มรรค 9 สู่ความอยู่เย็นเป็นสุข : KM – Inside


มรรค 9 สู่ความอยู่เย็นเป็นสุข : KM – Inside


          ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ   เมื่อวันที่ 7 – 8 ก.ค.48   ได้มีการประกาศเจตนารมณ์ 9 ข้อ   เพื่อการสร้างความอยู่เย็นเป็นสุข   ดังนี้
1.      เราคนไทยรู้รักสามัคคี   มีน้ำใจไมตรี   ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน   ร่วมมือร่วมใจให้เกียรติกันโดยไม่แบ่งเชื้อชาติ  ศาสนา  เผ่าพันธุ์   หรือสถานภาพทางสังคม   เพื่อสร้างเสริมให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข
2.      เราจะร่วมกันส่งเสริมค่านิยมแห่งความพอดีพอเพียง   และปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ทั้งในระดับครอบครัว  องค์กร  ชุมชนและระดับประเทศ
3.      เราจะร่วมกันส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม   ร่วมกันรื้อฟื้นระบบคุณค่าและภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ดีงามของสังคมไทยและส่งเสริมบทบาทของศาสนาและจริยธรรมในการดำรงชีวิตเพื่อ ความอยู่เย็นเป็นสุข
4.      เราจะร่วมกันส่งเสริมและจัดให้มีสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพ  ชีวภาพ  และทางสังคมที่เอื้อต่อความอยู่เย็นเป็นสุข   เพิ่มพื้นที่สาธารณะสำหรับกิจกรรมและการเรียนรู้ในชุมชน   และส่งเสริมกิจกรรมอาสาสมัครเพื่อสังคมให้กว้างขวางและหลากหลาย
5.      เราจะส่งเสริมและร่วมกันจัดกระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับ   โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ เช่น  การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายครอบครัว   การจัดทำแผนแม่บทชุมชน   การจัดเวทีแก้ไขปัญหาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมด้วยสันติวิธี  เป็นต้น
6.      เราจะส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการทำงานและเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร   ระหว่างภาคประชาสังคม   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   องค์กรภาครัฐ   ภาคเอกชน   และทุกฝ่ายในสังคม  เช่น  การรวมกลุ่มจัดการความรู้   การพัฒนาศักยภาพและการถ่ายทอดบทเรียนประสบการณ์   การจัดเวทีสาธารณะเพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ติดตาม  ตรวจสอบ  ผลักดันการสร้างความอยู่เย็นเป็นสุข  การสื่อสาร  การร่วมสนับสนุนทรัพยากร  เป็นต้น
7.      เราจะร่วมกันผลักดันให้มีนโยบายสาธารณะที่มุ่งสร้างเสริมความพอดีพอเพียงและสมดุลเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข  ลด  ควบคุม  และป้องกันความอยู่ร้อนนอนทุกข์   และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความอยู่ร้อนนอนทุกข์ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
8.      เราจะพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขในระดับครอบครัว   องค์กรและชุมชนของตนเอง   และจะร่วมกันพัฒนาด้ชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขแห่งชาติ   โดยใช้กระบวนการพัฒนาดัชนีชี้วัดเป็นเครื่องมือพัฒนาความอยู่เย็นเป็นสุขไปพร้อม ๆ กัน
9.      เราถือเป็นหน้าที่ร่วมกันของทุกฝ่ายในสังคมที่จะร่วมกันปฏิบัติ   ส่งเสริม  สนับสนุน   ติดตาม  ผลักดัน   และขับเคลื่อนการสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข   โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใด ๆ โดยให้ภาครัฐทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง


       โปรดสังเกตว่า KM อยู่ในข้อ 5&6

                                     


                                                                             วิจารณ์  พานิช
                                                                               12 ก.ย.48

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4079เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2005 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท