การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน


แบบฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

                                  การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน

1.  ชื่อรายงาน       :  รายงานผลการพัฒนาทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 
                             โรงเรียนบ้านนาลับแลง  โดยใช้แบบฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
2.  ผู้ทำการวิจัย    :  นางสาวจรีภรณ์  ทิศอาจ
3.  ทำการวิจัยเมื่อ   :  วันที่  16 พฤษภาคม  2553 - วันที่  30 กันยายน   2553
4.  ความสำคัญของปัญหา    : :  จากการสอนภาษาอังกฤษและทำการทดสอบวัดจุดประสงค์เรื่องการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏว่านักเรียนทั้งหมด  7 คน  สามารถอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษในบทเรียน  และคำศัพท์ที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้วในระดับชั้น ป.1ได้ถูกต้องจำนวน 2 คน  อ่านได้ถูกต้องบ้างไม่ถูกต้องบ้าง จำนวน 3  คน  ไม่สามารถอ่านได้ จำนวน 2  คน   จากการตรวจสอบ ปรากฏว่า  นักเรียนบางคนไม่ให้ความสำคัญในการท่องคำศัพท์และนักเรียน บางคนไม่รู้หลักในการเทียบเสียงระหว่างพยัญชนะ  สระในภาษาอังกฤษกับภาษาไทย  ดังนั้นจึงจัดทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน  7  คน  ให้สามารถอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง
5.  วัตถุประสงค์   :
        5.1 เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
        5.2 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถก่อนการใช้แบบฝึกกับหลังการใช้แบบฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ขอนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
6.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสูงขึ้น
        6.2 โรงเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยสูงขึ้น
7. หลักการ/แนวคิด/ทฤษฎี
7.1 การเรียนรู้จากง่ายไปหายาก
7.2 กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
7.3 กฎแห่งผล
7.4 การเสริมแรง           
8. วิธีดำเนินการ
8.1  กลุ่มเป้าหมาย   :   นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  จำนวน  7 
8.2 ตัวแปรที่ศึกษา
        8.2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ แบบฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
        8.2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
        8.3 เครื่องมือที่ใช้
        8.3.1 แบบฝึก
        8.3.2 แบบทดสอบ
        8.4 วิธีสร้าง/การหาคุณภาพของเครื่องมือ
แบบฝึกที่ใช้ในการพัฒนาทักษะของนักเรียน  พัฒนาขึ้นโดยยึดวัตถุประสงค์การเรียนรู้  และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ  คือ  นางนิรมล  ทิศอาจ  นางสาวอัญชลี ทองเอม และนางชโลบล  ทัศวิล  ตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม  ได้ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ  แล้วจึงนำไปใช้จริง
        8.5 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
ตารางที่ 1  :  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลของผลที่เกิดจากการใช้แบบฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนบ้านนาลับแลง

ข้อมูล/ผลที่จะเก็บ

วิธีการ

เครื่องมือ

จำนวนครั้ง/ระยะเวลาที่เก็บ

คะแนน

ทดสอบ

แบบทดสอบ

- ก่อนการฝึก 1 ครั้ง      

- หลังการฝึก 1 ครั้ง      

     8.6 การวิเคราะห์ข้อมูล : นำคะแนนการสอบก่อนการฝึก - หลังการฝึก ไปหาค่าเฉลี่ยและหาค่าร้อยละความแตกต่างของคะแนนก่อนการฝึกและหลังการฝึก
        8.7 สถิติที่ใช้
-  ค่าเฉลี่ย (X)
-  ค่าร้อยละความแตกต่างของคะแนนก่อนการฝึกและหลังการฝึก
8.8 เกณฑ์คุณภาพความสำเร็จ : นักเรียนทุกคนมีคะแนนหลังการฝึกสูงกว่าคะแนนก่อนการฝึก
ไม่น้อยกว่าร้อยละ  20
9.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตารางที่ 2  :  ค่าเฉลี่ยและร้อยละของความแตกต่างของคะแนนการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  ของนักเรียน
                     ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนบ้านนาลับแลง  ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

ชื่อ - สกุล

คะแนน

ก่อนการฝึก (30 )

คะแนน

หลังการฝึก

( 30 )

เพิ่ม(+)

ลด(-)

ร้อยละของความแตกต่าง

ของคะแนนก่อน - หลัง

การใช้แบบฝึก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สรุป/เฉลี่ย

 

 

 

 

                จากตารางพบว่า  ในภาพรวมของนักเรียน  มีคะแนนเฉลี่ยหลังการฝึกสูงกว่าคะแนนก่อนการฝึก  ร้อยละ  31.95  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์คุณภาพความสำเร็จที่กำหนด (ร้อยละ 20)  เมื่อพิจารณานักเรียนรายคน  พบว่า  คะแนนหลังการฝึกสูงกว่าก่อนการฝึก  เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน
10. สรุปและอภิปรายผล
10.1สรุปผลการใช้ : ผลการพัฒนาทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 
โรงเรียนบ้านนาลับแลง  โดยใช้แบบฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ พบว่า นักเรียนทุกคนมีพัฒนาการสูงขึ้น  เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนดไว้
          10.2อภิปรายผล : ผลการพัฒนาทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาลับแลง  โดยใช้แบบฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  พบว่า  นักเรียนทุกคนมีพัฒนาการสูงขึ้น  เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนดไว้  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า แบบฝึกที่สร้างขึ้นมีการจัดลำดับขั้นตอน  และกระบวนการฝึกที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของนักเรียน
11. ข้อเสนอแนะ/การนำไปใช้
11.1นำแนวทางในการพัฒนาไปใช้แก้ปัญหาอื่น ๆ ในการจัดการเรียนการสอน
11.2ควรนำผลการวิจัย เผยแพร่ให้ครูผู้สอนที่พบปัญหาลักษณะเดียวกันไปทดลองใช้

 

หมายเลขบันทึก: 406841เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2010 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

What is it ?

         a. They are durians.

        b. It is a durian.

        c. Yes, it is.

 

  • น่าสนใจดีครับ ขอร่วมให้กำลังใจในการริเริ่มครับ ก้าวแรกมักเป็นความสำเร็จครับ สิ่งที่ตามมาจะเป็นภาคขยาย หากยิ่งค่อยๆทำไปก็เรียนรู้และพัฒนาตนเองไป ภาคขยายก็จะเป็นตัวยืนยันด้านความสำเร็จครับ
  • การพัฒนาวิธีทำวิจัย เรียนรู้ สร้างความรู้และงานทางความคิด บูรณาการไปกับการทำงาน เป็นเรื่องที่ก่อเกิดสิ่งดีๆตามมาหลายอย่างนะครับ เป็นทั้งการแก้ปัญหาและพัฒนางาน เป็นการพัฒนาทางวิชาการ และเป็นการสร้างความรู้จากของจริง
  • มีข้อแนะนำเพื่อทำต่อไปในอนาคตนิดหน่อยครับ หากกลุ่มตัวอย่างไม่เกิน ๑๐ คน ก็ไม่ต้องวิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละหรอกครับ เพราะจำนวนเต็มและการใช้วิธีเปรียบเทียบเป็นสัดส่วน จะให้ความหมายและสื่อความเข้าใจได้ดีกว่าค่าร้อยละครับ เพราะหน่วย ๑ คน มีค่าตั้ง ๑๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ เห็นเปอร์เซนต์เยอะแยะแต่ในความเป็นจริงแล้วมีจำนวนจริงไม่กี่คน ค่าร้อยละจึงจะทำให้หลอกตาและสื่อความเข้าใจได้ไม่ดีครับ วิเคราะห์โดยเปรียบเทียบสัดส่วนจึงจะเหมาะกว่าครับ

ดีครับน่าสนใจครับมีไรดีมาแบ่งปันนอีก

วิจัยคือการค้นหาค้นพบ นำไปสู่การช่วยต่อเติมเสริมหลายสิ่งหลายอย่างให้ดีขึ้น หวังว่าภาษาอังกฤษเด็กไทยจะดีขึ้นเรื่อยๆ

ขอบคุณอาจารย์วิรัตน์ คุณปอ ครูหยุย มากนะคะ

 

 

ขอเป็นกำลังใจต่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมนะคะ

เดี๋ยวน้ำก็ลดแล้ว อดทนนะคะ

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔

 

ขอบคุณมากนะคะ ยินดีค่ะ

  • น้องอินคะ ขอร่วมแจมย้อนหลังหน่อยนะคะ อยากให้เขียนบันทึกเล่าเรื่องการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของเด็กในปัจจุบัน จังค่ะ
  • ขอเสนอแนะเล็กๆ นะคะ ตัวแปรต้นในงานวิจัยนี้ คือ การใช้แบบฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ค่ะ ส่วน แบบฝึกการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เป็นเครื่องมือวิจัยค่ะ งานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาและของครูส่วนใหญ่จะนำเครื่องมือวิจัยมาเป็นตัวแปรต้น จริงๆ แล้วตัวแปรต้นในงานวิจัยแบบนี้ต้องเป็นการจัดกระทำ (Treatment) ค่ะ ซึ่งณ ที่นี้ก็คือการใช้แบบฝึกในการจัดการเรียนรู้นั่นเองค่ะ 

ขอบพระคุณมากนะคะ

ดีใจจัง..ที่รอคำแนะนำตรงนี้มาเนิ่นนาน

ในที่สุดก็ได้ความกระจ่าง

ค่ะ..เด็กได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษเท่าที่ผู้สอน ผู้เรียน

จะจัดสภาพแวดล้อม และนวัตกรรม..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท