CNG/NGV พลังงานทางเลือก


CNG/NGV

เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2553 ที่ผ่านมาผมได้เข้าอบรม การติดตั้งอุปกรณ์ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์มา ของ กรมธุรกิจพลังงาน  เห็นว่าช่วงนี้ รถบรรทุกหันมาติดNGVกับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดูจากจำนวนคนที่มาอบรมกว่า 200คน เต็มห้องอบรม วันนี้เลยขอเอามาแบ่งปันกับ ท่านๆที่ รถอาจจะติดNGV อยู่ ได้รับความรู้ พื้นฐานเล็กๆน้อยๆไปด้วยนะครับ

ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า

CNG (Compressed Natural Gas) = ก๊าซธรรมชาติอัด อยู่สถานะก๊าซ มีความดันในถัง 200 บาร์ ปริมาณลดลงจากปริมาณเดิม 1/250ส่วน

NGV (Natural Gas Vehicle) = รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัด  

LNG (Liquefied Petroleum Gas) = ก๊าซธรรมชาติเหลว มีอุณหภูมิที่ -160 องศาเซลเซียส  ปริมาณลดลงจากปริมาณเดิม 1/600ส่วน

ทำไม รัฐบาลถึงได้ สนับสนุนให้ประชาชนใช้NGVกันเหลือเกิน ทำไมไม่สนับสนุน LPGบ้าง

ตอบ

1. ประเทศไทยผลิตCNGได้วันละ 100ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น10%ทุกปี ในขณะที่LPG ที่ผลิตในประเทศนั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการแน่ๆ ถ้านำมาใช้กับรถยนต์มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อ ค่าครองชีพของประชาชน เพราะว่า LPG คือเชื้อเพลิงที่ใช้ทำกับข้าวให้เรากิน ถ้าแพง เราก็จ่ายค่าข้าวแพงนั้นเอง

2.CNG เป็นก๊าซที่เบากว่า อากาศ เมื่อรั่วซึม จะลอยขึ้นบน ทำให้ไม่ติดไฟได้ง่ายๆ ขณะที่LPGจะหนักกว่าอากาศ พอรั่วซึม มันจะกองอยู่ที่รั่ว พอเจอประกายไฟ ก็ระเบิดทันที

3.CNG ถูกกว่า

ก๊าซธรรมชาตินั้นเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งประกอบไปด้วย

มีเทน , อีเทน ,  โพรเพน ,  บิวเทน  , เพนเทน  , คาร์บอนไดออกไซค์ ,  ไนโตรเจน  , น้ำ  , ไฮโดรเจน ,  ไฮโดนเจนซัลไฟด์

ส่วนประกอบหลักก็คือ มีเทน  ก็เจ้า มีเทน นี้ละที่ใช้จุดระเบิดในเครื่องยนต์ มีเปลวไฟสีน้ำเงิน อุณหภูมิอยู่ที่ 2148 องศาเซลเซียส

แหล่งก๊าซธรรมชาติที่นำมาใช้ในประเทศไทย

ในประเทศ

                บริเวณอ่าวไทย

                บนบก อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น

                บนบก อ.ภูฮ่อม จ.อุดรธานี

ประเทศพม่า Yadana-Yetagun

แหล่งก๊าซพื้นที่ร่วมไทย-มาเลเซีย

ถ้าจะดูว่า คุณภาพก๊าซธรรมชาติดีกว่ากัน เราต้องดูที่ %มีเทนในแต่ละแหล่งว่ามีเท่าไร ถ้าแหล่งนั้นมี มีเทนอยู่มาก แสดงว่าคุณภาพก๊าซธรรมชาติจะดีตามไปด้วยนั้นเอง   ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยนั้น มีสัดส่วนของมีเทนอยู่75% นั้นขณะที่ก๊าซธรรมชาติในพม่ามีสัดส่วนมีเทนอยู่ที่ 72% แสดงว่า ก๊าซของอ่าวไทยดีกว่า แต่ถ้าจะให้พูดถึงว่า ก๊าซธรรมชาติที่ไหนดีที่สุดคงต้องเป็น แหล่งที่ อ.ภูฮ่อม จ.อุดรธานี เพราะ มีสัดส่วนมีเทนอยู่มากกว่าทั้ง อ่าวไทย และ พม่า นั้นเอง

ดังนั้น ช่วงก่อนที่ปั้มแก๊สทางอีสานจะปรับลดคุณภาพลง รถที่อีสานวิ่งกันดีมาก ก็เพราะ ก๊าซที่อีสานมีคุณภาพที่สูงนั้นเอง

รูปแบบสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ มีอยู่3แบบ

1.สถานีแบบมีท่อก๊าซ  สถานีบริการนี้จะตั้งอยู่ที่บริเวณท่อก๊าซผ่าน รถมาเติมได้ทันที ไม่ต้องรอรถบรรทุกก๊าซมาส่ง แบบ ปั้นลูก

2.สถานีแม่  เป็นสถานีที่ตั้งอยู่ที่บริเวณท่อก๊าซผ่าน แล้วก็นำก๊าซนั้นขนส่งต่อไปให้สถานีลูก

3.สถานีลูก ไม่มีท่อก๊าซผ่าน ต้องรอให้สถานีแม่ ขนส่งก๊าซมาให้

ประเด็นอยู่ตรงที่ หลายๆคนชอบโทษว่า สถานีลูกความดันมันน้อย อัดก๊าซได้ไม่ดี ไม่เต็ม จริงๆแล้วที่ไหนๆก็เหมือนกันครับ มันก็ขึ้นอยู่กับเครื่องสูบอัดก๊าซของแต่ละสถานีมากกว่า ว่าที่ไหนแรงกว่ากัน ดังนั้น บางที่เป็น ปั้มแบบที่ท่อผ่านแท้ๆ ดันอัดก๊าซไม่ค่อยเข้า

การเติมก๊าซ

ปกติ ถังก๊าซถูกออกแบบมาให้แตกที่ความดัน 450บาร์  ให้ใช้งานอยู่ที่ระดับปกติ 200บาร์  คุณสามารถเติมก๊าซให้เกินได้ แต่ต้องไม่มากกว่า 260 บาร์เด็ดขาด ไหนๆ ก็พูดถึงความดันในถังก๊าซแล้ว ก็ต้องอธิบายกันหน่อย เวลาที่เราเติมก๊าซนั้น ความดันในถังจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนอย่างรวดเร็วไปด้วย ใครเรียนทางวิทยาศาสตร์น่าจะพอนึกภาพออกว่า เหล็กเวลาเจอการเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างเฉียบพลันจะเป็นอย่างไร แน่นอนว่า ถังก๊าซถูกออกแบบมาให้ทนต่อความดันสูง ทนต่ออุณหภูมิ แต่เราก็ควรจะทะนุทะนอม มันบ้าง คำแนะนำ ก็คือ ไม่ควรปล่อยให้ก๊าซหมดถังก่อนแล้วค่อยเติม ถ้าทำอย่างนั้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความดันอย่างมากและรวดเร็ว ส่งผลให้ถังเหล็กเกิดความล้าขึ้น ยิงถ้าถังเก่า มีรอยตำหนี บ่อยๆเข้า ก็นะ   อย่าไปพูดถึงมันเลย งานเข้าแน่

สิ่งที่ผู้ใช้รถNGVจะหมั่นตรวจสอบถังก๊าซคือ

1.รอยตำหนิของถัง ถูกกระแทกมาหรือไม่ รอยขู่ไม่ควรลึกกว่า ¼ มิลลิเมตร

2.วัดหมดอายุของถัง จะแสดงไว้บนถัง  ถังก๊าซปกติมีอายุ 15-20ปี สามารถเติมก๊าซได้1000ครั้งต่อปี โดยไม่เกิดการล้าก่อนหมดอายุการใช้งาน

3.ดูว่ามีรอยไฟไหม้หรือป่าว เนื่องถังถูกชุบแข็งมา เพื่อให้มีโครงสร้างที่แข็งแรงขึ้น  แต่เมื่อใดโดนความร้อนสูงเข้าไปละก็ โครงสร้างเหล็กจะเปลี่ยนไปทำให้เหล็กมีความเสี่ยงจะเกิดความเครียดสูง และ แตก หรือ ระเบิด ได้

4.ตรวจการรั่วซึมที่บริเวณ ลิ้นหัวถัง บ่อยๆ โดยการเอาน้ำสบู่ ตีให้เป็นฟองเยอะๆ แล้วเอาฟองไปพอกที่ลิ้นหัวถัง ถ้ามีลักษณะที่มีฟองขึ้นมาแบบรั่วละก็ เข้าอู่ได้เลยครับ

ถ้าไม่อยากเป็นแบบนี้ควรตรวจสอบถังก๊าซ และ ระบบก๊าซ บ่อยๆเื่พื่อความปลอดภัยต่อตัวท่านเองนะครับ

พอเท่านี้ก่อนครับ คราวหน้าจะมาต่ออีก ในเรื่องของอุปกรณ์ต่างๆของรถติดNGV

เรื่องของก๊าซธรรมาชาติมีให้เขียนเยอะมาก จัดกันไปยาวๆ

 

ขอบคุณที่อ่านครับ

ข้อมูล จาก ผศ.ดร.พิพล บุญจันต๊ะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ (Tags): #cng#ngv
หมายเลขบันทึก: 406580เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2010 02:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท