อบรม เข้าร่วมกระบวนการฝึกปฏิบัติการเยี่ยมพื้นที่ ที่อำเภอเดิมบางนางบวช


PCA การฝึกปฏิบัติการเยี่ยมในพื้นที่

อบรมเรื่อง กระบวนการฝึกปฏิบัติการเยี่ยมพื้นที่ วันที่  12-13 พฤศจิกายน 2553

ณ โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช และสถานีอนามัยในพื้นที่อำเภอเดิมบางนางบวช

รูปแบบการอบรมครั้งนี้

               1. อาจารย์ผู้นำกลุ่ม ได้แบ่งกลุ่มในการพูดคุยเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มเจ้าหน้าที่ (สถานีอนามัยที่เราไปลงพื้นที่) 2. กลุ่มแกนนำชาวบ้าน อสม ผู้นำชุมชน สูงอายุ ครู ชาวบ้านทั่วไป

 3. ลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่  

สำหรับกลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 ผู้เข้ารับการอบรมจะเป็นผู้สังเกตการณ์อย่างเดียว  วิทยากรจะเป็นผู้พูดคุยนำกลุ่มเข้าขบวนการณ์เอง

             2. เมื่อเสร็จจากการทำกลุ่ม วิทยากรก็ให้ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนมาเข้ากลุ่ม แล้วสะท้อนความจากการเข้าร่วมสังเกตการณ์ออกมา และจากการลงพื้นที่ออกมาให้เป็นข้อสรุป

        3. วิทยากรก็จะสะท้อนสิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมพูดมา ว่าเป็นอย่างไร

การสังเกต ขบวนการกลุ่ม ในกลุ่มแกนนำชาวบ้าน อสม ผู้นำชุมชน สูงอายุ ครู ชาวบ้านทั่วไป พบว่า คำถามที่อาจารย์ถามเป็นคำถามนุ่มนวล ไม่ทำให้ผู้เข้ากลุ่มอึดอัด เช่น ตอนนี้พวกเราเป็นอย่างไร รู้สึกเบิกบานไหม ชุมชนเป็นอย่างไร ลูกเรียนที่ไหน ซึ่งเป็นคำถามให้เขาเล่าเกี่ยวกับบ้านเมืองของเขาว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร   และอดีตเป็นอย่างไร มีอะไรที่ทำให้ชุมชนเปลี่ยนแปลง

 รู้สึกรักชุมชน อยากให้ชุมชนเป็นเช่นไร ขณะนี้เกิดวิกฤตน้ำท่วมชาวบ้านรู้สึกเป็นอย่างไร   สิ่งที่อาจารย์ถามนั้นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในชุมชนก็ตามสิ่งเหล่านั้นสามารถเชื่อมโยงมาถึงภาวการณ์เจ็บป่วยด้านสุขภาพได้หมด   ชุมชนบ้านเนินบางนางบวช ชาวบ้านยังมีกำลังใจในการต่อสู้ถึงแม้น้ำจะท่วมก็ตามเขาบอกชัดเจนว่าน้ำท่วมเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการสร้างสะพานหลายๆสะพานและการไม่ได้ขุดคูคลองตอนหน้าแล้ง     ชาวบ้านคาดหวังว่าเขาจะมีฐานะร่ำรวยมากขึ้นและอยากพบความสุข และมีสุขภาพดี  ชุมชนสามารถบอกปัญหาการเจ็บป่วยเช่นโรค เบาหวานความดันโลหิตสูงเพราะชาวบ้านยังขาดการออกกำลังกาย

การสังเกต กลุ่ม เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่อยู่ในชุมชนมานานการให้บริการบางครั้งต้องตามใจชาวบ้าน

การคุ้นเคยกับชาวบ้านทำให้ทำงานในชุมชนได้ประสบผลสำเร็จเช่นการชวนคนตรวจ PAP บางครั้งชาวบ้านมาตรวจเพราะเกรงใจเจ้าหน้าที่     เจ้าหน้าที่ไม่รู้มาก่อนว่าชุมชนต้องการอะไรในมิติของชุมชน  ความคาดหวังของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อชุมชน คืออยากให้ประชาชนมีสุขภาพดี

บทสรุปที่อาจารย์ สรุป  คือ การทำงานให้เจ้าหน้าที่มีความสุข ผู้รับบริการมีความสุข คือ  มิติสุขภาพดี สุขภาวะดี เราในฐานะผู้ให้บริการอย่าไปคาดหวังในสิ่งที่เราให้ผู้มารับบริการจะทำอย่างที่เราคิด เขาจะทำอย่างไรก็ได้ที่มีความสุข เราเพียงเป็นผู้ทำให้เกิดทางเลือก เกิดแรงกระเพื่อมในชุมชนในด้านการดูแลสุขภาพ  ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ

 

 

 

                     เราต้องมองให้เห็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากเราลำดับแรกๆ เช่น ผู้พิการที่ถูกทอดทิ้ง ต้องเสนอวิธีในการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการดูแลสุขภาพ เช่น คนเจ็บหนักจะมาโรงพยาบาลอย่างไรในภาวะฉุกเฉิน การเรียก 1669 เราต้องสอนต้องฝึกให้เขาเรียกเป็น ถ้าไม่มีโทรศัพท์ ใครจะเป็นคนช่วยเขา ลำดับ 1 ,2  เราต้องฝึกต้องบอกให้เขารู้และทำได้ เป็นต้น การทำงานในชุมชน ปัจจุบัน จะมีงานตามคำสั่ง เช่นงานรายงาน เราก็ต้องทำแต่อย่าโกหก เพราะผลแห่งการโกหกจะเป็นผลเสียกับชุมชนต่อไป รายงานเรื่องจริง และทำอะไรที่เราทำแล้วมีความสุข  สำหรับเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่าชุมชนกำลังคิดอะไร

                    ความคิดที่ตัวเองได้รับการอบรม    เป็นการไปนั่งฟังอย่างมีสมาธิ ฟังจริงๆ ฟังทั้งวัน ฟังแล้วก็สะท้อนความรู้สึกของตัวเองออกมาว่าฟังแล้วเป็นอย่างไร PCA  คืออะไรยังให้คำตอบไม่ได้เลย   ลักษณะการประชุมนี้คือเป้าหมายหาพี่เลี้ยงที่จะมาดำเนินงาน PCA ในพื้นที่อำเภอมโนรมย์  แต่ประเด็นที่ได้มาก็คือ PCA คือการให้บริการที่ผู้ให้และผู้รับต้องมีความสุขจากการให้บริการ ความสุขอย่างไร เช่น ผู้ให้ต้องไม่คาดหวังว่าผู้รับบริการจะต้องรู้ต้องเข้าใจในสิ่งที่ผู้ให้บริการบอก ต้องดูว่าอะไรบ้างที่เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความทุกข์ เช่น เวลา    บางครั้งผู้รับบริการอาจจะพอใจในระดับที่เขาเป็นอยู่ ยกตัวอย่างเช่น คนไข้รอรับบริการมากแต่คนไข้เขายิ้ม เขาไม่ร้องเรียนประเด็นนี้น่าคิด   ณ เหตุการณ์ตอนนั้น เจ้าหน้าที่อาจมีพฤติกรรมที่เขาพอใจก็ได้ เช่น เจ้าหน้าที่สนใจ อธิบาย ตอบข้อซักถามที่เขาคาดหวังไว้ว่าจะได้รับเขาก็พอใจ ซึ่งถามว่า PCA   จำเป็นไหม  ว่าต้องใช้เฉพาะในสถานีอนามัย เปล่าไม่ใช่ ทุกสถานบริการ ทุกหน่วยงานสามารถนำไปใช้ได้ เช่น ER ผู้ป่วยอุบัติเหตุหมู่มา ถ้าผู้ให้บริการไม่สามารถควบคุมสติในการดูแลได้สักคน ก็อาจจะทำให้คนอื่นร้อนลนตามไปด้วย และภาพการดูแลตอนนั้นก็อาจควบคุมไม่ได้ หรืออีกเหตุการณ์ถ้าเราไปเยี่ยมผู้ป่วยในชุมชน เราได้ทำอะไรให้เขามั่นใจในการมาเยี่ยมของเราว่าเราเอาสิ่งดีๆมาให้ และเราจะมั่นใจแค่ไหนว่าเขาจะปฏิบัติตามที่เราบอก  และถ้าเขาเป็นผู้ป่วยหนัก เขาจะมั่นใจแค่ไหนถ้าในกรณีเขามีภาวะฉุกเฉินใครจะช่วยเขาได้ เราได้เสนอทางเลือก ให้เขาเพื่อสร้างความมั่นใจ ไหม และเราซึ่งอยู่ในพื้นที่ อยู่มานานตัวผู้เขียนอยู่มา 10 ปี พบว่าพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก ใครถามก็ตอบได้ แต่ไม่เคยบันทึกไว้เลย มีใครอยากจะบันทึกประวัติศาสตร์ พวกนี้ไว้บ้าง  ถามว่าชุมชนเปลี่ยนอย่างไร ชุมชนต้องการอะไร และคาดหวังกับสถานบริการที่เขามีอยู่อย่างไร  ขณะนี้กำลังเกิดอะไรขึ้นกับชุมชน คุณเคยรู้หรือไม่ว่า ขณะนี้ชุมชนอาจจะกำลังทุกข์เรื่องการทำมาหากิน แต่ผลอันนั้นก็ส่งผลถึงสภาวะสุขภาพได้นะ

เมื่อท่านใดได้อ่านแล้วช่วยแชร์ความคิดด้วยเพราะผู้เขียนไม่เคยเข้าขบวนการ   PCA   และถ้าผู้เขียนมองอะไรที่ผิดไปจากขบวน PCA ช่วยให้คำแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

                                                                                                         ชอุ้ม  กลิ่นษร

หมายเลขบันทึก: 408801เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2010 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สู้ๆๆๆๆคร้าคุณป้า/หลานดั้งน้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท