การทำงานของโปรเจคเตอร์


โปรเจคเตอร์
1. CRT PROJECTOR
หลักการทำงาน

CRT PROJECTOR ให้มีหลอดฉายภาพแบบ CRT (CATHADE-RAY TUBE) เป็นต้นกำเนิดของภาพโดยใช้หลอด 3 หลอด ซึ่งให้ความสว่างไม่สูงมากขนา 150-260 aNSI LUMENS เพื่อแยกการกำเนิดภาพในแต่ละสีคือ สีแดง , สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแสงจากหลอดทั้ง 3 สี จะถูกปรับให้จุดตกกระทบของทั้ง 3 ลำแสง ให้ซ้อนทับ (CONVERGENCE) บนฉากรับภาพจนได้รับภาพที่ไร้ซึ่งการเหลื่อมของสี เกิดเป็นภาพที่คมชัด การที่ CRT PROJECTOR ต้องใช้ "หลอดภาพ" ถึง 3 หลอดทำให้มีตัวเครื่องขนาดใหญ่อีกทั้งไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย เพราะต้องปรับแต่ง (SETUP) ให้ถูกต้องคมชัด
คุณภาพ หรือรายละเอียดของภาพขึ้นอยู่กับ "ขนาด" ของหลอดภาพ (CRT) ควบคู่กับประสิทธิภาพในการรับความถี่ภาพสแกนทางแนวนอน ซึ่งทำให้หลอดภาพขนาดใหญ่ จะให้ภาพที่คมชัดมากกว่า ปัจจุบันหลอดภาพมี 3 ขนาด คือ
1. ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 นิ้ว เป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะใช้งานได้ทั่วไป มักใช้กับงานฉายสัญญาณวิดีโอ     (โฮมเธียร์เตอร์) เท่านั้น รับความถี่การสแกนของสัญญาณอินพุทได้สูงสุดไม่เกิน 15.75 Khz.      ทำให้ใช้รับสัญญาณวิดีโอเท่านั้น
2. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว ให้ความสว่าง และรายละเอียดของภาพได้มากขึ้น จึงเหมาะสมกับงานระดับ     COMPUTOR DATA GRADE และโฮมเธียร์เตอร์คุณภาพสูง
3. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 นิ้ว จัดเป็นระดับคุณภาพสูงสุด ใช้กับงานคุณภาพสูง COMPUTOR GRAPHICS      GRADE และโฮมเธียร์เตอร์ ที่เน้นความชัดเจนของรายละเอียดสูงที่สุด
                      สำหรับ CRT PROJECTOR ระดับ DATA GRADE และ GRAPHICS GRADE จะใช้หลอดภาพขนาด 8 นิ้ว และ 9 นิ้ว สามารถรองรับได้กับสัญญาณคอมพิวเตอร์ ได้ตั้งแต่ระดับ SXGA (1280 x 1024) และใช้ได้กับเครื่อง เพิ่มจำนวนเส้นในการสแกนภาพ ได้มากถึง 4 เท่า (LINE QUADRUPLER)
                    เฉพาะระดับ COMPUTOR GRAPGICS GRADE จะใช้หลอดภาพขนาด 9 นิ้ว และรองรับความถี่การสแกนภาพทางแนวนอนได้สูงสุดเกินกว่า 100 KHZ ทำให้รองรับสัญญาณ SXGA ถึง ระดับ WORK STATION 2500 x 2000 PIXELS เป็นเหตุผลที่ทำให้ CRT PROJECTOR ระดับนี้มีราคาสูงมาก
                 CRT PROJECTOR นิยมใช้กับโฮมเธียร์เตอร์ เพราะให้รายละเอียดชัดเจนของภาพ ความอิ่มตัวของเม็ดสี , ความถูกต้องของการใส่สี รวมถึงความสามารถในการให้ส่วนดำของภาพได้มืดสนิทกว่าโปรเจคเตอร์แบบอื่นๆ ซึ่งยี่ห้อที่มีคุณภาพดีจะมีวงจร GAMMA CORRECTION ซึ่งช่วยทำให้หลอดภาพสี น้ำเงิน (B) สามารถส่งสัญญาณสีตาม (TRACK) หลอดภาพสีแดง และหลอดภาพสีเขียว (G) ได้ทัน โดยภาพที่ออกมาจะได้ GRAY SCALE ที่ถูกต้องในทุกระดับค่าความสว่าง



 

2. LCD PROJECTOR
  หลักการทำงาน
              ใช้หลอดไฟ กำลังไฟส่องสว่างสูงประเภท เมทัล-ไฮไลท์ หรือหลอด UHP (ULTRA HIGH POWER) เป็นต้นกำลังส่องสว่างกำเนิดแสงโดยแสงจะวิ่งผ่าน DICHROIC MIRROR (กระจกสะท้อนกรองแสง) ทำหน้าที่แยกแสงออกเป็น 3 แม่สี คือแดง -RED (R) , เขียว - GREEN (G) และน้ำเงิน -BLUE (B) เพื่อให้แสงแต่ละสีผ่านไปสู่ LCD PANEL ของแต่ละสีซึ่งแต่ละจุดจะประกอบไปด้วยจำนวนแผงพิกเซล (PIXELS) เล็กๆ มากมาย แต่ละ PIXEL จะถูกควบคุมด้วยสัญญาณไฟฟ้าในการเปิด หรือปิดให้แสงแต่ละสีผ่านไปที่จอภาพได้ โดยแสงที่ผ่าน PIXEL จะผ่านเลนส์รวมแสงเพื่อผสมแม่สี ทำให้เกิดภาพ
             ปัจจุบัน LCD PROJECTOR จะให้ความสว่างสูงได้ถึง 3,000 - 4,000 ANSI LUMENS และมีราคาถูกลงมาก โดยมีอายุการใช้งานของหลอดไฟได้ 1,500 - 2,000 ชั่วโมง ให้ภาพจากสัญญาณ COMPUTOR ที่ดี และสัญญาณวิดีโอที่คมชัดสดใส

 

3. DLP PROJECTOR
 

หลักการทำงาน
           DLP ย่อมาจาก (Digital Light Processing) เป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท Texas Inctrumente ซึ่งพัฒนา DMD SHIP (DIGITAL MICRO MIRRORS DEVICE) ซึ่งเป็นแนววงจรขนาดเล็กประกอบด้วย แผ่นกระจกสะท้อนแสงขนาดจิ๋วจำนวนมากโดยแต่ละชิ้นของกระจกขนาดจิ๋ว จะแทนจุดแสงในแต่ละ PIXEL ถ้ารายละเอียดขนาด XVGA จะมีแผ่นกระจกตามแนวนอน 1024 ชิ้น ตามแนวตั้ง 768 ชิ้น กระกแต่ละชิ้นจะถูกวงจรไฟฟ้าควบคุมให้เอียงไปมา เพื่อสะท้อนแสงได้ที่มุม +/- 10 องศา เพื่อหันเหแสงไปที่จอภาพ หรือให้ตกระทบในตัวเครื่อง การทำงานของกระจกจิ๋วนี้เทียบได้กับหลักการทำงานของดิจิตอล คือ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าเปรีบได้กับสภาวะ "ON" กระจกจิ๋วของ PIXEL นั้นๆ จะเอียงเพื่อรับแสง และสะท้อนแสงไปตกกระทบจอภาพผ่านเลนส์ แต่ถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้า เปรียบได้สภาวะ "OFF" กระจกจิ๋วจะหันคืนกลับมาในอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งจะสะท้อนแสงที่ไม่ต้องการ ไปตกกระทบกับผิวของวัสดุดูดซึมแสง (ABSORBER) ภายในเครื่องก่อให้เกิดส่วนมืดทจอภาพ ร ตำแหน่ง PIXEL นั้นๆ
              การเกิดภาพในระบบ DLP นั้น ใช้หลักการที่แสงจะวิ่งผ่านแผ่นจานแม่ส (COLOR WHEEL) และแสงที่ผ่านจานแม่สี (แดง , เขียว , น้ำเงิน) แต่ละสีจะวิ่งผ่านไปที่กระจกจิ๋วในแผ่น DMD โดยถ้ากระแสไฟฟ้าที่กระจกจิ๋วก็จะสะท้อนแสงแม่สีไฟที่จอภาพ เพื่อผสมสีให้เกิดภาพ จะมีวงจรควบคุมให้แผ่นจานสี (COLOR WHEEL) หมุนได้จังหวะกับ การพลิกเอียงมุมของกระจกจิ๋วในแผ่น DMD
DLP PROJECTOR ให้ค่าความสว่างสูง , ความคมชัดของภาพ โดยมี CONTRAST RATIO ที่สูง , ค่า BLACK LEVEL ที่ดีทำให้สีดำสนิท และการเกลี่ยแสง (UNIFORMITY) ที่ดีมากเหมาะสำหรับงาน RESSENTATION ข้อมูลจาก COMPUTOR ที่ต้องการความคมชัดมาก

 ขอบคุณข้อมูล http://www.thaipresentation.com

 

คำสำคัญ (Tags): #โปรเจคเตอร์
หมายเลขบันทึก: 40566เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2006 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นเนื่อหาที่ดีมาก มีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ทางที่ดีน่าจะมี โครงสร้าง และการทำงาน ของProjector

ส่วนใหญ่จะหา โคงงสร้าง พร้องการทำงาน ขอบคุณมากครับบ...

ขอคุณนะคับ.......

พี่มีข้อมูลน้อยไปนอย....

ขอบคุนเนื้อหานี่ ท่าไม่ได้ คงทัมงานม่ายสำเร็ด ขอบคุลจิงๆคร่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท