เรื่อง จากบนลงล้าง จากนอกเข้าใน จากคนเมืองสถานภาพสูงสู่คนชนบทสถานภาพต่ำ จากทางการสู่ทางแดง เรื่องแปลก ของชาวชุมชนท้องถิ่นในสังคมชนบท ที่คิดเอง ทำเอง สู้เอง ไม่ได้หรอ


คิดเอง ทำเอง สู้เอง ไม่ได้หรอ

เรื่อง จากบนลงล้าง จากนอกเข้าใน  จากคนเมืองสถานภาพสูงสู่คนชนบทสถานภาพต่ำ จากทางการสู่ทางแดง เรื่องแปลก ของชาวชุมชนท้องถิ่น ในสังคมชนบท ที่คิดเอง ทำเอง สู้เอง ไม่ได้หรอ

                หลายครั้งหลายหน ที่สงสัยแปลกใจ ตั้งคำถาม หาคำตอบ จากประสบการณ์  ในการไปเข้าร่วมการประชุม สัมมนา เสวนา ทั้งวงเล็ก วงใหญ่ ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ มาพูด พูด พูด พูดคุยกันถึงปัญหา  การสงเสริมพัฒนา สร้างสรรค์  เรื่องของคุณภาพชีวิตคน สังคม ในด้านต่างๆ หลากหลายเรื่อง แต่เป็นเรื่องของคนในต่างจังหวัด ของชุมชนชนบท หรือชุมชนเมือง เช่น ด้าน การศึกษา ที่ดินทำกิน เกษตร การเมืองท้องถิ่น สาธารณะสุข กล่าวได้ว่า แทบทุกเรื่อง ทั้งด้านบวก ด้านลบ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน และ สังคม

                  ซึ่งเมื่อประชุมเสร็จ ได้สรุปการประชุม ได้มีข้อเสนอแนะที่ต้องนำขอเสนอแนะ ส่งต่อเรื่องในตอนเย็น เพื่อให้ นายกรัฐมนตรี  ให้กับรัฐมนตรี ให้ผู้บริหาร ตัวแทนของหน่วยงานกระทรวงที่รับผิดชอบๆ ไปสั่งการ ไปบริหารจัดการ นำไปเป็นนโยบาย ซึ่งเป็นการทำทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกี่ยวกับเรื่องของชาวบ้าน ชุมชน เช่น กฎข้อห้าม การกระตุ้น ให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การมีส่วนร่วม ขอความร่วมมือ งานอาสาสมัคร การพัฒนาคน ชุมชน สังคม

                  ซึ่งคนในเหล่านั้น ได้มาประชุม เสวนา สัมมนา  กันในโรงแรม ที่ห้องประชุมต่างๆ ในกรุงเทพ แต่เรื่องที่คิดที่พูด ต้องการแก้ไขพัฒนา สงเสริมให้เป็นนโยบาย หรือของบประมาณนั้น เป็นการนั่งคิด การกระทำ ในเรื่องที่ลงไปที่ชาวบ้าน ไปที่ชุมชนท้องถิ่น

                    ลักษณะเช่นเดียวกัน ที่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เพราะ อยู่ในสื่อทีวี จากข่าวสถานการณ์บ้านเมือง ข่าวเรื่องทางสังคม เช่น สถานการณ์เรื่องน้ำท้วมที่เกิดสดๆร้อนนั้น เห็นในรายการทางทีวี แทบทุกช่องได้เชิญวิทยากรมานั่งสัมภาษณ์ เรื่องของปัญหาน้ำท้วม พูดคุยในประเด็น ต่างๆนาๆ ซึ่งมันทำให้มีความรู้สึก มีความคิดว่า ตัวผู้พูด ท่านวิทยากรเหล่านั้น หน้าตาเป็นคนกรุงเทพมากๆ หรือ หลายคนคงอาจได้ไปเรียนเมืองนอกมาหลายปี และคงอาจไม่ใช้คนที่เติมโต ในจังหวัด ในพื้นที่ท้องถิ่นที่ประสบภัยปัญหาน้ำท้วม นั้นเลย อาจคงเคยได้ไป เคยผ่านลงไปในพื้นที่ประสบปัญหาไม่กี่ครั้ง มันเป็นการไปแก้ไขปัญหาของคนอื่น ของพื้นที่ ของท้องถิ่นอื่นๆ ที่ไม่ใช้พื้นที่ซึ่งนักวิชาการผู้มาให้ความรู้มาพูดนั้น พักอาศัยอยู่เลย 

                   แต่ทำไมไปพูดไปรู้เรื่อง ทั้งสภาพภูมิประเทศของท้องถิ่นที่ประสบภัยน้ำท้วม สภาพลุมน้ำที่ประสบภัย รู้ปัญหาทั้งหมด แสดงความคิด มีความรู้ วิธีการป้องกัน การแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน ของชุมชน ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท้วมนั้น

                 หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ที่พบในสื่อทีวี กรณีเลือกตั้งในประเทศพม่า หรือ กรณีล่าสุด คือ การปะทะยิงกัน ระหว่าง ทหารฝ่ายกระเหรี่ยง กับ ทหาร พม่า ทำให้มีผู้อพยพ หนี้ภัยสงคราม ทิ่งบ้านเรือน ข้ามแม่น้ำสาระวิน มาพักอาศัยบนฝั้งดินแดนไทยเป็นหมื่นๆ คน ซึ่งจากทั้ง 2 กรณี เช่นกัน ได้มีรายการทีวี เชิญผู้มีความรู้ นักวิชาการ มาวิเคราะห์สถานการณ์ สภาพปัญหา ความเป็นไปในอนาคต ปัจจัยแวดล้อม ต่างๆนาๆ

                จากข่าวทีวีมีวิทยากร นักวิชาการ มาให้ความรู้ หลากหลายท่าน  ในหลายๆรายการนั้น ทุกคนเป็นคนไทยแท้ๆ แต่ยังเก่งมากๆ ไปรู้สภาพปัญหา สถานการณ์ ปัจจัยแวดล้อม วิเคราะห์สถานการณ์ในอนาคตต่างๆได้ด้วย มันสะท้อนคนพูด  ขนาดไปมีความรู้ถึง เรื่องของสภาพคน สังคม บ้านอื่น เมืองอื่น เรื่องของต่างประเทศอีกยังได้

                    ซึ่งการได้มาขององค์ความรู้นั้น คงมีลักษณะคล้ายๆ เช่นเดียวกันกับ วงประชุม วงเสวนา สัมมนา ของผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ที่มาพูด พูด พูด ถึง การแก้ไขปัญหา  การส่งเสริมพัฒนา สร้างสรรค์  ของคนของสังคม ในด้านต่างๆนั้น ที่เห็นหลายคนมีการนำเสนอ ในลักษณะของข้อมูลงานวิจัย ไปศึกษาวิจัยมา ซึ่งเข้าใจว่า ข้อมูล ข้อเสนอแนะนั้น เป็นการศึกษาเรียนรู้มาจาก กูเกิ้ล หรือ มาจากงานวิจัยที่มีคนทำคิดมาแล้ว เป็นงานที่อยู่ในห้องสมุท จากหนังสือ จากเอกสาร แล้วทำความเข้าใจ เอาประเด็นนั้น ประเด็นนี้ มาผสมกันจับประเด็น หาประเด็น หรือได้มารวบร่วม ทบทวนวรรณกรรม เป็นการวิเคราะห์ เข้าใจสถานการณ์ การส่งเสริมพัฒนา แก้ไขปัญหา พัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมจากตัวหนังสือ แล้วนำมาพูด นำมาเสนอ หรือเปล่า เพราะมีความรู้สึกว่ามันเป็นอย่างนั้น

                  และผู้คิดผู้เสนอแนะข้อมูล การแก้ไขปัญหา ส่งเสริมพัฒนา คุณภาพชีวิตคน ชุมชน สังคมในชนบท เหล่านั้น อาจเป็นคนในสังคมเมือง เป็นคนกรุงเทพ  บ้างคน หรือหลายคน อาจมีวิถีชีวิต การดำรงชีวิต ที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง หรือไม่ต้องประสบภัย ไม่ได้ประสบปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิต ที่ตัวเองไปคิด ไปแนะนำส่งเสริมแก้ไขพัฒนา เหล่านั้นเลย ไม่ได้มีสถานภาพวิถีชีวิตดำรงอยู่ในสังคมสภาพแวดล้อมที่ประสบปัญหานั้น ไม่ได้มีที่พักอาศัย ญาติพี่น้องอยู่ในท้องถิ่นนั้น

                ไม่ได้ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสังคม ของตัวเอง เกี่ยวกับสิ่งที่ได้พูด ที่ได้เสนอแนะเลย  เพราะคุณภาพชีวิตคนพูดคนเสนอนะคงดีอยู่แล้ว แต่ไปมีความรู้ความเชี่ยญชาญในเรื่องที่ตัวเองไม่ได้ประสบกับสภาพปัญหา กล่าวได้เป็นแต่เพียงเพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมโลก ซึ่งมันเป็นประเด็นสำคัญ ว่าควรคบกันเป็นเพื่อนกันยังไง

                  ณ ขณะปัจจุบัน คงกล่าวได้ว่า ยังมีวงประชุม สัมมนา เสวนา ที่มีผู้คน มานั่งคุย นั่งพูด ถึงการคุณภาพชีวิตคน สังคม อยู่ในโรงแรมห้องประชุม ในเมืองหลวง ของประเทศนี้อยู่อีกมาก ที่นั่งคิดนั่งพูดถึงคนอื่น ถึงชุมชนท้องถิ่น และยังคงมีเรื่องราวสถานการณ์ทางสังคม อุทกภัย วาตภัย สภาพปัญหาทางสังคมต่าง เรื่องราวต่างๆ ที่สามารถรับชมได้ทางทีวี ซึ่งจะวิทยากร นักวิชาการ ที่มาพูด แสดงความคิดเห็นทางสังคม การพัฒนาคนแก้ไขปัญหานั้น ที่ไม่ใช้คนพื้นที่ประสบปัญหาเลย ซึ่งและแน่นอนยังคงมีวิทยาการ นักวิชาการที่ยังมาพูดนั้น อยู่แทบทุกคืน ทุกวันและคงเป็นเช่นนี้ตลอดไป

                  จากสิ่งที่สังเกตุพบ ประเด็นตัวอย่างที่นำมาอธิบาย ลักษณะที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมด มันมีประเด็นที่สามารถ สะท้อนอะไร ที่คิดได้หลายอย่าง  ในเรื่องของธรรมชาติ พฤติกรรมของคน ธรรมชาติของ ชุมชน สังคม ไทยบ้านเรา ตามที่ได้เข้าใจ หรือ คิดต่อยอด ทำความเข้าใจไปในอนาคต ได้หลากหลายเรื่อง ซึ่งมีอยู่  6 ประเด็นที่อยากอธิบายแลกเปลี่ยน

ประเด็นที่ 1 มันสะท้อนว่าระบบการเรียนรู้ การศึกษา ความเข้าใจ ในการพัฒนาตัวเอง การพัฒนาชุมชน สังคม การแก้ปัญหา คุณภาพชีวิต คน สังคม ต่างๆนั้น มันอยู่ในหนังสือเป็นส่วนใหญ่  อยู่ในห้องสมุท อยู่ในกูเกิ้ล อยู่ในแหล่งข้อมูลต่างๆ อยู่กับครูอาจารย์ ในโรงเรียน ที่ต่อยอดไปถึง รั้วมหาวิทยาลัย ลักษณะการเรียนรู้ เป็นเรียนรู้ในห้องเรียน ติดแอร์ และ ความรู้ที่สูงขึ้น ดีขึ้น จะอยู่ในเมืองใหญ่ เมืองที่เจริญพัฒนาแล้ว

                     เป็นระบบเรียน เรียนรู้การศึกษา ที่คนเรียนรู้ต้องใช้เงินในการเรียนรู้ เงินมีความจำเป็นสำคัญซึ่งให้ได้มาซึ่งความรู้  และต้องเข้ามาเรียนในเมืองใหญ่ต่างๆ เช่น กรุงเทพ เชียงใหญ่ หาดใหญ่ อุบล หรือไปต่างประเทศไปเลย องค์ความรู้ การพัฒนา การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ คงมีอยู่ในท้องถิ่นไม่มากนัก ไม่ใช้การเรียนรู้โดยการเล่ารอบกองไฟ จากวงเหล้า จากคนเฒ่า คนแก่ จากการทายทอดจากรุ่นสู่รุ่นของคนในท้องถิ่น

                      เป็นความรู้ความเข้าใจ ซึ่งรู้เฉพาะกลุ่มคนที่ศึกษาเรียนรู้ และที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำ ซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนน้อย  ไม่ใช้คนส่วนใหญ่ของบ้านเมือง ตัวอย่างเช่น ลองไปถามชาวบ้านในชุมชน ในหมู่บ้านดู เขารู้กันหรือเปล่า ว่าเกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชน ปลัดอำเภอ กิจการศึกษา ฝ่ายโยธาและอื่น ๆ คือ คนที่ทำงานหน่วยงานอะไรก็ได้ ที่ทำงานปฎิบัติงาน มีหน้าที่ความรับผิดชอบต้องทำงานให้กับประชาชนโดยทั้วไป  ในพื้นที่นั้นๆ ไปถามประชาชนว่าเขารู้หรือเปล่า คนเหล่านี้ ทำงานอะไรบ้าง มีหน้าที่อะไรบ้าง มีรับผิดชอบอะไรบ้าง มีความรู้อะไรบ้าง กำลังคิดทำอะไรกันอยู่ คิดว่าประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนในหมู่บ้าน คงไม่รู้หรือไม่สนใจเลยด้วยซ่ำ

                       ซึ่งกลุ่มคนราชการ หรือที่ทำงานลักษณะนี้ ที่ได้รับความรู้ได้รับการศึกษาจากในเมือง ที่สอบจนเข้าไปทำงานได้นั้น ความรู้ การแสวงศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ความคิดต่อยอดในการทำงาน คิดทำกันแต่ในหน่วยงาน ในห้องสมุท ในวงประชุม แต่คนที่ต้องลงไปทำงานด้วย ประชาชนที่เกี่ยวข้องไม่รู้เรื่อง

                       มีองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาในชุมชน เกิดจากคนในชุมชน ในการแก้ไขปัญหา ส่งเสริมพัฒนาชุมชน คุณภาพชีวิตคน ชุมชน สังคม  น้อยมาก  อาจจะน้อยเกินไป  ชาวชุมชนอาจคิดว่าไม่ใช้หน้าที่ของตัวเอง  ที่ต้องคิดเองทำเอง

ประเด็นที่ 2 มันเป็นการสะท้อน ถึงกลุ่มคน ที่นั่งคิด นั่งประชุม เป็นการคิดดีทำดี ให้กับเพื่อนมนุษย์คนอื่น และ กับชุมชน สังคมต่อไป เพราะคนที่คิด คนที่ทำ เหมือนเป็นเสียสละเวลา คิดศึกษา วิจัย เก็บข้อมูล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคน คุณภาพชีวิตสังคม เป็นคนที่มีจิตใจสาธารณะ จิตอาสาสมัคร  เป็นห่วงคนอื่น ชุมชน วิถีชีวิตของสังคมอื่น เป็นการทำงานที่เป็นประโยชน์ ทางพระบอก เหมือนเดินตามทางของ พระโพธิสัตว์ หรือ อาจเพราะ คนไทยมีนิสัยเป็นน้ำใจ คนไทยจิตใจดี

                   เป็นคนที่ไม่ได้คิดเห็นแก่ตัว คิดถึงแต่ตัวเอง คิดถึงแต่ ลาศ ยศ สรรเสริญ หรือ การสร้างเนื้อสร้างตัวแสวงหาทรัพย์สมบัติ เพียงอย่างเดียว เป็นการไม่ได้คิด ไม่ได้ทำเอาเปรียนเพื่อนมนุษย์คนอื่น เอาเปรียบต่อสังคม เป็นคนที่พร้อมจะช่วยเหลือคนอื่น ช่วยเหลือชุมชน สังคม

                    ซึ่งประเด็นนี้ มันมีความสำคัญ และมีความระเอียดอ่อน ที่ต้องพิจารณาอยู่บ้าง ในทางราชการ จากบนลงล้าง จากนอกเขาใน หรือ คนที่หวังดี ชอบคิดชอบแก้ ชอบพัฒนาคน วิถีชีวิตของชุมชนอื่น เพราะ มันอาจเป็นการไปคิดไปช่วยไปยุ่ง กับเรื่องของคนอื่นๆ วิถีชีวิตของสังคมอื่นๆ  มากเกินไป  จนทำให้คนนั้น วิถีชีวิตของสังคมนั้น ด้อย ในการคิด ส่งเสริมพัฒนา แก้ไขปัญหา สร้างสรรค์ชุมชน สังคม วิถีชีวิตที่ตัวเองดำรงอยู่ เป็นการรอ ทางการ รอผู้มีอำนาจ ผู้มีเงิน มาช่วยทำช่วยคิดอย่างเดียว หรือ ชาวบ้านบ้างคน คนในชุมชนบ้างชุมชน อาจไม่ชอบ และสะท้อนออกมาว่า มาเสือกกับเรื่องของฉันกับชุมชน ที่อยู่การศัย วิถีชีวิตของฉัน มากจัง มาควบคุม มอบหมายงาน ให้เปลี่ยนแปลง ให้สร้างเสริม ทำนั้นทำนี้ มากเกินไป ไม่ต้องมายุ่งมาทำให้เดือดร้อนได้เปล่า

                      มันจึงควรคิดหาจุดที่ลงตัว เช่น การคิดเรื่องการมีส่วนร่วม กระบวนการคิดสร้าง คิดแก้ไขปัญหา การส่งเสริมพัฒนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากคนภายในชุมชน เกิดจากองค์ความรู้ของชุมชนเอง  เพราะการเรียนรู้ในการพัฒนาต่างๆ ทุกๆด้านมันควร ต้องเป็นการระเบิดจากภายใจ ระเบิดจากตัวเอง เป็นการสนใจของตัวเอง เป็นการค้นพบ สภาพปัญหา หรือ การส่งเสริมพัฒนาของชุมชน ของสังคมนั้นเอง  เพราะ มันคงเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า ในการทำความเข้าใจศึกษา เรียนรู้ พัฒนา ต่อยอด สร้างสรรค์ ก่อเกิดเป็นจิตนาการที่สร้างสรรค์ มากกว่าที่ให้คนอื่นคนนอก มาบอก มาสอน มาสั่ง มาบังคับให้ปฎิบัติให้ทำ ให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม นั้นนี้

ประเด็นที่ 3 เป็นประเด็นสำคัญ เป็นเรื่องที่ใหญ่ เป็นหัวใจหลัก เรื่องหนึ่ง ของหัวข้อ ช่วงวรรคหลังเลย ที่กล่าวว่า เรื่องแปลก ของชาวบ้าน ของคนในท้องถิ่น ของสังคมชนบท ที่คิดเอง ทำเองไม่ได้หรอ จากคำพูดดังกล่าว คิดว่ามันมีคำพูด มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ในท้องถิ่น ในสังคม ที่มันสะท้อนว่า ชาวบ้าน ชาวชุมชน อาจจะส่วนใหญ่ของประเทศ ที่มีความคิด ทัศนคติ หรือ พฤติกรรมที่เป็นในเรื่องทางสาธารณะ เรื่องส่วนร่วม ที่เป็นการพัฒนาทางสังคม ของชุมชนที่ตัวเองอาศัยอยู่ เพราะคิดว่ามันเป็นเรื่องแปลกจริงๆ

                 เพราะถ้าได้ถามว่าชาวบ้าน ชาวชุมชน ของคนในท้องถิ่น ของสังคมชนบท หรือแม่แต่คนในชุมชนสังคมเมือง คิดกระทำ แก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตัวเอง พัฒนาคุณภาพชีวิต คุณภาพสังคม ที่ตัวเองอาศัยอยู่ ในขณะปัจจุบัน ได้เอง ได้มากหรือน้อย คิดว่ามันยังน้อยมากๆ น้อยกว่าการที่มีคนจากข้างนอก คนจากข้างบน ลงมาแสดงความคิดเห็น มาแนะนำ มาสั่ง มาส่งเสริม ให้พัฒนาคุณภาพชีวิต คุณภาพสังคม ที่อาศัยอยู่

                  คำพูดมีภาพวิถีชีวิต วัฒนธรรมในการดำลงชีวิต ของชาวชุมชน ของคนในท้องถิ่น ที่สะท้อนถึงพื้นฐาน ความคิดความเชื่อ ความเกรงกลัว  การเป็นผู้ตาม ยอมรับ ยอมจำนน ยกย่อง เชื่อฟัง ปฎิบัตตาม คนมีความรู้ คนมียศฐาบรรดาศักดิ์ มีอำนาจ มีเงินทองมากมาย มีอิทธิพล มีหลากหลายตัวอย่าง เช่น มีคนในชนบทไม่น้อยที่มีความรู้สึกกลัว ที่ยังเกรงกลัวราชการ ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ที่ดิน อื่นๆ และ ยกย่อง เชิดชู  หรือ การเรียนคนที่มีความรู้ มีเงินทอง เรียกคนที่ทำงานราชการ ว่าเจ้านาย นายหัว นายเฉยๆ หรือ การ อวยพร ให้เด็กๆ ยังมีคำพูดว่า โตขึ้นใหญ่เป็นเจ้า เป็นนายคน เชื่อเคารพ คนมีวาสนาเกิดใน วงศ์ตะกูล ครอบครัวที่มีอำนาจ มีอิทธิพล

                   หรือเห็นได้ จากโฆษณาผู้ใหญ่ลี เป็นล้อทางการที่เห็นได้ชัด ที่ผู้ใหญ่มาบอกประกาศให้ชาวบ้านได้รับรู้ ว่าทางการได้สั่งอะไรมาบ้าง ทางการเข้าสั่งมา ซึ่งประเด็นที่เห็นได้ชัด อีกอย่างหนึ่ง คือ เรื่องทางการเมือง ที่ชาวบ้านโดยทั้วไป เลือกนักการเมืองที่มีชื่อเสียง มีเงินมากๆ ที่มาให้เงิน เป็นผู้กว้างขวาง มีอิทธิพล เมื่อเลือกไปแล้ว ไม่ได้สนใจว่านักการเมืองคนนั้นได้ไปทำอะไรที่ไม่ดีบ้าง ไม่ได้ดูที่ความรู้ความ สามารถ ความตั้งใจในการทำงานเพื่อสาธารณะ เพื่อบ้านเมือง

                 แม้แต่การเลือกตั้ง อบต ซึ่งเป็นหน่วยบริหารหน่วยงานพัฒนาที่ใกล้ชิด ตัวชาวชุมชนเองมากที่สุด เพราะเป็นพื้นที่พักอาศัย ทำมาหากิน แต่พฤติกรรมการเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารจัดการ พัฒนาท้องถิ่นของตัวเองนั้น เงินในการซื่อสิทธิขายเสียง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้ลงสมัคร ได้รับการเลือกตั้ง ได้เข้าไป เป็นผู้บริหารพัฒนา ท้องถิ่นนั้น

                  และเมื่อได้เข้าไปเป็นผู้บริหารแล้ว ชาวชุมชนน้อยคนนัก ที่สนใจว่าผู้บริหารคนนั้นเข้าไปทำอะไร ไปบริหารอะไร เหมือนกับมันจบไปแล้ว ผู้บริหารทำอะไรพัฒนาอะไร ชาวชุมชน ไม่ได้สนใจอย่างจริงจัง ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ที่ได้รับเลืองตั้งเข้าไป

                 ซึ่งมันเป็นที่เข้าใจได้โดยพื้นฐานของคนบ้านนี้เมืองนี้ ที่รู้ว่าผู้บริหารที่ใช้เงินซื่อเสียงทำให้ได้รับเลือกตั้งไปนั้น ต้องไปทำอะไรที่ไม่โปร่งใส มีนอกมีใน ไม่ได้ทำตามกฎตามระเบียน แต่ในทัศนคติของชาวบ้านชาวชุม ไม่ได้กระตื้อรือร้น ที่จะรักษาผลประโยชน์ของท้องถิ่นที่ตัวเอง อยู่อาศัย ทำมาหากิน มากเท่าที่ควร

                 ทั้งที่ชาวชุมชนนั้นมีความจำเป็น หรือควรที่สนใจพื้นที่ ส่งเสริมพัฒนาท้องถิ่นชุมชน ของตัวเอง ผ่านการพัฒนาโดย อบต. ทศ.บ. ให้มากๆ เพราะเป็นพื้นที่ขนาดพอเหมาะ เป็นพื้นที่ตัวเองพักอาศัยทำมาหากิน และ ที่อบต. ที่ทศ.บ. มีงบประมาณในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน ชุมชน สังคมด้วย

                 ซึ่งมันคงยังมีอีกหลายตัวอย่าง ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ของชาวชุมชนที่เป็นผู้ตาม ไม่ได้คิดริเริ่ม ทำเองแก้ไขปัญหาเอง  เป็นลักษณะทำมาหากินไป เรื่องของชุมชน เรื่องสาธารณะของส่วนร่วมของชุมชนสังคม ที่ตัวเองพักอาศัยทำมาหากิน ยังไม่ได้มีความคิด ในการแก้ไข พัฒนา จากคนในชุมชนเองมากนัก มีลักษณะยอมจำนน ให้ราชการ คนที่มีความรู้ คนมียศ มีอำนาจ มีเงิน คือ ต้องรอ ให้มีคนจากข้างบน จากข้างนอก จากทางการ เขามาแนะนำมาสั่ง ให้ปฎิบัติตาม มาแก้ไขพัฒนาคุณภาพชีวิต ชมชน สังคม ของตัวเอง ซึ่งอาจมากเกินไป

ประเด็นที่ 4  จากข้อสังเกตุที่พบ ที่รู้สึกว่า ณ ขณะปัจจุปัน การพัฒนาชุมชน สังคม ของคนในท้องถิ่น ในต่างจังหวัด  ต้องได้รับความรู้ คำแนะนำ ความคิดเห็น ที่เป็นนโยบายจากคน ในเมือง ความรู้จากคนในเมืองหลวง ผู้มีอำนาจ  จากนักวิชาการ จากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญนในด้านนั้นๆ ลงไปพัฒนา ไปส่งเสริม มากเกินไป ยังมากอยู่เกินไปหรือเปล่า

                  ประชาชนชาวบ้านชาวชุมชน ในท้องถิ่นต่างๆ ควรมีความคิด ความตระหนัก มีจิตสาธารณะ คิดถึงส่วนร่วม สำนึกทางสังคม คิดถึงการพัฒนา สร้างสรรค์เพิ่มศักยภาพ หรือ การแก้ไขปัญหา คุณภาพชีวิต สังคม  ที่มีอยู่ในพื้นที่ ท้องถิ่นของตัวเอง น้อยเกินไปหรือเปล่า เพราะ คิดว่ามันเป็นประเด็นที่สำคัญ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน พัฒนาคุณภาพชุมชน พัฒนาสังคม ให้มีการดำรงชีวิต มีวิถีชีวิต มีวัฒนธรรม การดำเนินชีวิต ในชุมชน ของท้องถิ่น ที่ดีขึ้น

                   เพียงแค่คนในชุมชน ของแต่ละชุมชน แต่ละท้องถิ่น เข้าใจเรียนรู้ ศึกษา องค์ความรู้ที่มีในท้องถิ่น ในด้านต่างๆ อย่างดี รู้ศักยภาพในการพัฒนา รู้ปัญหา สภาพแวดล้อมของชุมชน และ มีความคิดทางสาธารณะ มีจิตสำนึก ทางสังคม การมีส่วนร่วม และคิดสร้างสรรค์พัฒนา พื้นที่ชุมชนที่ตัวเองอาศัยอยู่ 

                      มีอยู่ 1 คำ ที่อยากอธิบายขยายความ เพราะคิดว่ามันคือหัวใจ ของการพัฒนาชุมชน มี 2 ตัวอย่างประกอบ เป็นคำที่กล่าวว่า  “ เริ่มจากภายในชุมชนท้องถิ่น แล้ว ออกไปข้างนอก ไปสู่ตำรา ไปสู้องค์ความรู้”  หมายถึงเมื่อพบสภาพปัญหาต่างๆของชุมชน ต้องการแก้ไขปัญหาต่างๆ  ของชุมชน ทุกเรื่อง ที่องค์ความรู้ของชุมชน ไม่เพียงพอ คนในชุมชน ต้องเป็นคนออกไปหาข้อมูล ไปอ่านหนังสือ ไปถามคนที่มีความรู้ แล้วนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ ปรับแต่ง ต่อยอด ใช้กับชุมชน  เพื่อมาป้องกันแก้ไขปัญหาของตัวเอง

                        หรือ ถ้าต้องการพัฒนา สร้างเสริม เพิ่มศักยภาพของชุมชน เช่นกัน คนในชุมชนต้องเป็นคนออกไปหาข้อมูล ไปอ่านหนังสือ ไปถามคนที่มีความรู้ แล้วนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ ปรับแต่ง ต่อยอด ใช้กับชุมชน เพื่อพัฒนาชุมชน ที่ตัวเองอาศัยอยู่ คือ คนในชุมชน ควรต้องใช้เวลาของชีวิต ส่วนหนึ่งคิดเอง ทำเอง สู้เอง ถึงการแก้ไข ปัญหาของชุมชน คิดเอง ทำเองในการพัฒนาชุมชน

                        ซึ่งในชุมชนเอง ควรที่ต้องมีองค์ความรู้ สร้างองค์ความรู้ ในการแก้ไขปัญหา หรือ การส่งเสริมพัฒนาของชุมชนเอง ที่เมื่อเด็กๆ เกิดมาต้องเข้าใจสภาพปัญหา เข้าใจศักยภาพท้องถิ่นของตัวเอง เพื่อให้เป็นพื้นฐานที่ดี ในการทำความเข้าใจ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมพัฒนา คุณภาพชีวิต สังคม หรือ ต่อยอดแก้ไขปัญหาพัฒนา ชุมชนท้องถิ่นที่ตัวเองเกิด เติบโต พักอาศัยต่อไปได้

                         เพราะการรอ การไม่สนใจ ชุมชนของตัวเอง คิดแต่การทำมาหากิน ไม่ใช้เรื่องที่เหมาะสม  ไม่ควรรอจากคนข้างนอก รอองค์ความรู้ที่เข้ามาจากภายนอก เข้ามาแก้ไขปัญหา มาพัฒนา ชุมชน ท้องถิ่นที่ตัวเองอาศัยอยู่ เพราะ การที่คนข้างนอกนำเอาความรู้วิธีการต่างๆ เข้ามา อาจแก้ไขปัญหา พัฒนา ได้ไม่ตรงกับความต้องการของชุมชน และอาจทำให้เกิดปัญหามากขึ้นกว่าเดิม 

                       ซึ่งองค์ความรู้ที่คนจากภายนอกชุมชน นำเข้ามาใช้ ความรู้เหล่านั้นที่จริงก็มาจากภายในชุมชน เอง มาจากคนภายนอกที่ลงมาศึกษามาทำความเข้าใจ ศึกษาชุมชนต่างๆ ถอดบทเรียน  แล้วไปแต่งเป็นหนังสือ มาให้ให้ศึกษา คิดทำเข้าใจ ต่อยอด เปรียบเทียบ ประยุกต์ใช้กันไปในแต่ละชุมชน

                     ข้อยกตัวอย่าง จากประสบการณ์ คือ การเห็นเพื่อนหลายๆคน และตัวเอง ที่เรียนจบ ทางพัฒนาชุมชน หรือ เรียนจบทาง บริหารรัฐกิจ ซึ่งถ้ามองไปวิชาเนื้อหาที่เรียน ซึ่งมันมาจาก ความรู้ของครูอาจารย์ที่ลงไปศึกษาในชุมชนต่างๆศึกษาพฤติกรรมคน ชุมชน สังคม  แล้วสรุปเขียนออกมาเป็นหนังสือ

                     คนที่ไปเรียนเป็นการไปเรียนรู้ เข้าใจจากหนังสือ จากทฤษฎี ถึงเมื่อมีความรู้เแล้ว การไปทำความเข้าใจชุมชน ไปส่งเสริมพัฒนาชุนชน แก้ไขปัญหาของชุมชน มันต้องลงไปทำความเข้าใจ ศึกษาเรียนรู้จากชุมชนถึงพื้นที่นั้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเหมือนเป็นการเสียเวลาสองต่อ และไม่ใช้เรื่องง่ายที่ต้องทำความเข้าใจจากพื้นที่จริง

                    ซึ่งที่สังเกตุพบ มีคำถามมีความสงสัยว่า ที่เพื่อนๆหลายๆคน  หรือ ตัวเอง ที่ส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัดด้วยนั้น ได้ใช้ความรู้ความเข้าใจ ที่ได้เล่าเรียนมา สามารถกลับไปพัฒนา แก้ไขปัญหา ชุมชนที่ ตัวเองเกิดเติบโตมา พ่อแม่ญาติพี่น้องยังอาศัยอยู่ในชุมชนนั้นได้หรือเปล่า หลายคนคงตอบว่าคิดไม่ออก ทำไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ขาดตกบกพร่อง ต้องการพัฒนาอะไรบ้าง  ไม่รู้เรื่องหรอก

                 และอาจไม่ได้เข้าใจวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนท้องถึงที่ตัวเองเกิด เติบโตในวัยเด็ก เลยด้วยซ่ำ เพราะ เด็กในต่างจังหวัด เดียวนี้ มัธยมปลาย นิยมเข้าไปเรียนในเมืองใหญ่ไปเรียน ในโรงเรียนดีๆ ไปอยู่หอพักกันแล้ว และไหนยังต้องไปเรียนระดับ มหาวิทยาลัยอีก เริ่มชีวิตการทำงานก็อยู่ในเมืองใหญ่

                 การเติบโตทาง ความคิด การเรียนรู้ ความเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ คิดแต่เรื่องทางทฤษฎี หรือ เป็นการคิดเข้าใจสภาพปัญหาของสังคมในภาพใหญ่ คิดอะไรในภาพใหญ่ ที่เวลาคิดเข้าใจแก้ไขปัญหาอะไร เป้นการแบบต้องแก้ไขทำทั้งประเทศ หรือเวลาจะพัฒนาอะไร ต้องคิดทำเป็นนโยบายให้ทำทั้งประเทศ

                 ถ้าให้คิดถึงการส่งเสริมพัฒนา การแก้ไขปัญหา ของชุมชน เป็นท้องถิ่น ขนาดเล็ก ขนาด อบต. หนึ่ง คิดว่าน้อยคนที่จะเข้าใจคิดทำได้ มีส่วนน้อยที่ทำได้ และหลายๆคนในชุมชนท้องถิ่นของตัวเองยัง ที่เกิดเติบโตมา ยังคิดส่งเสริมพัฒนา แก้ไขปัญหาไม่ได้เลย

                 มันจะดีกว่าหรือเปล่า ที่ถ้ามีเด็ก มีคนที่สนใจส่งเสริมพัฒนาชุมชน แก้ไขปัญหาของชุมชน แล้วชุมชนนั้นมีผู้รู้ มีองค์ความรู้ต่างๆอยู่ในชุมชนในท้องถิ่นนั้นอยู่แล้ว และไม่จำเป็นต้องไปเรียนในรั้วมหาลัยก็ได้ ขาดตกบกพร่องอะไร ค่อยไปหาหนังสือ หาคนที่มีความรู้เพิ่มเติม จากคนข้างนอก

                 เพราะตัวเอง คนหนึ่งละรู้สึกเสียด้ายองค์ความรู้ต่างๆ ที่อยู่ในชุมชนที่ตัวเองเกิด เติบโต  เพราะแทบไม่รู้อะไรเลย ไม่ได้เรียนรู้อะไรจากชุมชน ที่เติบโตในวัยเด็ก พอมาเรียนมหาลัย พบว่าหลายแนวคิดหลังการ ทฤษฎี มันสามารถ เอาไปจับไปคิดไปทำความเข้าใจ เพื่อพัฒนาส่งเสริม ต่อยอด หรือแก้ไขปัญหาได้ ในชุมชนที่ตัวเองเกิดได้

                 แต่เหมือนมันสายไปแล้วกับความคิดความเข้าใจที่ได้มาจากระบบการศึกษา เพราะมันทำให้ชีวิตออกมาจากชุมชน ที่ตัวเองเกิดเติบโต มากกว่าสิบปี จนไม่รู้ที่จะไปเริ่มยังไง ไม่รู้จะไปเรียนรู้ทำความเข้าใจศึกษา ส่งเสริมพัฒนา แก้ไขปัญหา จากสถานการจริงๆ จากในพื้นที่จริง ๆ ยังไง

                มีแต่ความเข้าใจ การศึกษาเรียนรู้จากในหนังสือ จากการฟังครูอาจารย์หรือจากข่าวในทีวี เป็นการคิดเข้าใจ พูดได้ว่าจากจิตนาการ การคาดเดา เปรียบเทียบ ความน่าจะเป็น แต่ลึกๆแล้วไม่ได้รู้ ลึกรู้จริง เข้าใจตัวพื้นที่ชุมชนจริงนะ

                  หรือ อีกตัวอย่าง 1 การที่ชาวชุมชน มีลักษณะ ไม่สนใจชุมชนตัวเอง มากเท่าที่ควร เมื่อได้ผู้บริหาร อบต. ทศ.บ.ไปแล้ว ปล่อยให้ผู้บริการ จัดการบริหารพัฒนา ได้ในลักษณะตามใจตัวเองมากเกินไป เพราะคิดว่าเลือกตั้งไปแล้ว ชาวชุมชน ไม่ได้ค่อยไปสนใจ ติดตามผลงานของผู้บริหารแล้ว

                  เพราะอาจคงรู้สึกเป็นเรื่องไกลตัวเองไปแล้ว จะใกล้ตัว เพียงแค่ตอนก่อนเลือกตั้ง เพราะอาจจะสนใจว่าผู้สมัครท่านไหนจะจ่ายเงินมากกว่ากัน ร่วมกันทั้งบ้านจะได้ยอดร่วมเท่าไร อาจลุ้นให้ได้เงินมาตามที่พอใจแล้ว  แล้วอาจจบ ไม่ได้ไปสนใจถึงเรื่องการบริหารจัดการอย่างจริงจัง อาจมีแค่ติดตามนินทาบ้างเล็กน้อย       

                   และเมื่อผู้บริหาร อบต. ทศ.บ. ที่มีงบประมาณในแต่ละแห่งมากด้วย ส่วนใหญ่ ผู้บริหารสามารถนำเงินงบประมาณของท้องถิ่นไปใช้ ทำการแก้ไขปัญหา หรือการพัฒนา ไปดูดิ คิดทำเหมือนกันแทบจะทั้งประเทศ คือ ทำตามๆกันไป ในเรื่องส่งเสริมพัฒนา การแก้ไขปัญหา ที่มีลักษณะนำเงินงบประมาณ ไปแก้ไขปัญหา ส่งเสริมพัฒนา ที่ตรงกับสภาพปัจจัยต่างๆ ของท้องถิ่น หรือจากเสียงสะท้อนขึ้นมาของชาวชุมชนในท้องถิ่นที่เสนอมา น้อยเกินไป อาจเป็นเพราะมีเสียงสะท้อน จากประชาชนในชุมชน ท้องถิ่น น้อยเกินไป ชาวชุมชนใน ท้องถิ่นโดยทั้วไป  ไม่สนใจหรือให้ความสนใจน้อยเกินไป ยังมีความตระหนักหรือสนใจ ตรวจสอบ น้อยเกินไปหรือเปล่าในปัจจุบัน

                   ซึ่งป็นเข้าใจว่า ชาวชุมชน น้อยมากที่รู้เรื่อง ที่รู้กันว่าไม่ดี ไม่ถูกต้องเห็นมีแต่นักการเมืองท้องถิ่นฝ่ายตรงข้าม หรือ สมาชิก อบต. ทศ.บ. ที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม เท่านั้นที่รู้ ที่ค่อยตรวจสอบ ที่ค่อยไปบอกชาวชุมชนในลักษณะให้ไปนินทากัน

                    และผู้บริหาร ยังต้องนำเงินของหน่วยงานท้องถิ่น ไปแก้ไขปัญหา ส่งเสริมพัฒนา ตามนโยบายจากส่วนกลางอีก มีนโยบายที่ลงมาให้ทำงาน จากกระทรวงจากหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาส่งเสริม มาช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจเป็นการใช้จำนวนเงินที่อาจมากว่าเงิน ที่ผู้บริหารมีความคิดริเริ่ม มีนโยบาย ในแก้ไขปัญหา ส่งเสริมพัฒนา จากข้อมูลชุมชน ของท้องถิ่น จากเสียงสะท้อนของ ชาวชุมชน ที่ตัวเองเป็นผู้บริหารอยู่

                     จากทั้ง 2 ตัวอย่าง ที่ยกมา อาจทำให้พอเห็นภาพได้ชัด ที่ว่าชาวชุมชน สังคมในชนบท มีลักษณะความคิดเอง ทำเอง สู้เอง การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมพัฒนา แก้ไขปัญหา คุณภาพชีวิตคน ชุมชนสังคม ในเรื่องสาธารณะ  น้อยอยู่ น้อยเกินไปหรือเปล่า

                   ในความคิดส่วนตัว ชาวชุมชนมีลักษณะการที่คิดเอง ทำเอง ต่อปัญ

หมายเลขบันทึก: 408916เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2010 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท