ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตรงภายในและความตรงภายนอก


ความตรงภายในและความตรงภายนอก

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตรงภายในและความตรงภายนอก

                ความตรงภายในและความตรงภายนอก  มักเป็นเกณฑ์ที่พิจารณาจากงานวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research)

1.  ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตรงภายในของงานวิจัย

  1. ประวัติพร้อง (Contemporary history)  ได้แก่  สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหรือขณะที่ทำการวิจัย

กับกลุ่มทดลอง  สิ่งดังกล่าวส่งผลต่อตัวแปรต้นที่มีต่อตัวแปรตามที่เรากำลังศึกษา  ทำให้เราให้การสรุปผลการทดลองคาดเคลื่อนจากอิทธิพลดังกล่าวที่มีต่อตัวแปรต้นแท้จริงแล้วไม่ใช่ผลจากตัวแปรต้นโดยตรง แต่มีผลมาจากตัวปัจจัยพร้อง

2. กระบวนการทางวุฒิภาวะ (Maturation  process)  ได้แก่  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ

กระบวนการทางชีววิทยาและจิตวิทยา  ที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่เป็นกลุ่มทดลองหรือกลุ่มตัวอย่าง  อันเนื่องมาจากผลการทดลองที่ใช้ระยะเวลาอันยาวนาน  จนกระทั่งบุคคลดังกล่าวแสดงอาการตอบสนองที่เปลี่ยนไป  เช่น  หิว  เหนื่อย  หงุดหงิด อายุเยอะขึ้นฯลฯ

3. แนวทางการทดสอบก่อน  (Pretesting  procedures)  ได้แก่  ผลของการทดสอบวัด

ความรู้หรือทักษะก่อนการทดลองและหลังการทดลองแล้วก็ดำเนินการทดสอบวัดอีกครั้งหนึ่งในเรื่องดังกล่าว  หากนักวิจัยสรุปผลว่าการทดลองครั้งนี้กลุ่มทดลองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่สุงขึ้น ดีขึ้น อาจจะคลาดเคลื่อนถ้ากลุ่มทดลองได้นำประสบการณ์จากการทดสอบครั้งแรกมาใช้ตอบสนองการสอบครั้งที่สอง

4. เครื่องมือการวัด (Measuring instruments)  การใช้เครื่องมือหรือวิธีการที่ไม่ดี ไม่มี

คุณภาพในการสังเกต  สอบวัด หรือดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล อาจมีผลให้ได้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงและนำไปสู่การสรุปผลการวิจัยที่ผิดพลาดได้

5. การถดถอยทางสถิติ (Statistical regression) ได้แก่  ผลจากการสอบวัดครั้งแรกเพื่อทำ

การคัดกลุ่มบุคคลจากกลุ่ม  เพื่อคัดกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ  จากนั้นดำเนินการทดลอง  เมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินการให้เงื่อนไขการทดลองแล้วทำการทดสอบ  การทดสอบครั้งนี้เด็กกลุ่มต่ำมักจะได้คะแนนสูงขึ้น  แต่กลุ่มสูงคะแนนจะลดลงจะเห็นแนวโน้มของคะแนนครั้งนี้ลู่เข้าสู่คะแนนเฉลี่ยที่แท้จริง (คะแนนเฉลี่ยจากประชากรซึ่งเป็นคะแนนจากการสอบครั้งแรก)  ก็จะทำให้ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยว่าทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน  ก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนกับผลการวิจัย

6. การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่าง (Differential selection of subjects)  เป็น

ความผิดพลาดในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ดีหรือได้กลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐานเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

7. การขาดหายไปจากการทดลอง (Experimental  mortality)  การขาดหายไปในบางช่วง

ของการทดลองของกลุ่มตัวอย่างมีผลต่อการทดลอง

8. ปฏิสัมพันธ์ร่วมระว่างการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างกับปัจจัยต่าง ๆที่กล่าวมา (Interaction

of selection and maturation and history)  การคัดเลือกต้องมีวิธีการที่ดีคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่จะก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนต่อผลการวิจัย เช่น วุฒิภาวะของกลุ่มตัวอย่าง พื้นฐาน  ฯลฯ

 

2.  ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตรงภายนอกของการวิจัย

1. ปฏิสัมพันธ์ของความลำเอียงในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างกับตัวแปรอิสระที่

ต้องการศึกษา (Interaction effects  of selection biases and X) กรณีที่กลุ่มตัวอย่างไม่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร

2. ปฏิสัมพันธ์ร่วมจากการทดสอบก่อน (Reactive or interaction effect of pretesting) 

เงื่อนไขของการทดสอบก่อนกับกลุ่มตัวอย่างก่อให้เกิดประสบการณ์และกลุ่มตัวอย่างเกิดการเรียนรู้หรือฉลาดขึ้นส่งผลต่อผลการวิจัย

3. ปฏิกิริยาร่วมจากวิธีดำเนินการทดลอง(Reactive  effect of  experimental

procedures)  การดำเนินการวิจัยที่กลุ่มตัวอย่างรู้ถึงความต้องการตัวแปรตามของผู้วิจัย  ว่าผู้วิจัยต้องการข้อมูลหรือพฤติกรรมใด  จึงเสแสร้งแกล้งทำหรือแสดงพฤติกรรมให้เป็นที่พึงพอใจของผู้วิจัย  ส่งผลให้ผลการวิจัยไม่สามารถอิงไปสู่กลุ่มประชากรได้

4. การรบกวนหรือสับสนเนื่องจากเงื่อนไขการทดลองที่มีมาก (Multiple-treatmeat

interference)  ในงานวิจัยที่มีการให้เงี่อนไขการทดลองหลาย ๆ เงื่อนไขกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดิม  ส่งผลต่อตัวแปรตามจนยากแก่การจำแนกได้ว่า  ผลที่เกิดขึ้นในตัวแปรตามเกิดจากเงื่อนไขการทดลองใด

หมายเลขบันทึก: 408205เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2010 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท