แรงเสียดทาน


แรงเสียดทาน  

1. ความหมายของแรงเสียดทาน
     แรงเสียดทาน คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ เกิดขึ้นทั้งวัตถุที่เคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ และจะมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
     แรงเสียดทานมี 2 ประเภท คือ
          1. แรงเสียดทานสถิต คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุในสภาวะที่วัตถุได้รับแรงกระทำแล้วอยู่นิ่ง 
          2. แรงเสียดทานจลน์ คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุในสภาวะที่วัตถุได้รับแรงกระทำแล้วเกิดการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่

2. การลดและเพิ่มแรงเสียดทาน
     การลดแรงเสียดทาน สามารถทำได้หลายวิธี
          1. การขัดถูผิววัตถุให้เรียบและลื่น
          2. การใช้สารล่อลื่น เช่น น้ำมัน
          3. การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ล้อ ตลับลูกปืน และบุช
          4. ลดแรงกดระหว่างผิวสัมผัส เช่น ลดจำนวนสิ่งที่บรรทุกให้น้อยลง
          5. ออกแบบรูปร่างยานพาหนะให้อากาศไหลผ่านได้ดี
     การเพิ่มแรงเสียดทาน สามารถทำได้หลายวิธี
          1. การทำลวดลาย เพื่อให้ผิวขรุขระ
          2. การเพิ่มผิวสัมผัส เช่น การออกแบบหน้ายางรถยนต์ให้มีหน้ากว้างพอเหมาะ

ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=420

คำสำคัญ (Tags): #แรงเสียดทาน
หมายเลขบันทึก: 408313เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2010 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

วิทยาศาสตร์ไม่ค่อยเข้าใจแต่จะพยายามนะ เพื่อกลุ่มจ๊ะ

หลักกลศาสตร์นี่น่าสนใจและพัฒนาอะไรๆ ไปได้มาก

อ.พาชื่น วรรณพงษ์ ร.ร.กุมภวาปี จ.อุดรธานี

ขอบคุณค่ะที่ให้ข้อมูลจะได้นำไปประกอบการสอนและใช้อ้างอิงในการทำผลงาน

สร้างบล็อกใหม่เร็วๆหน่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท