ดร.ภาณุวัฒน์ จันทร์ประสิทธิ์
ดร.ภาณุวัฒน์ ดร.ภาณุวัฒน์ จันทร์ประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์

มีโครงการดีๆมาแนะนำคับ


     มีโครงการดีๆมาฝากเพื่อนครูด้วยกันนะคับและผู้สนใจทั่วไปคับ

โครงการคืนกล้วยไม้สู่ป่า

ประเทศ ไทยเป็นแหล่งกล้วยไม้เขตร้อนที่สำคัญของโลก มีกล้วยไม้หลายชนิดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ เนื่องจากสามารถทำเป็นไม้ประดับกระถางและไม้ตัดดอกที่มีการส่งออกเป็นอันดับ หนึ่ง  ปัจจุบันพบว่ากล้วยไม้ป่ายังเป็นที่ต้องการ ของผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง ด้วยรูปทรง สีสัน ความแปลกตาของดอกและใบ และการบานของดอกที่มีอายุยาวนาน จึงมีการลักลอบนำกล้วยไม้ป่าพื้นเมืองออกมาจำหน่ายมากขึ้น ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ในบางสายพันธุ์ จากการศึกษาการขยายพันธุ์กล้วยไม้ให้ได้ปริมาณมาก แต่ไม่ทำลายธรรมชาติ โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ด้วยการเพาะเมล็ดกล้วยไม้ในอาหารสังเคราะห์ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุอาหารต่างๆ เช่น น้ำตาลและวุ้น ซึ่งช่วยให้เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดกล้วยไม้สูงขึ้น การนำกล้วยไม้ป่าบางสายพันธุ์เอาต้นออกจากป่าไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย แต่สามารถเอาฝักกล้วยไม้ (ผล) มาได้ เพราะฉะนั้นการขยายพันธุ์ทั้งหมดที่ทำในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จึงใช้ฝักเท่านั้นเพื่อป้องกันกล้วยไม้สูญพันธุ์ทางธรรมชาติ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนภูกระดึงวิทยาคม ตระหนักถึงความสำคัญต่อการอนุรักษ์และโดยการขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่าที่หายาก  และเน้น การถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนและชุมชน โดยโครงการคืนกล้วยไม้ป่า เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนและประชาชนรักและหวงแหนใน ธรรมชาติ ซึ่งธรรมชาติได้รังสรรค์สิ่งที่มีค่าให้กับป่า เราก็ควรที่จะรักษาสมดุลทางธรรมชาติเพื่อให้ป่ายังคงความงดงามและอุดม สมบูรณ์ เพราะปัจจุบันกล้วยไม้เริ่มสูญพันธุ์ ซึ่งเกิดจากน้ำมือมนุษย์ที่มองข้ามความสวยงาม หวังเพียงแค่ผลกำไร ขโมยกล้วยไม้จากธรรมชาติมาจำหน่าย จนแทบจะไม่หลงเหลือความสวยงามให้เห็นอีกต่อไป

 

วัตถุประสงค์

1.       เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และมีทักษะในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้

2.       เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามัคคีในหมู่คณะ

3.       เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ

4.       ส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการหารายได้โดยวิธีการที่ถูกต้องและไม่ทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติ

5.       เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่า และสร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชน

หมายเลขบันทึก: 406930เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2010 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท