ตากล้อง...ต้องรู้


กล้องDigital

ความหมายตัวอักษรย่อต่างๆในชื่อเลนส์ 
Di (Digitally Integrated Design) 
ระบบเลนส์ที่ออกแบบเฉพาะเพื่อให้แสดงคุณภาพได้ดีเยี่ยมทั้งกับกล้อง SLR ระบบดิจิตอลและกล้อง SLR ระบบฟิล์ม 
Di-II ( เลนส์สำหรับกล้องดิจิตอล SLR เท่านั้น) 
ระบบเลนส์ที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับใช้กับกล้องดิจิตอล SLR ที่ใช้เซ็นเซอร์รับภาพขนาดล็กกว่าฟิล์ม 
XR (Extra Refractive Index Glass) 
เทคโนโลยีการผลิตชิ้นแก้วกระจายแสง ลดการคลาดเคลื่อนสีให้ต่ำที่สุด พร้อมทั้งช่วยให้การออกแบบเลนส์มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบาขึ้นและคงค่าการรับแสงเท่าเดิม 
SP (Super Performance) 
เลนส์ประสิทธิภาพสูงที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ พร้อมคุณสมบัติที่โดดเด่นของ Tamron 
ASL (Hybrid Aspherical Elements) 
เทคโนโลยีก้าวหน้าล่าสุดในการใช้ชิ้นเลนส์ Hybrid Aspherical หลายชิ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการผิดส่วนและความคลาดทรงกลม จากการควบคุมจุดตกกระทบแสงให้อยู่ในระนาบการรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่คมชัด และช่วยให้เลนส์มีขนาดล็กลง 
LD (Low Dispersion) 
ชิ้นเลนส์ชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติการกระจายแสงต่ำ ช่วยลดการกระจายแสงในช่วงสีต่างๆให้น้อยลงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของเลนส์ ในช่วงเทเลโฟโต้และป้องกันการคลาดเคลื่อนสีในเลนส์มุมกว้างด้วย 
AD (Anomalous Dispersion) 
ชิ้นเลนส์พิเศษช่วยปรับอัตราความยาวคลื่นแสงของแม่สีต่างๆที่ต่างกันให้น้อยลง และลดการคลาดสีของเลนส์เทเลโฟโต้ รวมทั้งขจัดการคลาดสีของเลนส์มุมกว้าง 
HID (High Index High Dispersion) 
ชิ้นเลนส์ที่ช่วยปรับช่วงความยาวคลื่นแสงของแม่สี ได้แก่ สีน้ำเงิน, เขียวและแดง ให้มีความยาวคลื่นใกล้เคียงกัน เป็นการแก้ความคลาคเคลื่อนของสีแสงที่ผ่านเลนส์ เป็นการเพิ่มคุณภาพให้กับเลนส์ 
IF (Internal Focus System) 
ระบบปรบโฟกัสภายในกระบอกเลนส์ เป็นการเคลื่อนชิ้นเลนส์ในกระบอกเลนส์เพื่อหาโฟกัส และช่วยให้ปรับหาโฟกัสได้ระยะใกล้มากชึ้นในทุกช่วงทางยาวโฟกัสเลนส์ และยังปรับปรุงลักษณะเฉพาะของระบบออพติคอลโดยลดอาการที่ภาพมืดในส่วนขอบภาพให้น้อยลง และขจัดการคลาดเคลื่อนที่เกิดจากตำแหน่งการปรับโฟกัส 
ZL (Zoom Lock Feature) 
ระบบล็อคซูม เพื่อป้องกันกระบอกเลนส์ยืดออกในขณะสะพายหรือนำกล้องพร้อมเลนส์พกพาไปตามสถานที่ต่างๆ 
SHM (Super Hybrid Mount) 
เทคโนโลยีการหล่อเมาท์โดยการฉีดวสดุผสม ระหว่างสเตนเลสกับพลาสติกสังเคราะห์ เพื่อให้เมาท์เลนส์มีความแข็งแรง ทนทาน รองรับน้ำหนักมากๆได้ และมีน้ำหนักเบา 

ความหมายตัวอักษรย่อต่างๆในชื่อเลนส์ 

Di (Digitally Integrated Design) ระบบเลนส์ที่ออกแบบเฉพาะเพื่อให้แสดงคุณภาพได้ดีเยี่ยมทั้งกับกล้อง SLR ระบบดิจิตอลและกล้อง SLR ระบบฟิล์ม 

Di-II ( เลนส์สำหรับกล้องดิจิตอล SLR เท่านั้น) ระบบเลนส์ที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับใช้กับกล้องดิจิตอล SLR ที่ใช้เซ็นเซอร์รับภาพขนาดล็กกว่าฟิล์ม 

XR (Extra Refractive Index Glass) เทคโนโลยีการผลิตชิ้นแก้วกระจายแสง ลดการคลาดเคลื่อนสีให้ต่ำที่สุด พร้อมทั้งช่วยให้การออกแบบเลนส์มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบาขึ้นและคงค่าการรับแสงเท่าเดิม 

SP (Super Performance) เลนส์ประสิทธิภาพสูงที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ พร้อมคุณสมบัติที่โดดเด่นของ Tamron 

ASL (Hybrid Aspherical Elements) เทคโนโลยีก้าวหน้าล่าสุดในการใช้ชิ้นเลนส์ Hybrid Aspherical หลายชิ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการผิดส่วนและความคลาดทรงกลม จากการควบคุมจุดตกกระทบแสงให้อยู่ในระนาบการรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่คมชัด และช่วยให้เลนส์มีขนาดล็กลง 

LD (Low Dispersion) ชิ้นเลนส์ชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติการกระจายแสงต่ำ ช่วยลดการกระจายแสงในช่วงสีต่างๆให้น้อยลงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของเลนส์ ในช่วงเทเลโฟโต้และป้องกันการคลาดเคลื่อนสีในเลนส์มุมกว้างด้วย 

AD (Anomalous Dispersion) ชิ้นเลนส์พิเศษช่วยปรับอัตราความยาวคลื่นแสงของแม่สีต่างๆที่ต่างกันให้น้อยลง และลดการคลาดสีของเลนส์เทเลโฟโต้ รวมทั้งขจัดการคลาดสีของเลนส์มุมกว้าง 

HID (High Index High Dispersion) ชิ้นเลนส์ที่ช่วยปรับช่วงความยาวคลื่นแสงของแม่สี ได้แก่ สีน้ำเงิน, เขียวและแดง ให้มีความยาวคลื่นใกล้เคียงกัน เป็นการแก้ความคลาคเคลื่อนของสีแสงที่ผ่านเลนส์ เป็นการเพิ่มคุณภาพให้กับเลนส์ 

IF (Internal Focus System) ระบบปรบโฟกัสภายในกระบอกเลนส์ เป็นการเคลื่อนชิ้นเลนส์ในกระบอกเลนส์เพื่อหาโฟกัส และช่วยให้ปรับหาโฟกัสได้ระยะใกล้มากชึ้นในทุกช่วงทางยาวโฟกัสเลนส์ และยังปรับปรุงลักษณะเฉพาะของระบบออพติคอลโดยลดอาการที่ภาพมืดในส่วนขอบภาพให้น้อยลง และขจัดการคลาดเคลื่อนที่เกิดจากตำแหน่งการปรับโฟกัส 

ZL (Zoom Lock Feature) ระบบล็อคซูม เพื่อป้องกันกระบอกเลนส์ยืดออกในขณะสะพายหรือนำกล้องพร้อมเลนส์พกพาไปตามสถานที่ต่างๆ 

SHM (Super Hybrid Mount) เทคโนโลยีการหล่อเมาท์โดยการฉีดวสดุผสม ระหว่างสเตนเลสกับพลาสติกสังเคราะห์ เพื่อให้เมาท์เลนส์มีความแข็งแรง ทนทาน รองรับน้ำหนักมากๆได้ และมีน้ำหนักเบา 

ที่มา : kanyao http://www.taklong.com/canonlover/s-cl.php?No=266588

คำสำคัญ (Tags): #dslkr digital
หมายเลขบันทึก: 405312เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2010 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตัวย่อของ Canon

EF = Electro-Focus เป็นชื่อ เมาท์มาตรฐานของเลนส์ Canon ใช้ได้กับกล้อง EOS ฟิลม์ และดิจิฯ ที่เป็น Full Frame ทุกตัว
EF-S = EF with Short back focus สำหรับกล้องดิจิที่มีตัวคูณ ในระบบ EOS
IS = Image Stabilizer = ระบบกันสั่นเวลาถ่ายภาพ
USM = Ultra Sonic Motor มอเตอร์ focus ความเร็วสูงและเงียบ
FTM = Full time manual focus ในขณะใช้ mode auto focus ก็สามารถใช้ manual focus ได้ทันทีไม่ต้องไปปรับปุ่มเลย ส่วนใหญ่จะคู่กับระบบ USM ครับ
DO = Diffractive Optical คือ ชิ้นเลนส์พิเศษที่ทาง Canon พัฒนาขึ้นมามีลักษณะเป็นวง ๆ ซ้อน ๆ กัน
L = Luxury Grade = ชิ้นเลนส์คุณภาพสูงของ canon เลนส์ทำจาก UD glass (Ultra-low Dispersion)

รหัสที่ตัวเลนส์นะครับ ตัวอักษรตัวแรกเป็นสถานที่ผลิต (ชื่อเมือง)
  U = Utsunomiya, Japan
  F = Fukushima, Japan
  O = Oita, Japan
ตัวอักษรตัวที่สองเป็นปีที่ผลิต
  S = 2004
  T = 2005
  U = 2006
  V = 2007
  W = 2008
  X = 2009

 

ตัวย่อของ Nikon

AF = ระบบ Auto Focus
AF-S = Autofocusing with Silent Wave
Motor = เลนส์ที่มีมอเตอร์ในตัว ทำให้โฟกัสได้เร็วและเงียบ
DX = ใช้กับฟอร์แมตกล้อง DX หมายถึงกล้องที่มีขนาดเซนเซอร์เล็กกว่าฟิล์ม
VR = Vibration Reduction = ระบบป้องกันภาพสั่น
G = ไม่มีวงแหวนปรับรูรับแสงบนเลนส์ ต้องปรับเปลี่ยนค่ารูรับแสงจากบอดี้ในตัวกล้อง D = บ่งบอกว่าเป็นเลนส์ที่ใช้ร่วมกับระบบวัดแสง 3 มิติของกล้องรุ่นที่มีระบบวัดแสง 3 มิติ
ED = Extra-low Dispersion = มีชิ้นเลนส์คุณภาพสูงลดความคลาดสี ลดอาการขอบม่วง
DC = Defocus-image Control เป็นเลนส์พิเศษมีแหวนปรับความเบลอของภาพที่อยู่นอกโฟกัส
RD = Rounded Diapharm = เป็นการออกแบบให้รูรับแสงมีรูปทรงใกล้เคียงวงกลมมากขึ้น ส่งผลให้โบเก้หรือรูปทรงของอาการเบลอที่ฉากหลังดูนุ่มนวลไม่กระด้าง

 

ตัวย่อของ Sigma


DG = เลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับกล้องดิจิตอลดีขึ้น ใช้กับฟิล์มได้ด้วย
DC = ใช้กับกล้องดิจิตอลที่มี CCD ขนาดเล็กกว่าฟิล์มเท่านั้น ถ้าใช้กับกล้องฟิล์ม หรือกล้องดิจิตอล Full Frame จะติดขอบ
HSM = Hypersonic Motor มอเตอร์ในตัวเลนส์ โฟกัสไวและเงียบ
APO = ชิ้นเลนส์พิเศษลดความคลาดของสี
EX = บ่งบอกถึงว่าเป็นเลนส์ที่มีคุณภาพสูง ทั้งโครงสร้างและภาพที่ได้
OS = Optical Stabilizer เป็นระบบกันสั่นของ Sigma ครับ 

 

ตัวย่อของ Tamron

Di = Digitally Integrated Design = เลนส์ที่ออกแบบมาให้เข้ากับกล้องดิจิตอลดีขึ้น Di II = เลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้องดิจิตอลเท่านั้น ใช้กับกล้องฟิล์มไม่ได้
XR = Extra Refractive Index Lens เลนส์เทคโนโลยีการผลิตชิ้นแก้วกระจายแสง ลดการคลาดเคลื่อนสีให้ต่ำที่สุด พร้อมทั้งช่วยให้การออกแบบเลนส์มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบาขึ้นและคงค่าการรับแสงเท่าเดิม
LD = Low Dispersion เลนส์ความคลาดแสงต่ำ
SP = Super Performance = เลนส์เกรดโปรของแทมร่อน
VC = Vibration Compensation เป็นระบบกันสั่นของ Tamron ครับ
AD = Anomalous Dispersion = ชิ้นเลนส์พิเศษช่วยปรับอัตราความยาวคลื่นแสงของแม่สีต่างๆที่ต่างกันให้น้อย ลง และลดการคลาดสีของเลนส์เทเลโฟโต้ รวมทั้งขจัดการคลาดสีของเลนส์มุมกว้าง
HID = High Index High Dispersion = ชิ้นเลนส์ที่ช่วยปรับช่วงความยาวคลื่นแสงของแม่สี ได้แก่ สีน้ำเงิน, เขียวและแดง ให้มีความยาวคลื่นใกล้เคียงกัน เป็นการแก้ความคลาคเคลื่อนของสีแสงที่ผ่านเลนส์ เป็นการเพิ่มคุณภาพให้กับเลนส์
ZL = Zoom Lock Feature = ระบบล็อคซูม เพื่อป้องกันกระบอกเลนส์ยืดออกในขณะสะพายหรือนำกล้องพร้อมเลนส์พกพาไปตามสถานที่ต่างๆ
SHM = Super Hybrid Mount = เทคโนโลยีการหล่อเมาท์โดยการฉีดวสดุผสม ระหว่างสเตนเลสกับพลาสติกสังเคราะห์ เพื่อให้เมาท์เลนส์มีความแข็งแรง ทนทาน รองรับน้ำหนักมากๆได้ และมีน้ำหนักเบา ส่วนเลนส์ที่มีมอร์เตอร์ รหัส model จะมี NII ต่อท้ายครับ เช่น SP AF17-50mm Di II (model A16NII) AF18-200mm Di II (model A14NII) AF18-250mm Di II (model A18NII) SP AF28-75mm Di (model A09NII) AF28-300mm VC Di (model A20Nii) AF70-300mm Di (model A17NII) SP AF70-200mm Di (model A001NII)

 

ตัวย่อของ Pentax

FA = เลนส์สำหรับฟิล์ม แต่สามารถนำมาใช้กับ digital พอได้
DA = เลนส์สำหรับกล้อง Digital เท่านั้น ใช้กับกล้องฟลิม์มไม่ได้
D FA = เลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้ได้ทั้งกล้องฟิล์มและกล้อง digital ได้ทั้งคู่
SDM = Supersonic = มีมอเตอร์ในตัวเลนส์จึงช่วยให้การโฟกัสของเลนส์เร็วและเงียบ
AL = Aspherical Lens = ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมซีรี่ย์เลนส์ที่ผลิตจากแก้ว โดยผ่านการหลอม และโค้ดอย่างดีเยี่ยม

ตัวย่อของ Sony Konika Minolta
AS = Anti-Shake = ระบบป้องกันภาพสั่น แต่ระบบนี่การทำงานมันจะอยู่ที่ ตัว CCD ไม่ได้ใช้ชิ้นเลนส์ทำงาน
G = เป็นเลน์เกรดโปรของค่าย Sony Konika Minolta
SSM = Super Sonic Motor = เป็นมอเตอร์ที่อยู่ในตัวเลนส์ ช่วยให้โพกัสเร็วและเงียบขึ้น

 

ตัวย่อของ Tokina

AS = Aspherical Elements AT-X = Advanced Technology Extra FC = Focus Clutch SD = Super Low Dispersion Glass เพิ่มเติม ตัวย่อมาตรฐานที่พบได้หลายค่าย IF = Internal Focus คือระบบโฟกัสของเลนส์เป็นแบบเคลื่อนชิ้นเลนส์ภายใน RF = Rear Focus คือการปรับโฟกัสของเลนส์ด้วยการเคลื่อนที่ของชุดเลนส์ชิ้นหลัง ED = ED glass (Extra-low Dispersion) นอกจาก Nikon แล้วก็มี Pentax และ Olympus ที่ใช้ ED เช่นกัน ASP = Aspherical คือชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม เพิ่มเติมจะพบในการนำเสนอของ Sigma และTamron APO = Apochromatic คือเลนส์ที่แก้ความคลาดของสี ซึ่งจะพบ APO กับเลนส์ค่าย Sigma และ Sony Konika Minolta Macro = เลนส์ที่ออกแบบมาให้ถ่ายได้ใกล้วัตถุมากๆเพื่อให้ได้ภาพวัตถุเล็กๆปรากฎเป็น ภาพใหญ่ และถูกออกแบบให้แสดงความคมชัด รายละเอียดของภาพมากกว่าเลนส์ปรกติ Fisheye lens = เลนส์ตาปลา อันนี้ก็เป็นเลนส์มุมกว้าง ที่ไม่แก้ความโค้ง ปล่อยความโค้งเต็มที่ ส่วนใหญ่ก็เอาไว้ถ่ายอะไรที่ต้องการความกว้าง โดยไม่สนความโค้ง หรือเอา effect มาสร้างความแปลกตา เพิ่มเติมรายละเอียดเรื่องความคลาดของสีกับความคลาดทรงกลมนะครับ ความคลาดของสี (chromatic aberration) คือ โดยปกติแล้วเมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์ ไปตกกระทบบนระนาบของฟิล์มหรือ CCD ก็จะประกอบไปด้วยแม่สีทั้ง 3 คือ แดง เขียว น้ำเงิน ซึ่งในเลนส์ธรรมดาทั่วไปแม่สีทั้ง 3 แต่ละสีจะมีจุดโฟกัสบนระนาบไม่เท่ากัน สีแดงยาวที่สุด ตามมาด้วยเขียวและฟ้า ทีนี้เมื่อแม่สีทั้งสามมีระยะโฟกัสที่ไม่เท่ากัน เมื่อตกลงบนระนาบของฟิล์มและผสมกันออกมาเป็นสีจึงทำให้ขาดความคมชัด สีสันไม่ถูกต้องตามธรรมชาติตลอดจนความเปรียบต่างไม่ดี ยิ่งเลนส์ทางยาวโฟกัสยิ่งสูงยิ่งมีความคลาดสีสูง วิธีแก้ คือ ใช้วัสดุพิเศษที่มีความคลาดสีน้อยมากๆ มาทำชิ้นเลนส์ คือพวก UD,ED,LD,APO ความคลาดทรงกลม (spherical aberration) คือการที่ภาพไม่สมบูรณ์อันเกิดมาจากการหักเหของแสง ที่มากขึ้นตามส่วนโค้งบริเวณขอบของเลนส์อันจะมีผลต่อความถูกต้องของสีและความคมชัดของภาพ ทั้งนี้เพราะชิ้นเลนส์ทั่วๆไปที่มีความโค้ง เว้า ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนโค้งของทรงกลมทั้งสิ้น (spherical) อาจจะเพราะทำง่ายและราคาถูก แต่ก็มีปัญหาคือเกิดความคลาดทรงกลม จากการหักเหของแสงที่มากขึ้นกว่าตรงกลางเลนส์ตามขอบเลนส์ วิธีแก้ คือ ทำให้เลนส์ไม่เป็นทรงกลม A-spherical โดยปัจจุบันเราจะเห็นเลนส์นูนเลนส์เว้าประกอบกันเป็นชุดๆ ในเลนส์หนึ่งๆ ก็อาจจะมี หลายชุดที่มักจะเรียกกันว่า compound ซึ่งก็คือแก้ความคลาดทรงกลมนี่เอง และเรียกชุดเลนส์พวกนี้ว่า Aspherical lens. ขอบคุณ : คุณ blackcap7 ใน PIXPROS.NET http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=22264

สวัสดีครับ อยากให้เด็กรุ่นใหม่ได้อ่าน http://gotoknow.org/blog/somdejmas/418627

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท