เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยII


เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยII

การเขียนเอกสารที่เกี่ยวข้อง

                1.   สรุปเป็นคำพูดของตนเอง   เขียนในลักษณะของการวิเคราะห์  สังเคราะห์มากกว่าการนำมาเรียงลำดับต่อกัน

                2.   เขียนให้ต่อเนื่องเกี่ยวโยงกันตลอดเนื้อหา   โดยการเขียนต้องให้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎี  แนวคิด  หลักการ และผลงานวิจัย 

                3. ไม่จำเป็นต้องเขียนเรียงตามปีที่พิมพ์/วิจัย  หรือ เรียงตามชื่อผู้เขียน แต่ควรเรียบเรียงใหม่ตามแนวคิด และตัวแปรที่ศึกษา  โดยระบุความสำคัญ และความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ       

                4.   ควรจัดจำแนกกลุ่มหรือประเภทเนื้อหาที่นำมาอ้างอิง  จัดให้เป็นหมวดหมู่  

                5.    ทฤษฏี แนวคิด หลักการ และงานวิจัยที่นำมาเขียนหรืออ้างอิง  ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง
กับการวิจัยที่ศึกษาโดยตรง  

                6.    ควรมีการสรุปประเด็นหรือหัวเรื่องที่นำเสนอทุกเรื่อง  

                7.    ควรมีการอ้างอิงอย่างถูกต้อง  และชัดเจน    

การเขียนและการกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

            ในการวิจัย  ผู้วิจัยต้องระบุประชากร และกลุ่มตัวอย่าง  ให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้ทราบว่า  งานวิจัยได้ศึกษากับใคร   มีจำนวนเท่าใด  ได้แก่  การกำหนดกลุ่มประชากร   คือ    เป็นใคร  อยู่ที่ไหน  มีจำนวนเท่าใด   การกำหนดกลุ่มกลุ่มตัวอย่าง   คือ เป็นใคร  อยู่ที่ไหน  มีจำนวนเท่าใด  ได้มาอย่างไร

 การเขียน การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.  การเขียนการสร้างเครื่องมือ  ให้ระบุลักษณะของเครื่องมือ จำนวนข้อ  จำนวนตัวเลือก

2.  การหาคุณภาพของเครื่องมือ  ควรอธิบายโดยละเอียดให้เห็นถึงขั้นตอนและกระบวนการสร้างและหาคุณภาพที่น่าเชื่อถือ

 การเขียนสถิติที่ใช้ในการวิจัย

สถิติบรรยาย  (Descriptive statistics)

      เป็นสถิติที่ใช้ในการสรุปภาพรวมทั้งหมดของการวิจัย โดยนำเสนอในลักษณะบรรยายข้อมูล     ส่วนการนำเสนอข้อมูล  อาจจะเสนอในรูปแบบตาราง  กราฟ  ฯลฯ  สถิติบรรยายที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง   เช่น  ค่าเฉลี่ย   ค่ามัธยฐาน  และ    ค่าฐานนิยม   การวัดการกระจาย  เช่น  พิสัย      ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และความแปรปรวน 

 สถิติอ้างอิง  (Inferential  statistics)

    การวิจัยส่วนใหญ่จะศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งทำการสุ่มมาจากประชากร  ดังนั้นผลการวิจัยที่ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างมีผลเป็นอย่างไร   การศึกษากับประชากรก็จะได้ผลอย่างนั้นด้วย   จึงเรียกว่าเป็นการอ้างอิงไปยังกลุ่มประชากร     สถิติอ้างอิง  ได้แก่ t-test,  ANOVA,  Chi-square      เป็นต้น  

 หลักการวิเคราะห์ข้อมูล และ การแปลผล

  1. วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

  2.  การนำเสนออาจนำเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิรูปภาพ  ฯลฯ  ส่วนใหญ่จะ นิยมนำเสนอรูปแบบของตาราง

  3.  ควรมีการรวมหลาย ๆ เรื่อง  เพื่อนำเสนอในตาราง/แผนภูมิ/กราฟเดียวกัน  เพราะจะทำให้ไม่สิ้นเปลืองตาราง/แผนภูมิ/กราฟ  

 4.  การแปลผลควรนำเสนอต่อกันไปทีละเรื่อง 

 5.  การแปลผลต้องอธิบายข้อมูลที่นำมาเสนอเท่านั้น  ไม่ควรแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม  

 การเขียนการสรุปผล

  1. สรุปผลตามวัตถุประสงค์การวิจัย  โดยแยกตามวัตถุประสงค์
  2. นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล มาสรุปอย่างย่อ ๆ
  3. การสรุปอาจเป็นความเรียงต่อ ๆ กันไป หรือ จะสรุปเป็นหัวข้อก็ได้  

 

การเขียนการอภิปรายผล

                การอภิปรายผล  เป็นการกล่าวผลวิจัย และแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม มีหลักการเขียน ดังนี้

  1. อภิปรายผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย  โดยแยกตามวัตถุประสงค์

  2.  นำเอาผลการวิเคราะห์ข้อมูลมากล่าวถึง  และแสดงความเห็นเพิ่มเติม  พร้อมทั้งระบุให้เห็นว่าผลการวิจัยมีความสัมพันธ์ หรือสอดคล้องไม่สอดคล้อง กับทฤษฎี หลักการ และงานวิจัยใดบ้าง  เพราะอะไร   แสดงเหตุผลประกอบ

หมายเลขบันทึก: 408200เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2010 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวของ ระเบียบวิธี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท