ภาษาไทยในรามาธิบดี (6): เอ็มอาร์ไอ


 

 

 

ตามที่ request มาครับ วันนี้จะพูดถึงคำว่า MRI ซึ่งอย่างที่หลายคนคงทราบดี เป็นวิธีการตรวจทางรังสีวิทยาชนิดหนึ่งที่ใช้คลื่นแม่เหล็กเป็นตัวช่วยให้เราสามารถ "มองเห็นภาพ/ฉายภาพ" (visualize) อวัยวะต่างๆ และความผิดปกติในร่างกายได้ครับ คำว่า MRI ย่อมาจากคำเต็มว่า Magnetic Resonance Imaging (magnetic แปลว่า เกี่ยวกับแม่เหล็ก, resonance คือ ความก้องกังวาน หรือคุณสมบัติของคลื่นหรือความถี่ที่เข้ากันได้ดี ส่วน imaging ก็แปลว่า การทำงานที่เกี่ยวกับภาพ)

คำนี้น่าสนใจครับ เพราะราชบัณฑิตยสถานได้มีศัพท์บัญญัติคำว่า MRI นี้ ในสาขาคอมพิวเตอร์ และสาขาแพทยศาสตร์ โดย
- ในสาขาคอมพิวเตอร์ บัญญัติเป็นไทยว่า การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (เอ็มอาร์ไอ)
- ส่วนสาขาแพทยศาสตร์ บัญญัติเป็นไทยว่า ภาพเอ็มอาร์ (เอ็มอาร์ไอ)
ดังนั้น หากท่านจะใช้ให้ตรงตามศัพท์บัญญัติ ก็อาจใช้ว่า เอ็มอาร์ไอ, การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก หรือ ภาพเอ็มอาร์ ก็ได้ครับ
แต่ทั้งสามคำ ก็คงจะคุยกับคนไข้ (ผู้ป่วย) ไม่รู้เรื่องอยู่ดี ถ้าเป็นผม ผมก็จะใช้ว่า เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็ก ซึ่งในทางเทคนิค ถือว่าผิดหลักการทางรังสีวิทยา เพราะ MRI ไม่ได้ใช้รังสีเอกซ์ หรือเอกซเรย์ แต่อย่างใดครับ แต่จะว่าไป รังสีวิทยา ก็แปลมาจากคำว่า radiology (radio = คลื่นรังสี, logy = ศาสตร์) ซึ่งถ้าแปลความหมายตามตัวอักษร ก็จะไม่ตรงกับเทคโนโลยีปัจจุบันนัก เพราะอัลตราซาวนด์ (ultrasound ศัพท์บัญญัติคือ คลื่นเสียงความถี่สูง) และ MRI เป็นตัวอย่างของเทคโนโลยีการฉายภาพทางการแพทย์ (medical imaging) ที่ไม่ใช้รังสีอย่างรังสีเอกซ์ (x-ray) ครับ หน่วยงานทางรังสีวิทยา ในโรงเรียนแพทย์บางแห่ง จึงเปลี่ยนชื่อเป็น medical imaging (ภาพทางการแพทย์) ซึ่งความหมายจะตรงกว่า แต่ถ้าเราจะใช้คำเดิมด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์และความคุ้นเคย ภายใต้ความเข้าใจว่าความหมายมันอาจจะไม่ได้ตรงตามตัวอักษร 100% ผมว่าก็ไม่ผิดครับ)
ดังนั้น ถ้าผมจะต้องมาอธิบายกับคนไข้ว่า MRI มันไม่ใช้ X-ray นะ มันใช้หลักการของคลื่นแม่เหล็กมาเป็นตัวฉายภาพให้เห็น แต่ไม่ใช่ X-ray คนไข้คงงงเป็นไก่ตาแตกว่าคุณพูดอะไรของคุณ ดังนั้น ส่วนตัวผมก็คงบอกคนไข้เวลาจะส่งคนไข้ทำ MRI ว่า ส่งมาทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็ก ยกเว้นคนไข้ที่อาจจะคุยเรื่องนี้รู้เรื่องขึ้นหน่อย ก็อาจจะบอกไปตรงๆ ว่าทำ "MRI คลื่นแม่เหล็ก" แต่หมอแต่ละคนก็คงมีศัพท์เฉพาะตัวที่ช่วยให้สื่อสารกับคนไข้รู้เรื่องแตกต่างกันไปบ้าง ส่วนตัวผมว่า ในเมื่อศัพท์บัญญัติมันไม่สามารถสื่อให้เข้าใจได้อย่างเต็มที่ ก็ต้องยอมรับว่าการใช้คำอื่นๆ ในบริบทที่จำเป็น และไม่เป็นทางการนัก ก็ยังสมเหตุสมผลครับ เราต้องรู้จักใช้ภาษาอย่างเหมาะสมในทางปฏิบัติ (practical) ด้วย ไม่ใช่เอาแต่ทฤษฎี
ไหนๆ ก็พูดถึงคำทางรังสีวิทยาแล้ว หากจะไม่กล่าวถึงคำว่า X-ray เลย ก็คงไม่ครบถ้วน สังเกตนะครับว่า X-ray สะกดด้วยตัว X ใหญ่ และมีขีดคั่นตรงกลาง และสังเกตเช่นกันว่าในย่อหน้าที่แล้ว ผมใช้คำไทยว่า เอกซเรย์ คำนี้เป็นคำที่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 แล้ว และก็มีในฉบับ 2542 เช่นกัน สังเกตว่าไม่มีไม้ไต่คู้ และไม่มีการันต์ที่ตัว ซ โว่ ครับ แต่มีการันต์ที่ตัว ย ยักษ์ อย่าเผลอไปสะกดว่า เอ็กซเรย์ หรือ เอกซ์เรย์ หรือ เอ็กซ์เรย์ เข้าล่ะ (ผมเองก็ต้องท่องอยู่พักนึง กว่าจะจำได้ว่าที่ถูก มีหรือไม่มีไม้ไต่คู้ครับ ย้ำอีกครั้งครับ ที่ถูก ไม่มีไม้ไต่คู่)
แถมให้อีกนิด ท่านผู้อ่านลองสังเกตดูนะครับว่าผมใช้ภาษาไทยบ้าง ภาษาอังกฤษบ้าง ปนกันไป (และก็พยายามสอนภาษาอังกฤษไปด้วยในตัว) บางคนอาจจะวิจารณ์ว่า ใช้ไทยคำ อังกฤษคำ ไม่เหมาะสม ซึ่งก็แล้วแต่มุมมอง ในมุมมองของผมนั้น ประเด็นสำคัญคือการสื่อสารและการเคารพซึ่งหลักการของภาษาที่ใช้ครับ ถ้าคำที่เราเลือกมา สื่อสารความหมายได้ตรงและเหมาะสม และถูกหลักภาษาของเขา จะใช้ภาษาอะไรมันก็ไม่สำคัญครับ ยิ่งเราอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์แล้ว การจะอนุรักษ์นิยม อาจจะไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป ดังนั้น ผมจึงเฉยๆ ไม่แคร์ (เจตนาใช้คำว่า care ครับ) สำหรับคำวิจารณ์นี้ครับ (แต่ใครจะวิจารณ์หรือจะเห็นต่างก็เป็นสิทธิครับ)
ถ้าท่านสังเกตดีๆ จะได้คำแถมมาด้วย คือคำว่า โลกาภิวัตน์ ครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้เรามาว่ากันที่คำนี้ดีกว่า ใครอยากเสนอคำอื่นด้วยก็ยินดีครับ

(โพสต์ครั้งแรกในกระดานข่าวภายในของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2553 เนื้อหาบางส่วนอาจอ้างอิงถึงการสนทนาในกระดานข่าวดังกล่าว)

 

ตามที่ request มาครับ วันนี้จะพูดถึงคำว่า MRI ซึ่งอย่างที่หลายคนคงทราบดี เป็นวิธีการตรวจทางรังสีวิทยาชนิดหนึ่งที่ใช้คลื่นแม่เหล็กเป็นตัวช่วยให้เราสามารถ "มองเห็นภาพ/ฉายภาพ" (visualize) อวัยวะต่างๆ และความผิดปกติในร่างกายได้ครับ คำว่า MRI ย่อมาจากคำเต็มว่า Magnetic Resonance Imaging (magnetic แปลว่า เกี่ยวกับแม่เหล็ก, resonance คือ ความก้องกังวาน หรือคุณสมบัติของคลื่นหรือความถี่ที่เข้ากันได้ดี ส่วน imaging ก็แปลว่า การทำงานที่เกี่ยวกับภาพ)


คำนี้น่าสนใจครับ เพราะราชบัณฑิตยสถานได้มีศัพท์บัญญัติคำว่า MRI นี้ ในสาขาคอมพิวเตอร์ และสาขาแพทยศาสตร์ โดย

- ในสาขาคอมพิวเตอร์ บัญญัติเป็นไทยว่า การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (เอ็มอาร์ไอ)

- ส่วนสาขาแพทยศาสตร์ บัญญัติเป็นไทยว่า ภาพเอ็มอาร์ (เอ็มอาร์ไอ)


ดังนั้น หากท่านจะใช้ให้ตรงตามศัพท์บัญญัติ ก็อาจใช้ว่า เอ็มอาร์ไอ, การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก หรือ ภาพเอ็มอาร์ ก็ได้ครับ


แต่ทั้งสามคำ ก็คงจะคุยกับคนไข้ (ผู้ป่วย) ไม่รู้เรื่องอยู่ดี ถ้าเป็นผม ผมก็จะใช้ว่า เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็ก ซึ่งในทางเทคนิค ถือว่าผิดหลักการทางรังสีวิทยา เพราะ MRI ไม่ได้ใช้รังสีเอกซ์ หรือเอกซเรย์ แต่อย่างใดครับ แต่จะว่าไป รังสีวิทยา ก็แปลมาจากคำว่า radiology (radio = คลื่นรังสี, logy = ศาสตร์) ซึ่งถ้าแปลความหมายตามตัวอักษร ก็จะไม่ตรงกับเทคโนโลยีปัจจุบันนัก เพราะอัลตราซาวนด์ (ultrasound ศัพท์บัญญัติคือ คลื่นเสียงความถี่สูง) และ MRI เป็นตัวอย่างของเทคโนโลยีการฉายภาพทางการแพทย์ (medical imaging) ที่ไม่ใช้รังสีอย่างรังสีเอกซ์ (x-ray) ครับ หน่วยงานทางรังสีวิทยา ในโรงเรียนแพทย์บางแห่ง จึงเปลี่ยนชื่อเป็น medical imaging (ภาพทางการแพทย์) ซึ่งความหมายจะตรงกว่า แต่ถ้าเราจะใช้คำเดิมด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์และความคุ้นเคย ภายใต้ความเข้าใจว่าความหมายมันอาจจะไม่ได้ตรงตามตัวอักษร 100% ผมว่าก็ไม่ผิดครับ)

ดังนั้น ถ้าผมจะต้องมาอธิบายกับคนไข้ว่า MRI มันไม่ใช้ X-ray นะ มันใช้หลักการของคลื่นแม่เหล็กมาเป็นตัวฉายภาพให้เห็น แต่ไม่ใช่ X-ray คนไข้คงงงเป็นไก่ตาแตกว่าคุณพูดอะไรของคุณ ดังนั้น ส่วนตัวผมก็คงบอกคนไข้เวลาจะส่งคนไข้ทำ MRI ว่า ส่งมาทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็ก ยกเว้นคนไข้ที่อาจจะคุยเรื่องนี้รู้เรื่องขึ้นหน่อย ก็อาจจะบอกไปตรงๆ ว่าทำ "MRI คลื่นแม่เหล็ก" แต่หมอแต่ละคนก็คงมีศัพท์เฉพาะตัวที่ช่วยให้สื่อสารกับคนไข้รู้เรื่องแตกต่างกันไปบ้าง ส่วนตัวผมว่า ในเมื่อศัพท์บัญญัติมันไม่สามารถสื่อให้เข้าใจได้อย่างเต็มที่ ก็ต้องยอมรับว่าการใช้คำอื่นๆ ในบริบทที่จำเป็น และไม่เป็นทางการนัก ก็ยังสมเหตุสมผลครับ เราต้องรู้จักใช้ภาษาอย่างเหมาะสมในทางปฏิบัติ (practical) ด้วย ไม่ใช่เอาแต่ทฤษฎี

ไหนๆ ก็พูดถึงคำทางรังสีวิทยาแล้ว หากจะไม่กล่าวถึงคำว่า X-ray เลย ก็คงไม่ครบถ้วน สังเกตนะครับว่า X-ray สะกดด้วยตัว X ใหญ่ และมีขีดคั่นตรงกลาง และสังเกตเช่นกันว่าในย่อหน้าที่แล้ว ผมใช้คำไทยว่า เอกซเรย์ คำนี้เป็นคำที่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 แล้ว และก็มีในฉบับ 2542 เช่นกัน สังเกตว่าไม่มีไม้ไต่คู้ และไม่มีการันต์ที่ตัว ซ โซ่ ครับ แต่มีการันต์ที่ตัว ย ยักษ์ อย่าเผลอไปสะกดว่า เอ็กซเรย์ หรือ เอกซ์เรย์ หรือ เอ็กซ์เรย์ เข้าล่ะ (ผมเองก็ต้องท่องอยู่พักนึง กว่าจะจำได้ว่าที่ถูก มีหรือไม่มีไม้ไต่คู้ครับ ย้ำอีกครั้งครับ ที่ถูก ไม่มีไม้ไต่คู้)
แถมให้อีกนิด ท่านผู้อ่านลองสังเกตดูนะครับว่าผมใช้ภาษาไทยบ้าง ภาษาอังกฤษบ้าง ปนกันไป (และก็พยายามสอนภาษาอังกฤษไปด้วยในตัว) บางคนอาจจะวิจารณ์ว่า ใช้ไทยคำ อังกฤษคำ ไม่เหมาะสม ซึ่งก็แล้วแต่มุมมอง ในมุมมองของผมนั้น ประเด็นสำคัญคือการสื่อสารและการเคารพซึ่งหลักการของภาษาที่ใช้ครับ ถ้าคำที่เราเลือกมา สื่อสารความหมายได้ตรงและเหมาะสม และถูกหลักภาษาของเขา จะใช้ภาษาอะไรมันก็ไม่สำคัญครับ ยิ่งเราอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์แล้ว การจะอนุรักษ์นิยม อาจจะไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป ดังนั้น ผมจึงเฉยๆ ไม่แคร์ (เจตนาใช้คำว่า care ครับ) สำหรับคำวิจารณ์นี้ครับ (แต่ใครจะวิจารณ์หรือจะเห็นต่างก็เป็นสิทธิครับ)

ถ้าท่านสังเกตดีๆ จะได้คำแถมมาด้วย คือคำว่า โลกาภิวัตน์ ครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้เรามาว่ากันที่คำนี้ดีกว่า ใครอยากเสนอคำอื่นด้วยก็ยินดีครับ

 

ปล. ถ้าผมให้ข้อมูลทางเทคนิค ที่เกี่ยวข้องกับรังสีวิทยา ผิดไป หรือท่านใดมีวิธีใช้คำทางรังสีวิทยาที่แตกต่างออกไป ช่วยแลกเปลี่ยนด้วยครับ ยินดีเรียนรู้ครับ

หมายเลขบันทึก: 405068เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2010 04:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท