอนในระดับมหภาคน่าวิตกค่ะ

Ico32เรียนคุณปูครับ

ถามผู้ประกอบการทุกแห่งว่าต้องการบัณฑิตแบบไหน ปรากฏว่า "ต้องการนักศึกษาที่มีคุณธรรม" เกือบทั้งนั้น แต่สถานศึกษามหาวิทยาลัยกลับ ยึดอุเบกขธรรม "เฉย" ทำอย่างมากสุดเลยคือ ใสไว้ในสโลแกนหรูหรา ติดหน้าสถานศึกษาว่า "ความรู้คู่คุณธรรม" หรือไม่ก็ให้เด็กท่อง แจ่มเลย......

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท