การจัดการความรู้ในสถานศึกษา:98


โรงเรียนในฝัน คือ การสร้างโอกาสให้เด็กไทย

โรงเรียนในฝันของปตท.

      เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ทางโรงเรียนของเราได้รับเกียรติจากผู้บริหารและคณะครูจากโรงเรียนมัธยมท่าแคลง จังหวัดจันทบุรี ขอเข้าร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานโรงเรียนในฝันของโรงเรียนในฐานะที่โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 1 ซึ่งมัธยมท่าแคลงเป็นโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 3

    ทั้งนี้ด้วยโรงเรียนมัธยมท่าแคลงกำลังจะถูกประเมิน จึงนำคณะครูมาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานโรงเรียนในฝันร่วมกัน เพื่อรองรับการประเมิน

    กระบวนการของการศึกษาดูงานในครั้งนี้พิเศษตรงที่กระบวนกรหลักในการเปิดพื้นที่การเรียนรู้ของการแลกเปลี่ยน คือ ท่านผู้อำนวยการวีรศักดิ์  วรรณรัตน์ ผู้อำนวยการFA มืออาชีพ นำคณะทำผ่อนคลายด้วยการทำสปาแห่งความสุข ประกอบเพลงเบา ๆ สบายๆ

แล้วชวนผู้บริหารและคณะครู ย้อนคิดถึง "แรงบันดาลใจที่มาเป็นครู" "ครูโรงเรียนในฝัน" จับคู่ชวนคิด ชวนคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันก่อน

      หลังจากนั้นก็แบ่งคณะศึกษาดูงานเป็น 3 กลุ่มเพื่อเข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามทีมดำเนินงานโรงเรียนในฝันของเรา ได้แก่ ทีมนำ นำโดยท่านผู้อำนวยการ และรองผอ.ฉัตรชัย  ตรีสุคนธ์ ทีมทำ นำโดย ผมและรองฯเบญจณี  บุญอบ ทีมประสาน นำโดย ครูสุลัคน์  ณ รังษี

      จากการพูดคุยพบว่าคณะครูท่าแคลงค่อนข้างกังวลกับการรับการประเมินโรงเรียนในฝันครั้งนี้มาก แต่เราก็เห็นว่าครูทุกคนมีความพยายาม ตั้งใจ และใจสู้ทุกคน ซึ่งเราก็ได้ให้กำลังใจในการทำงานซึ่งกันและกัน

      การดำเนินงานโรงเรียนในฝันจะสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือหลายๆฝ่าย บูรณาการการทำงานกันให้เป็นหนึ่งเดียว โดยที่ทุกคนต้องมีฝันร่วมกัน( Shared Vision) ชุมชน ผู้ปกครอง นักเรียนต้องมีความฝันร่วมกับโรงเรียน วางแผนร่วมกัน ทำงานร่วมกัน ประเมินผลร่วมกัน และร่วมรับผลร่วมกัน(ทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว)

      การดำเนินงานโรงเรียนในฝันสมาชิกทุกคนต้องร่วมแรง ร่วมกันกันเพื่อไปให้ถึงความฝัน ของโรงเรียนเราเริ่มจากการร่วมฝันร่วมกัน โดยการทำเวทีประชาคมระดมความคิดเห็นของคนในชุมชน จนออกมาเป็นฝันร่วมของชุมชน

      โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม โชคดีที่เรามีภาคีเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะบริษัทอุปถัมภ์ คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่เข้ามาร่วมทำงานกับเราตลอด 6 ปีที่ผ่านมา แม้ปิดโครงการไปแล้ว ก็ยังทำงานร่วมกันมาโดยตลอดทุกเดือน โดยเฉพาะความพยายามด้านการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน

       ซึ่งถือเป็นการทำงานด้านสังคมที่คืนกำไรแก่สังคมได้เป็นดียิ่งของบริษัทยักษ์ใหญ่ของเมืองไทย

หมายเลขบันทึก: 410067เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2010 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นข้อเขียนที่ชวนให้คิดต่อครับ

สวัสดีครับคุณเบดูอิน

ขอบคุณมากครับที่มาร่วมคิดครับ

เรียน คุณครูคมสัน

มาอ่านเฉยๆ มีความคิดเห็นอยู่(แต่คิดในใจ)

คุณครูคมสันทำงานหนักจังค่ะ เห็นคุณครูไปประชุมอย่างนี้ นึกถึงตอนมัธยม ถ้าตรงคาบเรียนนะ โห...ในที่สุด "คาบอิสระ" ก็มาถึงแล้ว ถ้าอาจารย์คนไหนวางแผนล่วงหน้า ก็จะมีการบ้านพร้อม แต่ถ้าไม่ กิจกรรมความบันเทิงรูปแบบต่างๆ ก็จะเริ่มขึ้น หนูถึงคิดได้ว่า ในขณะที่พวกเรากำลังสนุก แต่คุณครูต้องนั่งฟังทั้งคาบ แย่เหมือนกันนะคะ

ที่เห็นอยู่เป็นคณะครูอาจารย์ของบ่อไร่ฯ ปัจจุบันหรือคะ จำได้ อ.ฉัตรชัย เสี้ยวหน้าคุณครูสุลัคน์ ส่วน อ.เบญจนี ไม่เห็นเลยค่ะ

เห็นคุณครูคมสันไม่ค่อยชัดตรงโต๊ะสีแดง เลยบอกไม่ได้ว่า คุณครูยังดูดีอยู่รึเปล่า 5555+

ยังไงก็ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ

รักและเคารพ

อัญชนก

สวัสดีค่ะ

สุขสันต์วันพ่อนะคะ  เห็นอยู่หน้าจอจึงมาทักทาย  ขอเป็นกำลังใจนะคะ

สวัสดีครับคุณครูคิม

มาร่วมทำดีให้พ่อดูกันครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับสาวแป๋ว

ภาคภูมิใจครับที่ เธอเป็นคนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเธอเป็น"นักเรียนรู้"มาตั้งแต่นักเรียน จนถึงเป็นนักศึกษา เป็นผู้ใหญ่ที่ดีในขณะนี้ และไม่ลืมครูและโรงเรียน ยังเข้ามาเรียนรู้กิจกรรม และเรื่องราวของโรงเรียนมาโดยตลอด

ขอบใจมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท