งานปลูกจิตสำนึกประชาธิปไตย


ทำได้ถ้าคิดว่าเราทำได้

โครงการปลูกจิตสำนึกรักประชาธิปไตยในชุมชน

1.หลักการและเหตุผล

             จากสภาวการณ์ในปัจจุบันของประเทศไทย ต้องเผชิญปัญหาความขัดแย้งทางความคิดของประชาชนที่มีความหลากหลายและข้อคิดเห็นที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง จนนำไปสู่ความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน เศรษฐกิจสังคม และความเป็นปึกแผ่นของชาติที่มีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงต่อเนื่องไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยความตระหนักในปัญหาสำคัญของความเป็นปึกแผ่นของคนในชาติ  แผนปรองดองแห่งชาติ มีหลักสำคัญ 5 ประการ ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทย กล่าวคือ การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์  แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและ

สังคม เสริมสร้างการเมืองที่ดี สร้างสรรค์สื่อ และสะสางเหตุการณ์ หลักการดังกล่าวเป็นหลักการสำคัญที่เปิดโอกาสให้ประชาชนในทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น เพื่อหลอมรวมเป็นแนวคิดสำคัญของชาติ

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองหลวง ได้เล็งเห็นความสำคัญ ในการจัดโครงการปลูกจิตสำนึกรักประชาธิปไตยในชุมชน เพื่อให้ภาคประชาชนในชุมชน ได้มีส่วนร่วมกันเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทยด้วยพลังความสามัคคีของคนในชาติ โดยใช้ระบบการศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความปรองดองอย่างยั่งยืนในชาติ

2.วัตถุประสงค์

                เพื่อสร้างจิตสำนึกรักประชาธิปไตยให้แก่ชุมชน ให้ประชาชนในชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการเผยแพร่แนวความคิด และจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตยสู่ความเป็นพลเมืองดี แก่สังคมโดยทั่วไป

 

3.กลุ่มเป้าหมาย

1.เชิงปริมาณ  นักศึกษา  ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไปของตำบลคลองห้า ที่เข้าร่วมโครงการ

จำนวน 60 คน

2. เชิงคุณภาพ  ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจในการเผยแพร่ และสามารถจัดกิจกรรมการ

สร้างจิตสำนึกประชาธิปไตยสู่ความเป็นพลเมืองที่ดีในชุมชนได้

4.วิธีดำเนินการ

                1. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน

                1. วางแผนกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงาน

                2. จัดทำโครงการและขออนุมัติ

                3. ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง/เครือข่าย

                4. ดำเนินงานตามแผนอบรมวิทยากรกระบวนการ

5. ประเมินผล/สรุปรายงานผล

 

 

5. รูปแบบการฝึกอบรม

                อบรมเชิงปฏิบัติการ   แบ่งกลุ่มย่อย  มีเนื้อหาดังนี้

1.  การสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตย

                                - การมีส่วนร่วมของประชาชน

                                - พลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย

                2.  การเคารพและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง

                                - ความเชื่อพื้นฐานเรื่องความแตกต่างของมนุษย์

                                - การสื่อสารอย่างสันติ

                3.  การเคารพกติกาของสังคม

                                - การปฏิบัติตนตามสิทธิ  หน้าที่ และรู้ในกฎหมายเบื้องต้นในชีวิตประจำวัน

                                - การปฏิบัติตนตามกฎ กติกา ข้อบัญญัติ และกฎหมาย

                                - การเคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีของตนเอง

คำสำคัญ (Tags): #กศน.
หมายเลขบันทึก: 407046เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2010 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

  โครงการนี้จัดเมื่อไรคะ

 

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาส่งอาหารเมื้อเที่ยงค่ะ น่าทานมั๊ยค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ

                          

สวัสดีค่ะและขอบคุณมากสำหรับการแสดงความคิดเห็นกับดิฉันที่เป็นสมาชิกใหม่ฝึกหัดเล่นค่ะ

  • สวัสดีค่ะ 
  • สุขสันต์วันลอยกระทงนะคะ...อาจารย์เอส
  • ขอบคุณค่ะ
     
                                  ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง
  • พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท