ภาพรวมขบวนองค์กรการเงินชุมชน จากประสบการณ์ในพื้นที่(พระอาจารย์สุบิน ปณีโต)ตอนจบ


ก็มองถึงหลักเมตตาธรรมก็เป็นสิ่งที่เราใช้กันมาตลอดและพูดกันมาตลอด ทั้งหลายเหล่านั้นมันอยู่ในรูปของนามธรรมหมดไม่ออกมาเป็นรูปธรรมกิจกรรมมันก็ไม่ออกมาเป็นภาพให้ใครเห็นเป็นภาพรวม หรือเป็นภาพกิจกรรมที่ทำอยู่ก็เป็นเรื่องส่วนตัวแทนที่จะออกมาเป็นเรื่องของส่วนรวม คนที่มีความเมตตาเห็นคนขาด้วน แขนขาดแล้วก็เกิดความสงสาร ก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามอัตภาพ เรื่องขอระบบของกระทรวงสังคมค่อยเข้าไปจัดการ คนที่ให้ก็มีจิตปรารถนาดีแต่ก็ไม่ได้ให้ผ่านกระทรวงผ่านหัวใจของเขาเอง ลงไปสู่ญาติเขาก่อนเพราะตอนนี้ญาติถูกทอดทิ้งมากเลย จะเห็นว่าพ่อ แม่ที่ถูกทอดทิ้ง อาตมาก็เห็นความเสื่อมของที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ญาตกา นจสัง โข สงเคราะห์ญาติเป็นมงคลการสงเคราะห์กำลังเสื่อมลงเรื่อย ๆ  การสงเคราะห์ด้วยที่อยู่อาศัย การสงเคราะห์ด้วยข้าวปลาอาหาร สงเคราะห์ด้วยสติปัญญาอะไรก็แล้วแต่มี  ถูกลดถอยลงเรื่อย ๆ เพราะวัฒนธรรมอะไรก็แล้วแต่ จนกระทั่งวิ่งตามหาสิ่งเหล่านั้นจนลืมคำว่าต้องบริโภคเต็มที่ แม้แต่จะให้ก็ยังกลัวเขาว่าเลย มีของอะไรสักอย่างที่จะให้คนอื่นก็ยังกลัวเขาว่าเลยแสดงว่ามันคงไม่กินไม่ใช้แล้วสิถึงเอามาให้เราก็จะเกิดการกลัวต่อการทำความดี มันเริ่มผันผวนกันใหญ่ ก็พาให้ไม่คิดที่จะเกื้อกูลกันในสังคม ความเห็นแก่ตัวก็จะรุนแรงมากขึ้นทวีคูณความเห้นแก่ตัว ก็มานั่งทบทวนถึงธรรมะเรื่องของทานที่จริงตอนนี้ควรที่จะให้ทานกันมากเลย วัดวาอารามสร้างกันเยอะสาธารณูปโภคต่าง ๆ ก็เยอะแต่คนกำลังมีปัญหาเยอะเช่นกัน เช่น คนแก่กำลังถูกทอดทิ้งมากขึ้น คนพิการถูกทอดทิ้งมากขึ้น คนเริ่มถูกทอดทิ้งกันมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วในอนาคตจะถูกอะไร ต่างคนต่างไป ต่างทิศต่างทาง ก็อาจจะไปเป็นโจรไปปล้นจี้ มันก็เกิดกระบวนการเป็นเพราะต้องการความอยู่รอดทำไปก้เคยชินเขาเรียกว่าอธรรม ทำไปก็เริ่มระบาด ฮนั้นสิ่งที่เรียกว่าไม่ใช่ธรรมก็เริ่มระบาดขึ้น ความเป็นธรรมแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูลก็ลดลงไปเรื่อยๆ  สร้างกองทุนไว้ช่วยตัวเองจะชี้เขาอย่างไร อาตมาก็เลยมาพูดเรื่องการทำบุญอีกแบบหนึ่ง วันละบาท อาตมาไม่ใช้คำว่าออมทรัพย์เพราะออมทรัพย์คนละแบบของเรา ทำบุญไม่มีใครรู้สึกว่ามันเป็นของเราใส่บาตรอแล้วไม่มีความรู้สึกว่านั่นเป็นของเรา สร้างศาลาแล้วก็รู้สึกว่าไม่ใช่ของเรา ทำอย่างไรก็ได้ให้มันขาดไปเลยว่าไม่ใช่ของเราต้องทำบุญ อันนี้เขาเรียกว่าจาคะจริง ๆ ในหลักของในหลวงกล่าวนั้นแหละจาคะจริงๆ  แปลว่าสละให้ขาดอย่ามีความผูกพันธ์ว่ามันเป็นของเรา แต่ถ้าวันไหนมันเดือดร้อนก็ต้องสะท้อนมาคุ้มครองเราด้วย เหมือนคำว่าบุญทำแล้วเราสละออกไปจริง แต่เรามีความรู้สึกเป็นสุขยิ่งให้เรามีความรู้สึกว่าเป็นสุขเยอะเลย ทำอย่างไรที่เราจะคิดให้คนอื่นมีความสุขมากยิ่งขึ้นเราก็ส่งเสริม ฉนั้นจะต้องกล่อมเกลาเรื่องทุนมากยิ่งขึ่น แล้วก็ให้อย่างเป็นรูปธรรม อาตมาขอพูดแนวทาง ตอนนี้อาตมาก็ไม่ใช้แล้วคำว่าสังคม เรามานั่งทบทวนดูสิว่ามีอะไรบ้าง เป้าหมายที่สังคมเขาพากันไปตอนนี้ เกิดมากที่สุดและทั่วประเทศเลย เกิดมาทุกคนรู้แล้วว่าในที่สุดก็ต้องตาย แต่ก่อนที่จะตายระหว่าง แก่ เจ็บ ก่อนที่จะตายนี้แหละ กลางทางทำไมถึงจะมีกองทุนมาเหลียวแลกัน ฉนั้นทุกหมู่บ้าน ตายก็จะเก็บ 10 บาท 20 บาท 100 บาท แล้วแต่ในขณะที่คนตาย ตายปุ๊บมีกองทุนไปช่วย เวลาตายมีคนช่วยทำบุญ เวลาป่วยไม่เห็นมีใครทำบุญเลยเวลามีคนพิการก็ไม่เห็นมีใครอยากจะมาดูด้วย ระหว่างที่แก่นี้แหละจำเป็นใหม หรือว่าจำเป็นตอนตายอย่างเดียว อาตมาก็นึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านบอกว่า เราจะต้องเดินข้ามทะเลทราย ทุกคนที่ต้องเดินข้ามทะเลทราย ขึ้นต้นด้วยทะเลทรายต้องไม่มีต้นไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำ ไม่มีอะไรอยู่กลางทะเลทรายแน่ ๆ เราจะต้องเดินเป็นเดือนสมมุติ ถ้าเราทุกคนที่นั่งอยู่นี้ถ้าเขาบอกว่าอยู่ฝั่งนี้ไม่ได้เราทุกคนจะต้องข้ามทะเลทรายเราจะต้องเตรียมอะไรเป็นลำดับแรก เตรียมอะไร เตรียมน้ำ พูดรวม ๆ กันเลยว่าเตรียมเสบียง ทีนี้เวลาเตรียมเสบียง ทุกคนก็มีเสบียงไม่เท่ากัน คนไหนกำลังมากก็แบกไปได้มาก คนไหนกำลังน้อย และระยะทะลทรายไม่ได้บอกว่าระยะทาง 5 กิโล แล้วคนกำลังน้อยเดินแค่ 2 กิโลแล้วข้าม แต่ก็เดิน 5 กิโลเท่ากัน และคนกำลังน้อยถ้าเกิดว่าอาหารไปหมดกลางทะเลทราย ไอ้คนที่มีแรงมาก ๆ มันจะแบ่งไหม คิดว่ามันจะแบ่งให้ไหม พระพุทธเจ้าก็เลยอุปมาไว้อันหนึ่งว่าท่านว่าอย่างนี้ แต่ท่านใช้กับพระด้วย ท่านบอกว่ามี 3 แม่ลูก ต้องเดินข้ามทะเลทราย ที่นี้ระหว่างถึงกลางทะเลทรายอาหารหมดพอดี 3 พ่อแม่ลูก พ่อบอกว่า แม่อาหารหมดแล้วเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราอดก็เป็นอันว่าตายทั้ง 3 คน ถ้าโยมเป็นพ่อเป็นแม่ขอให้โยมช่วยคิดซิว่าโยมจะทำอย่างไร แล้วก็มีลูกอีก 1 คน จำเป็นต้องข้ามทะเลทราย ถ้าโยมไม่กินเป็นอันว่าโยมตายทั้งหมด 3 คน ถ้าเกิดว่าโยมจะต้องกินเนื้อใครสักคนโยมจะกินเนื้อใครก่อน เพื่อให้ข้ามทะเลทรายไปหาเป้าหมายให้ได้ โยมจะกินเนื้อใครก่อน (อ.สุกัญญา เสริมบอกว่า บางคนตอบว่ากินลูกก่อน) ก็ถูกต้องแล้ว พระพุทธเจ้าก็ตรัสอย่างเดียวว่าพ่อกับแม่ต้องตัดสินใจฆ่าลูกเพื่อเอาเนื้อนี้ตากแห้ง แล้วก็กินไปก่อน เพราะว่าลูกอาจจะไปหาเอาใหม่ข้างหน้าได้ แต่ในขณะที่กินท่านถามอย่างนี้ ท่านถามสาวกว่าในขณะที่กินเนื้อลูกไปทีละคำ ถามจริง ๆ ว่า พ่อและแม่ที่กินเนื้อลูกไปทีละคำมันอร่อยเต็มที่ไหม กินด้วยความเมามันไหมว่าจะต้องฆ่าเพื่อกินอีก รู้สึกอย่างนั้นหรือเปล่า แล้วจะทำอความรู้สึกกับมันอย่างไร อันนี้เป็นมุมมองที่โยมจะเอาไปใช้กับเศรษฐกิจพอเพียง พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสบอกว่า พ่อกับแม่ที่กินเนื้อลูกไปต้องทำความรู้สึกว่ากินไปเพื่อยังอัตภาพเพื่อให้ข้ามทะเลได้เท่านั้นนะ ไม่ได้กินเพื่อความอร่อย เพื่อความอ้วนท้วน เพื่อความสมบูณณ์ เพื่อความเมามันอะไรทั้งสิ้นไม่ใช่ แต่ในใจต้องทำความรู้สึกอย่างนี้ตลอดเวลา อันนี้เป็นการบ่งบอกว่าต้องดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง แค่พอประมาณ แต่ตอนนี้คนเราไม่ได้กินอย่างนี้ กินอย่างไรไม่รู้ลองไปคาดการณ์เอาเอง ไม่ได้กินด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ก็เลยมองว่าทุกคนต้องเดินข้ามทะเลทรายหมดที่เรานั่งอยู่ตรงนี้ แล้วมีใครบ้างพร้อมกับคนที่พูดด้วย มีใครบ้างคำว่าทะเลทรายในที่นี้พระพุทธเจ้าท่านอุปมาไว้ชัดเจนว่า ทะเลทรายคือทะเลแห่งความแก่ทะเลแห่งความเจ็บและความตายเราต้องเดินไปสู่ทางเดียวกันไหม ฉะนั้นถ้าเด็ก ๆ วิ่งมาตรงนี้สักคน มันไม่เดินตามคนแก่ได้ไหม (ผู้เข้าร่วมประชุมตอบ : ไม่ได้) ทำไมไม่ได้ ธรรมชาติไม่ยอมใช่ไหม เห็นไหมทุกคนก็ต้องเดินไปสู่ทางเดียวกันหมด อาตมาก็เลยมานึกถึงธรรมะข้อนี้ว่า ที่จริงพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้แล้วว่าทุกคนต้องเดินไปทางเดียวไปสู่เป้าหมายเดียวกัน  ไปสู่จุดหมายอันเดียวกัน และชีวิตต้องเป็นไปอย่างเดียวกัน เราจะเอาอะไรนักหนาอย่างน้อยก็เจียดส่วนหนึ่งมาตั้งเป็นกองทุนช่วยเหลือคนกำลังน้อย หรือคนกำลังมาก วันหนึ่งคนกำลังมากก็ต้องกลายเป็นกำลังน้อย เชื่อไหม ตอนนี้เรากำลังมาก คิดว่าอีก 50 ปี ข้างหน้าจะกำลังมากไหม วันนี้กำลังมาก อย่างนั้นต้องมีอะไรมาสำรองพระพุทธเจ้าก็เลยจัดธรรมะอยู่อันหนึ่งว่า ทุกขัง อนาโถ วิหารติ ถ้าคนไหนดำเนินชีวิตอย่างไม่มีที่พึ่งย่อมเป็นทุกข์ในวันข้างหน้าแน่นอนไม่ต้องพูดถึงภพหน้าแหละวันข้างหน้า สุภาษิตจีนก็ว่าซ้อนไปอีกว่า ไม่มีมนุษย์คนใดมานั่งเฝ้าไม้ขอนที่ไร้เห็ด ถ้าเห็ดมันงอกเก็บไปขายได้ทุกวันไปนั่งเฝ้าหรือเปล่า แย่งตบตีกันอีกใช่ไหม ฉนั้นคนเราหากไม่มีหลักทรัพย์ในบั้นปลายท่านบอกว่าอย่าไว้ใจเลยว่าลูกหลานจะมานั่งเฝ้า แม้แต่เพื่อนบ้านก็ยังไม่มาอาตมาก็พูดถึงเรื่องเหล่านี้ ธรรมในเชิงผสมผสาน ให้เกิดกองทุนอาตมาก็เปลี่ยนแปลงให้คนหันมาทำบุญเรื่องการช่ววยเหลือกันมากขึ้นโดยการที่ไม่ทิ้งภาระไว้ที่กระทรวง แต่ให้เขาหันมาช่วยตัวเอง ยกตัวอย่างสมมติว่าเรามาสร้างอาคารหลังนี้ 10 ล้านแต่ ครูชบบริจาคเลย 10 ล้านแต่โยมคนนี้ให้ 1 หมื่น ใครจะได้บุญมากกว่ากัน ได้บุญเท่ากันไหมเอาอะไรวัดหละ ทำบุญ 10 ล้านสร้างอาคารได้เท่ากันไหมกับทำบุญ 1 หมื่น แสดงว่าบุญมันตลกมาก แต่เราก็ไม่ได้จะบอกว่าทำมากได้มากทำน้อยได้น้อยนะ อย่าดูถูกของน้อยพระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่าอย่าหมิ่นประมาทของน้อย อุจจาระมันนิดเดียวก็ทำให้เหม็นเยอะคลุ้งไปหมด ทำความชั่วนิดเดียวก็ทำให้มันเศร้าหมองได้ อย่าคิดว่าของนิดเดียวจะฆ่าเราไม่ได้ปากยุงนิดเดียวก็ฆ่าคนตายได้ งั้นอย่าดูหมิ่นของน้อยในทางดีหรือทางเสียก็แล้วแต่ ของใหญ่ทั้งหลายมาจากของน้อยทั้งหมด อาคารหลังใหญ่ก็มาจากเม็ดทรายเม็ดเล็ก ๆ ใช่หรือเปล่า 20 ชั้น 30 ชั้นก็มาจากเม็ดทรายเม็ดเล็ก ๆ

                ที่นี้สรุปแล้วว่าครูชบ ทำบุญ 10 ล้าน กับคนนี้ทำบุญ 1 หมื่นได้บุญไม่เท่ากันใช่ไหม ฉนั้นคนที่ทำบุญ 10 ล้านได้มากกว่าใช่ไหม เอ้าครูชบมีถัง 2 พันลิตรอีกคนหนึ่งมีถังบรรจุน้ำได้ลิตรเดียวจุน้ำได้เท่ากันหรือเปล่าแล้วทำไมบุญมันเท่ากันได้หละ แล้วนี่ก็อยู่ที่ภาชนะที่สร้างหรือเปล่า ที่นี้จะอุปมาสรุปเลยเพื่อ สมมตุว่าครูชบทำบุญ 10 ล้านจริงแต่ตลอดชีวิตครูชบทำบุญครั้งเดียวไม่เคยทำอีกเลยแต่อีกคนหนึ่งทำบุญหมื่นเดียวแต่ทำทุกวันวันละบาทสองบาท เหมือนกับอีกคนหนึ่งมีน้ำ 2 พันลิตรแต่เททีเดียวหมด  อีกฝ่ายหนึ่งมีลิตรเดียวเจาะให้มันหยดลงเรื่อย ๆ อันไหนกินได้นานกว่ากันระหว่าง 1 ลิตรกับ 2 พันลิตร ต่างกันไหมฮนั้นบุญมันเท่ากันไหม ไม่เท่า หากโยมดูในทีวีใครทำบุญมากได้มาก ทำน้อยได้น้อยเนอะ เมื่อวานซืนก็มีคนมาถามเรื่องนี้ ยิ่งทำมากบุญก็ได้มากอาตมาไม่เชื่อทำเดี๋ยวเดียวก็จนแย่เลย ฉนั้นพุทธบอกว่าไม่ได้เน้นที่ทำมากทำน้อยแต่เน้นที่ความต่อเนื่อง ฉนั้นโยมทำ 1 หมื่นก็จริงแต่ทำทุกวัน ครูชบทำเยอะก็จริงแต่ทำทีเดียว ครูชบจะนึกถึงบุญวันไหนนึกยังไม่ออกเลย 50 ปีย้อนหลัง แต่อีกฝ่ายหนึ่งนึกถึงบุญทุกวันมันก็จะหล่อเลี้ยงใจต่างกัน ฉนั้นคิดจะไปโกงใครสักวันหนึ่งนึกว่าเราต้องให้เขาทุกวัน กับอีกอันไปขโมยเขาทุกวัน ต้องปลูกฝังใหม่ว่าเราต้องช่วยเขาทุกวัน แทนที่จะเอาของเขาทุกวัน เหมือนการทำบุญนั้นแหละทำวันละนิดแต่ทำทุกวัน ประหยัดเงินไว้ทำบุญ พระพุทธเจ้าตรัสว่าฝนตกลงมาทีละนิด หยาดน้ำใจคนละนิด เหมือนอย่างที่อุตรดิต เป็นต้น ในการสะสมตั้งเป็นกองทุนในอนาคตจะมีผลมหาศาล อาตมาขอพูดแค่นี้ก่อนเดี๋ยวอาจจะคุยนอกรอบถึงแนวทางที่จะขยายไปข้างบนต่อ

คำสำคัญ (Tags): #ทรงพระเจริญ
หมายเลขบันทึก: 40515เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2006 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท