เรื่อง “ทำไมถึงไม่ใส่หมวกกันน็อค” ???... เจ็บหนัก ตายง่าย เมื่อประสบอุบัติเหตุ จากพฤติกรรมการขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน๊อค ตอนที่ 2 ตอนที่ 2


“ทำไมถึงไม่ใส่หมวกกันน็อค” ???... เจ็บหนัก ตายง่าย

         ลักษณะเหตุผลในส่วนกรณีข้อที่ 4 เรื่องของคนนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่ ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อคในกรณีต่างๆ ที่พบได้ในสังคมไทย

 ประเด็นที่ 1 ต้องบอกอีกว่า พฤติกรรม วัฒนธรรม ของตำรวจ ในการตรวจจับคนนั่งซ้อนท้ายที่ไม่ได้ส่วมใส่หมวกกันน็อค โดกปกติไม่ได้จับ นอกจากเป็นการตั้งด่านใหญ่ๆ ถึงจับ ถ้าอยู่ตามป้อมตำรวจ ตามสี่แยกไม่ได้จับ อาจเป็นเพราะตำรวจมีน้อยเกินไป และมีงานให้รับผิดชอบมาก เลยมาไล่จับ คนนั่งซ้อนท้ายที่ไม่ได้ใส่หมวกกันน็อคไม่ไหว

 ประเด็นที่ 2 เช่นเดียวกันยังเป็น พฤติกรรม วัฒนธรรม ของผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ในการขับขี้ ที่เมื่อใช้รถมอเตอร์ไซค์ และมีผู้ซ้อนท้ายรถ มอเตอร์ไซค์ในทุกๆกรณี เช่น เพื่อนนั่งซ้อนท้ายญาติพี่น้องนั่งซ้อนท้าย หรือ มีผู้ว่าจ้างนั่งซ้อนท้าย ในกรณีของมอเตอร์ไซค์ รับจ้าง ยังไม่ได้มีพฤติกรรม นิสัย บรรทัดฐานที่ดี ที่ให้ผู้นั่งซ้อนท้าย ทุกครั้งที่มีผู้นั่งซ้อนท้ายขณะขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งทั้งประเด็น ที่ 1 และ 2 ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญที่สุด

 ประเด็นที่ 3 เกิดจากกรณีของผู้ที่มาซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ขณะขับขี้นั้น ไม่ต้องการสวมใส่หมวกกันน็อก เช่น คนนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ รับจ้าง โดยเฉพาะผู้หญิง อาจกลัวผมเสียทรง ผมเหม็น จากกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มเด็กแว็น กลุ่มเพื่อนที่โรงเรียน กลุ่มที่มานั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์โดยบังเอิน หรือ นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์เพื่อนๆ

 ประเด็นที่ 4 จากการที่ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะในการเดินทางนั้น ส่วนใหญ่ มีหมวกกันน็อคประจำตัวเพียงใบเดียว และ รถมอเตอร์ไซค์ที่ผลิดออกมาขาย โดยปกติมีความสะดวกในการเก็บหมวกกันน็อค ไว้กับรถมอเตอร์ไซค์ ได้ 1 ใบ ฉนั้น ผู้นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ที่ไม่ได้เตรียมหมวกกันน็อคมา หรือ มาซ้อนโดยบังเอิน เมื่อมานั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซต์ ในลักษณะต่างๆ จึงไม่ค่อยได้ส่วยใส่หมวกกันน็อค

 ประเด็นที่ 5  การนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์โดยไม่สวมใส่หมวกกันน็อคนั้น ผู้ขับขี้หรือผู้ซ้อน อาจมองว่าเมื่อถูกตำรวจจับ เป็นโทษไม่หนัก สามารถพูดคุย ปรองดอกกับตัวรวจได้ ถ้ามีเหตุผลที่ดีตำรวจอาจปล่อยไปโดยไม่เสียค่าปรับ หรือ เขียนใบสั่งให้ปรับน้อยๆ หรือ สามารถจ่ายเงินให้ตำรวจที่จับในที่เกิดเหตุได้โดยไม่ต้องเขียนใบสั่ง

         ลักษณะเหตุผลในส่วนกรณีข้อที่ 5  กรณีของเด็กแว๊น ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค ระหว่างขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ เล่น ขับรถแข็งขัน กับกลุ่มเพื่อนๆ เป็นกลุ่มใหญ่ๆ นั้น

 ประเด็นที่ 1 เป็น ค่านิยมพฤกรรม วัฒธรรม การขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ บนท้องถนน ของเด็ก แว็น กลุ่มนี้อยู่แล้ว ที่ไม่ต้องการสวมใส่หมวกกันน็อก เด็กวัยรุ่นกลุ่มนี้ใครใส่หมวกกันน็อค อาจถูกมองเป็นเรื่องแปลกในสายตาเพื่อน ที่ไปร่วมตัวกันขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ด้วยกัน ที่อาจ มองว่า เป็นคนขี้กลัว ใจไม่ถึง และคนนั่งซ้อนท้าย ซึ่งมีทั้งผู้หญิงผู้ชาย ที่แทบจะหาคนสวมใส่หมวกกันน็อคไม่ได้เลย

 ประเด็นที่ 2 การร่วมตัว ในการขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ของกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มเด็กแว็น กลุ่มนี้ โดยปกติ ชอบไปร่วมตัวขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ในเวลากลางคืน และ ในบนท้องถนน ช่วงถนนที่ไม่มีตำรวจอยู่ เพราะ โดยพฤติกรรม จุดประสงค์ ของการใช้รถมอเตอร์ไซค์มีความผิดอยู่แล้ว จึงต้อง หลบตำรวจ เมื่อไม่มีตำรวจ กลุ่มเด็กแว็นกลุ่มนี้ จึงไม่นิยมใส่หมวกกันน็อค ขณะขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ คือ กลัวตำรวจจับในข้อหาความผิดอื่นๆ มากกว่า ความผิดเรื่องการไม่สวมใส่หมวกกันน็อค

 ประเด็นที่ 3 การขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ของกลุ่มวัยรุ่น ที่เรียกว่าเด็ก แว็นนี้ เป็นการออกมาร่วมตัวกันของเพื่อนๆ เป็นกลุ่มใหญ่ และ ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ด้วยความรวดเร็ว มีการแข็งขันกัน การส่วมใส่หมวกกันน็อค อาจทำให้ไม่สะด้วยไม่การ พูดคุยกันกับกลุ่มเพื่อนๆ หรือ ในการมองดู มองหากลุ่มเพื่อนๆ หรือ ไม่สะดวก ไม่ถนัดในการขับรถมอเตอร์ไซค์ ด้วยความรวดเร็ว ขณะแข็งขัน กับรถมอเตอร์ไซค์ของเพื่อนๆ คันอื่น

 ประเด็นที่ 4 เป็นเรื่องของจิตสำนึก ความรู้ การปรับตัว ประสบการณ์ชีวิต ความระมัดระวัง จากอันตราย ในเรื่องความปลอดภัย ของการใช้รถมอเตอร์ไซค์ ที่เสียง จากการสวมใส่หมวกกันน็อก ไม่ดี ไม่มีความตระหนักมาก พอ

           จากการพยายามอธิบายตอบคำถาม ที่ว่า “ทำไมถึงไม่สวมใส่หมวกกันน็อก” โดยเริ่มจากนำเสนอข้อมูล ลักษณะ พฤติกรรม ซึ่งสามารถมองเห็นภาพการใช้รถมอเตอร์ไซค์ ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค ได้ชัดเจอ ในสังคมไทย ทั้งผู้ขับขี้ ผู้นั่งซ้อนท้าย ที่ได้มา 5 ลักษณะนั้น  

           เมื่อได้นำมาวิเคราะห์ ที่ละข้อทั้ง 5 ข้อ ถึงเหตุผล สาเหตุของการไม่สวมใส่หมวกกันน็อค มาทั้งหมด คงอาจไม่ได้ตอบคำถาม ที่ว่า “ทำไมถึงไม่สวมใส่หมวกกันน็อก”  ได้ครอบคลุม ครบทุกๆ ลักษณะ พฤติกรรม เหตุผล สาเหตุ ของผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค

            แต่ถ้านำลักษณะ ภาพ ของการไม่สวมใส่หมวกกันน็อค ทั้งผู้ขับขี้ ผู้นั่งซ้อนท้าย รถมอเตอร์ไซค์ ในสังคมไทย ที่พบเห็น ได้มา ทั้ง 5 ข้อ นั้น ร่วมถึง เห็นผล สาเหตุ ตามที่เข้าใจ ที่วิเคราะห์ ได้มาทั้งหมด ทั้ง 5 ข้อนั้น

           มาคิดต่อ คิดถึงการวิธีการป้องกัน แก้ไข ส่งเสริม พัฒนา พฤติกรรม ของการใช้รถมอเตอร์ไซค์ เป็นพาหนะในการเดินทาง ทั้งผู้ขับขี้ คนนั่งซ้อนท้าย ต้องให้มีการสวมใส่หมวกกันน็อค ในทุกๆครั้ง ในทุกๆ ท้องถนน เมื่อใช้รถมอเตอร์ไซค์ ให้เป็นเรื่องปกติ เป็นพฤติกรรมปกติ ในวิถีชีวิต เป็น วัฒนธรรม ที่ต้องสวมใส่หมวกกันน็อค ขณะใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะในการเดินทาง ทั้งผู้ขับขี้ คนนั่งซ้อนท้าย

            ข้อเสนอทั้งหมด ที่กล่าวต่อไปนี้ เป็นการ ร่วมยอด จากความรู้ จากประสบการณ์ จากความคิด ที่ได้อ่าน ได้ฟัง ได้รับรู้จากงานเสวนา สัมนา ต่างๆ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ครู อาจารย์ ที่นำเสนอข้อมูล เป็นวิธีการ เพื่อให้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์สวมใส่หมวกกันน็อค เป็นวิทยาทาน กับผู้รับฟัง ในโอกาสต่าง ซึ่งได้จดจำมาคิด มารวมร่วม ต่อยอด ปรับแต่ง และนำมาเสนอ นั้น ซึ่งต้องขออภัย ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งหลาย  ที่ไม่ได้อ้างอิ้งในที่นี้

            รูปแบบนำเสนอเป็นลักษณะนำเสนอ เป็นเรื่องของวิธีการบังคับใช้กฎหมาย การรณรงค์ให้ความรู้ แนวคิด ส่งเสริม พัฒนา ความคิดเห็น เป็นข้อๆไป โดยร่วมทั้ง 5 ข้อ ของพฤติกรรมการใช้รถมอเตอร์ไซค์ ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อก ที่พบ ในสังคมไทย ไม่ได้เรียงลำดับ

ข้อเสนอที่ 1  ให้ผู้ปกครองที่กำลังท้อง ทุกคน ทั้วทุกพื้นที่ ทั้วประเทศ เมื่อท้อง และ ได้ไปฝากท้อง ทั้งที่เป็นโรงพยาบาล รัฐ และเอกชน ภาครัฐต้องจัดการลงทะเบียนผู้ปกครองที่ท้อง และจัดให้มีสถานที่สะดวกในการเดินทาง ระยะทางไม่ไกล

          โดยอาจอยู่ที่ศูนย์ อนามัย ของแต่ละตำบล ของแต่ละเขต เพื่ออบรม ให้ความรู้ เรื่อง อันตรายจากการพาเด็กนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ หรือ อันตรายจากการไม่สวมใส่หมวกกันน็อคของเด็ก ขณะ นั่งรถมอเตอร์ไซค์ หรือ หัวข้อต่างๆ อื่นๆ ที่เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายของเด็กจากการนั่งซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ การขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ให้กับผู้ปกครอง ระหว่างระยะเวลาที่ท้อง 9 เดือน ก่อนคลอด อาจเป็นระยะเวลา 5 ชั่วโมง หรือ 10 ชั่วโมง ผู้ปกครองต้องมาอบรม 2 -3 ครั้ง เป็นรายละเอียดเบื้องต้น

          เหมือนกับเป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับ การมาฝากท้อง มาตรวจท้องพบแพทย์ มาฉีดวัดซีน รับยาบำรุง ของผู้ปกครองที่กำลังท้อง โดยรัฐต้องจัดอบรมบุคลากรเจ้าหน้าที่ อนามัย พยาบาล ในแต่ละศูนย์ ในแต่ละเขต ให้มีความรู้ มีความสามารถอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครอง ในเรื่องอันตรายจากการนั่งซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ ใช้รถมอเตอร์ไซค์ ของเด็กได้

          ซึ่งอาจมีแรงจูงใจให้กับผู้ปกครองที่เข้ารับการอบรม ได้รับการลดค่าคลอดบุตร ได้    อาหารเสริม ได้รับนมแจกฟรี หรือ ใบประกาศการเข้ารับการอบรม ซึ่งประเด็นการให้ความรู้ให้กับผู้ปกคลอก ก่อนคลอดบุตรนี้ คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครองมาก และอาจเพิ่มเติมให้ ความรู้ในเรื่อง อื่นๆด้วย เช่น ในเรื่องคุณภาพชีวิต การเลี้ยงดู เรื่องความปลอดภัยของเด็ก ของเด็กหลักคลอด

ข้อเสนอที่ 2 เป็นเรื่องของการออกกฎหมายห้ามผู้ปกครอง พาเด็ก อายุ ต่ำกว่า 2 ปี ห้ามพานั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์เลย เพราะเด็กเล็กๆ เมื่อประสบอุบัติเหตุ ขณะนั่งซ้อนท้าย       รถมอเตอร์ไซค์ มีโอกาสบาดเจ็ดที่รุนแรง หรือ เสียชีวิตได้ง่าย หรือ มีบ้างท่าน เสนอให้ เด็กเพิ่มเป็น อายุต่ำ กว่า 6 ปีไม่ควรเดินทางด้วยการนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์เลย ซึ่ง ในบ้างประเทศมีกฏหมายระเบียบ เช่นนี้ใช้แล้ว

ข้อเสนอที่ 3 ให้มีระเบียบ หรือ ออก กฎหมาย ให้ผู้ปกครองที่ใช้พาหนะในการเดินทาง และ มีความจำเป็นที่ต้องพาเด็กเล็ก นั่งซ้อนท้ายไปด้วยนั้น ต้องใช้เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ ที่สามารถยึดติดเด็ก กับ ผู้ปกครองขณะขับรถมอเตอร์ไซค์อยู่ด้วย หรือ ออกแบบรถมอเตอร์ไซค์ ที่มี ที่นั่งเด็กให้สบาย อาจ เหมือน ตุ๊กตุ๊ก หรือ มีที่นั่งพ่วงอยู่กับรถมอเตอร์ไซค์ หรือ ชุดที่เด็กใส่แล้วมีความปลอดภัย มีอุปกรณ์เสริมในการยึดเหนียว เช่น รองเท้าหนัง เสื้อหนัง กางเก่งหนัง

ข้อเสนอที่ 4 ศูนย์เด็กเล็กทั้วทั้งประเทศ ที่มีเด็กๆภายในศูนย์ ที่ผู้ปกครองใช้พาหนะมอเตอร์ไซค์ในการเดินทางมารับมาส่ง ให้ศูนย์เด็กเล็ก จัดการอบรม เรื่อง ความปลอดภัย การสวมใส่หมวกกันน็อค ขณะขับรถมอเตอร์ไซค์เดินทาง มารับส่งลูกๆหลานที่ศูนย์เด็กเล็ก อาจเป็น เทอมละ 1- 2 ครั้ง ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง ให้กับผู้ปกครอง

           และออกเป็นกฎระเบียบ ให้ผู้ปกครองต้องสวมใส่หมวกกันน็อค ในการเดินทางมารับมาส่ง ลูกๆหลานๆทุกคน ที่ศูนย์เด็กเล็ก ถ้าไม่สวมใส่หมวกกันน็อคให้เด็ก ต้องมีบทลงโทษผู้ปกครอง เช่น เชิญมาอบรมเพิ่มเติม มีการตักเตือน ปรับเป็น ไม้กวาดพื้น ของใช้ต่างๆภายในศูนย์เด็กเล็ก หรือ พักการเรียนบุตรหลานเด็ก ถ้าพักการเรียนแล้ว ยังไม่สวมใส่หมวกกันน็อคอีก ให้ลูก ขณะมารับส่งด้วยรถมอเตอร์ไซค์ อีก ต้องให้ออกจากศูนย์เด็ก ไปเลย

           โดยมีครูเวรค่อยตรวจ อยู่ที่หน้าศูนย์เด็กเล็ก และ ยังต้องมีการสอน เรื่องอันตรายจากการไม่สวมใส่หมวกกันน็อค เรื่องความปลอดภัยจากการใช้ถนน ใช้รถต่างๆ ให้เด็ก ในศูนย์เด็กเล็ก ด้วย เพื่อให้เด็กมีความรู้ ให้เด็กมีการนำไปปฎิบัติใช้ในอนาคต 

ขอเสนอที่ 5  เป็นข้อเสนอลักษณะเดียวกับของศูนย์เด็กเล็ก แต่ขยับขึ้นมาเป็นในระดับ โรงเรียนประถม มัธยม หรือ ในระดับอุดมศึกษา คือ ให้โรงเรียน ออกกฎ ระเบียบ บังคับให้ผู้ปกครอง ที่ใช้พาหนะในการเดินทางรับส่งลูกหลานด้วยรถมอเตอร์ไซค์ ต้องสวมใส่หมวกกันน็อคทุกครั้ง ที่เดินทาง มารับส่งลูกหลานที่โรงเรียน มีครูเวรค่อยตรวจ และมีการ เชิญผู้ปกครองที่ไม่ปฎิบัติตาม มาให้คำแนะนำ มีการตักเตือน มีโทษเป็นค่าปรับ พักการเรียนบุตรหลาน และให้ออกเลย ถ้าไม่ปฎิบัติเกินจำนวนที่กำหนด

             ซึ่งในแต่ละเทอม มีการเชินผู้ปกครองมาให้ความรู้ กฎระเบียบ โรงเรียนในเรื่องนี้ และมีการสอนให้ความรู้กับนักเรียนเรี่องความปลอดภัยจากการใช้รถใช้ถนน การสวมใส่หมวกกันน็อค เพื่อให้เด็กนำไปใช้ในอนาคตต่อไป

             เช่นเดียวกันเด็กที่โตพอสามารถขับรถมอเตอร์ไซค์มาจอดในพื้นที่โรงเรียนได้แล้วนั้น ทั้งคนขับ และ คนนั้งซ้อนท้าย ต้องให้สวมใส่หมวกกันน็อค ทุกครั้ง ที่เดินไปกลับโรงเรียน

              ซึ่งการรณรงค์ สร้างกฎระเบียบข้อบังคับ ที่เริ่มตั้งแต่ศูนย์เด็กเล็ก และในโรงเรียน นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ สร้างเป็นวัฒนธรรม การสวมใส่หมวกกันน็อคของผู้ปกครองที่รับส่งลูกหลานด้วยรถมอเตอร์ไซค์ หรือ เด็กที่ขับขี้ นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์มาโรงเรียนได้ เพราะได้มีศูนย์เด็กเล็กที่ได้ออกระเบียบบังคับนี้ออกมา และผู้ปกครองให้ความร่วมมือที่ดี

ข้อเสนอที่ 6 ให้เป็นการตรวจสอบ รณรงค์ดูแลกันเองของชาวชุมชน เช่น มีกฎระเบียบ ของชุมชน ที่ชุมชนตั้ง กติกากับเอง ที่ให้ชาวชุมชนสวมใส่หมวกกันน็อคทุกครั้ง เมื่อสตาร์รถมอเตอร์ไซค์ ทั้งคนขับขี้ คนซ้อนท้าย โดยภาครัฐไปจัดอบรมให้ความรู้ให้ชาวชุมชน มีทัศนคติที่ถูกต้อง และให้ชาวชุมชน ตักเตือนกัน หรือ ตั้งชาวบ้าน ที่มีหน้าที่ตักเตือนขึ้นมา เมื่อเห็น เพื่อนบ้านขับขี้ หรือ คนนั่งซ้อนท้าย ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค และมีบทลงโทษเล็กๆน้อยๆ ทำให้มีการตักเตือนกันในชุมชน เป็นเรื่องปกติ เป็นวัฒนธรรม เมื่อเห็นคนที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค ในชุมชน

ข้อเสนอที่ 7 ให้เพิ่มตำรวจจราจรให้มากขึ้น และมีหน้าที่เพิ่มเติม นอกจากการตรวจจับแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ไปให้ความรู้ไปอบรม ชาวชุมชน ชาวบ้าน ถึงพื้นที่ ด้วยความเป็นมิตร ในเรื่องการสวมใส่หมวกกันน็อค กับผู้ขับขี้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์

ข้อเสนอที่ 8  ให้ตำรวจตรวจจับอย่างจริงจังตามตัวบท กฎหมายกับผู้ที่ขับขี้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค ทั้งผู้ขับขี้และคนนั่งซ้อนท้าย และมีบทลงโทษที่รุนแรงกับตำรวจที่รับเงินส่วย จากผู้กระทำความผิดโดยตรง ไม่ยอมเขียนใบสั่งให้กับผู้ขับขี้ผู้ใช้     รถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อค

ข้อเสนอที่ 9 ให้การทำป้ายโฆษณามีรูปภาพน่ากลัวของอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์ที่ผู้ขับขี้ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค เหมือนที่ติดอยู่กับซองบุหรี่ ให้ติดในกรุงเทพ และในทุกหมู่บ้านแห่ง ละ 2 ป้ายโฆษณา

           การรณรงค์โฆษณด้วยวิธีการต่างๆ และทำในรูปแบบต่างๆ ต้องอย่างต่อเนียง เช่น ตั้ง วันสวมใส่หมวกกันน็อค มา 1 วัน และจัดกิจกรรมประจำ ทุกปี ประกวดคำขวัญ เขียน เรียงความ เรื่องเกี่ยวกับการสวมใส่หมวกกันน็อค มีรางวัล แจกให้กับ อำเภอ จังหวัด ดีเด่น ในการที่ประชาชน ร่วมใจกันสวมใส่หมวกกันน็อคเมื่อขับขี้รถมอเตอร์ไซค์

ข้อทเสนอที่ 10 ให้ผู้ขายตัวแทนขายรถมอเตอร์ไซค์ ทั้วไปในท้องตลาด มีการแจกหมวกกันน็อค เต็มใบ ให้ได้มารตฐาน สำหรับผู้ใหญ่ 1 ใบ และหมวกกันน็อคสำหรับเด็กอีก 1 ใบ ให้กับผู้ที่มาซื่อรถมอเตอร์ไซค์ออกไปจากร้าน อาจออกเป็นกฎระเบียบ และ ผลิต รถมอเตอร์ไซค์ ที่มีความเร็ว หรือ  CC ให้น้อยลง

ข้อเสนอที่ 11 ในส่วนของมอเตอร์ไซค์ รับจ้าง ต้องให้ทางท้องถิ่นที่มีหน้าที่ดูแล ต่างๆ นั้น เช่น ทางกรุงเทพ ต้องออกกฎให้ผู้ที่มาขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ให้ทั้งคนขับ และ ผู้โดยสาร สวมใส่หมวกกันน็อค ทุกครั้งที่เดินทาง โดยมีบทลงโทษ เช่น ห้ามขับขี้ พักการขับขี้รถมอเตอร์ไซค์รับจ้างต่อไป หรือ มีบทลงโทษหัวหน้าวิน ที่ดูแลลูกวินรถมอเตอร์ไซค์ ให้ทำผิดระเบียบ

ข้อเสนอที่ 12 กรณีของเด็กแว็น ที่ไม่ชอบสวมใส่หมวกกันน็อค เด็กที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์ขับขี้แข็งขัน ขับขี้ด้วยความรวดเร็ว ในเวลา กลางคืน ซึ่งมีโอกาสประสบอุบัติเหตุสูงนั้น ต้องมีบทลงโทษ ที่รุนแรง เช่น ให้ศาลตัดสินมีบทลงโทษ และยึดรถมอเตอร์ไซค์เลย เพราะเด็กที่ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์กลุ่มนี้ รักรถมอเตอร์ไซค์มาก อาจรักมากว่าชีวิตตัวเองด้วย มีความจำเป็นในการใช้รถมอเตอร์ไซค์มาก การยึดรถมอเตอร์ไซค์เมื่อจับได้อย่างจริงจัง คงทำมีความกลัว ไม่กล้ามาเป็นเด็กแว็นอีก

ข้อเสนอที่ 13 ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณเรื่องรถโรงเรียนของเด็กๆ ในระดับศูนย์เด็กเล็ก ระดับ โรงเรียน อนุบาล โรงเรียน ประถมศึกษาทุกโรงเรียน เพื่อให้เด็กมีความปลอดภัยในการเดินทางไปกลับโรงเรียนมากขึ้น ไม่ต้องให้ผู้ปกครองเอารถมอเตอร์ไซค์มารับมาส่ง

ข้อเสนอที่ 14 ให้เพิ่มบทลงโทษที่หนักขึ้น เมื่อเรื่องถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ ของผู้ที่ขับรถมอเตอร์ไซค์แล้วประสบอุบัติเหตุ และทราบว่าไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อค เหมือน กรณีเมาแล้วขับ

ข้อเสนอที่ 15 ให้ติดตั้งกลองตรวจจับผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค เพิ่มขึ้น ทุกแยก ในเขตเมือง ในเขต เทศบาล และตามแยกใหญ่ ในเขตรอบนอก เพื่อให้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์เกรงกลัว และสร้างนิสัย การสวมใส่หมวกกันน็อค

ข้อเสนอที่ 16 ผู้ที่ต้องการซื่อรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งโดยปกตินั้นต้องไปสอบใบขับขี้อยู่ ซึ่งเน้นไปที่กฎระเบียบการใช้ถนน แต่ต้องเพิ่มเติม ไปรับการอบรมเพิ่มเติมเรื่องความปลอดภัยในเรื่องต่างๆ เช่น การใช้หมวกกันน็อคอย่างปลอดภัย ฉนั้น ใครที่ต้องการซื่อรถมอเตอร์ไซค์ต้องมาเข้ารับการอบรมก่อน  อาจ เป็น 5 ชั่งโมง หรือเป็น 10  ถึง 15 ชั่วโมง เพื่อให้มีในประกาศการเข้ารับอบรมก่อน แล้วจึงสามารถไปซื่อรถมอเตอร์ไซค์ที่ร้านได้

        ข้อเสนอในเบื่องต้นทั้งหมด 16 ข้อ เป็นเพียงการนำเสนอวิธีการ แสดงความคิดเห็น ที่มีเป้าหมาย เพื่อทำให้ผู้ขับขี้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ สวมใส่หมวกกันน็อคทุกครั้ง เมื่อใช้รถมอเตอร์ไซค์บนท้องถนน

        มีคนกล่าวว่า นักวาดภาพ ไม่มีวันวาดภาพซ่ำภาพเดิมได้ ฉันได ฉันนั้น การทำให้บรรลุเป้าหมายนั้น คงยังมีวิธีการ อีกเป็น ร้อยพันวิธี ที่จะทำให้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์สวมใส่หมวกกันน็อค เป็นเรื่องปกติ ของวิถีชีวิตประจำวัน เมื่อใช้รถมอเตอร์ ไซค์

          การคิดถึงวิธีการต่างๆ ที่พัฒนาคุณภาพชีวิต วัฒนธรรมดำรงชีวิตของมนุษย์ ให้มีบรรทัดฐานการดำรงที่ดีขึ้นนั้น มันสามารถสร้างขึ้นได้ ทำขึ้นให้เกินขึ้นในสังคมได้ เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์ มีความต้องการปรับตัวไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้น มีความปลอดภัย มีความสะดวกสบาย มีทักษะการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น

           ซึ่งสามารถเห็นได้ในหลายๆ กรณีที่เกิดขึ้นแล้วในสังคมไทย เช่น เรื่อง บุหรี่ ปัจจุบัน คนที่สูบบุหรี่ คงมีความรู้สึกเกรงใจคนอื่น เมื่อจะสูบในที่สาธารณะ ต่างจากเมื่อ 10 – 20 ปีที่แล้ว ที่ผู้ที่สูบบุหรี่สามารถสูบที่ไหนก็ได้ ในห้องประชุมรัฐมนตรียังสามารถสูบบุหรี่ได้ ในที่ประชุมทหาร ระดับ ใหญ่โต ก็สูบบุหรี่กันเป็นเรื่องปกติ และ คนที่ไม่สูบไม่ได้ว่าอะไรด้วย

           แต่เดียวนี้ถ้าไปสูบบุหรี่ใกล้คนที่ไม่สูบ โดนเตือน ถูกตาเขียวใส่ แน่นอน หรือ การสวมใส่หมวกกันน็อค เอง ก่อนที่มีกฎหมายนี้ออกมา ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ในกรุงเทพ ไม่ได้นิยมใส่หมวกกันน็อคกันโดยทั้วไป แต่ผ่านไป 10 กว่าปี ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ในกรุงเทพ เมื่อขับขี้ในถนนหลัก เห็นสวมใส่หมวกกันน็อค กันเป็นเรื่องปกติ  หรือ การขาดเข็มขัดนิรภัยของผู้ใช้รถยนต์ และยังมีอีกหลายๆอย่าง

          ที่เราสามารถมอเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน วัฒณธรรมการดำรงชีวิต คนในสังคม ได้เพียงแค่ระยะ เวลาไม่นาน อาจ 2 ปี 5 ปี 10 ปี หรือมากกว่า 10 ปี

            ฉนั้น การทำให้ผู้ขับขี้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ ที่มีพฤติกรรมยังไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อค ขณะใช้รถมอเตอร์ไซค์นั้น ให้มามีพฤติกรรมสวมใส่หมวกกันน็อคทุกครั้ง ที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์ มันเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ สร้างวัฒณธรรมใหม่ขึ้นมาได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้  ซึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมีความเห็น หรือ เห็นว่า การสวมใส่หมวกกันน็อค เป็นเรื่องที่ดีกับคุณภาพชีวิต และ การไม่สวมใส่หมวกกันน็อคเป็นเรื่อง ที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ถ้าเข้าใจอย่างนี้ คงได้มีความคิดสร้างสรรค์ วิธีการต่างๆ รู้แบบต่างๆ ขึ้นมาอีกมากมาย 

             จากข้อเสนอทั้งหมด มี 2 ข้อ ที่คิดเห็นว่าสำคัญ คือ ถ้าสามารถทำให้ผู้ปกครองที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นภาหนะในการเดินทางไปรับไปส่งเด็กๆ ที่โรงเรียน ทั้งในระดับที่ไปเรียนที่ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน อนุบาล โรงเรียนประถม มัธยม หรือ เด็กโตที่สามารถ ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ไปโรงเรียนเองได้แล้ว  ให้สวมใส่หมวกกันน็อคได้ครบ 100 % ของกลุ่มผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์กลุ่มนี้ คงช่วยสังคมไทยให้มีความปลอดภัย จากคนใช้รถมอเตอร์ไซค์เพิ่มมากขึ้น และ คงช่วยให้ผู้ใช้มอเตอร์ไซค์กลุ่มอื่นๆ นำมาปฎิบัตตาม และ ยังเป็นการสร้างนิสัยสร้างพฤติกรรมที่ดี ให้กับเด็กๆ ที่เมื่อโตขึ้นมา มีโอกาสได้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ คงได้นิสัยการสวมใส่หมวกกันน็อค ติดตัวไปด้วย

              ซึ่งคิดว่าสามารถทำได้ ถ้าโรงเรียน และ ศูนย์เด็กเล็ก ตระหนัก เห็นความสำคัญ ของการสวมใส่หมวกกันน็อค ขณะผู้ปกครองใช้รถมอเตอร์ไซค์ในการเดินทางไปกลับโรงเรียน  และ ของนักเรียน ทำได้โดยการ ตั้งกติกาควบคุม ทำเป็นข้อตกลง กับผู้ปกครองและ นักเรียนที่ใช้  รถมอเตอร์ไซค์ และโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก ได้จริงจังในข้อตกลงที่ตั้งมา

              การทำให้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ของผู้ปกครอง ที่ไปรับไปส่งบุตรหลานที่โรงเรียน ร่วมถึง นักเรียนที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์ ในการเดินทางไปโรงเรียน ร่วมทั้งให้โรงเรียนในระดับต่าง ให้ความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้รถ ใช้ถนน อย่างปลอดภัย กับเด็กๆซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์ กลุ่มใหญ่ของสังคมไทย คงเป็นการเริ่มสร้างวัฒณธรรมที่ดีของการ สวมใส่หมวกกันน็อค เมื่อ ใช้รถมอเตอร์ไซค์

วาทะสอนชีวิต จาก http://www.baanjomyut.com/10000sword/2548/chin.html

เรารู้ว่าหนังสือไม่ใช่วิธีการที่จะให้คนอื่นมาคิดแทนเรา ในทางตรงข้าม มันคือเครื่องมือที่กระตุ้นให้เราคิดได้ไกลมากยิ่งขึ้น

                                                                                  กลาง      ธรรมชาติ

                                                                               ( เกียรติศักดิ์ แสงสว่าง )

                                                                                     27 ตุลาคม 2553

หมายเลขบันทึก: 405251เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2010 00:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 09:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

        บางคนใส่ตอนที่มีตำรวจจราจรอยู่ พอพ้นจากตรงนั้นก็ถอดหมวกทันที

คงกลัวเสียทรงผมมั้งคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท