"พนักงานมหาวิทยาลัย"


"พนักงานมหาวิทยาลัย"

"พนักงานมหาวิทยาลัย"

พนักงานมหาวิทยาลัย หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือเงินรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา

ความเป็นมาของพนักงานมหาวิทยาลัย...

ในอดีตมีการกำหนดให้บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในสถาบันอุดมศึกษา มีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เมื่อ พ.ศ. 2507 ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดจ้างพนักงานทดแทนอัตราข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการออกนอกระบบในปี พ.ศ. 2545 โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่มากกว่าข้าราชการ คือ เพิ่มขึ้น 1.7 เท่า สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย สาย ก. และเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย สาย ข. และสาย ค. ตามข้อเสนอของคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ซึ่งมี นายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดอัตรากำลังของพนักงานมหาวิทยาลัยเพื่อทดแทนอัตรากำลังของข้าราชการ...

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 ขึ้น จึงมีการกำหนดเกี่ยวกับพนักงานมหาวิทยาลัย อย่างเป็นทางการ

ปัจจุบันในสถาบันอุดมศึกษา ไม่มีการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแล้ว โดยสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ จะใช้การบรรจุและแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยเพื่อทดแทนอัตรากำลังของข้าราชการเดิม ซึ่งพนักงานมหาวิทยาลัย มีสิทธิที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการและตำแหน่งผู้บริหารเช่นเดียวกันกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา...สำหรับการรับโอนข้าราชการ ตามมติ ครม. ก็จะให้รับโอนข้าราชการที่อยู่ในสถาบันอุดมศึกษาด้วยกันเท่านั้นเองค่ะ ไม่รับโอนจากส่วนราชการอื่น...

ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย แบ่งเป็น 4 ประเภท

พนักงานมหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานจำแนกตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2552...ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยต้องดำเนินการออกประกาศ ฯ ให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง...) ได้แก่

ตำแหน่งวิชาการ แบ่งเป็น 4 ตำแหน่ง ได้แก่

ตำแหน่งศาสตราจารย์

ตำแหน่งรองศาสตราจารย์

ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

ตำแหน่งอาจารย์

ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร แบ่งเป็น 2 ระดับได้แก่

ะดับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีหรือเทียบเท่า

ระดับตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า

ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่

ระดับตำแหน่งเชี่ยวชาญพิเศษ

ระดับตำแหน่งเชี่ยวชาญ

ะดับตำแหน่งชำนาญการพิเศษ

ระดับตำแหน่งชำนาญการ

ระดับตำแหน่งปฏิบัติการ

ตำแหน่งประเภททั่วไป แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

ระดับตำแหน่งชำนาญงานพิเศษ

ระดับตำแหน่งชำนาญงาน

ระดับตำแหน่งปฏิงาน

หมายเลขบันทึก: 407770เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ประวัติความเป็นมาชัดเจนดีครับ ;)

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ...คุณ Wasawat...Ico32

  • ขอบคุณค่ะ...
  • พยายามจะนำมาแจ้งให้ทราบ...ให้ละเอียดมากที่สุดค่ะ...

พนักงานมหาวิทยาลัย มีเงินบำหนาญมั้ยคะ

ตอบ...คุณสุมาลี...

  • พนักงานมหาวิทยาลัย ไม่มีเงินบำนาญค่ะ ต้องดูสิทธิประโยชน์ของกลุ่มข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัยนะคะ
  • พนักงานมหาวิทยาลัย อาจมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพค่ะ ถ้ามหาวิทยาลัยตั้งให้มีกองทุน ฯ ขึ้นค่ะ...ขึ้นอยู่กับนโยบายที่มหาวิทยาลัยจะทำให้หรือไม่ด้วยค่ะ...เงินบำนาญจะใช้กับข้าราชการเท่านั้นค่ะ สำหรับลูกจ้าง ยังเรียกว่า เงินบำเหน็จรายเดือนเลยค่ะ ไม่เรียกว่า เงินบำนาญนะคะ
  • เป็นความหมายเฉพาะประเภทค่ะ...

สอบถามครับ

ผมเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ยศ ดาบตำรวจ อายุตัว 42 ปี  อายุราชการ 23 ปี เริ่ม(เบื่อ)อิ่มตัวกับอาชีพนี้  และกำลังเรียน ป.เอก(รัฐประศาสนศาสตร์) 

1.หากผมเรียนจบ ป.เอก แล้ว   ลาออกจากตำรวจกินบำนาญ  ไปเป็นอาจารย์สอนตามมหาวิทยาลัยต่างๆ   มีโอกาสเป็นเพียงอาจารย์พิเศษ หรือประจำ ครับ

2.มีโอกาสทำตำแหน่งทางวิชาการ หรือไม่ครับ

3.ไม่ทราบว่าผมจะคิดผิดหรือคิดถูก

4.หากสงสัยแล้ว  ผมจะสอบถามมาใหม่ครับ   ...ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณณธวัฒน์...

  • กรณีเช่นคุณ ที่ ม. ก็มีค่ะ เป็นตำรวจแล้วลาออกเพื่อกินบำนาญ...และก็มาสอบเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยที่ ม. (กรณีที่ ม. เปิดรับสมัคร) หรืออาจเป็นอาจารย์พิเศษก็ได้ค่ะ แล้วแต่โอกาส
  • ถ้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยมีสิทธิ์ทำผลงานทางวิชาการ เช่น ผศ. รศ.หรือ ศ. ค่ะ
  • ก็แล้วแต่ความคิดหรือความสุขของแต่ละคนนะคะ...แต่สำหรับผู้เขียน รักในอาชีพรับราชการค่ะ การรับราชการเป็นข้าเพื่อรับใช้ประชาชน เป็นข้าของแผ่นดิน มีความภูมิใจในอาชีพ ขอทำจนกว่าจะเกษียณ อีก 11 ปี ค่ะ...ภูมิใจที่มีส่วนช่วยให้ความรู้กับผู้อื่น เพราะปัจจุบันเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการไงค่ะ...ผู้รู้ท่านอื่น รู้ แต่ก็ไม่สามารถสื่อให้กับผู้อื่นได้ เพราะไม่เป็นในเรื่องของเทคโนโลยีหรือคอมพิวเตอร์...สำหรับผู้เขียน เมื่อทราบ เมื่อรู้ จะนิ่งเฉยไม่ได้ เพราะนี่คือ "หน้าที่ของการเป็นข้าราชการ ยิ่งผู้เขียนเคยได้รับครุฑทองคำจากท่านนายกรัฐมนตรีมา ยิ่งต้องตระหนักและสำนึกว่าตัวเราเองเป็นใคร...มีหน้าที่อะไร...ทำเพื่อใครด้วย อีกอย่าง "แล้วทำเพื่อแผ่นดินไทยมีสิ่งใดบ้างที่ตัวเราเคยทำให้" ค่ะ...
  • สำหรับการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ก็เป็นบุคลากรอีกประเภทหนึ่ง เพราะในสถาบันอุดมศึกษาต่อไป ข้าราชการจะไม่มีแล้ว อีกอย่างในเรื่องของกฎหมายต่าง ๆ อยู่ที่สภามหาวิทยาลัยของแต่ละแห่งเป็นผู้กำหนดให้ถือปฏิบัติ เป็นการยืดหยุ่น ซึ่งถ้าเป็นข้าราชการต้องฟังแต่นโยบายและกฎหมายจากส่วนกลางสั่งไปให้ปฏิบัติไงค่ะ แต่ถ้าเป็นสภามหาวิทยาลัยแล้ว ทุกอย่างจบที่มหาวิทยาลัยในแต่ละแห่งค่ะ...
  • อยู่ที่ตัวคุณเองจะตัดสินใจค่ะ...
  • ในความคิดของผู้เขียน ทำงานที่ไหน เป็นบุคลากรประเภทใดก็ได้ แต่ขอให้ทำอย่างมีศักดิ์ศรี รู้คุณค่าของความเป็นคน มีจิตสำนึกที่ดี ไม่หวังผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวมเท่านี้ แผ่นดินไทยก็ได้คนดี ๆ ทำงานให้กับแผ่นดินแล้วค่ะ...

เรียนถามอาจารย์ค่ะ

แล้วพนักงานมหาวิทยาลัยมีสวัสดิการ เบิกค่ารักษาพยาบาลให้ บิดา มารดา บุตรหรือป่าวค่ะ แล้วสามารถเบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้หรือป่าวค่ะ พอดีสอบบรรจุเป็นพนักมหาวิทยาลัยได้ ก็อยากจะเรียนถาม แล้วมีค่าครองชีพให้หรือป่าว ค่ะอาจารย์

ตอบ..คุณพัชรีย์...

  • การเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยในแต่ละแห่ง จะได้สิทธิต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับระเบียบ กฎหมาย ที่สภามหาวิทยาลัยในแต่ละแห่งจะเป็นผู้กำหนด บางแห่งได้ บางแห่งไม่ได้ เพราะบริบทของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน ให้สอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ที่คุณเองได้สังกัดอยู่ว่ามีให้หรือไม่
  • ปัจจุบันถ้าเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏด้วยกันจะยังไม่ค่อยมีในเรื่องดังกล่าวค่ะ ส่วนค่าครองชีพ ก็เช่นกันค่ะ ขึ้นอยู่กับระเบียบของแต่ละมหาวิทยาลัยเองค่ะ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ อยู่ที่สภาพความพร้อมในการบริหารจัดการเรื่อง เงิน ให้กับบุคลากรที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยค่ะ...
  • การเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย สิ่งแรกที่อยู่ใน ม. คุณต้องศึกษา ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่คุณได้สังกัดนั้นให้ดีค่ะ สอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ค่ะ...เพราะระเบียบต่าง ๆ จะไม่เหมือนกับข้าราชการค่ะ...

ขอขอบคุณมากค่ะอาจารย์ที่ให้ความรู้

อยากเรียนถามอาจารย์คะ  

คือตอนนี้ดิฉันเป็นข้าราชการครู  อายุ  39  ปี  คะตอนนี้จบปริญญาเอก  มหาลัยราชภัฎแ่หงหนึ่งซึ่งใกล้บ้านรับสมัครอาจารย์ ตำแหน่งวิชาการ  งบประมาณแผ่นดินคะ  สาขาที่ตนเองจบพอดี   อยากไปสมัครคะ  อาจารย์ว่าถ้าหนูเข้าไปเป็นอาจารย์ในมหาลัยจะดีไหมคะ  และอนาคตที่เหลืออีก  20 ปีจะก้าวหน้าหรือไม่  อีกทั้งจะคุ้มกับการลาออกจากครูมั้ยคะ  อาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยคะ  

เรียนถามอาจารย์ครับ ตอนนี้ผมเป็นอาจารย์สอนที่รร.สาธิตของทางมหาลัยไม่ทราบว่าสามารถสมัครสวัสดิการกู้เงินของ ชพค.ได้หรือไม่รบกวนด้วยครับ



กอบกิจ สิทธิธนกานต์

เกี่ยวกับ ชพค. ติดต่อที่สำนักงาน สกสค.จังหวัดที่ทำงานอยู่ครับ

กอบกิจ สิทธิธนกานต์

กฏหมายได้รับการแก้ไขให้มีความเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น ครูประถม-มัธยม-อาชีวศึกษา ฯลฯ สามารถเสนอผลงานเพื่อเลื่่อนระดับได้ เช่นเดียวกับอาจารย์มหาวิทยาลัย ขึ้นอยู่กับว่า เราถนัดแนวไหน อยากอยู่ที่ใด ใกล้บ้าน/ไกลบ้าน ใกล้ที่ทำงาน/ไกลที่ทำงาน ในกรุง/นอกกรุง/ชนบท เท่านั้นเองครับ.


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท